พยาธิตืดหนู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Rat tapeworm)
พยาธิตืดหนู
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Platyhelminthes
ชั้น: Cestoda
อันดับ: Cyclophyllidea
วงศ์: Hymenolepididae
สกุล: Hymenolepis
สปีชีส์: H.  diminuta
ชื่อทวินาม
Hymenolepis diminuta
(Rudolphi, 1819)

พยาธิตืดหนู (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hymenolepis diminuta) เป็นพยาธิตัวตืด มีไข่และปล้องใหญ่กว่าพยาธิตืดแคระ (Hymenolepis nana) เล็กน้อย พยาธิตืดหนูติดเชื้อในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยผ่านแมลง

พยาธิตืดหนูพบได้ทั่วโลกแต่มีรายงานผู้ติดเชื้อเพียงไม่กี่ร้อยคน[1][2][3] มีรายงานผู้ติดเชื้อน้อยในประเทศออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา สเปน และอิตาลี แต่ในประเทศอย่างเช่น มาเลเซีย ไทย จาเมกา อินโดนีเซีย มีจำนวนผู้ติดเชื้อที่มากกว่า[4][5][6]

วงจรชีวิต[แก้]

วงจรเริ่มจากสัตว์ขาปล้องกินไข่ ไข่พัฒนาเป็น cysticercoid[7] สัตว์ฟันแทะติดเชื้อโดยการกินสัตว์ขาปล้องจำพวกหมัด ผีเสื้อ และด้วง มนุษย์โดยเฉพาะเด็กสามารถกินสัตว์ขาปล้องและติดเชื้อได้เช่นเดียวกัน พยาธิโตเป็นตัวเต็มวัยและออกไข่ปนมากับอุจจาระ สัตว์ฟันแทะโดยเฉพาะหนูเป็นแหล่งกักเก็บพยาธิชนิดนี้

การก่อโรคในมนุษย์[แก้]

การติดเชื้อมักไม่มีอาการ อาจมีอาการปวดท้อง คัน อีโอซิโนฟิลสูงได้

อ้างอิง[แก้]

  1. Lo CT, Ayele Y, Birrie H. Helminth and snail survey in Harerge region of Ethiopia with special reference to Schistosomiasis. Ethiop Med J 1989;27:73-83.
  2. McMillan B, Kelly A, Walkar JC. Prevalence of Hymenolepis diminuta infection in man in the New Guinea Highlands. Trop Geogr Med 1971;23:390-2.
  3. Mercado R, Arias B. Infections by Taenia sp and other intestinal cestodos in patients of consultorios hospitals and the public sector north of Santiago de Chile (1985–1995). Bol Chil Parasitol 1995:50:80-3.
  4. Tena D, Pιrez Simón M, Gimeno C, Pιrez Pomata MT, Illescas S, Amondarain I, et al. Human infection with Hymenolepis diminuta : Case report from Spain. J Clin Microbiol 1998;36:2375-6.
  5. Marangi M, Zechini B, Fileti A, Quaranta G, Aceti A. Hymenolepis diminuta infection in a child living in the urban area of Rome, Italy. J Clin Microbiol 2003;41:3994-5.
  6. Kan SK, Kok RT, Marto S, Thomas I , Teo WW. The first report in Hymenolepis diminuta infection in Sabah, Malaysia. Trans R Soc Trop Med Hyg 1981;75:609.
  7. "CDC - DPDx - Hymenolepiasis (Life Cycles)". cdc.gov. Center for Disease Control. Hymenolepis diminuta. สืบค้นเมื่อ 2016-04-15.