จิตรศิลป์นิยม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Pictorialism)

จิตรศิลป์นิยม (Pictorialism) เป็นความเคลื่อนไหวในวงการถ่ายภาพช่วงราวๆ ปี ค.ศ. 1885 ทำให้เกิดแนวทางในการใช้กระบวนการ Dry-Plate อย่างกว้างขวาง ซึ่งได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และลดความนิยมลงอย่างรวดเร็วหลังปี 1914 หลังจากการได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางของศิลปะสมัยใหม่

โดยทั่วไปแล้ว จิตรศิลป์นิยมเป็นส่วนหนึ่งของแนวความคิดการถ่ายภาพศิลปะที่ต้องการให้ภาพถ่ายเหมือนเป็นภาพวาด และรูปสลัก ส่วนมากของรูปภาพเหล่านี้เป็นสีขาว-ดำ หรือซีเปียในวิธีการถ่ายภาพ เป็นการใช้โฟกัสต่ำ ซอฟต์โฟกัส ฟิลเตอร์พิเศษ และเคลือบผิวเลนส์ ขั้นตอนหลาย ๆ ขั้นตอนในห้องมืดที่ใช้ล้างฟิล์ม และกระบวนการการพิมพ์ที่มาจากต่างประเทศ กระดาษอัดรูปที่มีพื้นผิวขรุขระ ได้ถูกเพิ่มเข้ามาใช้เป็นองค์ประกอบของรูป เพื่อเบรกความชัดเจนของรูปให้น้อยลง

เพื่อการบรรลุผลงานของศิลปินทั้งหลาย นักจิตรศิลป์นิยมใช้เทคนิคแตกต่างกันไป อย่างเช่น

  1. การรวมตัวของต้นแบบที่อัดภาพ (จากเนกาทีฟหลาย ๆ อย่าง)
  2. ใช้โฟกัสแบบซอฟต์โฟกัสในกล้องถ่ายรูป
  3. การจับโน่นผสมนี่ของเนกาทีฟ (การขูด หรือการทาสีบนเนกาทีฟ)
  4. ใช้เทคนิค gum bichromate ซึ่งเป็นการใส่รายละเอียดน้อยลงมาก และผลิตภาพเป็นศิลปะมากขึ้น

ศิลปินจำนวนหนึ่ง ใช้การแกะสลัก พื้นผิวของพวกเขานั้น เป็นการใช้เทคนิคจากเข็ม ทำให้เกิดพื้นผิว เป้าหมายของการใช้เทคนิคเป็นที่ยอมรับ โดยในปี 1911 สารานุกรมบริเตนนิกายอมรับให้ จิตรศิลป์นิยมเป็น “ศิลปะส่วนบุคคล”

แม้ว่าจุดมุ่งหมายของการแสดงความรู้สึกของศิลปินดีที่สุดของภาพถ่าย ก็คล้ายคลึงกับแนวคิดอิมเพรสชันนิส ที่เป็นการวาดรูปในขณะเกิดความประทับใจ มองย้อนกลับไปจากปัจจุบันนี้ เรายังคงสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ในความคล้ายคลึงกันระหว่างองค์ประกอบ และสิ่งที่อยู่ในภาพวาด ของวิธีการวาดภาพและจำนวนของศิลปินการถ่ายภาพในแนวจิตรศิลป์นิยม

ในปี 1911 สารานุกรมบริเตนนิกาได้ให้ข้อสังเกตว่า ในส่วนของความเคลื่อนไหวที่มีความชัดเจนของการถ่ายภาพแบบจิตรศิลป์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเริ่มต้นที่อังกฤษ ถึงแม้ว่าในระยะต่อมาจะได้รับการยอมรับอย่างมาก ในการถ่ายภาพที่สหรัฐอเมริกา

สิ่งพิมพ์ที่มีความสำคัญอย่างมากในการเผยแพร่ศิลปินแนวจิตรศิลป์นิยมคือหนังสือของ Alfred Stieglitz ที่มีชื่อว่า Camera Work ในปี 1903-1917 ซึ่งในการพิมพ์ออกมาแต่ละครั้งจะมีแม่พิมพ์สูงถึง 12 แม่พิมพ์ ที่เป็นการนำกลับมาใช้ใหม่ใน Photogravure, Halftone หรือ Collotype แม่พิมพ์นี้ปัจจุบันนี้ได้ถูกรวบรวมและเป็นที่ต้องการอย่างมากในโลกศิลปะ ช่างถ่ายภาพส่วนใหญ่นั้นได้สร้างประเด็นในการถ่ายภาพขึ้น “Photo-Succession” เป็นสมาชิกของกลุ่มที่ประกาศว่าการถ่ายภาพเป็นศิลปะ

Alfred Stieglitz เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีว่าเป็นบิดาแห่งจิตรศิลป์นิยม

Stieglitz ยังคงนำมาซึ่ง Picasso, Matisse, Rodan และช่างวาดภาพสำคัญคนอื่นๆ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างดีในศิลปะแห่งสหรัฐอเมริกา

Stieglitz ไม่เพียงแต่เป็นช่างภาพผู้บุกเบิกในยุคแรกเท่านั้น แต่ยังคงเป็นบรรณาธิการ และเป็นเจ้าของแกลอรี เขาและช่างภาพคนอื่นๆ ผู้ที่ได้แบ่งปันความทุกข์จากการถูกกล่าวหาต่างๆในการก่อตั้งกลุ่มที่ถูกเรียกว่า Photo-Succession ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้ความสำคัญในด้านฝีมือที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพ

อ้างอิง[แก้]

  • "photography, history of". Encyclopedia Britannica Online. สืบค้นเมื่อ 2006-07-18.
  • Daum, Patrick (Ed.) Impressionist Camera: Pictorial Photography in Europe, 1888-1918 (2006). ISBN 1-85894-331-0