ฟีลิป เปแต็ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Philippe Pétain)
ฟีลิป เปแต็ง
เปแต็งใน ค.ศ. 1941
ประมุขแห่งรัฐฝรั่งเศส
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม ค.ศ. 1940 – 20 สิงหาคม ค.ศ. 1944
นายกรัฐมนตรีปีแยร์ ลาวาล
ปีแยร์-เอเตียน ฟล็องแด็ง
ฟร็องซัว ดาร์ล็อง
ก่อนหน้าอาลแบร์ เลอเบริง
ในฐานะประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ
ถัดไปชาร์ล เดอ โกล
ในฐานะผู้นำรัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสคนที่ 78
ดำรงตำแหน่ง
16 มิถุนายน ค.ศ. 1940 – 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1940
ประธานาธิบดีอาลแบร์ เลอเบริง
รองกามีย์ โชต็อง
ปีแยร์ ลาวาล
ปีแยร์-เอเตียน ฟล็องแด็ง
ฟร็องซัว ดาร์ล็อง
ก่อนหน้าปอล แรโน
ถัดไปปีแยร์ ลาวาล
ผู้บัญชาการกองทัพฝรั่งเศส
ดำรงตำแหน่ง
17 พฤษภาคม ค.ศ. 1917 – มกราคม ค.ศ. 1920[1][2]
ประธานาธิบดีแรมง ปวงกาเร
นายกรัฐมนตรีอาแล็กซ็องดร์ รีโบ
ปอล แป็งเลอเว
ฌอร์ฌ เกลม็องโซ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงครามปอล แป็งเลอเว
ฌอร์ฌ เกลม็องโซ
ก่อนหน้ารอแบร์ นีแวล
ผู้ปกครองร่วมแห่งอันดอร์รา
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1944
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
อ็องรี ฟีลิป เบโนนี โอแมร์ โฌแซ็ฟ เปแต็ง

24 เมษายน ค.ศ. 1856
โกชี-อา-ลา-ตูร์, ปาดกาแล, จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2
เสียชีวิต23 กรกฎาคม ค.ศ. 1951(1951-07-23) (95 ปี)
ปอร์-ฌวงวีล, อีลดีเยอ, ว็องเด, ฝรั่งเศส
ศาสนาโรมันคาทอลิก
คู่สมรสเออเฌนี อาร์ดง เปแต็ง
รางวัลจอมพลแห่งฝรั่งเศส
เลฌียงดอเนอร์
เหรียญทหาร (สเปน)
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ฝรั่งเศส
 ฝรั่งเศสเขตวีชี
สังกัดกองทัพฝรั่งเศส
ประจำการค.ศ. 1876–1944
ยศนายพลประจำกองพล
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามโลกครั้งที่สอง

อ็องรี ฟีลิป เบโนนี โอแมร์ โฌแซ็ฟ เปแต็ง (ฝรั่งเศส: Henri Philippe Benoni Omer Joseph Pétain; 24 เมษายน ค.ศ. 1856 – 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1951) เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อว่า ฟีลิป เปแต็ง (Philippe Pétain) หรือ จอมพล เปแต็ง (Maréchal Pétain) และบางครั้งจะเรียกว่า จอมพลเฒ่า (ฝรั่งเศส: le vieux Maréchal) เป็นเจ้าหน้าที่นายทหารระดับพลเอกชาวฝรั่งเศสที่ได้ดำรงตำแหน่งจอมพลแห่งฝรั่งเศส เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง ซึ่งในช่วงนั้นเขากลายเป็นที่รู้จักกันคือ ราชสีห์แห่งแวร์เดิง (ฝรั่งเศส: le lion de Verdun) จากนั้นเขาได้ดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐของวิชีฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1940 ถึง ค.ศ. 1944 เปแต็งซึ่งมีอายุ 84 ปีใน ค.ศ. 1940 ดำรงดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐที่มีอายุมากที่สุดของฝรั่งเศส

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฟีลิปได้นำกองทัพฝรั่งเศสไปสู่ชัยชนะในยุทธการที่แวร์เดิงซึ่งกินเป็นเวลาเก้าเดือน ภายหลังจากการรุกนีเวลล์(Nivelle offensive) ได้ประสบความล้มเหลว และการลุกฮือประท้วงที่ตามมา เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด และประสบความสำเร็จในการรักษาความเชื่อมั่นของกองทัพ เปแต็งยังคงอยู่ในกองบัญชาการจากสงครามที่เหลือและกลายเป็นวีรบุรุษของชาติ ในช่วงระหว่างสงคราม เขาได้เป็นผู้นำกองทัพฝรั่งเศสในยามสงบ ได้บัญชาการในปฏิบัติการร่วมกันระหว่างฝรั่งเศส-สเปนในช่วงสงครามริฟ และดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีมาสองครั้ง ในช่วงเวลานี้ เขาเป็นที่รู้จักในนามว่า จอมพลเฒ่า (le vieux Maréchal)

ด้วยการล่มสลายของฝรั่งเศสที่กำลังใกล้เข้ามาและคณะรัฐมนตรีต้องการที่จะเจราจาสงบศึก เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1940 นายกรัฐมนตรี ปอล แรโน ได้ประกาศลาออกและได้ให้คำแนะนำกับประธานาธิบดี อาลแบร์ เลอเบริง แต่งตั้งเปแต็งให้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทนที่เขา ซึ่งเขาได้กระทำในวันนั้น ในขณะที่รัฐบาลอยู่ที่บอร์โด คณะรัฐมนตรีได้ลงมติเพื่อการลงนามในข้อตกลงสงบศึกกับเยอรมนีและอิตาลี ต่อมารัฐบาลทั้งหมดได้ย้ายไปที่แกลร์มง-แฟร็องในเวลาอันสั้น จากนั้นก็ไปยังเมืองสปาของวิชีในภาคกลางของฝรั่งเศส รัฐบาลได้ลงมติเพื่อทำการเปลี่ยนแปลงจากสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 มาเป็นรัฐฝรั่งเศสหรือวิชีฝรั่งเศส ซึ่งเป็นระบอบเผด็จการที่เป็นฝ่ายให้ความร่วมมือกับฝ่ายอักษะ ภายหลังจากเยอรมนีและอิตาลีได้เข้ายึดครองและปลดอาวุธของฝรั่งเศสในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1942 รัฐบาลของเปแต็งได้ทำงานอย่างใกล้ชิดให้กับเขตปกครองทางทหารของนาซีเยอรมนี

ภายหลังสงคราม เปแต็งได้ถูกพิจารณาคดีและถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหากบฎ แต่เดิมเขาถูกตัดสินลงโทษด้วยการประหารชีวิต แต่เนื่องจากเขาแก่ชรามากแล้วและด้วยวีรกรรมของเขาในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง คำตัดสินโทษได้ถูกลดหย่อนเป็นการจำคุกตลอดชีวิตแทน เส้นการเดินทางของเขาจากทหารผู้ไร้ชื่อเสียงสู่วีรบุรุษแห่งฝรั่งเศสในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไปจนถึงผู้ปกครองที่ทำงานในการให้ความร่วมมือในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้ชาร์ล เดอ โกล ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากเขาได้เขียนระบุว่า ชีวิตของเปแต็งนั้น"กลับดูธรรมดา จากนั้นก็รุ่งโรจน์ ต่อมาก็น่าสมเพชโดยลำดับ แต่ไม่เคยดูธรรมดาเลยสักนิด"

ช่วงชีวิตแรก[แก้]

วัยเด็กและครอบครัว[แก้]

เปแต็งเกิดในโกซี-อา-ลา-ตูร์(ในจังหวัดปาดกาแล ในทางตอนเหนือของฝรั่งเศส) ใน ค.ศ. 1856 พ่อของเขานามว่า โอเมอร์-เวน็องต์ ซึ่งเป็นชาวนา ลุงทวดของเขาซึ่งเป็นบาทหลวงนิกายคาทอลิก คุณพ่อ Abbe Lefebvre (ค.ศ. 1771 - ค.ศ. 1866) เคยเป็นทหารอยู่ในลากร็องด์อาเม(กองทัพใหญ่)ของนโปเลียน และได้เล่าเรื่องราวของการทำสงครามและการผจญภัยในการทัพของเขาตั้งแต่คาบสมุทรอิตาลีไปจนถึงเทือกเขาแอลป์ในสวิตเซอร์แลนด์ให้แก่ฟิลิปวัยเด็กได้รับฟัง ความประทับใจอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องราวที่ถูกเล่าโดยลุงทวดของเขา โชคชะตาของเขาได้ถูกกำหนดโดยกองทัพนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ชีวิตส่วนบุคคล[แก้]

เปแต็งครองโสดจนถึงอายุหกสิบปีเศษ และเป็นที่รู้จักกันถึงความเจ้าชู้ของของเขา ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เปแต็งได้แต่งงานกับอดีตแฟนสาวของเขานามว่า เออเฌนี อาร์ดง (ค.ศ. 1877– ค.ศ. 1962) เมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1920 พวกเขายังคงแต่งงานกันจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตของแปแต็ง ภายหลังจากได้ปฏิเสธข้อเสนอการแต่งงานครั้งแรกกับแปแต็ง อาร์ดงได้แต่งงานและหย่าร้างกับฟรองซัวส์ เดอ เฮเรน(François de Hérain) ในปี ค.ศ. 1914 เมื่อเธอมีอายุ 35 ปี ในช่วงการเปิดฉากของยุทธการที่แวร์เดิงใน ค.ศ. 1916 มีการกล่าวกันว่า เปแต็งถูกดึงตัวมาจากโรงแรมปารีสในช่วงตอนกลางคืนโดยเจ้าหน้าที่เสนาธิการทหารซึ่งได้รับรู้ว่าเขาได้อยู่กับเออเฌนี อาร์ดงในคืนนั้น เธอไม่ได้มีบุตรกับเปแต็ง แต่กลับมีลูกชายจากการแต่งงานครั้งแรกของเธอคือ ปีแอร์ เดอ เฮเรน ซึ่งเปแต็งไม่ชอบอย่างยิ่ง

อาชีพทหารช่วงแรก[แก้]

เปแต็งได้เข้าร่วมกองทัพฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1876 และเข้าศึกษาที่ St Cyr Military Academy ใน ค.ศ. 1887 และ École Supérieure de Guerre (วิลทยาลัยสงครามกองทัพบก)ในปารีส ระหว่าง ค.ศ. 1878 และ ค.ศ. 1899 เขาได้ทำหน้าที่เป็นทหารในกองรักษการณ์ต่าง ๆ กับกองพันต่าง ๆ ของ Chasseurs à pied ทหารราบเบาชั้นนำของกองทัพฝรั่งเศส จากนันเขาก็ได้สลับไปมาระหว่างเจ้าหน้าที่นายทหารและกองร้อยที่ได้รับมอบหมาย

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[แก้]

จุดเริ่มต้นของสงคราม[แก้]

ยุทธการที่แวร์เดิง[แก้]

การลุกฮือ[แก้]

จุดจบของสงคราม[แก้]

ช่วงระหว่างสงคราม[แก้]

วีรบุรุษผู้เป็นที่เคารพนับถือของฝรั่งเศส[แก้]

สงครามริฟ[แก้]

การวิพากษ์วิจารณ์ถึงนโยบายป้องกัน[แก้]

ได้รับเลือกจากอากาเดมีฟร็องแซซ[แก้]

รัฐมนตรีกระทรวงสงคราม[แก้]

การวิจารณ์นโยบายรัฐบาล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Williams, 2005, p. 212.
  2. Atkin, 1997, p. 41.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]