เราะฟีก อัลฮะรีรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Rafik Hariri)
เราะฟีก อัลฮะรีรี
رفيق الحريري
นายกรัฐมนตรีเลบานอน
ดำรงตำแหน่ง
23 ตุลาคม 2000 – 21 ตุลาคม 2004
ประธานาธิบดีเอมีล ละฮูด
ก่อนหน้าซะลีม อัลฮุศ
ถัดไปอุมัร กะรอมี
ดำรงตำแหน่ง
31 มกราคม 1992 – 2 ธันวาคม 1998
ประธานาธิบดีเอเลียส ฮราวี
เอมีล ละฮูด
ก่อนหน้าเราะชีด อัศศุลห์
ถัดไปซะลีม อัลฮุศ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เราะฟีก บะฮาอ์ อัดดีน อัลฮะรีรี (Rafic Baha El Deen Al Hariri)

1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944(1944-11-01)
ไซดอน ประเทศเลบานอน
เสียชีวิต14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005(2005-02-14) (60 ปี)
เบรุต ประเทศเลบานอน
เชื้อชาติเลบานอนและซาอุดีอาระเบีย
พรรคการเมืองขบวนการอนาคต
คู่สมรสNidal Bustani, นาซิก อัลฮะรีรี
บุตรบะฮาอ์, ซะอด์, ฮุซาม, อัยมัน, ฟะฮด์, ฮินด์

เราะฟีก บะฮาอ์ อัดดีน อัลฮะรีรี (อาหรับ: رفيق بهاء الدين الحريري, Rafic Baha El Deen Al Hariri, ออกเสียง: [rafiːq al ħariːriː]; 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944 – 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005) เป็นนักธุรกิจมหาเศรษฐีและอดีตนายกรัฐมนตรีเลบานอน นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 ถึง 1998 และอีกวาระในปี ค.ศ. 2000 จนถึงการลาออกของเขาในวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2004 (2004-10-20) เขาเป็นผู้นำของคณะรัฐมนตรีรวมห้าคณะตลอดการดำรงตำแหน่ง อัลฮะรีรีเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในฐานะผู้ก่อร่างข้อตกลงอัฏฏออิฟที่เป็นการสิ้นสุดสงครามกลางเมืองเลบานอนที่กินระยะเวลาไป 15 ปี และก่อสร้างเมืองหลวงเบรุตขึ้นใหม่ เขาเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกหลังสงครามกลางเมืองและเป็นนักการเมืองที่ร่ำรวยและทรงอิทธิพลที่สุดในเลบานอนจนกระทั่งเขาถูกลอบสังหาร

อัลฮะรีรีถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 โดยการวางระเบิดฆ่าตัวตายบนรถบรรทุกในเบรุต ผู้ต้องหาคดีนี้ประกอบด้วยสมาชิกของฮิซบุลลอฮ์ห้าคนและยังอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีโดยปราศจากตัวจำเลยโดยศาลพิเศษเลบานอน ในขณะที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องบางส่วนมีความเกี่ยวโยงกับรัฐบาลซีเรีย การลอบสังหารนี้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญในเลบานอน ประชาชนได้ออกมาประท้วงในการปฏิวัติซีดาร์ที่ท้ายที่สุดนำไปสู่การถอนกำลังทหารซีเรียออกจากเลบานอนและการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลในที่สุด

เขาเคยถูกจัดอันดับให้เป็นบุคคลที่มั่งคั่งที่สุด 100 คนของโลก[1] และนักการเมืองที่ร่ำรวยที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลก[2]

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา[แก้]

อัลฮะรีรีเกิดเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944 ในครอบครัวมุสลิมซุนนีที่พอมีกินมีใช้ในเมืองท่าไซดอน เขามีพี่น้องสองคนคือชะฟีก (Shafic) และบะฮียะฮ์ (Bahia)[3] เขาจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนในไซดอน[3] และจบการศึกษาระดับอุดมศึกษาด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยอาหรับเบรุต[4]

การงาน[แก้]

ในปี ค.ศ. 1965 อัลฮะรีรีเดินทางไปประเทศซาอุดีอาระเบียเพื่อทำงาน[4] เขาเป็นอาจารย์สอนหนังสืออยู่ระยะหนึ่งก่อนเปลี่ยนไปทำงานในสาขาอุตสาหกรรมก่อสร้าง[5] ในปี ค.ศ. 1978 เขาได้รับสัญชาติพลเมืองซาอุดีอาระเบีย[4][6] ควบคู่กับสัญชาติเลบานอนของเขา

ในปี ค.ศ. 1969 อัลฮะรีรีก่อตั้งบริษัทชื่อ ซิโกเนสต์ (Ciconest) เป็นบริษัทรับเหมาช่วงขนาดเล็ก ซึ่งได้ปิดตัวในเวลาต่อมา จากนั้นเขาจึงเข้าทำธุรกิจกับบริษัทก่อสร้างสัญชาติฝรั่งเศส Oger ในการก่อสร้างโรงแรมแห่งหนึ่งในอัฏฏออิฟ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ที่ซึ่งได้รับพระราชกระแสชื่นชมจากสมเด็จพระราชาธิบดีคอลิด ต่อมาอัลฮะรีรีได้เข้าดูแลบริษัท Oger แทนและก่อตั้งบริษัท Saudi Oger ที่ซึ่งต่อมาเป็นบริษัทก่อสร้างหลักที่ได้รับไว้วางพระราชหฤทัยจากราชวงศ์ซาอุดีในการก่อสร้างชิ้นสำคัญต่าง ๆ อัลฮะรีรีจึงใช้เวลาก่อร่างสร้างตัวเพียงไม่กี่ปีก่อนขึ้นเป็นมหาเศรษฐีหลายพันล้าน

หลังเขาสะสมความมั่งคั่งมากมาย เขาได้เริ่มงานบริจาคเงิน เช่น การก่อสร้างโรงเรียนในเลบานอน การก่อตั้งหน่วยงานเกี่ยวกับการศึกษาในเลบานอน ในปี ค.ศ. 1979 เขาตั้งหน่วยงานแรกขึ้นคือสมาคมอิสลามเพื่อวัฒนธรรมและการศึกษา (Islamic Association for Culture and Education)[7] ที่ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมูลนิธิอัลฮะรีรี[7] อัลฮะรีรีเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างรวดเร็ว การอุทธรณ์ต่อสหประชาชาติของเขาและงานบริการในฐานะผู้แทนต่อราชวงศ์ซาอุดีทำให้เขาเป็นที่รู้จักในแวดวงการเมือง

การเมือง[แก้]

อัลฮะรีรีเดินทางกลับมายังเลบานอนในต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 ในฐานะชายผู้ร่ำรวย พร้อมทั้งบริจาคเงินให้กับหน่วยงานจำนวนมากในเลบานอน อย่างไรก็ตาม เขายังถวายงานรับใช้เจ้าชายบันดาร์ บิน สุลต่าน ในปี ค.ศ. 1983[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://news.bbc.co.uk/2/hi/middle_east/910166.stm
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-05. สืบค้นเมื่อ 2020-08-08.
  3. 3.0 3.1 "Rafiq Al Hariri's biography". Rafiq Hariri Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-05. สืบค้นเมื่อ 1 March 2008.
  4. 4.0 4.1 4.2 Worth, Robert F. (30 มิถุนายน 2554). "Rafik Hariri". New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2015.
  5. Gambill, Gary C.; Ziad K. Abdelnour (July 2001). "Dossier: Rafiq Hariri". Middle East Intelligence Bulletin. 3 (7). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 พฤษภาคม 2557.
  6. 7.0 7.1 "Lebanon's Politics: The Sunni Community and Hariri's Future Current". Middle East Report (96). 26 May 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-27. สืบค้นเมื่อ 22 September 2013.
  7. Mehio, Saad (9 July 2002). "Prime Minister Alwaleed bin Talal? For what?". The Daily Star. สืบค้นเมื่อ 18 July 2013.

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Anniversary of Lebanese Prime Minister Rafik Hariri's Assassination" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "CBC Investigation: Who killed Lebanon's Rafik Hariri?" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "erikmitzi" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Hariri murder: UN tribunal issues arrest warrants" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Hezbollah leader says Israel was behind Hariri killing" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Lebanon on a tinderbox" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Lebanon's vast web of corruption unravels" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "reu09" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

หนังสือ[แก้]

  • Sallam, Qasim (1980). Al-Baath wal Watan Al-Arabi [Arabic, with French translation] ("The Baath and the Arab Homeland"). Paris: EMA. ISBN 2-86584-003-4
  • Stephan, Joseph S. (2006) Oeuvres et performances du president martyr Rafic Hariri, les performances economico-financieres avant Paris 2 et apres, le philanthrope batisseur
  • Blandford, Nicholas (2006). Killing Mr Lebanon: The Assassination of Rafik Hariri and Its Impact on the Middle East
  • Vloeberghs, Ward (2015). Architecture, Power and Religion in Lebanon: Rafiq Hariri and the Politics of Sacred Space in Beirut

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

เอกสารตีพิมพ์
  • Family of Slain Lebanese Leader Demands Probe Into Killing -The Associated Press/New York Times 17 February 2005
  • Death of Businessman By Ajami, Fouad The Wall Street Journal-17 February 2005 Page A12