พิงเคอร์ตัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Pinkerton (album))

พิงเคอร์ตัน
A village in a mountainous landscape during night. A man with a conical hat and a cane, and a saddled horse can be seen in the foreground. At the top left corner of the image is written "Weezer", and at top right is "Pinkerton".
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาด24 กันยายน ค.ศ. 1996
บันทึกเสียงกันยายน ค.ศ. 1995, มกราคม – มิถุนายน ค.ศ. 1996 ที่ซาวด์ซิตี ลอสแอนเจลิส; ฟอร์ตอาพาเชสตูดิโอส์, บอสตัน; ฮอลลีวูดซาวด์เรคอเดอส์, ลอสแอนเจลิส; รัมโบเรคอเดอส์, แคโนกาพาร์ก ลอสแอนเจลิส; อีเลกทริกเลดีสตูดิโอ, นิวยอร์ก
แนวเพลงออลเทอร์เนทิฟร็อก, พาวเวอร์ป็อป, อีโม[1][2]
ความยาว34:36
ค่ายเพลงดีจีซี
โปรดิวเซอร์วีเซอร์
ลำดับอัลบั้มของวีเซอร์
วีเซอร์
(1994)วีเซอร์1994
พิงเคอร์ตัน
(1996)
วีเซอร์
(2001)วีเซอร์2001
ซิงเกิลจากพิงเคอร์ตัน
  1. "El Scorcho"
    จำหน่าย: 1996
  2. "The Good Life"
    จำหน่าย: 1996
  3. "Pink Triangle"
    จำหน่าย: 20 พฤษภาคม 1997

พิงเคอร์ตัน (อังกฤษ: Pinkerton) เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 2 ของวงอัลเทอร์เนทีฟร็อกอเมริกัน วงวีเซอร์ ออกขายเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1996 กับค่ายดีจีซีเรเคิดส์ เดิมทีวางแผนว่าจะทำอัลบั้มธีมอวกาศแนวร็อกโอเปรา โดยจะใช้ชื่ออัลบั้มว่า ซองส์ฟรอมเดอะแบล็กโฮล (Songs from the Black Hole) วงบันทึกเสียงอัลบั้มนี้ในขณะที่ นักร้อง/มือกีตาร์ ของวง ริเวอส์ โควโม กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เพลงส่วนใหญ่ประพันธ์โดยโควโม เพื่อให้ได้เสียงแบบสด ๆ วงตัดสินใจไม่จ้างโปรดิวเซอร์ในอัลบั้มชุดนี้

ดนตรีมีโทนมืดลง และกัดกร่อนกว่าเดิม เมื่อเทียบกับอัลบั้มเปิดตัว ชุด วีเซอร์ มีธีมที่เขียนโดยโควโมจากความผิดหวังในการใช้วิถีชีวิตแบบร็อก ชื่ออัลบั้ม พิงเคอร์ตัน ตั้งตามตัวละคร บี.เอฟ. พิงเคอร์ตัน ซึ่งเป็นตัวละครจากอุปรากรเรื่อง มาดามบัตเตอร์ฟลาย ประพันธ์โดย จาโกโม ปุชชีนี และอัลบั้มยังใช้แนวคิดคร่าว ๆ จากเพลงอุปรากร เช่นเดียวกับในอุปรากร เพลงยังมีการอ้างอิงถึงประเทศญี่ปุ่นและวัฒนธรรมญี่ปุ่น

พิงเคอร์ตัน เปิดตัวเข้าชาร์ตสัปดาห์แรกในบิลบอร์ด 200 ที่อันดับ 19 และยอดขายก็ตกลงในเวลาอันรวดเร็วตามที่คาด หลังจากที่อัลบั้มแรกประสบความสำเร็จ อัลบั้มมี 3 ซิงเกิ้ล โดย 2 ซิงเกิ้ลตัดขายเพื่อพยายามช่วยด้านการตลาดให้อัลบั้ม ได้แก่ซิงเกิ้ล "เอลสกอร์โช" (El Scorcho), "เดอะกูดไลฟ์" (The Good Life) และ "พิงก์ไทรแองเกิล" (Pink Triangle) ถึงแม้ว่าจะได้รับเสียงวิจารณ์ด้านลบจากนักวิจารณ์เมื่อออกขาย แต่อัลบั้มก็ประสบความสำเร็จกลุ่มคนที่ชื่นชอบและได้รับเสียงตอบรับด้านบวกหลังจากนั้นอีกออกขายแล้วหลายปี จนในปี ค.ศ. 2010 ออก "ดีลักซ์เอดิชัน" (Deluxe Edition) ได้คะแนนสมบูรณ์แบบในเว็บไซต์ เมทาคริติก และอัลบั้มชุดนี้เป็นอัลบั้มสุดท้ายที่มีมือเบส แมตต์ ชาร์ป ร่วมทำงานชุดนี้

ภูมิหลัง[แก้]

ริเวอส์ โควโม มาทัวร์คอนเสิร์ตที่ประเทศไทยหลังจากอัลบั้มเปิดตัวของวงวีเซอร์

ในปี ค.ศ. 1994 หลังจากวีเซอร์ประสบความสำเร็จกับอัลบั้มเปิดตัวชื่อเดียวกับวง ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาวหลายรางวัล วีเซอร์ได้หยุดพักจากทัวร์ในช่วงเทศกาลคริสต์มาส[3] ที่รัฐคอนเนตทิคัต บ้านเกิดของนักแต่งเพลง ริเวอส์ โควโม เขาได้เริ่มเตรียมวัตถุดิบสำหรับอัลบั้มชุดถัดไปของวีเซอร์ โดยได้ใช้เครื่องบันทึกเสียง 8 แทร็ก[4] แนวคิดดั้งเดิมคือ เป็นร็อกโอเปราแนวนวนิยายวิทยาศาสตร์ ที่ใช้ชื่ออัลบั้มว่า ซองส์ฟรอมเดอะแบล็กโฮล (Songs from the Black Hole) ที่แสดงออกถึงหลากหลายความรู้สึกเกี่ยวกับความสำเร็จ วีเซอร์ได้พัฒนาผลงาน ซองส์ฟรอมเดอะแบล็กโฮล จากการบันทึกเสียงเป็นช่วง ๆ ตลอดปี ค.ศ. 1995[5]

ในเดือนมีนาคม โควโม ที่เกิดมาขาไม่เท่ากัน ได้เข้าผ่าตัดยืดขาข้างขวาให้เท่าข้างซ้าย ซึ่งก็ต้องทำกายภาพบำบัดอย่างเจ็บปวด เป็นผลกระทบต่อการเขียนเพลง ซึ่งเขาใช้เวลาระยะยาวในการรักษาตัว ไม่สามารถเดินได้โดยปราศจากไม้เท้า และต้องใช้ยาแก้ปวด[6] ในช่วงเวลานี้เอง โควโมสมัครเรียนการประพันธ์เพลงคลาสสิกที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ด้วยจดหมายสมัครเรียนพรรณาถึงความผิดหวังจากวิถีดนตรีร็อก ดังนี้

แฟนเพลงถามผมตลอดเวลาว่าการเป็นร็อกสตาร์ทำอย่างไร ผมอาจพูดได้ว่า พวกเขากำลังฝันเหมือนกันที่ผมเคยฝัน เมื่อผมยังเป็นเด็ก หวังว่าสักวันจะครองโลกด้วยวงดนตรีร็อก ผมก็บอกกับเขาในสิ่งเดียวกันนี้ ผมจะบอกคนที่อยากเป็นร็อกสตาร์ ว่า คุณจะโดดเดี่ยว คุณจะพบคน 200 คนทุก ๆ คืน แต่บทสนทนาที่คุณคุยด้วยจะยาวเพียงแค่ราว 30 วินาที ที่อาจรวมถึงการพยายามโน้มน้าวพวกเขาว่า ไม่! คุณไม่ได้ต้องการกางเกงในพวกเขา จากนั้นคุณก็จะโดดเดี่ยวอีกครั้ง ในห้องโมเต็ล หรือไม่คุณก็อยุ่บนรถบัส ในห้องเล็ก ๆ ฆ่าเวลา 9 ชั่วโมง เพื่อไปยังเมืองต่อไป นี่แหละชีวิตร็อกสตาร์[7]

โควโมรู้สึกผิดหวังกับ "ความจำกัดของดนตรีร็อก" ทุกคืนหลังจากแสดงกับวีเซอร์ เขาจะฟังเพลงโอเปราในปี ค.ศ. 1904 ของจาโกโม ปุชชีนี ที่ชื่อเพลง มาดามบัตเตอร์ฟลาย ด้วย "การดิ่งสู่ลงอารมณ์ ความเศร้า และ โศกนาฏกรรม" เป็นแรงบันดาลใจทางดนตรีให้เขามากกว่าเดิม[8] เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1996 การเขียนเพลงของโควโมเริ่ม "หม่นลง เข้าถึงอารมณ์และเปิดเผย มีลูกเล่นน้อยลง" และเขาทิ้งแนวคิดการทำอัลบั้ม ซองส์ฟรอมเดอะแบล็กโฮล ไป[9] เพลงต่าง ๆ จากอัลบั้มชุดที่ 2 ของวงวีเซอร์ ก็ถูกเขียนใหม่ขณะที่โควโมเรียนที่ฮาร์วาร์ด เป็นบันทึกถึงความเหงา ความผิดหวัง หรือที่โควโมเรียกว่า "ด้านมืด" ของตน[4]

การบันทึกเสียง[แก้]

ในปี ค.ศ. 1996 ไม่นานก่อนที่โควโมจะเรียนจบที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด วีเซอร์ได้รวมตัวกันเป็นเวลา 2 อาทิตย์เพื่อบันทึกเสียงที่อีเล็กทริกเลดีสตูดิโอส์ ในนครนิวยอร์ก พวกเขาบันทึกเสียงเพลง "วายบาเทอร์?" (Why Bother?), "เกตชู" (Getchoo), "โนอาเทอร์วัน" (No Other One) และ "ไทด์ออฟเซกซ์" (Tired of Sex)[10][11] โดยวีเซอร์หวังที่จะค้นพบอะไรที่ "ลึกกว่า หม่นกว่า และเป็นการทดลองมากกว่า"[11] ทีน่าจะดูดีกว่าวงแสดงสดที่คล้ายคลึงกัน[12] หลังจากจบการบันทึกเสียงครั้งนี้ วงตัดสินใจไม่จ้างโปรดิวเซอร์ เพราะรู้สึกว่า "จะเป็นการที่ดีที่สุดสำหรับเราหากเราบันทึกเสียงด้วยตัวเอง"[13] เพื่อที่จะทำให้อัลบั้มดูสด ดิบ โดยโควโม, ไบรอัน เบลล์ มือกีตาร์ และมือเบส แมตต์ ชาร์ป บันทึกเสียงร้อง ด้วยไมโครโฟน 3 อันที่เรียงตามกัน แทนที่จะบันทึกซ้ำ (overdub) แยกออกไป[14]

ขณะที่โควโมศึกษาที่ฮาร์วาร์ด สมาชิกคนอื่นของวงได้ทำโครงการเพลงอื่นอยู่[15] ชาร์ปได้ประชาสัมพันธ์อัลบั้มแรกของวงของเขาที่ชื่อ เดอะเรนทอลส์ ส่วนเบลล์และมือกลอง แพทริก วิลสัน ทำงานกับวงของพวกเขาที่ชื่อ สเปซทวินส์ และ สเปเชียลกูดเนสส์ ตามลำดับ[10][15] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1996 ระหว่างที่โควโมพักผ่อนช่วงฤดูหนาว วีเซอร์ได้รวมตัวกันอีกครั้งเป็นระยะเวลา 2 อาทิตย์ เพื่อบันทึกเสียงที่ซาวด์ซิตีสตูดิโอส์ ในแวนนายส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย เพื่อทำเพลงให้เสร็จในเพลงที่เขาบันทึกเสียงเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา[16] หลังจากบันทึกเพลงใหม่ "เอลสกอร์โช" (El Scorcho) และ "พิงก์ไทรแองเกิล" (Pink Triangle) วีเซอร์ก็ได้แยกย้ายกันอีกครั้ง ขณะที่โควโมกลับไปศึกษาต่อที่ฮาร์วาร์ด[16]

ระหว่างโควโมพักผ่อนในช่วงฤดูใบไม้ผลิ วีเซอร์รวมตัวกันที่ซาวด์ซิตีสตูดิโอส์ และบันทึกเพลงใหม่ 3 เพลงคือเพลง "เดอะกูดไลฟ์" (The Good Life), "อะครอสส์เดอะซี" (Across the Sea) และ "ฟอลลิงฟอร์ยู" (Falling for You) ก่อนที่โควโมจะกลับไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเพื่อศึกษาให้จบ[17] วีเซอร์ทำผลงานสุดท้ายในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1996 ในลอสแอนเจลิส ส่วนอีก 2 เพลง "ไอสแวร์อิตส์ทรู" (I Swear It's True) และ "เกตติงอัปแอนด์ลีฟวิง" (Getting Up and Leaving) ก็ถูกตัดออกไปก่อนขั้นตอนการผสมเสียง[18]

การประพันธ์เพลง[แก้]

อัลบั้ม พิงเคอร์ตัน มีความหม่นกว่า และฟังดูเกรี้ยวกราดกว่า อัลบั้มเปิดตัวของวีเซอร์[19] โดยเขียนจากมุมมองส่วนตัวมากขึ้น[20] โควโมประพันธ์เพลงจากความสัมพันธ์ที่ไม่สมบูรณ์ ความผิดหวังทางเพศ และการต่อสู้ต่ออัตลักษณ์ของเขา[14][21][22][23][24] อัลบั้มนี้ทำให้เขาต้องวางแผนเป็นวัฏจักรไปมาระหว่าง 'คนงี่เง่ากับกลุ่มคนเข้าสังคม'[25] และด้วยความยาวอัลบั้มไม่ถึง 35 นาที โควโมนิยามอัลบั้ม พิงเคอร์ตัน นี้ว่า "สั้นจากการออกแบบ"[14]

เพลงแรกของอัลบั้มคือเพลง "ไทด์ออฟเซกซ์" (Tired of Sex) เขียนก่อนออกอัลบั้มชุดเปิดตัว[26] โดยโควโมได้อธิบายไว้ว่าเป็น การได้มีเพศสัมพันธ์อย่างไร้ค่ากับหญิงวัยรุ่นผู้คลั่งไคล้ดารา โดยได้สาธยายถึงการมีเพศสัมพันธ์และสงสัยว่าทำไมรักแท้ถึงไม่มาหาเขา[14] เพลง "อะครอสเดอะซี" (Across the Sea) ได้รับแรงบันดาลใจจากจดหมายที่โควโมได้จากแฟนเพลงชาวญี่ปุ่น "เมื่อผมได้รับจดหมาย ผมรู้สึกตกหลุมรักเธอ มันช่างเป็นจดหมายที่ยอดเยี่ยมเหลือเกิน ตอนนั้นผมเหงามาก แต่ในเวลาเดียวกันผมก็รู้สึกเศร้าที่ผมจะไม่ได้พบเจอเธอ"[23]

ซิงเกิ้ลที่ 2 "เดอะกูดไลฟ์" เป็นเหตุการณ์การเดใหม่ของโควโมหลังจากวิกฤตการณ์อัตลักษณ์ของเขาในฐานะนักศึกษาไอวีลีกที่โดดเดี่ยว โควโมที่รู้สึกโดดเดี่ยวจากการเรียนที่ฮาร์วาร์ด เขาเขียนเพลงนี้หลังจาก "ท้อแท้จากชีวิตสันโดษ ผมได้นำชีวิตสู่สันโดษแบบนักพรต และผมคิดว่า ผมเริ่มจากเข้าสู่ความเศร้า กับความฝันเกี่ยวกับการทำให้ตนเองบริสุทธิ์ และพยายามใช้ชีวิตแบบพระหรือผู้มีปัญญา และไปโรงเรียนและยืนกรานที่จะค้นหาหญิงในอุดมคติ ผมจึงเขียนเพลงและเริ่มหันกลับและกลับไปทางอื่นแทน"[22][23] ซิงเกิ้ลเปิดตัว "เอลสกอร์โช" ได้กล่าวถึงความขี้อายและไร้สมรรถภาพในการเข้าหาผู้หญิงของโควโมขณะที่เขาอยู่ที่ฮาร์วาร์ด เขาอธิบายถึงเพลงนี้ว่า "มันเป็นอะไรที่มากไปกว่าตัวผม เพราะ ณ จุดนั้น ผมไม่คิดที่จะพูดคุยกับผู้หญิง ผมไม่รู้อะไรมากเกี่ยวกับตัวเธอ"[23] และซิงเกิ้ลสุดท้ายของอัลบั้ม "พิงก์ไทรแองเกิล" อธิบายถึงผู้ชายที่ตกหลุมรักและต้นการที่จะแต่งงาน แต่ค้นพบว่าหญิงคนนั้นเป็นเลสเบี้ยน[24]

แนวคิด[แก้]

มีเนื้อเพลงบางเพลงในอัลบั้มที่คุณอาจคิดว่ามีความหมายหรือกีดกันทางเพศ ผมจะรู้สึกแย่อย่ายิ่งถ้ามีใครรู้สึกเจ็บปวดกับเนื้อเพลงของผม แต่ผมมีความต้องการที่จะสำรวจ "ด้านมืด" ของผม ทุก ๆ ส่วนของผมที่ผมอาจกลัวหรืออึดอัดที่คิดก่อนหน้านี้ ทำให้เกิดความคิดที่ไม่น่ายินดีเช่นนี้ คุณอาจให้อภัยผมเกี่ยวกับเนื้อเพลงถ้าคุณคิดผ่าน ๆ ว่าเป็นจุดเล็ก ๆ ในเรื่องราวใหญ่ ๆ และอัลบั้มนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ 2 ปีที่ผ่านมาของผม และคุณอาจจะรับรู้มันมาแล้ว นี่เป็น 2 ปีที่แปลกประหลาดมาก ๆ ของผม

จดหมายของโควโมถึงแฟนคลับ (10 กรกฎาคม ค.ศ. 1996)[27]

อัลบั้ม พิงเคอร์ตัน ตั้งชื่อตามตัวละคร บีเอฟ พิงเคอร์ตัน จากอุปรากร มาดามบัตเตอร์ฟลาย ตัวละครที่สมรสกับหญิงชาวญี่ปุ่น มีนามว่า บัตเตอร์ฟลาย[27] ที่เรียกเขาว่า "กะลาสีอเมริกันที่โง่เง่า ซึ่งคล้ายกับร็อกสตาร์ที่ออกทัวร์คอนเสิร์ต" โควโมรู้สึกว่าตัวละครนี้ "เป็นสัญลักษณ์อันยอดเยี่ยมสำหรับส่วนหนึ่งของผมที่ผมพยายามจะตั้งชื่อเป็นอัลบั้มชุดนี้"[28] ส่วนชื่ออื่นที่พิจารณาเช่น เพลย์บอย (Playboy) และ ไดวิงอินทูเดอะเรก (Diving into the Wreck) ตามชื่อบทกลอนของเอเดรียน ริช)[28]

เช่นเดียวกับ มาดามบัตเตอร์ฟลาย มุมมองของพิงเคอร์ตัน มีมุมมองด้านวัฒนธรรมญี่ปุ่นผ่านมุมมองคนนอกที่ถือว่าญี่ปุ่นนั้นบอบบางและมุมมองตัณหาราคะ[29] อัลบั้มมีผลต่อการอุปมาของชาวญี่ปุ่นที่บรรยายความผิดหวังด้านความรักและความสับสนทางเพศ[19] โควโมเขียนเกี่ยวกับ พิงเคอร์ตัน ว่า "เป็นการชนกันระหว่างตะวันออกและตะวันตก ฮินดู เซน เคียวคุชิน การปฏิเสธตัวเอง การสละตนเอง ความไร้ความรู้สึก ด้านเจ๋ง ๆ ปะทะกับมุมมองเฮฟเวเมทัลแบบอิตาลี-อเมริกัน"[30] เขายังพูดว่า "ทั้ง 10 เพลง เรียงลำดับตามเวลาที่ผมเขียน ดังนั้นอัลบั้มนี้จึงเล่าเรื่องเกี่ยวกับการต่อสู้ภายในของ พิงเคอร์ตัน"[31]

งานศิลป์[แก้]

A village in a mountainous landscape. A man with a conical hat and a cane, and a saddled horse can be seen in the foreground. Japanese characters are seen in the down left and top central parts of the image.
ภาพปกอัลบั้ม พิงเคอร์ตัน เป็นภาพอุกิโยะของฮิโระชิเงะ

ภาพปกอัลบั้มคือภาพ คัมบะระโยะรุโนะยุคิ (คำแปลคือ คืนวันหิมะในคัมบะระ) ผลงานพิมพ์หมายเลข 16 ภาพอุกิโยะของฮิโระชิเงะ หนึ่งในภาพชุด สถานี 53 สถานีบนเส้นทางโทไกโด[32] เนื้อเพลงจาก มาดามบัตเตอร์ฟลาย พิมพ์ไว้บนแผ่นซีดีในภาษาอิตาลี ที่มีเนื้อความว่า "ทุกที่ในโลก ชาวอเมริกันที่ไร้จุดหมายรู้สึกยินดี ไม่สนใจในอันตรายทุกชนิด เขาหยุดทอดสมอแบบไม่มีแบบแผน..."[33]

ด้านหลังซีดีเป็นแผนที่ที่ชื่อ "Isola della farfalla e penisola di cane" (แปลจากภาษาอิตาลีได้ว่า "เกาะแห่งผีเสื้อและคาบสมุทรของสุนัข")[33] บนแผนที่มีเรือชื่อว่า ยูเอสเอส พิงเคอร์ตัน และเกาะไมเคลและคาร์ลี ที่อ้างถึงผู้ก่อตั้งแฟนคลับวีเซอร์ แผนที่ยังมีชื่อต่าง ๆ ที่โควโมได้รับอิทธิพลมาเช่น ฮาเวิร์ด สเติร์น, อิงเว มาล์มสทีน, ไบรอัน วิลสัน, ลู บาร์โลว์, โจ แมตต์, คาไมล์ พาเลีย และเอซ เฟรเลย์[33][34][35]

การออกและการประชาสัมพันธ์[แก้]

ฝ่ายคัดสรรและพัฒนาศิลปินของค่ายเกฟเฟนเรเคิดส์ ทอดด์ ซุลลิแวน อธิบายถึงอัลบั้ม พิงเคอร์ตัน ไว้ว่า "เป็นอัลบั้มที่กล้าหาญมาก" แต่ก็กังวลว่า "อะไรที่จุดประกายให้วงทำงานเช่นนี้ มันอาจอธิบายว่าจะสิ้นสุดจากการเป็นวงป็อป"[24] ค่ายเพลงรู้สึกพอใจกับอัลบั้มนี้และรู้สึกว่า "จะไม่มีใครผิดหวัง"[24]

วีเซอร์ปฏิเสธการทำวิดีโอเพลงเปิดตัว "เอลสกอร์โช" จากสไปก์ จอนซ์ ที่ก่อนหน้านี้เคยทำให้วงเป็นที่รู้จักจากการทำวิดีโอ "อันดัน – เดอะสเวตเตอร์ซอง" (Undone – The Sweater Song) และ "บัดดีฮอลลี" (Buddy Holly) โควโมอธิบายว่า "ผมไม่ต้องการให้เพลงเกิดขึ้นอย่างไม่มีจุดด่างพร้อยในเวลานี้ ผมต้องการสื่อสารความรู้สึกโดยตรงและเพราะผมเขียนเพลงอย่างระมัดระวัง ผมจะไม่ชอบถ้าวิดีโอสื่อสารเพลงผิดพลาด หรือเกินจริง"[20] วิดีโอที่ออกมามีลักษณะวงเล่นในโถงแห่งหนึ่งในลอนแอนเจลิส ที่มีแสงวูบวาบในมิวสิกวิดีโอ[23] มาร์ก โรมาเนก ผู้กำกับมิวสิกวิดีโอลาออกไปหลังจากถกเถียงกับโควโมหลายครั้ง ปล่อยให้โควโมเป็นผู้ตัดต่อมิวสิกวิดีโอเอง[36] วิดีโอเปิดครั้งแรกในรายการ 120 มินิตส์ ทางช่องเอ็มทีวี และได้เปิดออกอากาศพอสมควร[20]

1 วันก่อนวันออกขายของอัลบั้ม พิงเคอร์ตัน ในวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1996 มีคำสั่งยับยั้งการจองมาจากวงและเกฟเฟน โดยบริษัทรักษาความปลอดภัยในแคลิฟอร์เนีย ที่ชื่อ พิงเคอร์ตัน ได้ฟ้องร้องวีเซอร์และเกฟเฟนในการละเมิดตราสินค้า โดยกล่าวว่า พวกเขาพยายามหาประโยชน์จากการละเมิดนี้[37] ในขณะที่อยู่ระหว่างการยับยั้งการสั่ง บริษัทพิงเคอร์ตันเรียกร้องค่าเสียหาย 2 ล้านเหรียญสหรัฐ และวีเซอร์ไม่สามารถจัดจำหน่าย แจกจ่าย หรือโฆษณาอัลบั้มที่ใช้ชื่อว่า พิงเคอร์ตัน ได้[38] โฆษกของเกฟเฟน เดนนิส เดนนีไฮ ได้ออกมาโต้แย้งว่า "วีเซอร์ได้ใช้ชื่อพิงเคอร์ตันจาก ตัวละครอุปรากรของจาโกโม ปุชชีนี เรื่อง มาดามบัตเตอร์ฟลาย ซึ่งไม่ได้มีเจตนาจะเกี่ยวข้องกับเอกลักษณ์ของบริษัท"[39] โควโมได้เขียนเอกสาร 6 หน้าเกี่ยวกับการเลื่อกชื่ออัลบั้มนี้ ว่า "ทำไมผมถึงเลือกชื่อนี้ และมันได้ผล และมันสำคัญอย่างไร"[40] ศาลยกฟ้องหลังผู้พิพากษาตัดสินว่า "ความเสียหายจากการไม่จำหน่ายพิงเคอร์ตันของเกฟเฟน มีมากกว่าความเสียหายของบริษัทพิงเคอร์ตัน หรือผู้ถือหุ้นอาจได้รับความเสียหายจากการที่ผู้บริโภคอาจเข้าใจผิดกับบริษัทที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับอัลบั้มนี้"[40]

เห็นได้ว่าอัลบั้ม พิงเคอร์ตัน ไม่ได้คาดหวังด้านยอดชาย วีเซอร์รู้สึกกดดันในการทำมิวสิกวิดีโออีกเพลงให้ได้รับความชื่นชอบทางเอ็มทีวี[41] มิวสิกวิดีโอเพลง "เดอะกูดไลฟ์" กำกับโดยโจนาทาน เดย์ตันและแวเลรี ฟาริส แสดงโดยลิน รัชส์คับ ในบทสาวส่งพิซซา โดยได้ใช้มุมกล้องหลายมุมพร้อมกันบนจอภาพแบ่งเป็นส่วน ๆ[41] เกฟเฟนได้รีบเร่งให้ออกวิดีโอเพื่อไม่ให้ยอดขายอัลบั้มแย่ลง แต่ก็ไม่สำเร็จ[42]

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1996 วงออกทัวร์ทางตะวันออกไกลรวมถึงแสดงในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น[43] หลังจากนั้นไม่นานวงกลับมายังบ้านเกิด ลอสแอนเจลิส โดยแพทริก วิลสันและแมตต์ ชาร์ปได้ประชาสัมพันธ์ทางวิทยุในรายการ โมเดิร์นร็อกไลฟ์ เพื่อพยายามให้ยอดขายเข้าชาร์ตอัลบั้มในสหรัฐอเมริกา[43] หลังจากนั้นไม่กี่วัน ในวันที่ 1 พฤศจิกายน วีเซอร์ปล่อยรายชื่อทัวร์ในอเมริกาเหนือที่เวนทูราเทียเตอร์ที่เมืองเวนทูรา รัฐแคลิฟอร์เนีย[43] วันที่ 6 พฤศจิกายน วีเซอร์แสดงเพลงอะคุศติกที่โรงเรียนชอร์เครสต์ไฮสกูล ในซีแอตเทิล เนื่องจากมีการประกวดรางวัลที่ชนะโดยเด็กนักเรียน[42] มีหลายเพลงที่แสดงครั้งนี้ออกขายในปี ค.ศ. 1997 ในอีพีกูดไลฟ์[44] วีเซอร์ยังคงทัวร์ต่อไปจนถึงคริสต์มาส ค.ศ. 1996[45]

ฉบับดีลักซ์และเดโม[แก้]

เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2009 คาร์ล คอช เว็บมาสเตอร์ของเว็บไซต์วีเซอร์ เปิดเผยว่าวีเซอร์เตรียมจะออกอัลบั้ม พิงเคอร์ตัน ฉบับดีลักซ์[46] ต่อมา 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 อัลบั้มที่มีการผลิตซ้ำนี้ได้เข้าชาร์ตที่อันดับ 6 ของชาร์ตบิลบอร์ดแคตาลอกอัลบั้มส์[47]

เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 2011 โควโมออกผลงานชุดเดโมชุดที่ 3 ของเขา ที่ชื่อ อะโลนทรี: เดอะพิงเคอร์ตันเยียส์ (Alone III: The Pinkerton Years) มีเพลงโดโมที่บันทึกเสียงระหว่างปี 1993 ถึง 1996 ขณะที่โควโมศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และกำลังเขียน พิงเคอร์ตัน และบางเพลงที่เกือบบรรจุอยู่ในงาน ซองส์ฟรอมเดอะแบล็กโฮล์ อัลบั้มนี้ออกขายพร้อมหนังสือ ตั้งชื่อว่า เดอะพิงเคอร์ตันไดอารีส์ (The Pinkerton Diaries) ที่รวบรวมงานเขียนของโควโมในช่วงที่เขียนเพลงอัลบั้มนี้[48]

การตอบรับ[แก้]

ค่าประเมินโดยนักวิจารณ์
ผลคะแนน
ที่มาค่าประเมิน
เมทาคริติก100/100[58]
คะแนนคำวิจารณ์
ที่มาค่าประเมิน
ออลมิวสิก5/5 stars
เอนเตอร์เทนเมนต์วีกลีB[49]
ลอสแอนเจลิสไทมส์3/4 stars[50]
เมโลดีเมกเกอร์ทั้งบวกและลบ[51]
เอ็นเอ็มอี7/10[52]
พิตช์ฟอร์ก10/10[53]
คิว4/5 stars[54]
โรลลิงสโตน3/5 stars 1996[55]
โรลลิงสโตน5/5 stars 2004[56]
สปิน7/10[57]

ช่วงแรก[แก้]

อัลบั้ม พิงเคอร์ตัน ขึ้นอันดับสูงสุดอันดับ 19 บนชาร์ต บิลบอร์ด[59] ยอดการขายน้อยกว่าอัลบั้มก่อนหน้านี้อย่างมาก[60] คำวิจารณ์ในช่วงแรกมีทั้งด้านดีและด้านเสีย[61][62] เจฟฟ์ กอร์ดิเนียร์แห่ง เอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี วิจารณ์ว่า วีเซอร์เลือกที่จะผลิตอัลบั้มเอง และได้ลืมเพลงจำพวกปาร์ตี้สังสรรค์สำหรับพวกกลัวการอยู่คนเดียว[49] ส่วนร็อบ โอคอนเนอร์ แห่ง โรลลิงสโตน เรียกผู้แต่งเพลงว่าทำตัวเหมือนเด็ก และบรรยายเพลง "ไทด์ออฟเซกซ์" (Tired of Sex) ว่า "ไม่มีจุดหมาย"[55] ส่วนผู้อ่านนิตยสาร โรลลิงสโตน ให้คะแนนอัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มยอดแย่อันดับ 3 ของปี ค.ศ. 1996[63]

เมโลดีเมกเกอร์ ชื่นชมดนตรีอัลบั้ม พิงเคอร์ตัน แต่แนะนำให้ผู้ฟังว่า "อย่าสนใจเนื้อเพลง"[64] เอ็นเอ็มอี ชืนชมอัลบั้มนี้ เขียนไว้ว่า "ในขณะที่ผลของเสียงของ 'ผีเสื้อ' เศร้า ๆ ได้โบยบินอย่างกับดาวดวงใหญ่ ณ จุดนัดพบของชีวิตสัตว์ป่าที่ถูกคุ้มครอง พิงเคอร์ตัน ก็เหมิอนเป็นอัลบั้มที่เคลื่อนที่อย่างแท้จริง"[65] พิตช์ฟอร์กให้คะแนน 7.5 จาก 10 และเขียนว่า "พิงเคอร์ตัน อาจจะดูมากเกินไปสำหรับแฟนเพลงที่เสาะหางานที่ดูสะอาดและดนตรีที่ดูเข้าถึงง่าย แต่โปรดให้โอกาส เพราะอาจสร้างความประหลาดใจจากพวกต่อต้านวีเซอร์ก็ได้"[66]

โควโมรู้สึกลำบากใจกับกระแสตอบรับทั้งบวกและลบ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1997 เขาเขียนว่า "นี่เป็นปีที่ยากสำหรับผม ไม่ใช่แค่โลกได้บอกมาว่า อัลบั้ม พิงเคอร์ตัน ไม่มีค่าอะไร แต่อัลบั้มปกสีน้ำเงินก็เช่นกัน มันเป็นแค่เรื่องบังเอิญ มันเป็นเพราะมิวสิกวิดีโอ บัดดีฮอลลี ผมเป็นนักแต่งเพลงที่แย่"[67] ในปี ค.ศ. 2001 เขาได้บอกกับ เอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี ว่า "มันเป็นผลงานที่น่าเกลียด มันเป็นความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นต่อหน้าคนนับร้อยนับพันและยังคงเกิดขึ้นมากขึ้นและจะไม่ไปไหน มันเหมือนเราเมาในงานปาร์ตี้และแสดงความกล้าหาญต่อหน้าทุกคน แล้วรู้สึกดีเยี่ยม จากนั้นเมื่อเราตื่นในเช้าวันต่อมาก้พบว่าเราทำเรื่องโง่ ๆ ลงไป"[68][69]

ช่วงหลัง[แก้]

ทั้ง ๆ ที่อัลบั้มได้รับเสียงวิจารณ์ทั้งด้านบวกและลบ แต่จากยอดขายเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2009 ขายได้ 852,000 ชุดในสหรัฐอเมริกา[70] ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ[71] ในหลายปีถัดมายังได้รับคำชื่นชมและมีกลุ่มผู้ชื่นชม ผ่านคำพูดปากต่อปากทางอินเทอร์เน็ต[72][73] หรือแม้กระทั่ง ถือเป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดจัดอันดับโดยแฟนเพลงและนักวิจารณ์[74][75]

ในปี ค.ศ. 2002 ผู้อ่านจาก โรลลิงสโตน ลงคะแนนให้อัลบั้ม พิงเคอร์ตัน เป็นอัลบั้มยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาลในอันดับ 16[76] ในปี ค.ศ. 2004 ได้วิจารณ์ครั้งใหม่ ให้ 5 ดาว (จาก 5 ดาว) และลงอัลบั้มนี้อยู่ใน "หอเกียรติยศโรลลิงสโตน"[56] ในปี ค.ศ. 2005 สปิน ให้อัลบั้มนี้อยู่อันดับ 61 ของรายชื่อ 100 อัลบั้มที่ดีที่สุด จากปี ค.ศ. 1985 ถึง 2005[77] ในปี ค.ศ. 2003 พิตช์ฟอร์ก ให้อัลบั้มนี้อยู่ลำดับ 53 ของ 100 สุดยอดอัลบั้มในคริสต์ทศวรรษ 1990 และได้ให้ระดับอัลบั้มว่า สมบูรณ์แบบ[78] และในปี ค.ศ. 2007 ดราวด์อินซาวด์ ชื่นชมว่า "เป็นอัลบั้มที่รักอย่างไม่มีเงื่อนไข และเป็นสิ่งสะสมที่ยอดเยี่ยมแห่งอารมณ์ที่สับสนในจักรวาล เท่าที่เคยมีมา!"[79]

นิตยสาร กีตาร์เวิลด์ ให้อยู่ในรายชื่ออันดับ 76 ของ "100 อัลบั้มกีตาร์ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล"[80] เดอะมูฟเมนต์ จากนิวซีแลนด์ ให้อยู่อันดับ 12 ของ "101 อัลบั้มที่ดีที่สุดในคริสต์ทศวรรษ 1990"[81] และ พิวร์ป็อป จากเม็กซิโก ให้อยู่อันดับ 21 ของรายชื่อ "50 อัลบั้มที่ดีที่สุดในคริสต์ทศวรรษ 1990"[82] และได้คะแนนสมบูรณ์แบบจากทั้งออลมิวสิก และ ไทนีมิกซ์เทปส์ โดยสื่อหลังวิจารณ์ว่า "หนึ่งในอัลบั้มที่ดีที่สุดในศตวรรษที่ 20"[19] จากการออกใหม่ในรูปแบบดีลักซ์ในปี ค.ศ. 2010 ได้คะแนนเต็ม 100 จากเว็บไซต์เมทาคริติก[58]

ในปี ค.ศ. 2008 โควโมได้กลับมาพูดถึงอัลบั้มนี้อีกครั้งว่า "อัลบั้ม พิงเคอร์ตัน นั้นยอดเยี่ยม หยั่งลึก กล้าหาญ และเป็นของจริง การได้ฟัง ผมสามารถบอกได้ว่า ผมเข้าถึงมันเมื่อผมเขียนและบันทึกเสียงเพลงพวกนี้"[83] ในปี ค.ศ. 2010 ไบรอัน เบลล์ บอก ดิอาควาเรียนวีกลีว่า "พิงเคอร์ตัน นำชีวิตของมันได้อย่างแท้จริงและประสบความสำเร็จมากขึ้น จนได้รับการยอมรับมากขึ้น ในฐานะศิลปินคนหนึ่ง คุณแค่ทำในสิ่งที่คุณเชื่อ ณ เวลานั้น ไม่ว่ามันจะได้รับการยอมรับหรือไม่ คุณแค่ทำมันต่อไป"[84] ในปี ค.ศ. 2015 หลังจากออกขายใหม่และหลังทัวร์ "เมโมรีส์" ที่วีเซอร์แสดงเพลงจากอัลบั้มชุดเปิดตัวและ พิงเคอร์ตัน ทั้งหมด โควโมกล่าวว่า

ประสบการณ์จากการเรียนรู้เพลงเหล่านี้อีกครั้ง ได้ร้องเพลงเหล่านี้ในทุกคืน ได้ทำงานร่วมกับพวกเขา และได้อยู่ในงานเล็ก ๆ กับแฟนพันธุ์แท้ของวีเซอร์ 1,000 คน และได้ยินพวกเขาร้องในทุกเพลง ได้เห็นพวกเขาตีกลองกลางอากาศ มันเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมและแตกต่างจากที่เราเคยทำมาในหลายปีที่ผ่านมา มันเป็นความรู้สึกที่ยอดเยี่ยมจากแฟนเพลง สำหรับอัลบั้มนี้ที่ค่อนข้างเป็นอัลบั้มส่วนตัวสำหรับผม และมันค่อนข้างเป็นปีที่ค่อนข้างเจ็บปวดในตอนนั้น[8]

อัลบั้ม พิงเคอร์ตัน มีอิทธิพลต่อศิลปินอย่าง แมนเชสเตอร์ออร์เครสตา,[85] เยลโลว์คาร์ด, เซฟส์เดอะเดย์, เทกกิงแบ็กซันเดย์, ดิอาทาริส, เทิร์สเดย์, เดอะยูสด์, เดอะโบรเบกส์, แดชบอร์ดคอนเฟชชันนอล, เดอะพรอมิสริง,[86] เดอะลองกูดบาย และ เรย โคลิชัน[87][2][88]

รางวัล[แก้]

พิงเคอร์ตัน อยู่ในรายชื่ออัลบั้มที่ดีที่สุดจากหลายสื่อ ได้แก่[89]

สื่อ ประเทศ รางวัล ปี อันดับ
แมกเนต สหรัฐอเมริกา 60 อัลบั้มที่ดีที่สุดระหว่างปี ค.ศ. 1993–2003[90] 2003 #17
สปิน 100 อัลบั้มยอดเยี่ยม, 1985–2005[77] 2005 #61
The Movement นิวซีแลนด์ 101 อัลบั้มที่ดีที่สุดในคริสต์ทศวรรษ 1990[81] 2004 #12
พิตช์ฟอร์กมีเดีย สหรัฐอเมริกา 100 อัลบั้มที่ยอดเยี่ยมที่สุดในคริสต์ทศวรรษ 1990[78] 2003 #53
กีตาร์เวิลด์ 100 อัลบั้มกีตาร์ที่ดีที่สุดตลอดกาล[80] 2005 #76
โรลลิงสโตน 100 อัลบั้มยอดเยี่ยมที่สุดในคริสต์ทศวรรษ 1990 2010 #48
ออลเทอร์เนทิฟเพรส 1 ใน 10 อัลบั้มสำคัญใน ค.ศ. 1996 2006

รายชื่อเพลง[แก้]

เพลงทั้งหมดประพันธ์โดยริเวอร์ โควโม ยกเว้นตามหมายเหตุ

ลำดับชื่อเพลงยาว
1."Tired of Sex"3:01
2."Getchoo"2:52
3."No Other One"3:01
4."Why Bother?"2:08
5."Across the Sea"4:32
6."The Good Life"4:17
7."El Scorcho"4:03
8."Pink Triangle"3:58
9."Falling for You"3:47
10."Butterfly"2:53
ความยาวทั้งหมด:34:36

ฉบับดีลักซ์[แก้]

แผ่น 1 โบนัสแทร็ก[91]
ลำดับชื่อเพลงยาว
11."You Gave Your Love to Me Softly"1:57
12."Devotion"3:11
13."The Good Life" (radio remix)4:08
14."Waiting on You"4:13
15."I Just Threw out the Love of My Dreams"2:39
16."The Good Life" (live and acoustic)4:40
17."Pink Triangle" (radio remix)4:02
18."I Swear It's True"3:19
19."Pink Triangle" (live and acoustic)4:18
20."Interview – 107.7 The End – Blue vs. Pinkerton" (unlisted track)1:32
แผ่น 2[91]
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
1."You Won't Get With Me Tonight" 3:29
2."The Good Life" (live at Y100 Sonic Session) 4:37
3."El Scorcho" (live at Y100 Sonic Session) 4:07
4."Pink Triangle" (live at Y100 Sonic Session) 4:10
5."Why Bother?" (live at Reading Festival 1996) 2:18
6."El Scorcho" (live at Reading Festival 1996) 4:09
7."Pink Triangle" (live at Reading Festival 1996) 4:52
8."The Good Life" (live at X96) 4:13
9."El Scorcho" (live and acoustic) 4:26
10."Across the Sea Piano Noodles" 0:38
11."Butterfly" (alternate take) 2:48
12."Long Time Sunshine" 4:17
13."Getting Up and Leaving"โควโม, แพตริก วิลสัน3:28
14."Tired of Sex" (tracking rough) 2:58
15."Getchoo" (tracking rough) 2:57
16."Tragic Girl" 5:26

ยอดขายและอันดับ[แก้]

อัลบั้ม[แก้]

ชาร์ต อันดับสูงสุด
สหรัฐอเมริกา/ บิลบอร์ด 200 19[59]
ออสเตรเลีย 41[92]
แคนาดา/ อาร์พีเอ็ม อัลบั้มชาร์ต 15[93]
นิวซีแลนด์ 11[94]
นอร์เวย์ 18[95]
ฟินแลนด์ 35[96]
สวีเดน 4[97]

ซิงเกิ้ล[แก้]

ปี เพลง อันดับสูงสุด
ยูเอสมอเดิร์นร็อก
[98]
สวีเดน
[99]
ฟินแลนด์
[100]
1996 "El Scorcho" 19 10 18
1996 "The Good Life" 32
1997 "Pink Triangle"

คณะผู้สร้างอัลบั้ม[แก้]

ข้อมูลทั้งหมดมาจากหนังสือแนบจากอัลบั้ม[33]
วีเซอร์
ผลิต
  • โจ บาร์เรซี– วิศวกร
  • บิลลี โบเวอส์– วิศวกร
  • จิม แคมเปญ – วิศวกร
  • เดวิด โดมิงเกซ – วิศวกร
  • เกรก ฟิเดลแมน – วิศวกร
  • เดฟ ฟริดแมนน์ – วิศวกร
  • ฮิโระชิเงะ – ปก
  • ร็อบ เจคอปส์ – วิศวกร
  • สไปก์ จอนซ์ – ช่างภาพ
  • แอดัม แคสเปอร์ – วิศวกร
  • คาร์ล คอช – เว็บมาสเตอร์
  • จอร์จ มาริโน – มาสเตอริง
  • แดน แม็กลอลิน – วิศวกร
  • ชอว์น เอเวอเรตต์ – วิศวกร, ผสมเสียง
  • คลิฟ นอร์เรลล์ – วิศวกร
  • แจ็ก โจเซฟ พุยก์ – วิศวกร, ผสมเสียง
  • จิม รอนดิเนลลี – วิศวกร
  • แจเน็ต วอลส์บอร์น – ผู้ช่วยฝ่ายศิลป์

อ้างอิง[แก้]

  1. Vozick-Levinson, Simon (November 3, 2010). "Pinkerton: Deluxe Edition (2010)". EW.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-07. สืบค้นเมื่อ 2011-04-06.
  2. 2.0 2.1 Montgomery, James. "Weezer Are The Most Important Band Of The Last 10 Years". MTV.com. MTV Networks. สืบค้นเมื่อ 2011-04-06.
  3. Luerssen 2004, p. 137.
  4. 4.0 4.1 "Weezer Record History Page 7". weezer.com. March 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-15. สืบค้นเมื่อ June 4, 2013.
  5. Luerssen 2004, p. 139.
  6. Luerssen 2004, pp. 148–149.
  7. Cuomo 2011, p. 41.
  8. 8.0 8.1 Cohen, Ian (9 February 2015). "Rivers Cuomo". Pitchfork. สืบค้นเมื่อ 15 February 2015.
  9. Pinkerton Deluxe liner notes
  10. 10.0 10.1 Luerssen 2004, p. 158.
  11. 11.0 11.1 Luerssen 2004, p. 157.
  12. Luerssen 2004, p. 191.
  13. Luerssen 2004, p. 190.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 Luerssen 2004, p. 192.
  15. 15.0 15.1 Luerssen 2004, p. 159.
  16. 16.0 16.1 Luerssen 2004, p. 176.
  17. Luerssen 2004, p. 187.
  18. Luerssen 2004, p. 189.
  19. 19.0 19.1 19.2 "Tiny Mix Tapes Reviews: Weezer – Pinkerton". Tiny Mix Tapes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-18. สืบค้นเมื่อ June 4, 2013.
  20. 20.0 20.1 20.2 Luerssen 2004, p. 202.
  21. Luerssen 2004, p. 193.
  22. 22.0 22.1 Luerssen 2004, p. 194.
  23. 23.0 23.1 23.2 23.3 23.4 Luerssen 2004, p. 195.
  24. 24.0 24.1 24.2 24.3 Luerssen 2004, p. 196.
  25. Edwars, Gavin. Rivers' Edge. Details Magazine, 1997, Volume 15, number nine.
  26. Luerssen 2004, p. 105.
  27. 27.0 27.1 Latimer, Lori. "Weezer: Pinkerton ---Ink Blot Magazine". inkblotmagazine.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ June 4, 2013.
  28. 28.0 28.1 Cuomo 2011.
  29. "Reviews Madame Butterfly". japanreview.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-30. สืบค้นเมื่อ June 4, 2013.
  30. Cuomo 2011, p. 158.
  31. ":::The =W= Story:::". home.pacbell.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-22. สืบค้นเมื่อ June 4, 2013.
  32. "Hiroshige / Evening Snow at Kambara (Kambara yoru no yuki), no. 16 from the Series Fifty-Three Stations of the Tokaido (Tokaido gosantsugi no uchi) / 1832 – 1833". daviddrumsey.com. สืบค้นเมื่อ June 4, 2013.
  33. 33.0 33.1 33.2 33.3 Pinkerton. Weezer. DGC Records. 1996.{{cite AV media notes}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  34. "Howard Stern.com". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-24. สืบค้นเมื่อ June 4, 2013.
  35. Luerssen 2004, p. 215.
  36. Luerssen 2004, p. 200.
  37. Luerssen 2004, p. 203.
  38. Andrade, Dereck (September 24, 1996). "Pinkerton obtains temporary restraining order against major U.S. record company; suit alleges trademark infringement by Los Angeles-based Geffen Records". Business Wire. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-20. สืบค้นเมื่อ 2007-09-24.
  39. Luerssen 2004, p. 204.
  40. 40.0 40.1 Luerssen 2004, p. 205.
  41. 41.0 41.1 Luerssen 2004, p. 221.
  42. 42.0 42.1 Luerssen 2004, p. 222.
  43. 43.0 43.1 43.2 Luerssen 2004, p. 219.
  44. "Pinkerton era releases (1996–1999)". Weezer. com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-03-15. สืบค้นเมื่อ 2007-09-24.
  45. Luerssen 2004, p. 223.
  46. Koch, Karl (2009-07-17). "2009/07/17 You Shoulda Seen It In Color". Weezer.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-24. สืบค้นเมื่อ 2010-01-27.
  47. "Pinkerton – Weezer". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2011-01-10.
  48. Pelly, Jenn (November 11, 2011). "Rivers Cuomo Releasing Pinkerton Diaries Book and Demos Comp Alone III". Pitchfork Media. สืบค้นเมื่อ July 13, 2014.
  49. 49.0 49.1 Gordinier, Jeff (September 27, 1996). "Sugar Bare: Weezer's 'Pinkerton' Could Use The Sweet Relief of Their Debut". Entertainment Weekly. No. 346. p. 78. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-06. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2550. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  50. "Pinkerton Review". Los Angeles Times. November 6, 1996. p. 4, Calendar F: Entertainment.
  51. "Pinkerton Review". Melody Maker. October 5, 1996. p. 78.
  52. "Pinkerton Review". NME. September 28, 1996. p. 57.
  53. "Pinkerton [deluxe edition] / Death to False Metal". Pitchfork.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-05. สืบค้นเมื่อ 2016-04-01.
  54. "Pinkerton Review". Q. November 1996. p. 138.
  55. 55.0 55.1 O'Connor, Rob (October 31, 1996). Fricke, David (บ.ก.). "Recordings: Pinkerton Weezer". Rolling Stone. No. 746. p. 66. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-06. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2548. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) Posted on February 2, 1998.
  56. 56.0 56.1 Edwards, Gavin (December 9, 2004). "The Rolling Stone Hall of Fame: Weezer Pinkerton". Rolling Stone. No. 963. p. 185. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-05. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2549. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  57. Berrett, Jesse (November 1996). "Spins Platter du Jour: Weezer Pinkerton". Spin. 12 (8): 120–121. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2552. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  58. 58.0 58.1 "Weezer: Pinkerton (Deluxe Edition) (2010): Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 2010-11-11.
  59. 59.0 59.1 "Billboard 200". Billboard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-09-19.
  60. "For The Statistically Minded". Glorious Noise. สืบค้นเมื่อ 2007-02-06.
  61. "Pinkerton". Tower Records. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-24. สืบค้นเมื่อ 2007-09-25.
  62. Luerssen 2004, p. 206.
  63. Luerssen 2004, p. 228.
  64. Melody Maker October 1996, p.52"
  65. NME September 1996, p.57"
  66. Schreiber, Ryan. "Review: Pinkerton". Pitchfork Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-07. สืบค้นเมื่อ 9 October 2009.
  67. Cuomo 2011, p. 232.
  68. Brunner, Rob (May 25, 2001). "Older & Weezer". Entertainment Weekly. No. 597. pp. 40–43. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-22. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2554. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  69. Luerssen 2004, p. 348.
  70. Ayers, Michael D. (2009-08-21). "Weezer Filled With 'Raditude' This Fall". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2010-01-27.
  71. "Gold & Platinum". RIAA. สืบค้นเมื่อ 2007-03-08.
  72. Ramirez, Ramon. "5 more college rock albums for your inner indie snob". The Daily Texan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-23. สืบค้นเมื่อ 2007-10-01.
  73. Luerssen 2004, p. 307.
  74. "Pinkerton by Weezer: Reviews and Ratings". Rate Your Music. สืบค้นเมื่อ 2007-10-01.
  75. Donohue, Mark. "Nude as the News: Weezer: Pinkerton". Nude as the News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-15. สืบค้นเมื่อ 2007-10-01.
  76. "2002 Rolling Stone Readers' 100". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ 2007-03-08.
  77. 77.0 77.1 "100 Greatest Albums, 1985-2005". Spin. 21 (7): 87. July 2005. สืบค้นเมื่อ 2007-02-06.
  78. 78.0 78.1 Mitchum, Rob (November 17, 2003). "Top 100 Albums of the 1990s: 053: Weezer Pinkerton". Pitchfork. Pitchfork Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-28. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  79. Adams, Sean. "Drowned in Sound — Reviews — Weezer — Pinkerton". Drowned in Sound. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-08. สืบค้นเมื่อ 2007-09-25.
  80. 80.0 80.1 "Top 100 Guitar Albums of All-Time". Guitar World. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-23. สืบค้นเมื่อ 2007-03-08.
  81. 81.0 81.1 "The 101 Best Albums of the 90s". The Movement. สืบค้นเมื่อ 2007-02-06.
  82. "The 50 Best Albums of the 90s". Pure Pop. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-23. สืบค้นเมื่อ 2007-09-25.
  83. Crock, Jason (January 28, 2008). "Interview: Rivers Cuomo". pitchfork.com. Pitchfork Media. สืบค้นเมื่อ 2008-02-01.
  84. "Interview with Weezer: They Want You To | The Aquarian Weekly". Theaquarian.com. 2010-04-29. สืบค้นเมื่อ 2011-08-16.
  85. "Manchester Orchestra". First Avenue. สืบค้นเมื่อ 2012-12-03.
  86. Tedder, Michael. "Revenge of the Nerds". Pitch. สืบค้นเมื่อ 2016-04-05.
  87. Luerssen 2004, p. 210.
  88. Luerssen 2004, p. 349.
  89. "List of Pinkerton Accolades". Acclaimed Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-23. สืบค้นเมื่อ 2007-09-19.
  90. "Top 60 Albums 1993–2003". Magnet. สืบค้นเมื่อ 2007-02-06.
  91. 91.0 91.1 Paul, Aubin (September 27, 2010). "Weezer's deluxe "Pinkerton" reissue detailed". Punknews.org. สืบค้นเมื่อ September 27, 2010.
  92. "Austria album chart archives". austriancharts.at. สืบค้นเมื่อ 2007-09-19.
  93. "Top Albums/CDs – Volume 64, No. 8, October 07 1996". RPM. สืบค้นเมื่อ 2010-09-30.
  94. "New Zealand album chart archives". charts.org.nz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-05. สืบค้นเมื่อ 2007-09-19.
  95. "Norway Chart Archives". norwegiancharts.com. สืบค้นเมื่อ 2007-09-19.
  96. "Finnish Chart Archives". finnishcharts.com. สืบค้นเมื่อ 2007-09-19.
  97. "Sweden Chart Archives". swedishcharts.com. สืบค้นเมื่อ 2007-09-19.
  98. "Weezer Artist Chart History". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2007-09-19.
  99. "Swedish album chart archives". hitparad.se. สืบค้นเมื่อ 2007-09-19.
  100. "Finland Charts". finnishcharts.com. สืบค้นเมื่อ 2007-09-19.
บรรณานุกรม