ลักษณะการวางท่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Rampant)
ท่ายืนยกเท้าหน้า (“passant gardant”) เป็นท่าของ “เสือดาว” ที่พบบ่อย

ลักษณะการวางท่า (อังกฤษ: Attitude) ในมุทราศาสตร์ “ลักษณะการวางท่า” คือลักษณะท่างทางการวางร่างกายของสัตว์, สัตว์ในตำนาน, มนุษย์ หรือสิ่งที่มีลักษณะเหมือนมนุษย์ที่ปรากฏเป็นเครื่องหมาย, ประคองข้าง หรือ เครื่องยอด ลักษณะการวางท่าบางท่าก็จะใช้เฉพาะสัตว์ที่ล่าเหยื่อและเป็นสัตว์ที่จะพบบ่อยบนตราอาร์มคือสิงโต และบางท่าก็จะใช้สำหรับสัตว์ที่เชื่องเท่านั้นเช่นกวาง บางท่าก็ใช้สำหรับนกส่วนใหญ่จะเป็นท่าสำหรับสัตว์ที่พบบ่อยในการสร้างตราคือนกอินทรี คำว่า “naiant” (ว่ายน้ำ) แม้ว่าจะใช้สำหรับปลาแต่ก็ใช้กับหงส์, เป็ด หรือห่านได้ ถ้าเป็นนกก็บรรยายต่อไปถึงตำแหน่งของปีก หรือ คำว่า “segreant” ก็จะใช้เฉพาะสัตว์ในตำนาน หรือ คำว่า “rampant” (ยืนผงาด) ก็จะใช้กับสัตว์ปีกเช่นกริฟฟิน และ มังกร นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีท่าที่บอกทิศทางที่แตกต่างไปจากทิศทางที่วางท่าตามปกติ สัตว์หรือสิ่งที่มีลักษณะเหมือนสัตว์โดยทั่วไปจะว่างท่าด้านข้างหันขวาไปทางโล่ (ซ้ายของผู้ดู) ถ้าเป็นมนุษย์และสิ่งที่มีลักษณะเหมือนมนุษย์โดยทั่วไปก็จะเป็นท่า “affronté” (มองตรงมายังผู้ดู) นอกจากจะระบุว่าเป็นท่าอื่นในนิยามของตรา

ลักษณะการวางท่าที่บ่งทิศทาง[แก้]

สัตว์หรือสิ่งที่มีลักษณะเหมือนสัตว์โดยทั่วไปจะวางท่าด้านข้างหันขวาไปทางโล่ (ซ้ายของผู้ดู) นอกจากจะระบุว่าเป็นท่าอื่นในนิยามของตรา ถ้าเป็นมนุษย์และสิ่งที่มีลักษณะเหมือนมนุษย์โดยทั่วไปก็จะเป็นท่า “affronté” (มองตรงมายังผู้ดู) นอกจากจะระบุว่าเป็นท่าอื่นในนิยามของตรา

  • ท่าหันขวา (To dexter) หรือซ้ายของผู้ดูตราเป็นท่าโดยทั่วไปจะใช้กับสัตว์จึงไม่จำเป็นต้องระบุ แต่ถ้าใช้สำหรับคนหรือสิ่งที่มีลักษณะเหมือนมนุษย์ก็จะระบุ
  • ท่าหันซ้าย (To sinister หรือ contourné) หรือขวาของผู้ดู ถ้าใช้กับสัตว์ก็จะหมายความว่าหันไปท่างซ้ายของโล่
  • ประจันหน้า (Affronté) ก็จะเป็นท่าที่สัตว์ตรงมาทางผู้ดูทั้งตัว แต่เป็นท่าที่โดยทั่วไปที่ใช้สำหรับมนุษย์และสิ่งที่มีลักษณะเหมือนมนุษย์ และจะไม่ค่อยใช้กับสัตว์
  • ท่าหันหน้า (Guardant) ก็จะเป็นท่าที่สัตว์หันหัวมาทางผู้ดูทั้งตัว
  • เอี้ยวคอ (Regardant) ก็จะเป็นท่าที่สัตว์หันเอี้ยวหัวข้ามไหล่มาทางผู้ดูทั้งตัว

ลักษณะการวางท่าของสัตว์[แก้]

ลักษณะการวางท่าบางลักษณะก็เหมาะกับท่าทางของสัตว์ล่าเหยื่อและบางท่าก็จะเป็นท่าสำหรับสัตว์ที่เชื่อง สิ่งที่น่าสังเกตคือนอกจากการวางท่าทั้งตัวของสัตว์เช่นสิงโตหรือสัตว์ที่ดุร้ายชนิดอื่นแล้วก็อาจจะระบุการวางท่าของหัวสัตว์ สีของส่วนต่างของร่างกายหรืออวัยวะ (เช่นฟัน, เขี้ยว, ลิ้น และอื่นๆ) หรือลักษณะและท่าของหางด้วย สัตว์อาจจะมี “มีเขี้ยวเล็บ” (armed เช่นมีเขา, ฟัน และกรงเล็บ) หรือมี “มีลิ้น” (langued) ที่เป็นสีที่แตกต่างจากสีตัว ขณะที่กวางอาจจะ “มีเขา” (attired) หรือ “มีกีบ” (hooves) ที่เป็นสีที่แตกต่างจากสีตัว สิงโตหรือสัตว์ที่ดุร้าย “ท่าขลาด” (coward) ก็จะเป็นท่าที่เอาหางซ่อนไว้ระหว่างขาหลัง[1] หรือบางครั้งหางก็อาจจะเป็น “หางปม” (nowed), “หางแฉก” (queue fourchée) หรือ “สองหาง” (double-queued) เช่นตราของราชอาณาจักรโบฮีเมียที่ใช้สิงห์หางแฉก

ยืนผงาด[แก้]

“ยืนผงาด” (Rampant) มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่าว่า “ยกขึ้น” ) เป็นท่าที่พบบ่อยที่สุด เป็นท่ายืนตรงหันข้างยกขาหน้า[2] ตำแหน่งของขาหลังของท่านี้ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่ท้องถิ่น บางท่าก็จะยืนกางขาห่างกันบนสองเท้าหลัง หรือยืนบนขาเดียว อีกขาหนึ่งยกขึ้นพร้อมที่จะตะปบ คำว่า “rampant” บางครั้งก็อาจจะไม่ใช้ โดยเฉพาะในนิยามของตราในสมัยต้นๆ เพราะเป็นท่าที่ใช้กันเป็นปกติ
ข้อสังเกต: บางครั้งท่านี้ก็เรียกว่า “segreant” แต่เป็นท่าเดียวกับที่ใช้สำหรับกริฟฟินและมังกร[3] เพราะความที่ท่ายืนผงาดเป็นท่าที่ใช้บ่อยที่สุด ประคองข้างแทบทั้งหมดจึงเป็นท่าที่ว่านี้

ยืนยกเท้าหน้า หรือ ยุรยาตรยกเท้าหน้า[แก้]

“ยืนยกเท้าหน้า” หรือ “ยุรยาตรยกเท้าหน้า” (Passant) มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่าว่า “striding” หรือ “ยุรยาตร” ท่านี้จะเป็นท่าที่สัตว์เดินหันข้างไปทางขวาของผู้ชมตรา โดยยกขาขวา อีกสามขาอยู่บนพื้น[4] “สิงโตของอังกฤษ” เป็นสิงโตที่มีคำนิยามว่า “สิงห์ยืนยกเท้าหน้าสีทอง” (lion passant guardant Or) ที่เป็นสัญลักษณ์ที่มาเพิ่มเติมเพื่อเกียรติยศ (Augmentation of honour) [4] ถ้าเป็นกวางและสัตว์คล้ายกวางที่วางท่าเดียวกันนี้ก็จะใช้คำว่า “trippant” แทนที่คำว่า “Passant” สิ่งที่น่าสนใจคือสิงโตที่เดินในท่านี้ของฝรั่งเศสจะเรียกว่า “เสือดาว” แต่ก็เป็นการเรียกที่ทำให้เกิดข้อขัดแย้ง[5]

นั่ง[แก้]

“นั่ง” (sejant หรือ sejeant) มาจากภาษาฝรั่งเศสสมัยกลางว่า “seant” หรือ “นั่ง” จะเป็นท่านั่งหรือหมอบโดยขาหน้าสองขาอยู่บนพื้น[6]

ถ้าสัตว์ “นั่งยกเท้าหน้า” (Sejant erect) ก็จะเป็นท่านั่งหรือหมอบแต่ร่างจะตรงและขาหน้าสองขาจะยกในท่าเดียวกับท่า “ผงาด” ที่ทำให้บางครั้งก็เรียกว่า “นั่งยกเท้าหน้าผงาด” (sejant-rampant)[6]

ตีลังกา[แก้]

ถ้าสัตว์ “ตีลังกา” (cadent) (ภาษาลาติน: cadēns, "ล้ม") ก็จะเป็นท่าคว่ำโดยเฉพาะเมื่อใช้ในการประคองโล่ ท่านี้มักจะใช้กับวาฬ, โลมา และปลาอื่นๆ ถ้าสัตว์หันไปทางซ้ายก็จะเรียกว่า “ตีลังกาขวา” (cadent dexter) ถ้าสัตว์หันไปทางขวาก็จะเรียกว่า “ตีลังกาซ้าย” (cadent sinister)

นอนสง่า[แก้]

“นอนสง่า” (couchant) มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่าว่า “นอน” เป็นท่านอนหมอบแต่ยกหัว[7] แต่ถ้าเป็นสัตว์ที่ไม่ดุร้ายก็จะใช้คำว่า “Lodged” แทนคำว่า “couchant”

วิ่ง[แก้]

“วิ่ง” หรือ “วิ่งไล่” (courant หรือ at speed หรือ in full chase) เป็นท่าวิ่งอย่างเต็มที่โดยที่ขาทั้งสี่ลอยจากพื้น

หลับ[แก้]

ถ้าสัตว์ “หลับ” (salient) (ภาษาฝรั่งเศสเก่า: หลับ") ก็จะเป็นท่านอนตาหลับและซบหัวบนอุ้งเท้าหน้าเหมือนกับนอนหลับ[7] “Dormant erect” มีความหมายเดียวกับ “นอนสง่า”

กระโจน[แก้]

ถ้าสัตว์ “กระโจน” (Salient หรือ springing) (ภาษาลาติน: saliēns, "กระโจน") ก็จะเป็นท่ากระโดดโดยที่ขาสองขาหลังยังอยู่บนพื้น และขาหน้ายกขึ้น[8] เป็นท่าที่ไม่ค่อยใช้กับสิงโต[8] แต่จะใช้กับสัตว์อื่นๆ ถ้าเป็นกวางและสัตว์ที่ไม่ดุร้ายก็จะใช้คำว่า “springing” แทนที่

ยืน / ยุรยาตร[แก้]

“ยืน” / “ยุรยาตร” (statant) (ภาษาฝรั่งเศสเก่า: "ยืน") เป็นท่ายืนด้านข้างหันไปทางขวา ขาทั้งสี่อยู่บนพื้น และขาหน้าสองขามักจะชิดกัน[9] ท่านี้มักจะใช้กับเครื่องยอดมากกว่าที่จะเป็นเครื่องหมายบนโล่[8] สำหรับสัตว์บางชนิดเช่นหมี ก็จะเป็นที่ยืนเต็มตัวด้วยขาหลังสองขาที่อาจจะเรียกว่า “ยืนตรง” (statant erect) ถ้าเป็นสัตว์ที่ไม่ดุร้ายก็จะใช้คำว่า “at bay” แทนที่ แต่ถ้าเป็นท่า “ยืนตรงหันหน้า” (statant guardant) ก็จะใช้คำว่า “at gaze”

ลักษณะการวางท่าของนก[แก้]

ท่า “นกกระทุงเสียสละ”

ลักษณะการวางท่าบางท่าก็ใช้สำหรับนก นกอินทรีมักจะเป็นท่า “กางปีก” (displayed) ในตราอาร์มรุ่นเก่าซึ่งทำให้กลายเป็นท่ามาตรฐานโดยไม่ต้องนิยาม ถ้าวางท่าอื่นจึงจะนิยาม ลักษณะการวางท่าหนึ่งที่แปลกและใช้เฉพาะนกนกเพลิแกนคือท่าที่เรียกว่า “นกกระทุงเสียสละ” (pelican in her piety) ซึ่งเป็นท่าที่ยกปีกและจิกอกตนเองเพื่อเลี้ยงลูกในรัง ท่านี้มีความหมายทางคริสต์ศาสนาและเป็นที่นิยมใช้กันเป็นสัญลักษณ์ในตราอาร์ม และแทบจะเป็นท่าเดียวที่ใช้สำหรับนกกระทุง[10] ในบางท่าจะมีแต่เพียงนกกระทุงเท่านั้นที่จิกอกตนเองโดยไม่มีลูก ท่านี้เรียกว่า “นกกระทุงจิกอก” (vulning herself) และ “นกกระทุงเลี้ยงลูก” (in her piety) ซึ่งเป็นท่านกกระทุงล้อมรอบด้วยลูกนกขณะที่กำลังเลี้ยงลูก[11]

คำที่ใช้บรรยายท่าของปีกนกก็มีด้วยกันหลายคำ แทนที่จะเป็นลักษณะการวางท่าของนกทั้งตัว นกส่วนใหญ่แล้วจะใช้ท่าต่างๆ ที่ได้แก่

  • “กางปีก” (wings displayed) เป็นท่าที่กางปีกออกไปจนสุดบริเวณตรา ปีกขวาจะกางไปข้างหน้า ปีกซ้ายจะกางไปข้างหลัง เพื่อให้เห็นใต้ปีกทั้งสองปีกได้อย่างชัดเจน
  • “กระพือปีก” (Wings addorsed) เป็นท่าที่ยกปีกขึ้นพร้อมที่จะบิน ฉะนั้นจึงเห็นตอนบนของปีกขวาของนกหลังปีกซ้ายที่กางเต็มที่
  • “ยกปีกขึ้น” (wings elevated) ยกปีกให้ปลายปีกชี้ขึ้น
  • “ยกปีกลง” (wings inverted) ยกปีกให้ปลายปีกชี้ลง
กางปีกยกขึ้น กางปีกยกลง

กางปีก[แก้]

ท่า “กางปีก” (Displayed) เป็นท่าด้านตรง หัวหันไปทางขวาและปีกกางออกไปทั้งสองข้างจนเต็มผืนตรา เป็นที่มาตรฐานสำหรับนกอินทรี การใช้นกอินทรีท่านี้ใช้กันมาตั้งแต่โบราณตั้งแต่สมัยชาร์เลอมาญก่อนที่จะมีการจะใช้ตราอาร์ม[12]

ยกปีก[แก้]

ท่า “ยกปีก” (Rising หรือ rousant) เป็นท่าที่หันไปทางขวา หัวยกขึ้นและยกปีกราวกับพร้อมที่จะบิน ปีกอาจจะนิยามว่า “กาง” (displayed) หรือ “กระพือ” (addorsed) และอาจจบรรยายต่อไปว่าขึ้น (elevated) หรือลง (inverted)

บิน[แก้]

ท่า “บิน” (volant) เป็นท่าที่หันไปทางซ้ายกางปีกขณะที่บิน

พัก[แก้]

ท่า “เกาะคอน” (trussed หรือ close หรือ perched) เป็นท่าพักหุบปีก

ยืนยาม[แก้]

ท่า “ยืนยาม” (vigilant) เป็นท่ายืนขาเดียวที่ใช้กับนกกระสาหรือนกที่คล้ายกัน

ลักษณะการวางท่าอื่นๆ[แก้]

นอกจากคำต่างๆ ที่กล่าวข้างต้นแล้วก็ยังมีคำอื่นๆ ที่ใช้ในการบรรยายลักษณะการวางท่าอื่นๆ สำหรับสัตว์อื่นด้วย เช่นคำว่า “glissant” หรือ “nowed” ที่ใช้สำหรับ serpent

กางปีกผงาด[แก้]

ท่า “กางปีกผงาด” (segreant) จะเป็นท่าที่ขาหน้าสองขายกขึ้นในท่า “ยืนผงาด” โดยยกปีกขึ้น คำนี้ใช้เฉพาะสัตว์สี่ขาที่มีปีกเช่นกริฟฟิน และมังกร

ต่อสู้[แก้]

ท่า “ต่อสู้” (Combatant) เป็นท่าด้านข้างของสัตว์สองตัวหันหน้าเข้าหากันในท่า “ยืนผงาด” หรือ “กางปีกผงาด” ท่านี้ใช้ได้สำหรับสัตว์ทุกชนิด แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้กับสัตว์ที่ดุร้ายหรือสัตว์ในวรรณคดี จะเป็นท่าที่ไม่ใช้กับสัตว์ที่มีเพียงตัวเดียว

หันออกจากกัน[แก้]

ท่า “หันออกจากกัน” (addorsed หรือ endorsed) เป็นสัตว์สองตัวหันหลังจากกัน เช่นเดียวกับท่า “ต่อสู้” จะเป็นท่าที่ไม่ใช้กับสัตว์ที่มีเพียงตัวเดียว ท่านี้มักจะใช้กับปลา แต่ก็อาจจะใช้กับสัตว์ใดก็ได้ที่หันหลังจากกัน หรือบางครั้งก็อาจจะเป็นกุญแจในท่า “หันออกจากกัน”

ว่ายน้ำ[แก้]

ท่า “ว่ายน้ำ” (Naiant) ท่านี้มักจะใช้กับปลาในท่าราบ (ไม่ใช่ “ปลายืน”) แต่อาจจะใช้กับสัตว์ทะเล หรือบางครั้งก็อาจจะใช้กับนกน้ำเช่น หงส์ เป็ด หรือห่านก็ได้

ปลายืน[แก้]

ท่า “ปลายืน” (Hauriant) เป็นท่าตั้งของปลา, โลมา หรือสัตว์ทะเลอื่นๆ

เลื้อย[แก้]

ท่า “เลื้อย” (Glissant) เป็นท่าที่ใช้กับงู (serpent)

ลักษณะหาง[แก้]

หางของสัตว์เช่นสิงโต มังกร หรือสัตว์อื่นๆ มีหลายลักษณะที่รวมทั้ง

  • “หางปม” (Nowed)
  • “หางแฉก” (forked tail)
  • “หางไขว้” (Crossed tail)
  • “หางบิด” (Crossed tail reverse)

ท่า “หางปม” (Nowed) Serpents, and often the tail of a lion, dragon, or other beast, is often nowed, or knotted, usually into a figure 8 pattern.

สัตว์ต่างๆ และท่าต่างๆ ที่ใช้ในตราอาร์ม[แก้]

สิงโตยุรยาตรยกเท้าหน้าเอี้ยวคอ วิ่ง

อ้างอิง[แก้]

  1. Fox-Davies (1909), p. 180.
  2. Fox-Davies (1909), p. 176.
  3. "Segreant". Dictionary of Heraldry. 2008-08-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-10. สืบค้นเมื่อ 2009-03-14.
  4. 4.0 4.1 Fox-Davies (1909), p. 181.
  5. Fox-Davies (1909), pp.172-3.
  6. 6.0 6.1 Fox-Davies (1909), p. 184.
  7. 7.0 7.1 Fox-Davies (1909), p. 185.
  8. 8.0 8.1 8.2 Fox-Davies (1909), p. 183.
  9. Fox-Davies (1909), p. 182.
  10. Fox-Davies (1909), p. 242.
  11. Cussans (2003), p. 93.
  12. Fox-Davies (1909), p. 233.

ดูเพิ่ม[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สัตว์ที่ใช้ในตราอาร์ม