เตยหอม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Pandanus amaryllifolius)
เตยหอม
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
อันดับ: Pandanales
วงศ์: Pandanaceae
สกุล: Pandanus
สปีชีส์: P.  amaryllifolius
ชื่อทวินาม
Pandanus amaryllifolius
Roxb.

เตยหอม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pandanus amaryllifolius) เป็นไม้ยืนต้นพุ่มเล็ก ขึ้นเป็นกอ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ใบเป็นทางยาว สีเข้ม เป็นมันเผือก ขอบใบเรียบ​ แต่ใบบางต้นอาจมีหนาม ในใบมีกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหย Fragrant Screw Pine สีเขียวจากใบเป็นสีของคลอโรฟิลล์ ใช้แต่งสีขนมได้[1]

การใช้ประโยชน์[แก้]

ในบังกลาเทศเรียกว่า ketaki ใช้เพิ่มกลิ่นหอมของ ข้าวพิลาฟ หรือข้าวปุเลา บิรยานี และพุดดิ้งมะพร้าว payesh ในอินโดนีเซียเรียก pandan wangi พม่าเรียก soon-mhway ในศรีลังกาเรียก rampe [2] ในเวียดนามเรียก lá dứa ใบใช้ได้ทั้งใบสดและใบแห้ง และมีขายในรูปใบแช่แข็งในประเทศที่ปลูกไม่ได้ ใช้ปรุงกลิ่นในอาหารของหลายประเทศเช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ไทย บังกลาเทศ เวียดนาม จีน ศรีลังกา และพม่า โดยเฉพาะข้าวและขนม

เตยหอมในอินเดีย

การใช้มีทั้งนำไปขยำกับกะทิ ใส่ในภาชนะหุงต้ม ไก่ใบเตยจะเป็นการนำใบเตยมาห่อไก่แล้วนำไปทอด ใช้แต่งกลิ่นเค้กใบเตย และของหวานอื่น ๆ ในฟิลิปปินส์ใช้เตยหอมแต่งกลิ่นในสลัดที่เรียก buko pandan[3]

กลิ่นหอมของใบเตยเกิดจากสารเคมีที่เรียกว่า 2-acetyl-1-pyrroline ซึ่งเป็นกลิ่นแบบเดียวกับที่พบในขนมปังขาว ข้าวหอมมะลิและดอกชมนาด[4] มีสารสกัดจากใบเตยขาย ซึ่งมักจะแต่งสีเขียว ใบใช้ไล่แมลงสาบได้[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. ภูมิพิชญ์ สุชาวรรณ. พืชสมุนไพรใช้เป็นยา. เล่ม 3 และ 7. กทม. มปท. 2535
  2. "Duan Pandan or Screwpine Leaves - Nonya Cooking Ingredient". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-07. สืบค้นเมื่อ 2012-08-05.
  3. IJsselstein. "Lyn's Recipes Corner". Buko Pandan Salad. Jeroen Hellingman. สืบค้นเมื่อ 18 October 2011.
  4. Wongpornchai et al. (2003).
  5. Li & Ho (2003).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]