จำนวนตรรกยะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Rational number)
สัญลักษณ์สำหรับเซตของจำนวนตรรกยะ
จำนวนตรรกยะ (Q) เป็นส่วนหนึ่งของจำนวนจริง (R) ในขณะที่จำนวนตรรกยะก็ประกอบด้วยจำนวนเต็ม (Z) ซึ่งจำนวนเต็มก็ประกอบด้วยจำนวนธรรมชาติ (N)

ในทางคณิตศาสตร์ จำนวนตรรกยะ (อังกฤษ: rational number) คือจำนวนที่สามารถเขียนให้เป็นรูปเศษส่วนได้ โดยทั้งเศษและส่วนต้องเป็นจำนวนเต็ม และส่วนต้องไม่เท่ากับศูนย์, จำนวนที่สามารถเขียนให้เป็นรูปทศนิยมไม่รู้จบประเภทซ้ำได้ เช่น (=0.111...), (=0.1212...)

จำนวนตรรกยะสามารถเขียนให้เป็นรูปเศษส่วนได้หลายรูป เช่น (=0.666...) นั้นหมายความว่าถ้าเขียนจำนวนตรรกยะให้เป็นรูปเศษส่วน ก็จะมีรูปเศษส่วนหลายรูป

นอกจากนี้ จำนวนตรรกยะยังสามารถเขียนให้เป็นรูปทศนิยมไม่รู้จบหรือทศนิยมซ้ำ[1]ได้ เช่น เป็นทศนิยมรู้จบ, และ เป็นทศนิยมซ้ำ เป็นต้น

จำนวนจริงที่ไม่ใช่จำนวนตรรกยะ เรียกว่า จำนวนอตรรกยะ (อังกฤษ: irrational number)

ในทางคณิตศาสตร์ "...ตรรกยะ" หมายถึง การจำกัดขอบเขตให้อยู่ในระบบจำนวนตรรกยะเท่านั้น เช่น พหุนามตรรกยะ

เซตของจำนวนตรรกยะทั้งหมดเราใช้สัญลักษณ์ Q หรือ Blackboard Bold โดยใช้เซตเงื่อนไข ได้ดังนี้

เลขคณิต[แก้]

การบวกและการคูณจำนวนตรรกยะสามารถทำได้โดยหลักต่อไปนี้

 

 

จำนวนตรรกยะสองจำนวน และ จะเท่ากัน ก็ต่อเมื่อ

การบวกและการคูณจำนวนตรรกยะกับจำนวนตรงข้ามสามารถทำได้ดังนี้



  1. เอริก ดับเบิลยู. ไวส์สไตน์, "Repeating Decimal" จากแมทเวิลด์.