กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Princess Chulabhorn Science High School)
กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์
จุฬาภรณราชวิทยาลัย
Princess Chulabhorn Science High School
ตราประจำกลุ่มโรงเรียน
ข้อมูล
ชื่ออื่นจ.ภ. PCSHS
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
โรงเรียนวัตถุประสงค์พิเศษ
คำขวัญรักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ
สถาปนา27 กรกฎาคม พ.ศ. 2536
ประกาศตั้งโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย 4 แห่งแรก
คณะกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • สำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา
  • กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
ผู้บริหารอัมพร พินะสา[1]
เลขาธิการ กพฐ.
ภูริวรรษ คำอ้ายกาวิน[2]
ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1-6 สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
สี   สีน้ำเงิน-สีแสด
เพลงมาร์ชจุฬาภรณราชวิทยาลัย
จุฬาภรณวลัยลักษณ์
มาร์ชจุฬาภรณราชวิทยาลัยแต่ละแห่ง
เว็บไซต์สำนักงานบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เป็นกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสนองพระราชปณิธานของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ทรงมุ่งมั่นจะส่งเสริมคุณภาพชีวิต ในด้านความเป็นอยู่และการศึกษาของเยาวชน ปัจจุบันเป็นโรงเรียนที่อยู่ในแผนและยุทธศาสตร์ สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ โดยจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนคิดเป็น และกล้าลงมือทำ โดยโรงเรียนจะสนับสนุนทั้งด้านอุปกรณ์การเรียนการสอน อุปกรณ์ในห้องทดลองที่มีครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการของเด็ก ในการศึกษาคนคว้าส่งที่ตนเองสนใจได้เอง โดยมีอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถ คอยให้คำปรึกษาและสนับสนุนให้เด็กแสดงศักยภาพของตนได้อย่างเต็มที่[3]

ประวัติ[แก้]

สัมพันธ์ ทองสมัคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นได้ประกาศจัดตั้ง โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ตามด้วยชื่อจังหวัดสถานที่ตั้ง ทั้งหมด 10 แห่ง ประจำเขตการศึกษาต่าง ๆ ทุกเขตการศึกษาของประเทศ ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานตราสัญลักษณ์และนามโรงเรียนใหม่ คือ "จุฬาภรณราชวิทยาลัย" ตามด้วยชื่อจังหวัดอันเป็นสถานที่ตั้ง ซึ่งเป็นพระนามของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ต่อมาจึงได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยเพิ่มอีก 2 แห่งเพื่อให้ครบทุกเขตพื้นที่การศึกษา[4]

โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค[แก้]

ในปี พ.ศ. 2551 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์จัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ที่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนละ 1 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 24 คน โดยมีโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นโรงเรียนต้นแบบ และพัฒนาบุคลากร รวมทั้งควบคุมการใช้หลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐานของหลักสูตร และในปี พ.ศ. 2552 สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานพิจารณาแห่งว่า โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 โรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรวิทยาศาสตร์ได้มาตรฐานเดียวกันกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์จึงประกาศ ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ให้โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่งเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค[4]

ต่อมาเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบข้อเสนอของกระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำเนินการพัฒนากลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ซึ่งมีกระจายอยู่ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เน้นการให้โอกาสกับผู้มีความสามารถพิเศษที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในภูมิภาค ตลอดจนพัฒนา ปรับปรุง ส่งเสริม ให้โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง มีมาตรฐานเทียบเท่าโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของนานาชาติ และมีมติให้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค[5]

จากนั้น กลุ่มโรงเรียนจึงเริ่มรับนักเรียนเข้าเรียนในหลักสูตรโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาคเป็นรุ่นแรกในปี พ.ศ. 2554 ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนละ 1 ห้องเรียน 24 คน (จัดสอบใหม่โดยโรงเรียน) และระดับชั้นมัธยมศีกษาปีที่ 4 โรงเรียนละ 2 ห้องเรียน (โดยใช้บัญชีรายชื่อนักเรียนที่เคยสมัครสอบของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์) แต่ละห้องมีนักเรียน 24 คน รวม 48 คน [6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 - 2556 มีการปรับการรับนักเรียนใหม่ แบ่งระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนละ 4 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 24 คน รวม 96 คน และระดับชั้นมัธยมศีกษาปีที่ 4 โรงเรียนละ 4-6 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 24 คน โดยใช้การรับนักเรียนร่วมกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์[7] และตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 เป็นต้นมา ทุกโรงเรียนปรับการรับนักเรียนเป็นไปตามแผนการรับนักเรียน กล่าวคือ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนละ 4 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 24 คน รวม 96 คน และระดับชั้นมัธยมศีกษาปีที่ 4 โรงเรียนละ 6 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 24 คน รวม 144 คนต่อปีการศึกษา[8]

ในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดตั้งศูนย์บริหารโครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค มีสถานะเป็นกลุ่มงานภายในสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา เพื่อประสานการดำเนินงานโครงการของคณะกรรมการโครงการฯ กับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ มหาวิทยาลัย นักวิชาการ หน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงผู้บริหารและบุคลากรของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตลอดจนดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง[9] ต่อมา เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์พัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560[10]

เปลี่ยนชื่อโรงเรียน[แก้]

สำนักพระราชวังมีหนังสือที่ รล 0011.3/18298 ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2561 แจ้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยอ้างถึงหนังสือกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ศธ 04278/2112 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2561 เรื่อง การเปลี่ยนชื่อโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ความว่า ความทราบฝ่าพระบาทแล้ว พระราชทานพระอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนตามที่กราบทูลขอมา

ต่อมาเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2561 กระทรวงศึกษาธิการออกประกาศ เรื่อง การเปลี่ยนชื่อโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย โดยมีผลตั้งแต่ 3 กรกฎาคม 2561[11]

จัดตั้งโรงเรียนเพิ่มเติม[แก้]

วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการพัฒนายกระดับคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยขึ้นเพิ่มเติมประจำเขตตรวจราชการ 6 แห่ง และปรับปรุงเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนให้เหมาะสมกับบริบทสังคม[12]

จากนั้น กระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดำเนินการพัฒนายกระดับคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย 6 แห่ง โดยพัฒนาและใช้พื้นที่โรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีอยู่เดิม 4 แห่ง (ลำปาง สุพรรณบุรี กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี) และพื้นที่ที่ได้รับจัดสรรใหม่ 2 แห่ง (สระแก้ว และกำแพงเพชร) ขอพระราชทานนามโรงเรียนพร้อมตราสัญลักษณ์ตามแบบที่กรมศิลปากรได้ออกแบบไว้ ความทราบแล้วพระราชนามตามที่กราบทูลขอมา ปรับปรุงเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยทุกแห่งให้รับนักเรียนจากเดิม 7-8 จังหวัดต่อ 1 โรงเรียนเป็น 3-5 จังหวัดต่อ 1 โรงเรียน และประกาศจัดตั้งโรงเรียนทั้งหกแห่งขึ้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566[13]

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน[แก้]

  • ความหมายของชื่อโรงเรียน จุฬาภรณราชวิทยาลัย แยกได้เป็น
    • จุฬาภรณ เป็นพระนามของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
    • ราช แปลว่า อันเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์
    • วิทยาลัย แปลว่า สถาบันการศึกษาชั้นสูง

ส่วนคำว่าวิทยาศาสตร์นั้นเติมขึ้นมาในภายหลัง เพื่อเน้นความเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ที่อยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ

ดังนั้น จุฬาภรณราชวิทยาลัย หมายถึง สถาบันการศึกษาขั้นสูงอันเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ ทางโรงเรียนได้ใช้พระนามเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 36 พรรษา

  • ตราประจำโรงเรียน ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ประกอบด้วย[14]
    • พระมงกุฎสีเหลืองทอง
    • รัศมีสีเหลืองทองเหนือยอดพระมงกุฎ 19 เส้น
    • อักษร สีแสด และ สีขาว ขอบทอง อยู่ภายใต้พระมงกุฎ โดย จภ มาจากพระนามของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
    • แพรแถบด้านล่างตรา สีน้ำเงินตัดขอบสีเหลืองทอง มีข้อความชื่อโรงเรียนสีเหลืองทอง

เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562 สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ได้ทรงพระราชทานตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนใหม่ โดยออกแบบโดยสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร[15]

  • ต้นไม้ประจำโรงเรียน ได้แก่ แคแสด[16]
  • สีประจำโรงเรียน ได้แก่    สีน้ำเงิน-แสด[16] โดย
    • สีน้ำเงิน หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ ความแข็งแรง มั่นคง และความเคร่งครัดในระเบียบวินัย
    • สีแสด หมายถึง เป็นสีประจำวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500

โรงเรียนในเครือข่าย[แก้]

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มีทั้งหมด 18 แห่ง ตามพื้นที่บริการของโรงเรียนซึ่งอิงตามเขตการศึกษาเดิม 12 เขตและเขตตรวจราชการ 18 เขต ดังนี้

แผนที่แสดงเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยเดิม 12 เขต
แผนที่แสดงเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยเดิม 12 เขต
ที่ โรงเรียน วันที่ก่อตั้ง จังหวัดในเขตพื้นที่บริการ หมายเหตุ
1 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 (30 ปี) นครศรีธรรมราช สงขลา ชุมพร พัทลุง สุราษฎร์ธานี [17]
2 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 (30 ปี) เชียงราย น่าน พะเยา แพร่ [17]
3 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 (30 ปี) ตรัง ภูเก็ต กระบี่ พังงา ระนอง [17]
4 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 (30 ปี) บุรีรัมย์ นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ [17]
5 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร 4 เมษายน พ.ศ. 2537 (30 ปี) มุกดาหาร นครพนม [17]
6 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 (29 ปี) สตูล ยะลา นราธิวาส ปัตตานี [17]
7 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี 2 มิถุนายน พ.ศ. 2537 (29 ปี) เพชรบุรีประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม [17]
8 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย 2 มิถุนายน พ.ศ. 2537 (29 ปี) เลย อุดรธานี สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู บึงกาฬ [17]
9 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 (29 ปี) พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ [17]
10 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 (29 ปี) ลพบุรี ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง [17]
11 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 (28 ปี) ปทุมธานี นครปฐม นนทบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร [17]
12 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี 19 มีนาคม พ.ศ. 2539 (28 ปี) ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง [17]
13 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ลำปาง 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 (1 ปี) ลำปาง เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ยกฐานะจากโรงเรียนแม่ทะประชาสามัคคี[13]
14 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กาฬสินธุ์ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 (1 ปี) กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยกฐานะจากโรงเรียนโคกศรีเมือง[13]
15 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สุพรรณบุรี 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 (1 ปี) สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี ยกฐานะจากโรงเรียนหนองวัลย์เปรียงวิทยา[13]
16 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย อุบลราชธานี 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 (1 ปี) อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ยกฐานะจากโรงเรียนอุบลราชธานีศรีวนาลัย[13]
17 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กำแพงเพชร 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 (1 ปี) กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร อุทัยธานี เดิมกำหนดจะยกฐานะจากโรงเรียนทุ่งโพธิ์ทะเลพิทยา แต่พื้นที่มีข้อจำกัดจึงไปตั้งโรงเรียนในพื้นที่ค่ายลูกเสือจังหวัดกำแพงเพชรแทน[13]
18 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สระแก้ว 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 (1 ปี) สระแก้ว จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี นครนายก เดิมกำหนดจะยกฐานะจากโรงเรียนท่าเกษมพิทยา แต่พื้นที่มีข้อจำกัดจึงไปตั้งโรงเรียนในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว[13]

หลักสูตรของโรงเรียน[แก้]

ในช่วงก่อนเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค โรงเรียนใช้หลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 มีการใช้หลักสูตรวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ในห้องเรียนที่คัดเลือกนักเรียนร่วมกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์[4]

จนกระทั่งคณะรัฐมนตรีมีมติดำเนินการโครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค จึงได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เพื่อพัฒนานักเรียนให้เป็นตามไปเป้าหมายของโรงเรียน โดยแบ่งเป็นหลักสูตรสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย นักเรียนจะต้องลงทะเบียนเรียนตามหน่วยกิตที่กำหนด โดยมีผลการเรียนแต่ละรายวิชาไม่ต่ำกว่า 2 นอกจากนี้จะต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผ่านการประเมินความสามารถด้านการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน และผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น[แก้]

ปัจจุบันใช้หลักสูตรโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2554 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2558) โดยแบ่งรายวิชาออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้[18]

  • รายวิชาพื้นฐาน ประกอบด้วยรายวิชา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยมีเนื้อหาและเวลาเรียนแต่ละรายวิชาเช่นเดียวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
  • รายวิชาเพิ่มเติม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
    • รายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มที่ 1 เป็นรายวิชาที่สร้างขึ้นเพื่อสนองและสอดคล้องกับการพัฒนานักเรียนของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค โดยนักเรียนทุกคนต้องลงทะเบียนรายวิชากลุ่มนี้ทั้งหมด รายวิชาในกลุ่มนี้ ได้แก่ การเขียนเชิงวิชาการ คณิตศาสตร์เพิ่มเติม การสืบเสาะอย่างวิทยาศาสตร์ โครงงาน ภาษาอังกฤษฟังพูด ภาษาอังกฤษรอบรู้ การเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ ภาษาต่างประเทศที่ 2 หน้าที่พลเมือง และอาเซียนศึกษา
    • รายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มที่ 2 เป็นรายวิชาเลือกเสรี นักเรียนสามารถเลือกได้ตามความถนัดและความสนใจ

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้]

ปัจจุบันใช้หลักสูตรโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2560 โดยใช้กรอบโครงสร้างหลักสูตรของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช 2560 โดยแบ่งรายวิชาออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้[19]

  • รายวิชาพื้นฐาน ประกอบด้วยรายวิชา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นรายวิชาให้ความรู้ทั่วไป ทักษะการเรียนรู้ และการใช้ดำรงชีวิตในสังคม
  • รายวิชาเพิ่มเติม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
    • รายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มที่ 1 เป็นรายวิชาที่สร้างขึ้นเพื่อสนองและสอดคล้องกับการพัฒนานักเรียนของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค โดยนักเรียนทุกคนต้องลงทะเบียนรายวิชากลุ่มนี้ทั้งหมด รายวิชาในกลุ่มนี้ ได้แก่ ความรู้พื้นฐานสำหรับแคลคูลัส แคลคูลัส กลุ่มวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม สัมมนาทางวิทยาศาสตร์ โครงงานวิทยาศาสตร์ บูรณาการความรู้ ทักษะชีวิต หน้าที่พลเมือง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การออกแบบและพื้นฐานด้านวิศวกรรม ภาษาอังกฤษวิชาการ ภาษาต่างประเทศที่ 2
    • รายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มที่ 2 เป็นรายวิชาเลือกเสรี นักเรียนสามารถเลือกได้ตามความถนัดและความสนใจ ทั้งนี้บางรายวิชาเป็นเนื้อหาที่เรียนในระดับอุดมศึกษา เช่น ปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์

การคัดเลือกนักเรียน[แก้]

การคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง ใช้รูปแบบการสมัครและการสอบคัดเลือกในรอบแรกเหมือนกัน ส่วนการสอบในรอบที่สองนั้นเต่ละโรงเรียนจะเป็นผู้พิจารณารูปแบบ วัน เวลา และสถานที่สอบเอง

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1[แก้]

การรับนักเรียนเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 จะรับนักเรียนที่กำลังศึกษาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าในปีการศึกษาที่สมัคร โดยสมัครและสอบรอบแรกผ่านโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รับนักเรียนแห่งละ 96 คน[20] โดยแบ่งรับนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่มนักเรียนจากโรงเรียนทุกโรงเรียนในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยแต่ละแห่ง จำนวนไม่น้อยกว่า 88 คน
  • กลุ่มนักเรียนจากโรงเรียนขยายโอกาส (ได้แก่ โรงเรียนดีประจำตำบลตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนประถมศึกษาที่มีนักเรียนไม่เกิน 200 คน โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ โรงเรียนในสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนพระปริยัติธรรม และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม) ในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยแต่ละแห่ง จำนวนไม่เกิน 8 คน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4[แก้]

การรับนักเรียนเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 จะรับนักเรียนที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่าในปีการศึกษาที่สมัคร โดยสมัครและสอบรอบแรกผ่านการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ รับนักเรียนจากโรงเรียนทุกโรงเรียนในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยแต่ละแห่งจำนวน 144 คน[21]

ความร่วมมือกับต่างประเทศ[แก้]

ประเพณีสำคัญ[แก้]

ประเพณีเครือข่าย[แก้]

  • จุฬาภรณ์ฯสัมพันธ์ - กิจกรรมการแข่งขันกีฬาเพื่อกระชับความสัมพันธ์ และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่นจัดขึ้นระหว่างโรงเรียนในเครือข่ายทั้ง 12 แห่ง ผลัดเปลี่ยนการเป็นเจ้าภาพการจัดงาน[29]
  • PCSHS Science Symposium - กิจกรรมวิชาการ การประกวดการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ ระหว่างโรงเรียนในเครือข่ายโดยหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ มีการแบ่งจัดตามภูมิภาคในบางปีการศึกษา[30]

ประเพณีโรงเรียน[แก้]

  • กิจกรรมต้อนรับนักเรียนใหม่
  • กิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นต่างๆ - กิจกรรมที่ส่งเสริมวัฒธรรมท้องถิ่นในภูมิภาคนั้นๆ ซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละโรงเรียน เช่น ประเพณีลอยกระทง, งานฉลองและสืบสานประเพณีเทศน์มหาชาติ, ฯลฯ
  • วันไหว้ครู
  • งานกีฬาสีโรงเรียน - จัดขึ้นตามโรงเรียนในแต่ละปีการศึกษา
  • กิจกรรมการเลือกตั้งสภานักเรียน
  • กิจกรรมอำลาการจบการศึกษาของนักเรียน

งานพิธี[แก้]

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช[แก้]

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี[แก้]

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. คณะที่ปรึกษาและคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เก็บถาวร 2018-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2561‎
  2. ผู้อำนวยการสำนัก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เก็บถาวร 2017-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2560‎
  3. "ปณิธานกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-07. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 "ประวัติโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช". โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-03. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  5. "ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ๑๑๖/๒๕๕๔ รร.วิทยาศาสตร์ภูมิภาค". สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2560‎. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  6. "เฟ้นหัวกะทิ เข้า ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัย". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2560‎. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  7. "กลุ่ม ร.ร.วิทย์ เปิดรับสมัครสอบคัดเลือก ม.4/1-31 ส.ค.นี้". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2560‎. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)[ลิงก์เสีย]
  8. "ร่างโครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เพื่อกระจายโอกาสสำหรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์" (PDF). สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2560‎. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  9. "สพฐ.ตั้งศูนย์บริหาร ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัย". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)[ลิงก์เสีย]
  10. "คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ 512/2560 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงชื่ออำนาจหน้าที่ของศูนย์บริการโครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค (เป็นกลุ่มงานภายในสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา)" (PDF). 30 มีนาคม 2560.[ลิงก์เสีย]
  11. "72 ง". ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 กันยายน พ.ศ. 2561. p. 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-24. สืบค้นเมื่อ 2018-09-20. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |book= ถูกละเว้น (help)
  12. มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เรื่อง การพัฒนายกระดับคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 13.6 มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เรื่อง รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการพัฒนายกระดับคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย และครม.อนุมัติเปลี่ยนแปลงสถานที่ดำเนินการก่อสร้าง รร.วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กำแพงเพชร และ รร.วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สระแก้ว
  14. สัญลักษณ์ประจำโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช[ลิงก์เสีย]
  15. "พระราชทานตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย" (PDF). PCSHSNST NEWS. 13 ธันวาคม 2562. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-07. สืบค้นเมื่อ 2020-04-07.
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร. โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2560‎.
  17. 17.00 17.01 17.02 17.03 17.04 17.05 17.06 17.07 17.08 17.09 17.10 17.11 หนังสือ 10 ปี การพัฒนาต่อยอดโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตามอุดมการณ์
  18. หลักสูตรโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2554 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2558)
  19. หลักสูตรโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2560
  20. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการโครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เรื่อง การรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ เก็บถาวร 2017-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2560
  21. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการโครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เรื่อง การรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ เก็บถาวร 2017-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2560
  22. 22.0 22.1 สพฐ.ร่วมญี่ปุ่น พัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณฯตั้งเป้าให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค[ลิงก์เสีย]. กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2560‎.
  23. ศูนย์บริหารโครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค. เอกสารแนะนำโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย (โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค). 2558
  24. ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 463/2558 Thailand-Japan Student Science Fair 2015. กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2560‎.
  25. TJ-SIF2016 Official Site เก็บถาวร 2017-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ศูนย์บริหารโครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2560‎.
  26. TJ-SSF 2018 Official Site เก็บถาวร 2018-09-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2561‎.
  27. "โครงการ "NIHONGO Partners"". เจแปนฟาวน์เดชัน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-25. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2560‎. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  28. กลุ่ม ร.ร.จุฬาภรณฯ ปักธง สร้างคุณภาพเทียบนานาชาติ. ประชาชาติ. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2560‎.
  29. "จุฬาภรณ์ฯสัมพันธ์เฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ 13-โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร". www.pccm.ac.th.
  30. "PCSHSM:: - โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร". www.pccm.ac.th.
  31. "วันสถาปนาโรงเรียน วันคล้ายวันประสูติ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอฯ – โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-23. สืบค้นเมื่อ 2022-04-22.
  32. https://election66.moveforwardparty.org/district/z_nst_1

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]