เรจออฟเดอะดรากอนส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Rage of the Dragons)
เรจออฟเดอะดรากอนส์
ผู้พัฒนาเอโบกา, นอยส์แฟกทรี[a]
ผู้จัดจำหน่ายเพลย์มอร์
กำกับอังเฆล ตอร์เรส
ออกแบบเอดัวร์โด เดปัลมา
มาริโอ บาร์กัส
โปรแกรมเมอร์ฮิเดนาริ มาโมโตะ
ศิลปินบุงชิจิโร โอมะ
แต่งเพลงโทขิกาซุ ทานากะ
เครื่องเล่นอาร์เคด, นีโอจีโอ เออีเอส
วางจำหน่ายอาร์เคด
นีโอจีโอ เออีเอส
เพลย์สเตชัน 4, เพลย์สเตชัน 5, เอกซ์บอกซ์วัน, เอกซ์บอกซ์ซีรีส์ เอกซ์/เอส, นินเท็นโด สวิตช์
แนวต่อสู้
รูปแบบ
ระบบอาร์เคดนีโอจีโอ เอ็มวีเอส

เรจออฟเดอะดรากอนส์[b] (อังกฤษ: Rage of the Dragons) เป็นเกมต่อสู้ตัวต่อตัวแบบแท็กทีม ค.ศ. 2002 ที่วางจำหน่ายสำหรับฮาร์ดแวร์นีโอจีโอโดยบริษัทเพลย์มอร์[1][2][3] เกมดังกล่าวได้รับการพัฒนาโดยบริษัทนอยส์แฟกทรีของญี่ปุ่น ซึ่งพัฒนาร่วมกันโดยเบรซซาซอฟต์ และได้รับการออกแบบเป็นส่วนใหญ่โดยทีมเอโบกาของเม็กซิโก[4] ในวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2020 ปิโกะอินเตอร์แอกทีฟได้รับทรัพย์สินทางปัญญาของเกมและแสดงความสนใจที่จะใช้มันในทางใดทางหนึ่ง[5][6] ส่วนพอร์ตสำหรับนินเท็นโด สวิตช์, เพลย์สเตชัน 4 กับเพลย์สเตชัน 5 และเอกซ์บอกซ์วัน กับเอกซ์บอกซ์ซีรีส์ มีกำหนดออกวางจำหน่ายในอนาคตโดยคิวยูไบต์อินเตอร์แอกทีฟ[7][8]

รูปแบบการเล่น[แก้]

ภาพหน้าจอเกมเพลย์ที่แสดงการจับคู่ระหว่าจิมมีและเปเป

เรจออฟเดอะดรากอนส์มีระบบแท็กทีมซึ่งผู้เล่นจะควบคุมตัวละครสองตัวและสามารถสลับระหว่างตัวละครตัวใดตัวหนึ่งระหว่างการเล่นเกม[9] ตัวละครที่ไม่ได้รับการควบคุมจะค่อย ๆ ฟื้นฟูพลังงานส่วนหนึ่งในขณะที่สมาชิกทีมอีกคนกำลังต่อสู้ ผู้เล่นสามารถทำคอมโบพิเศษที่ตัวละครทั้งสองโจมตีคู่ต่อสู้ในเวลาเดียวกันเพื่อเพิ่มความเสียหาย

มิเตอร์เสริมที่อยู่ด้านล่างของหน้าจอจะค่อย ๆ เต็มขึ้นเมื่อการโจมตีเชื่อมกับฝ่ายตรงข้าม และเมื่อมิเตอร์เต็มสามารถทำการเคลื่อนไหวพิเศษได้ (เช่น การตีโต้, ท่าไม้ตายสุดยอด ฯลฯ)

โครงเรื่องและตัวละคร[แก้]

มีตัวละครที่เล่นได้ทั้งหมดสิบสี่ตัวในเรจออฟเดอะดรากอนส์[10][11][12] ผู้เล่นสามารถเลือกจากหนึ่งในเจ็ดการจับคู่เริ่มต้น หรือสร้างการจับคู่ที่กำหนดเองด้วยชุดค่าผสมที่เป็นไปได้เกือบ 80 แบบ ผู้เล่นจะเห็นฉากจบที่ซ่อนอยู่หากพวกเขาจบทัวร์นาเมนต์แบบผู้เล่นคนเดียวด้วยการจับคู่บิลลีและจิมมี

  • สหรัฐ บิลลี (วิลเลียม ลูวิส): นักแข่งรถชื่อดังและเป็นผู้เชี่ยวชาญริวซุยเคน เขาไม่ได้เห็นจิมมีพี่ชายของเขาเลยนับตั้งแต่ที่มารายห์แฟนสาวของจิมมีเสียชีวิต พาร์ตเนอร์: ลินน์
  • สหรัฐ จิมมี (เจมส์ ลูวิส): หลังจากการเสียชีวิตของมารายห์ซึ่งเป็นแฟนสาวของเขา จิมมีก็ได้ละทิ้งน้องชายของเขาและกลายเป็นนักสู้ข้างถนนที่มีชื่อเสียงทั้ง เพื่อเงินและความตื่นเต้น เขากลับไปที่ซันไชน์ซิตีหลังจากรู้สึกถึงเสียงสะท้อนของวิญญาณมังกรที่ชั่วร้าย พาร์ตเนอร์: โซเนีย
  • สหรัฐ ลินน์ (ลินน์ เบเกอร์): ชาวอเมริกันเชื้อสายจีน ลินน์ได้รับการฝึกกับทั้งจิมมี และบิลลี ลูวิส เธอเป็นผู้เชี่ยวชาญริวซุยเคน พาร์ตเนอร์: บิลลี
  • รัสเซีย โซเนีย (โซเนีย โรมาเนนโก): โซเนียเป็นผู้ลอบสังหารที่มีทักษะสูง หลังจากทิ้งชีวิตของเธอในฐานะผู้ลอบสังหารไว้เบื้องหลัง เธอได้พบกับจิมมี ลี และตกหลุมรักเขา พาร์ตเนอร์: จิมมี
  • นอร์เวย์ ราเดล: ราเดลเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มสุดท้ายของกลุ่มนักล่ามังกรที่ยิ่งใหญ่ เขาได้พัฒนาทักษะของเขาเพื่อช่วยผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ พาร์ตเนอร์: แอนนี
  • ญี่ปุ่น แอนนี (แอนนี มูรากามิ): แอนนี มูรากามิ เกิดในครอบครัวกายสิทธิ์โบราณ ในช่วงต้นชีวิตของเธอ หัวหน้าครอบครัวสังเกตเห็นว่าความสามารถทางจิตของเธอนั้นทรงพลังมาก เขาหวังว่าเธอจะมีบทบาทสำคัญในอนาคตของครอบครัวและโลก แม้เธอจะอายุน้อย แต่เธอก็ได้รับมอบหมายให้ช่วยราเดอล ค้นหาและเอาชนะโยฮันน์ แอนนีพร้อมกับแมวดำชื่อควี-ซี ได้เดินทางไปกับราเดล โดยออกจากบ้านและใช้ชีวิตแบบโดดเดี่ยวเป็นครั้งแรก ความแปลกใหม่ของโลกภายนอกได้ทำให้เธอหลงใหล พาร์ตเนอร์: ราเดล
  • ญี่ปุ่น คัสแซนดรา: คัสแซนดราเติบโตมาในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า ที่นั่นเธอได้พบกับโอนิ อิโนมูระและทั้งสองก็สนิทกัน พวกเขาตระหนักว่าพวกเขาทั้งสองมีพลังที่แปลกประหลาดและเห็นกันและกันเหมือนพี่น้อง พวกเขาถูกบังคับให้ออกจากสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าหลังจากที่โอนิเผาที่นั่นลงไป หลังจากออกจากสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าพวกเขาก็เริ่มออกเดินทาง ในระหว่างการเดินทางโอนิถูกบังคับให้ต่อสู้ ซึ่งเป็นสิ่งกระตุ้นที่เขาไม่สามารถเพิกเฉยได้ ในระหว่างการต่อสู้ครั้งหนึ่ง โอนิได้รับบาดเจ็บสาหัส โดยทิ้งให้คัสแซนดราหาทางช่วยเหลือเขา เมื่อโอนิได้รับบาดเจ็บ คัสแซนดราจึงขอความช่วยเหลือจากอีไลแอส แพทริก อีไลแอสสังเกตเห็นพลังงานแปลก ๆ ที่ทั้งสองมีอยู่อย่างรวดเร็ว พวกเขาตกลงที่จะเดินทางด้วยกัน แต่มีเวลาอยู่ด้วยกันไม่นาน คืนหนึ่ง อีไลแอสสังเกตเห็นโอนิทำร้ายคัสแซนดราเพื่อสนองความหิวกระหายในการต่อสู้ พวกเขาถูกบังคับให้หนี โดยเดินทางต่อไปด้วยตัวเองอีกครั้ง พาร์ตเนอร์: โอนิ
  • ญี่ปุ่น โอนิ: โอนิเดินทางไปทั่วโลกกับคัสแซนดราน้องสาวของเขา ด้วยความพยายามที่จะเรียนรู้ความจริงเบื้องหลังอดีตของพวกเขา เขาต่อสู้กับพลังของเขาและเรียกร้องอย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์: คัสแซนดรา
  • เม็กซิโก เปเป (โฆเซ โรดริเกซ): โฆเซ "เปเป" โรดริเกซ เป็นนักสู้ชาวเม็กซิโก หลังจากพบม้วนคัมภีร์จากเทพเจ้าเกวตซัลโกอัตล์ ความสามารถในการต่อสู้ของเขาก็ก้าวหน้าขึ้นมาก พาร์ตเนอร์: ปูปา
  • บราซิล ปูปา (ปูปา ซัลเกย์โร): ปูปาเป็นเด็กสาวชาวบราซิลและเพื่อนของเปเป ซึ่งกำลังตามหาพี่ชายของเธอที่หายตัวไป เธอได้รับการฝึกกาโปเอย์รา และมักจะใช้ประแจเมื่อเธอต่อสู้ พาร์ตเนอร์: เปเป
  • สหราชอาณาจักร อลิซ (อลิซ แคร์โรล): อลิซเกิดในครอบครัวที่ร่ำรวยและมีชื่อเสียงในลอนดอน เมื่ออายุ 10 ขวบ โศกนาฏกรรมได้เกิดขึ้นกับครอบครัวของเธอ พ่อแม่ของเธอถูกสังหารอย่างเหี้ยมโหด ซึ่งทำให้อลิซอยู่ในอาการช็อก เมื่อเธอถูกพบ เธอถูกปกคลุมไปด้วยเลือด และไม่สามารถบอกผู้สอบสวนได้ว่าเกิดอะไรขึ้น บางคนที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนคดีฆาตกรรมสงสัยว่าอลิซตัวน้อยต้องรับผิดชอบ แต่พวกเขาไม่สามารถพิสูจน์ได้ เนื่องจากความสงสัยนี้ รวมถึงภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมที่ไม่แน่นอนของเธอ เธอจึงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจิตเวชเพื่อรับการสังเกต โดยแพทย์ไม่สามารถทำอะไรเพื่อเธอได้ อลิซจะยังคงอยู่ในโรงพยาบาลจนกระทั่งเธอจะได้พบกับอีไลอัส แพทริก โดยที่อีไลอัสรับรู้ได้ทันทีว่าอลิซถูกวิญญาณชั่วร้ายเข้าสิงและแพทย์ก็ไม่สามารถช่วยเธอได้ เขามุ่งมั่นที่จะช่วยเด็กสาว และนำเธอไว้ใต้ปีกของเขา ทั้งนี้ เธอปรากฏตัวอีกครั้งในการแฮกเกมสตรีตออฟเรจ 2 ของเซกา ที่มีชื่อตอนว่าเกิลส์แพราไดซ์ พาร์ตเนอร์: อีไลอัส
  • สาธารณรัฐไอร์แลนด์ อีไลอัส (อีไลอัส แพทริก): หลังจากการเสียชีวิตของครอบครัวเขา อีไลอัสได้อุทิศชีวิตเพื่อขจัดความชั่วร้าย เขาได้ศึกษากลยุทธ์การไล่ผีเพื่อกำจัดความชั่วร้ายที่เขาพบ พาร์ตเนอร์: อลิซ
  • สหรัฐ มร. โจนส์ (จอห์นนี ดี. โจนส์): มร. โจนส์ มีพื้นฐานมาจากคารีม อับดุล-จับบาร์ อย่างหลวม ๆ เขาเป็นคนคลั่งไคล้ดิสโก และดาราภาพยนตร์ที่พัฒนาเจี๋ยฉวนเต้าในแบบของเขาเอง พาร์ตเนอร์: คัง
  • เกาหลีใต้ คัง แจ-โม: ในขณะทีเขาถูกเยาะเย้ยเรื่องขนาดของเขาเมื่อตอนที่เขายังเด็ก ในที่สุดเขาก็กลายเป็นนักมวยปล้ำที่มีชื่อเสียง เขามีความฝันที่จะเป็นนักแสดงในสักวัน รวมถึงเป็นเพื่อนสนิทกับ มร. โจนส์ พาร์ตเนอร์: มร. โจนส์

นอกจากนี้ ยังมีตัวละครบอสสองตัวในเกม ซึ่งผู้เล่นจะต่อสู้เมื่อตอนจบทัวร์นาเมนต์ผู้เล่นคนเดียว บอสเหล่านี้ไม่เหมือนกับตัวละครทั่วไป พวกเขาต่อสู้เพียงลำพัง โดยไม่มีคู่หู

  • อินเดีย อะบูโบ (อะบูโบ ราโอ): อดีตนักสู้ผู้รุ่งโรจน์และอดีตสมาชิกแก๊งที่ปกครองนครซันไชน์ วันหนึ่ง เขาวางแผนที่จะโค่นล้มเจ้านายของเขา จนกระทั่งจิมมีและบิลลีบุกเข้าไปในเขตอิทธิพลของอันธพาล และเอาชนะพวกเขา ด้านชีวิตส่วนตัว เขาพ่ายแพ้ต่อพี่ชาย และรู้สึกขุ่นเคืองต่อเขานับแต่นั้นเป็นต้นมา
  • อิตาลี โยฮัน: เป็นผู้นำลัทธิใต้ดินขนาดใหญ่ในนครซันไชน์ โยฮันยังเป็นอดีตศิษย์ของปู่ของลินน์ และผู้ครอบครองมังกรดำคนปัจจุบัน โดยตัวตนชั่วร้ายที่ถูกกำหนดให้สร้างหายนะต่อแผ่นดิน

การพัฒนาและการตลาด[แก้]

เดิมที บริษัทเอโบกาจินตนาการถึงเรจออฟเดอะดรากอนส์ว่าเป็นภาคต่อของดับเบิลดรากอนเวอร์ชันเกมต่อสู้นีโอจีโอที่วางจำหน่ายใน ค.ศ. 1995 อย่างไรก็ตาม บริษัทเอโบกาไม่สามารถใช้ทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับตัวละคร (ซึ่งซื้อโดยบริษัทที่ก่อตั้งโดยอดีตพนักงานของเทคนอสเจแปนอย่างมิลเลียน ซึ่งเป็นผู้พัฒนาดับเบิลดรากอนอัดวานซ์) ดังนั้น เรจออฟเดอะดรากอนส์จึงกลายเป็นการแสดงความเคารพต่อซีรีส์ดับเบิลดรากอน แทนที่จะเป็นภาคต่ออย่างเป็นทางการ[13][14][15][16] ตัวละครนำสองคนในเรจออฟเดอะดรากอนส์ ซึ่งคือบิลลีและจิมมี ใช้ชื่อเอี่ยวกับตัวเอกของซีรีส์ดับเบิลดรากอน ซึ่งคือบิลลี และจิมมี ลี ในขณะที่คังมีพื้นฐานมาจากเบอร์นอฟในดับเบิลดรากอน II: เดอะรีเวนจ์ และตัวละครที่เป็นบอสอย่างอะบูโบนั้นอ้างอิงจากอะโบโบในดับเบิลดรากอนดั้งเดิม ส่วนตัวละครที่สนับสนุนสองคนในภาคเรจ คือลินดา (ผู้ช่วยหญิงของอะบูโบ) และมารายห์ (แฟนสาวของจิมมี) ก็มีพื้นฐานมาจากตัวละครดับเบิลดรากอนเช่นกัน ขณะที่จิมมี, ลินน์, อีไลอัส และแอนนี ก็ปรากฏตัวในฐานะตัวละครรับเชิญในมาทริมีลี ซึ่งเป็นเกมต่อสู้ที่ผลิตโดยบริษัทนอยส์แฟกทรี และบังเอิญ บริษัทอัตลุสที่ผลิตซีรีส์เพาเวอร์อินสติงต์เดิม ได้เผยแพร่ดับเบิลดรากอนอัดวานซ์สำหรับมิลเลียน ซึ่งเกมดังกล่าวได้รับการออกแบบร่วมกันโดยมาริโอ บาร์กัส และเอดัวร์โด เดปัลมา ที่ต่อมาได้ทำงานในอุตสาหกรรมอนิเมะ[17] ส่วนซาวด์แทร็กแต่งโดยโทขิกาซุ ทานากะ ซึ่งเคยทำงานที่บริษัทเอสเอ็นเค และทำงานในโครงการอย่างเฟทัลฟิวรี: คิงออฟไฟเตอส์[18] นอกจากนี้ ก่อนการเปิดตัว นิตยสารฝรั่งเศสอย่างฮาร์ดคอร์เกมเมอส์ได้กล่าวถึงการรวมบิลลีและจิมมีจากดับเบิลดรากอนไว้ในเกมนี้[19]

การตอบรับ[แก้]

นิตยสารเกมไทป์ของสเปน ให้คำวิจารณ์เชิงบวกแก่เรจออฟเดอะดรากอนส์[20] และนิตยสารมันทลีอาร์เคเดียได้รายงานในฉบับเดือนกันยายน ค.ศ. 2002 ว่าเกมนี้เป็นเกมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอันดับหกในประเทศญี่ปุ่น[21] ส่วนโยชิฮิซะ คิชิโมโตะ ผู้สร้างดับเบิลดรากอนต้นฉบับกล่าวว่า "เขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรจออฟเดอะดรากอนส์"[22] ใน ค.ศ. 2012 นิตยสารคอมเพลกซ์ได้จัดอันดับ "ภาคต่อของเกมต่อสู้ดับเบิลดรากอนภาคแรก" นี้ในฐานะเกมต่อสู้ของบริษัทเอสเอ็นเคที่ดีที่สุดอันดับ 13 เท่าที่เคยสร้างมา[23] ส่วนเคิร์ต คาลาตา จากฮาร์ดคอร์เกมมิง 101 มองว่าเกมนี้เป็น "เกมที่ยอดเยี่ยมสำหรับทุกคนที่เป็นนักสู้ 2 มิติยุคปลาย และเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าด้วยการออกแบบตัวละครสุดเร้าใจและซาวด์แทร็กที่ยอดเยี่ยม"[9]

หมายเหตุ[แก้]

  1. งานเพิ่มเติมโดยเบรซซาซอฟต์
  2. レイジ・オブ・ザ・ドラゴンズ เรจิ โอบุ ซะ โดรากอนซุ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Dossier: Neo Geo Y SNK — Lucha VS". GamesTech (ภาษาสเปน). No. 11. Ares Informática. July 2003. p. 57.
  2. "NEOGEO 20th Anniversary: NEOGEO Games All Catalog". Monthly Arcadia (ภาษาญี่ปุ่น). No. 119. Enterbrain. April 2010. pp. 12–22.
  3. "Title Catalogue - NEOGEO MUSEUM". SNK Playmore. 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-28. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
  4. Ryofu (July 2002). "Coming Soon: Rage of the Dragons". GamesTech (ภาษาสเปน). No. 1. Ares Informática. p. 32.
  5. Wong, Alistair (May 10, 2020). "Rage of the Dragons IP Acquired By PIKO Interactive". Siliconera. Enthusiast Gaming. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-06. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
  6. Mateo, Alex (May 11, 2020). "PIKO Interactive Acquires Rights to Rage of the Dragons Game - Publisher "currently working on plans" for 2002 fighting game". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-20. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
  7. Doolan, Liam (October 28, 2021). "Neo Geo Tag Team Fighter Rage Of The Dragons Is Coming To Switch — And the 'Breakers Collection' has been delayed". Nintendo Life. Nlife Media. สืบค้นเมื่อ 2021-10-29.
  8. Sal Romano, Sal Romano (October 29, 2021). "Neo Geo fighting game Rage of the Dragons coming to PS4, Xbox One, and Switch". Gematsu. สืบค้นเมื่อ 2021-10-29.
  9. 9.0 9.1 Kalata, Kurt (February 7, 2016). "Rage of the Dragons". Hardcore Gaming 101. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-21. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
  10. "Rage of the Dragons (レイジ・オブ・ザ・ドラゴンズ)". Monthly Arcadia (ภาษาญี่ปุ่น). No. 25. Enterbrain. June 2002.
  11. "Rage of the Dragons (レイジ・オブ・ザ・ドラゴンズ)". Monthly Arcadia (ภาษาญี่ปุ่น). No. 26. Enterbrain. July 2002.
  12. "Rage of the Dragons (レイジ・オブ・ザ・ドラゴンズ)". Monthly Arcadia (ภาษาญี่ปุ่น). No. 27. Enterbrain. August 2002.
  13. Master, Dojo (August 21, 2002). "Interview with Evoga Entertainment: Creators of Rage of the Dragons". Double Dragon Dojo. Konfiskated Teknologies Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-07. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
  14. "Entrevista con EVOGA Entertainment - Entrevista exclusiva con Ángel Torres, director de EVOGA Entertainment". Bonus Stage MX. May 3, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-30. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
  15. "EVOGA, eslabón entre SNK y México – #AtomixShow 069". Atomix (ภาษาสเปน). Prowell Media. August 26, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-10. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
  16. Baird, Scott (January 30, 2017). "15 Things You Didn't Know About Double Dragon - One of the most important video game series of all time is returning to consoles. What effect has Double Dragon had on the world?". Screen Rant. Valnet, Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
  17. Marmot (February 4, 2013). "Entrevistando a Edo Haruma, dibujante mexicano en Japón (Parte 1/2)". RetornoAnime (ภาษาสเปน). KEM Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-08. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
  18. Greening, Chris (January 12, 2016). "Toshikazu Tanaka Interview: The King of Fighters". vgmonline.net. Video Game Music Online. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 5, 2016. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
  19. "Previews - Rage of the Dragon". HardCore Gamers (ภาษาฝรั่งเศส). No. 7. FJM Publications. June 2002. p. 17.
  20. Classic Kim Kapwham (August 2002). "Dossier - Rage of the Dragons". Gametype (ภาษาสเปน). No. 8. MegaMultimedia. pp. 20–21.
  21. "10". Monthly Arcadia (ภาษาญี่ปุ่น). No. 28. Enterbrain. September 2002.
  22. Leone, Matt (October 12, 2012). "The man who created Double Dragon". Polygon. Vox Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-29. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
  23. Jones, Elton (September 18, 2012). "The 25 Best SNK Fighting Games Ever Made: 13. Rage of the Dragons". Complex. Complex Networks. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]