พาโรโมมัยซิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Paromomycin)
พาโรโมมัยซิน
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าCatenulin, Aminosidine, Humatin, อื่น ๆ[2]
ชื่ออื่นmonomycin, aminosidine[3]
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa601098
ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • US: N (ยังไมได้จำแนก)
  • C
ช่องทางการรับยาการรับประทาน, การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ, ทาภายนอก[1]
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผลถูกดูดซึมในทางเดินอาหารได้น้อย
การเปลี่ยนแปลงยาไม่มีข้อมูล
การขับออกอุจจาระ
ตัวบ่งชี้
  • (2R,3S,4R,5R,6S)-5-amino-6-[(1R,2S,3S,4R,6S)-
    4,6-diamino-2-[(2S,3R,4R,5R)-4-[(2R,3R,4R,5R,6S)-
    3-amino-6-(aminomethyl)-4,5-dihydroxy-oxan-2-yl]
    oxy-3-hydroxy-5-(hydroxymethyl)oxolan-2-yl]oxy-
    3-hydroxy-cyclohexyl]oxy-2-(hydroxymethyl)oxane-3,4-diol
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
DrugBank
ChemSpider
UNII
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard100.028.567
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC23H47N5O18S
มวลต่อโมล713.71 g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • O=S(=O)(O)O.O([C@H]3[C@H](O[C@@H]2O[C@H](CO)[C@@H](O[C@H]1O[C@@H](CN)[C@@H](O)[C@H](O)[C@H]1N)[C@H]2O)[C@@H](O)[C@H](N)C[C@@H]3N)[C@H]4O[C@@H]([C@@H](O)[C@H](O)[C@H]4N)CO
  • InChI=1S/C23H45N5O14.H2O4S/c24-2-7-13(32)15(34)10(27)21(37-7)41-19-9(4-30)39-23(17(19)36)42-20-12(31)5(25)1-6(26)18(20)40-22-11(28)16(35)14(33)8(3-29)38-22;1-5(2,3)4/h5-23,29-36H,1-4,24-28H2;(H2,1,2,3,4)/t5-,6+,7+,8-,9-,10-,11-,12+,13-,14-,15-,16-,17-,18-,19-,20-,21-,22-,23+;/m1./s1 checkY
  • Key:LJRDOKAZOAKLDU-UDXJMMFXSA-N checkY
  7checkY (what is this?)  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

พาโรโมมัยซิน (อังกฤษ: Paromomycin) เป็นยาปฏิชีวนะที่ถูกใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อต่างๆ หลายชนิด เช่น โรคบิดมีตัว , โรคไกอาร์ดิเอสิส (giardiasis), โรคติดเชื้อลิชมาเนีย, และ โรคติดเชื้อพยาธิตัวตืด (Tapeworm infection)[1] โดยพาโรโมมัยซินจัดเป็นยาทางเลือกแรกสำหรับการรักษาโรคบิดมีตัว หรือโรคไกอาร์ดิเอสิสในหญิงตั้งครรภ์[1] และเป็นยาทางเลือกรองในข้อบ่งใช้อื่นที่เหลือตามที่กล่าวข้างต้น[1] โดยพาโรมัยซินสามารถตั้งตำรับให้อยู่ได้ทั้งรูปแบบยาสำหรับรับประทาน, ยาใช้ภายนอก, หรือยาสำหรับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ[1]

อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อยเมื่อได้รับยาพาโรโมมัยซินโดยการรับประทาน ได้แก่ เบื่ออาหาร, คลื่นไส้, อาเจียน, ปวดท้อง, และท้องเสีย[1] เมื่อใช้ยาในรูปแบบยาทาผิวหนัง อาจทำให้เกิดอาการคัน, แดง, และตุ่มพองได้[1] ส่วนการได้รับยาในรูปแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ อาจทำให้มีไข้, ตับทำงานผิดปกติ, หรือหูหนวกได้[1] การใช้ยานี้ในค่อนข้างปลอดภัยในหญิงที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตร[4] ทั้งนี้ พาโรมัยซินจัดเป็นยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่งในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียโดยการยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย[1]

พาโรโมมัยซินเป็นสารที่คัดแยกได้จากเชื้อแบคทีเรีย Streptomyces krestomuceticus ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในคริสต์ทศวรรษที่ 1950 และได้รับการพัฒนาเรื่อยมาจนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นยาใน ค.ศ. 1960[2][4] และเป็นหนึ่งในรายการจำเป็นขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization's List of Essential Medicines) ซึ่งเป็นรายการที่องค์การอนามัยโลกเห็นว่ามีประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากที่สุดและควรมีบรรจุไว้ในรายการยาจำเป็นของระบบสุขภาพของแต่ละประเทศ[5][6] ปัจจุบัน พาโรโมมัยซินมีจำหน่ายในรูปแบบยาสามัญ (generic medication)[7]

การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์[แก้]

พาโรโมมัยซินเป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้สำหรับการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคคริพโตสปอริดิโอซิส (cryptosporidiosis)[8] และโรคบิดมีตัว,[9] และโรคติดเชื้อแบคทีเรียอื่น เช่น โรคติดเชื้อลิชมาเนีย[10] จากการศึกษาทางคลินิกหลายการศึกษาในสหภาพโซเวียต เมื่อทศวรรษที่ 1960 พบว่า พาโรโมมัยซินมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคผิวหนังติดเชื้อลิชมาเนีย ได้เป็นอย่างดี และการศึกษาทางคลินิกในช่วงต้นทศวรรตที่ 1990 พบว่ายาดังกล่าวก็สามารถรักษาโรคติดเชื้อลิชมาเนียในอวัยวะภายในได้เช่นกัน โดยรูปแบบยาที่ใช้ในการศึกษาดังข้างต้นนั้นเป็นยาแคปซูลสำหรับรับประทานและยาสำหรับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ[3]

พาโรโมมัยซินรูปแบบครีมทาภายนอกทั้งที่มีและไม่มีส่วนผสมของเจนตามัยซินนั้นมีประสิทธิภาพดีในการรักษาโรคติดเชื้อลิชมาเนียผิวหนังและเยื่อบุ ทั้งนี้ผลดังกล่าวนั้นเป็นผลจากการศึกษาทดลองทางคลินิกในขั้นที่ 3 ที่เป็นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม, แบบอำพรางทั้งสองฝ่าย[11]

หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร[แก้]

เนื่องจากพาโรโมมัยซินถูกดูดซึมในทางเดินอาหารได้น้อยมาก[12] ผลของยานี้ต่อทารกในครรภ์จึงยังไม่อาจทราบได้แน่ชัด[13] ในกรณีหญิงที่กำลังอยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องด้วยเหตุผลเกี่ยวกับการถูกดูดซึมของยาข้างต้น ทำให้ปริมาณยาที่อาจถูกขับออกทางน้ำนมนั้นมีปริมาณที่น้อยมากเช่นกัน[14]

ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง/เอดส์[แก้]

การใช้พาโรโมมัยซินในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีร่วมกับเชื้อ Cryptosporidium นั้นมีหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์สนับสนุนข้อบ่งใช้นี้อยู่อย่างจำกัด มีการศึกษาขนาดเล็กไม่กี่การศึกษาที่ว่าการได้รับการรักษาด้วยพาโรโมมัยซินสามารถลดการแพร่กระจายของเชื้อในระยะติดต่อได้ (oocyst shedding)[15]

อาการไม่พึงประสงค์[แก้]

อาการไม่พึงประสงค์ทั่วไปที่มีความสัมพันธ์กับการได้รับพาโรโมมัยซินซัลเฟต ได้แก่ ปวดเกร็งท้อง (abdominal cramps), ท้องเสีย, แสบร้อนกลางอก, คลื่นไส้, และอาเจียน ทั้งนี้ การใช้พาโรโมมัยซินต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียอื่นได้ โดยอาการแสดงของการมีเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียอื่นเจริญเติบโตผิดปกติ คือ เกิดแผ่นฝ้าสีขาว (white patches) ภายในบริเวณช่องปาก ส่วนอาการไม่พึงประสงค์อื่นที่เกิดขึ้นได้บ้างเล็กน้อย ได้แก่ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย, การเกิดพิษต่อไต, ลำไส้อักเสบ, การดูดซึมอาหารผิดปกติ, การเพิ่มขึ้นของอีโอซิโนฟิล, ปวดศีรษะ, หูหนวก, มีเสียงกริ่งในหู, คัน, ง่วงซึมมาก, และตับอ่อนอักเสบ[16]

อันตรกิริยา[แก้]

เนื่องจากพาโรโมมัยซินจัดเป็นยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่งในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ จึงมีอาการข้างเคียงที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ สมาชิกในยากลุ่มนี้ก่อให้เกิดพิษต่อไตและต่อหู โดยอาการข้างเคียงดังกล่าวจะพบมากขึ้นเมื่อมีการใช้ยาร่วมที่มีทำให้เกิดพิษต่อไตและหูเช่นกัน[15] เช่น การใช้พาโรโมมัยซินร่วมกับฟอสคาร์เนท จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดพิษต่อไตมากขึ้น[17] นอกจากนี้ การใช้พาโรโมมัยซินร่วมกับโคลิสติน สามารถทำให้เกิดการกดการหายใจ (respiratory depression) และนำไปสู่อันตรายแก่ชีวิตได้ หากมีความจำเป็นต้องใช้ยานี้ร่วมกัน ต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษและควรติดตามการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด[17] ทั้งนี้การใช้พาโรโมมัยซินชนิดฉีดร่วมกับวัคซีนอหิวาตกโรค สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะภูมิไวเกินได้[17] ในกรณีที่ใช้ยานี้ร่วมกับยาขับปัสสาวะที่มีฤทธิ์แรงอาจส่งผลต่อการได้ยินได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาทั้งสองนี้ร่วมกัน[18] รวมไปถึงการใช้พาโรโมมัยซินร่วมกับยาซักซินิลโคลีน (Succinylcholine) อาจทำให้เกิดอันตรายที่รุนแรงกับระบบกล้ามเนื้อและประสาทได้ จึงไม่ควรรใช้ยาเหล่านี้ร่วมกัน[19]

ส่วนการเกิดอัตรกิริยากับอาหารนั้น ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานการพบการเกิดอัตรกิริยาระหว่างพาโรโมมัยซินกับอาหารใดๆ[17]

กลไกการออกฤทธิ์[แก้]

พาโรโมมัยซินเป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย ในเซลล์แบคทีเรียปกติที่ไม่มีการดื้อยานั้น พาโรโมมัยซินจะเข้าจับกับหน่วยย่อย 16 เอสของไรโบโซมแบคทีเรีย[20] พาโรโมมัยซินเป็นยาปฏิชีวนะชนิดออกฤทธิ์กว้างที่มีคุณบัติในการละลายน้ำได้ดี ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันกับคุณสมบัติของนีโอมัยซิน โดยพาโรโมมัยซินสามารถออกฤทธิ์ต่อ Escherichia coliและ Staphylococcus aureus ได้[21]

เภสัชจลนศาสตร์[แก้]

การดูดซึม[แก้]

พาโรโมมัยซินถูกดูดซึมในทางเดินอาหารได้น้อยมาก แต่สำหรับในรูปแบบการฉีดเข้ากล้ามเนื้อนั้น ยานี้จะสามารถแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว โดยระดับความเข้มข้นของพาโรโมมัยซินหลังได้รับการบริหารยาจะตรวจพบได้ที่เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง[1] The invitro and invivo activities parallel those of neomycin.[22] การที่ทางเดินอาหารทำงานได้น้อยกว่าปกติ ทั้งที่เป็นผลมาจากยาอื่นหรือความผิดปกติของการทำงานของทางเดินอาหารเอง นอกจากนี้แล้ว การมีบาดแผลจะให้ยานี้ซึ่งอยู่ในรูปแบบยาใช้ภายนอกถูกดูดซึมเข้าได้มากขึ้น[23] ส่วนชีวปริมาณออกฤทธิ์ของพาโรโมมัยซินนั้น ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด[22]

การกำจัด[แก้]

พาโรโมมัยซินถูกขับออกทางอุจจาระเกือบร้อยละ 100 ในรูปที่ไม่เปลี่ยนแปลง ในกรณีที่พาโรโมมัยซินถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดนั้น ยาจะถูกขับออกทางปัสสาวะ[24]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 "Paromomycin Sulfate". The American Society of Health-System Pharmacists. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 November 2016. สืบค้นเมื่อ 3 December 2016.
  2. 2.0 2.1 Pharmaceutical Manufacturing Encyclopedia, 3rd Edition (3 ed.). Elsevier. 2013. p. 21p. ISBN 9780815518563. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20.
  3. 3.0 3.1 Neal RA, Murphy AG, Olliaro P, Croft SL (1994). "Aminosidine ointments for the treatment of experimental cutaneous leishmaniasis". Transactions of the Royal Society of Tropical Medicine and Hygiene. 88 (2): 223–5. doi:10.1016/0035-9203(94)90307-7. PMID 8036682.
  4. 4.0 4.1 Davidson RN, den Boer M, Ritmeijer K (2008). "Paromomycin". Transactions of the Royal Society of Tropical Medicine and Hygiene. 103 (7): 653–660. doi:10.1016/j.trstmh.2008.09.008. PMID 18947845.
  5. World Health Organization (2019). World Health Organization model list of essential medicines: 21st list 2019. Geneva: World Health Organization. hdl:10665/325771. WHO/MVP/EMP/IAU/2019.06. License: CC BY-NC-SA 3.0 IGO.
  6. World Health Organization (2021). World Health Organization model list of essential medicines: 22nd list (2021). Geneva: World Health Organization. hdl:10665/345533. WHO/MHP/HPS/EML/2021.02.
  7. Hamilton, Richart (2015). Tarascon Pocket Pharmacopoeia 2015 Deluxe Lab-Coat Edition. Jones & Bartlett Learning. p. 54. ISBN 9781284057560.
  8. Sweetman S, บ.ก. (2002). Martindale: The Complete Drug Reference (33rd ed.). London: Pharmaceutical Press. ISBN 978-0-85369-499-1.
  9. paromomycin ใน พจนานุกรมศัพท์การแพทย์ดอร์แลนด์
  10. Sundar S, Jha TK, Thakur CP, Sinha PK, Bhattacharya SK (2007). "Injectable paromomycin for visceral leishmaniasis in India". N. Engl. J. Med. 356 (25): 2571–81. doi:10.1056/NEJMoa066536. PMID 17582067.
  11. Ben Salah A, Ben Messaoud N, Guedri E, Zaatour A, Ben Alaya N, Bettaieb J, Gharbi A, Belhadj Hamida N, และคณะ (2013). "Topical Paromomycin with or without Gentamicin for Cutaneous Leishmaniasis". N. Engl. J. Med. 368 (6): 524–32. doi:10.1056/NEJMoa1202657. PMID 23388004.
  12. Sweet, Richard L.; Gibbs, Ronald S. (2009). Infectious Diseases of the Female Genital Tract (ภาษาอังกฤษ). Lippincott Williams & Wilkins. p. 364. ISBN 9780781778152. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-07.
  13. Abramowicz, Mark, บ.ก. (2015). Handbook of Antimicrobial Therapy. New Rochelle, New York: The Medical Letter. p. 468. ISBN 978-0-9815278-8-8.
  14. "Paromomycin Use During Pregnancy". Drugs.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-10. สืบค้นเมื่อ 2016-11-10.
  15. 15.0 15.1 Bennett, John Eugene; Blaser, Martin J.; Dolin, Raphael (2015). Mandell, Douglas, and Bennett's principles and practice of infectious diseases (Eighth ed.). Philadelphia, PA. ISBN 978-1-4557-4801-3.
  16. "paromomycin oral : Uses, Side Effects, Interactions, Pictures, Warnings & Dosing - WebMD". WebMD (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-10. สืบค้นเมื่อ 2016-11-10.
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 "Micromedex".
  18. Grayson, M. Lindsay, บ.ก. (2012). Kucers' the use of antibiotics a clinical review of antibacterial, antifungal, antiparasitic and antiviral drugs (6th ed.). Boca Raton, FL: CRC Press. p. 2144. ISBN 9781444147520. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
  19. Aschenbrenner, Diane S. (2008). Drug therapy in nursing. [Place of publication not identified]: Wolters Kluwer Health. ISBN 978-1605472706.
  20. Vicens Q, Westhof E (2001). "Crystal Structure of Paromomycin Docked into the Eubacterial Ribosomal Decoding A Site". Structure. 9 (8): 647–58. doi:10.1016/S0969-2126(01)00629-3. PMID 11587639.
  21. "Paromomycin" (PDF). Toku-E. 2010-01-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 26 April 2014. สืบค้นเมื่อ 2012-06-11.
  22. 22.0 22.1 DrugBank, บ.ก. (2016-08-17). "Paromomycin". DrugBank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-10.
  23. Caraco Pharmaceutical Laboratories. Paromomycin sulfate capsules, USP prescribing information. Detroit, MI; 1997 Mar.
  24. Product Information: Humatin(R), paromomycin sulfate capsules. Parke-Davis, Division of Warner-Lambert Company, Morris Plains, NJ, 1999

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Paromomycin
  • "Paromomycin". Drug Information Portal. U.S. National Library of Medicine.