ข้ามไปเนื้อหา

นกกาน้ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Phalacrocorax)
นกกาน้ำ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ครีเตเชียสยุคสุดท้าย – ปัจจุบัน
นกกาน้ำใหญ่ (Phalacrocorax carbo) ที่ทะเลสาบเอ๋อไห่ ประเทศจีน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
ชั้นย่อย: Neornithes
ชั้นฐาน: Neoaves
อันดับ: Pelecaniformes
หรือ Suliformes[1]
วงศ์: Phalacrocoracidae
Reichenbach, 1850
สกุล: Phalacrocorax
Brisson, 1760
ชนิด
38 ชนิด
ชื่อพ้อง
  • Australocorax Lambrecht, 1931
  • Compsohalieus B. Brewer & Ridgway, 1884
  • Cormoranus Baillon, 1834
  • Dilophalieus Coues, 1903
  • Ecmeles Gistel, 1848
  • Euleucocarbo Voisin, 1973
  • Halietor Heine, 1860
  • Hydrocorax Vieillot, 1819
  • Hypoleucus Reichenbach, 1852
  • Leucocarbo Bonaparte, 1857
  • Microcarbo Bonaparte, 1856
  • Miocorax Lambrecht, 1933
  • Nannopterum Sharpe, 1899
  • Nesocarbo Voisin, 1973
  • Notocarbo Siegel-Causey, 1988
  • Pallasicarbo Coues, 1903
  • Paracorax Lambrecht, 1933
  • Poikilocarbo Boetticher, 1935
  • Pliocarbo Tugarinov, 1940
  • Stictocarbo Bonaparte, 1855
  • Viguacarbo Coues, 1903

นกกาน้ำ เป็นนกที่อยู่ในวงศ์ Phalacrocoracidae ซึ่งมีเพียงสกุลเดียว คือ Phalacrocorax

ลักษณะ

[แก้]

เป็นนกขนาดกลางถึงใหญ่ มีลักษณะทั่วไปคล้ายอีกา กินปลาเป็นอาหาร ส่วนมากมีขนสีดำ บางชนิดเป็นลายขาว-ดำ หรือสีสันสดใส[2]

อาศัยอยู่บริเวณป่าชายเลน, หนอง, บึง, ทะเลสาบ และแหล่งน้ำอื่น ๆ พบทั้งหมด 38 ชนิดทั่วโลก[2] ในประเทศไทยพบทั้งหมด 3 ชนิด คือ นกกาน้ำเล็ก (P. niger), นกกาน้ำปากยาว (P. fuscicollis) และนกกาน้ำใหญ่ (P. carbo) ชนิดที่พบได้บ่อยมาก คือ นกกาน้ำเล็ก อาหารส่วนใหญ่ของนกกาน้ำ คือ ปลาชนิดต่าง ๆ มันจะดำลงไปในน้ำเพื่อจับปลามาเป็นอาหาร แต่ขนของนกกาน้ำจะไม่มีน้ำมันเคลือบกันน้ำได้เหมือนเป็ด ดังนั้นเมื่อโผล่ขึ้นมาจากน้ำแล้ว ทุกครั้งจะกางปีกออกเพื่อผึ่งให้แห้ง[3]

วิวัฒนาการ

[แก้]

นกกาน้ำเป็นนกโบราณหรือมีวิวัฒนาการต่ำมาก และมีเชื้อสายใกล้ชิดกันมากกับนกในวงศ์ Anhingidae หรือนกอ้ายงั่ว ซึ่งมีรูปร่างคล้ายคลึงกันมาก แต่ลักษณะของปากแตกต่างกัน นักบรรพชีวินวิทยาเคยขุดค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของบรรพบุรุษของนกทั้งสองวงศ์ในทวีปอเมริกาเหนือซึ่งมีอายุย้อนหลังไปถึงเมื่อราว 60,000,000 ปีที่ผ่านมา สันนิษฐานว่านกอ้ายงั่วมีวิวัฒนาการจนแตกต่างจากนกกาน้ำเมื่อราว 30,000,000 ปีที่ผ่านมา

นักบรรพชีวินวิทยาขุดค้นพบซากดึกดำบรรพ์ หรือซากฟอสซิล ของนกกาน้ำได้ 24 ชนิด และชนิดที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุย้อนหลังไปถึงยุคเทอร์เชียรีตอนต้น เมื่อราว 50,000,000 ปีที่ผ่านมา ซากดึกดำบรรพ์ของนกกาน้ำ 24 ชนิดนี้มีลักษณะแตกต่างกันจนสามารถแยกออกได้ถึง 4 สกุล คือ สกุล Graculavus, สกุล Actiornis, สกุล Pliocarbo และสกุล Phalacrocorax ที่พบในปัจจุบัน

สำหรับนกกาน้ำในสกุล Phalacrocorax ซึ่งเป็นสกุลที่มีวิวัฒนาการสูงสุด และยังคงมีชีวิตอยู่ต่อมาจนถึงปัจจุบัน นักบรรพชีวินวิทยาได้วิเคราะห์ซากดึกดำบรรพ์ของนกกาน้ำในสกุลนี้ที่ขุดค้นพบได้ แล้วสันนิษฐานว่านกกาน้ำในสกุลนี้เกิดขึ้นมาบนโลกตั้งแต่ยุคโอลิโกซีน เมื่อราว 40,000,000 ปีมาแล้ว[4]

รูปร่าง

[แก้]

รูปทรงของนกกาน้ำจะมีลักษณะอวบอ้วน แต่ค่อนข้างเพรียวยาวเหมือนกับตอร์ปิโด มีลำคอยาว หัวค่อนข้างเล็กยาว และปากยาว จึงเหมาะสมที่จะพุ่งตัวลงไปแหวกว่ายอยู่ใต้น้ำอย่างแคล่วคล่อง แต่ในเวลาที่ยืนอยู่บนพื้นดินริมน้ำหรือเกาะอยู่บนต้นไม้ ลำตัวของนกกาน้ำยกขึ้นค่อนข้างตั้งตรง เพราะขาอยู่ค่อนไปทางด้านท้ายของลำตัวมาก แต่มักหดลำคอเป็นรูปตัว S และทำหลังโก่ง

แต่ในขณะว่ายน้ำ ลำตัวของนกกาน้ำดูค่อนข้างเพรียว เพราะขาอยู่ค่อนไปทางด้านท้ายของลำตัวมาก เหมาะที่จะพุ่งตัวแหวกว่ายอยู่ในน้ำเป็นอย่างยิ่ง ไม่เหมือนนกในวงศ์ใด นอกจากนกอ้ายงั่วซึ่งมีลักษณะใกล้ชิดกับนกกาน้ำเท่านั้น อย่างไรก็ดี ในขณะบินนกกาน้ำดูคล้ายนกเป็ดน้ำมาก และนกตัวผู้และนกตัวเมียเหมือนกันจนแยกความแตกต่างระหว่างเพศไม่ได้ แต่นกตัวผู้มักมีขนาดใหญ่กว่าและน้ำหนักมากกว่านกตัวเมียเล็กน้อย[4]

ความสัมพันธ์กับมนุษย์

[แก้]

ในแถบเอเชียตะวันออก เช่น จีน หรือญี่ปุ่น มีการเลี้ยงนกกาน้ำไว้เพื่อให้หาปลาให้ชาวประมง โดยเฉพาะในญี่ปุ่น กระทำกันจนเป็นประเพณีหรือวัฒนธรรม[5]

นอกจากนี้แล้ว ในอังกฤษ นกกาน้ำถือเป็นต้นแบบให้แก่นกไลเวอร์ อันเป็นสัญลักษณ์ประจำเมืองลิเวอร์พูล และตราสัญลักษณ์ของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลด้วย[6]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • คู่มือดูนก หมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย by คณะบุคคล นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล ปี 2550
  1. จาก itis.gov
  2. 2.0 2.1 Harrison, Peter; Peterson, Roger Tory (1991). Seabirds: A Complete Guide to the Seabirds of the World (Helm Identification Guides) . Christopher Helm Publishers Ltd. ISBN 071363510X.
  3. Untamed China with Nigel Marven, รายการ ทางแอนิมอลแพลนเน็ต
  4. 4.0 4.1 "นกกาน้ำ (1) กายสัณฐานวิทยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-20. สืบค้นเมื่อ 2012-11-10.
  5. "เทศกาลอุไก (鵜飼) "การจับปลาด้วยนกกาน้ำ"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-01. สืบค้นเมื่อ 2012-04-29.
  6. ขอชี้แจง: liver birds ไม่ใช่หงส์ ไม่ใช่เป็ด และไม่ใช่นก:-) ลม !! จากพันทิป

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Phalacrocorax ที่วิกิสปีชีส์