การรัดหนังยาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก RBL)
การรัดหนังยาง
(rubber band ligation)
การแทรกแซง
ICD-9-CM49.45

การรัดหนังยาง (อังกฤษ: rubber band ligation ตัวย่อ RBL) เป็นการรักษาโรคริดสีดวงทวารแบบภายในทุกระดับขั้นในแผนกผู้ป่วยนอก มีอุปกรณ์หลายอย่างที่แพทย์สามารถใช้เพื่อปฏิบัติการ รวมทั้งอุปกรณ์โลหะแบบดั้งเดิม, endoscopic banding, และ CRH O'Regan System โดยทั้งหมดจะรัดหนังยางที่ฐานของหัวริดสีดวงเพื่อตัดเลือดซึ่งส่งไปที่หัว ริดสีดวงก็จะหดตัวลง เนื้อเยื่อก็จะตายภายในไม่กี่วันแล้วหลุดออกเมื่อขับถ่ายตามปกติ โดยที่คนไข้อาจจะไม่สังเกตเห็นเลย

การรัดหนังยางเป็นการรักษาริดสีดวงที่นิยม เพราะมีโอกาสเจ็บน้อยกว่าการผ่าตัด และใช้เวลาฟื้นตัวน้อยกว่า เป็นวิธีที่ได้ผลดีและดำเนินการได้โดยหลายวิธี ถ้าทำด้วย CRH O’Regan System มันจะสัมพันธ์กับอัตราการเกิดอีกที่ 5% ภายใน 2 ปี[1] การรักษานี้อาจทำโดยแพทย์โรคทางเดินอาหาร แพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก หรือศัลยแพทย์ทั่วไป

ประวัติ[แก้]

เมื่อ 460 ปีก่อน ค.ศ ฮิปพอคราทีสเป็นบุคคลแรกที่ได้บันทึกการรัดหัวริดสีดวงด้วยด้าย ในประวัติแพทย์แผนปัจจุบัน การรัดหัวด้วยหนังยางเริ่มเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1958

วิธีการ[แก้]

กล้องส่องตรวจไส้ตรง

การรัดหนังยางมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. การวินิจฉัยก่อนรักษาและการรักษาด้วยยา
    • แพทย์จะวินิจฉัยริดสีดวงทวารด้วยกล้องซึ่งอาจทำโดย colonoscopy, anoscopy, หรือกล้องส่องตรวจไส้ตรง (proctoscopy)
  2. การเตรียมตัว
    • คนไข้ไม่ต้องเตรียมตัวแต่อย่างใด
  3. ตำแหน่งคนไข้
    • แพทย์ปกติจะให้คนไข้คุกเข่าลงที่เตียง หรือให้นอนหันหน้าไปทางซ้ายบนเตียงโดยให้งอเข่าไปทางหน้าอก (เหมือนเด็กในครรภ์)
  4. การรัดหนังยาง
    • ถ้าใช้วิธี RBL แบบดั้งเดิม แพทย์จะสอดกล้องส่องตรวจไส้ตรง (proctoscope) เข้าไปที่ทวารหนัก แล้วใช้คีม (forceps) จับหัวริดสีดวงใส่เข้าไปในปากช่องกลมของเครื่องรัดหนังยาง (ligator) ต่อจากนั้นก็จะกดเครื่องให้ติดถึงฐานของริดสีดวงแล้วปล่อยยางรัดหัวริดสีดวง มีอุปกรณ์ที่ทำความสะอาดใช้ใหม่ได้เป็นทศวรรษ ๆ แล้ว ที่สามารถดูดหัวริดสีดวงแทนการใช้คีมแล้วใช้หนังยางรัด
    • อุปกรณ์แบบ CRH O'Regan ligation system ก็ไม่จำเป็นต้องใช้คีมเหมือนกัน แต่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าอุปกรณ์ที่สามารถดูดหัวริดสีดวงดังที่กล่าวแล้ว ซึ่งปกติศัลยแพทย์ทั่วไปหรือศัลยแพทย์ทวารหนักจะไม่ค่อยใช้ แต่แพทย์โรคทางเดินอาหารอาจใช้เพื่อเพิ่มรายได้ อุปกรณ์จะใช้แรงดูดค่อย ๆ ช่วยให้แพทย์สามารถปล่อยหนังยางเล็กเพื่อรัดฐานของริดสีดวง[2] ปกติการรัดหนังยางจะทำ 3 ครั้งโดยใช้เวลา 2 อาทิตย์เพื่อรักษาอย่างสมบูรณ์ แพทย์อาจรัดหลายหัวพร้อมกัน ๆ โดยเฉพาะถ้าวางยาสลบ แต่การฟื้นตัวอาจนานกว่าและเจ็บกว่า

ภาวะแทรกซ้อน[แก้]

ภาวะแทรกซ้อนจากการรัดหนังยางรวมทั้ง

สิ่งที่คนไข้ควรรู้หลังผ่าตัด[แก้]

  • ในบางกรณี คนไข้อาจจะเลือดออกโดยเฉพาะหลังถ่ายภายในสองอาทิตย์หลังจากรัดหนังยาง (แม้นี่ก็อาจเกิดจากหัวริดสีดวงที่ไม่ได้รักษาด้วย) ซึ่งอาจเป็นหลายวัน ถ้าคิดว่าเลือดออกมาก (เช่น เลือดออกมากกว่าหนึ่งช้อนชา) หรือไม่เลิก คนไข้ควรติดต่อหมอทันที
  • ถ้ารู้สึกเจ็บ สามารถทานยาพาราเซตามอลได้ แต่ไม่ควรใช้ยาไอบิวพรอเฟน[3] การแช่น้ำอุ่นประมาณ 10 นาที วันละ 2-3 ครั้งอาจช่วยได้
  • ไม่ควรยกของหนักหรือทำงานที่ออกแรงวันที่รัดหนังยาง (และในบางกรณี อาจจะไม่ควรถึง 4 วัน)
  • ยาระบายที่ทำอุจจาระให้อ่อนเช่น Docusate (Surfak) ควรใช้วันละครั้งเป็นเวลา 3 วัน ยาอาจหาได้ที่ร้านขายยาโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์
  • คนไข้ควรหลีกเลี่ยงการเบ่งถ่าย ถ้าถ่ายไม่ออก ควรจะแช่น้ำอุ่นประมาณ 10 นาที
  • เพื่อไม่ให้ท้องผูก ควรจะเสริมผลิตภัณฑ์ใยอาหารทุกวัน และเพิ่มดื่มน้ำให้ถึงวันละ 8 แก้ว (คือ 2 ลิตร)

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Cleator, Iain GM; Cleator, Maria M (April 2005). "Banding Hemorrhoids using the O'Regan Disposable Bander". U.S. Gastroenterology Review.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  2. "Recovering from Hemorrhoid Banding". CRH Medical Corporation. May 8, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 9, 2017. สืบค้นเมื่อ January 26, 2018.
  3. Healthwise Staff (November 20, 2015). "Rubber Band Ligation for Hemorrhoids". WebMD. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 23, 2017.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]