เนโอมี พาร์กเกอร์ เฟรลีย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Naomi Parker Fraley)
เนโอมี พาร์กเกอร์ เฟรลีย์
เกิดเนโอมี เฟิร์น พาร์กเกอร์
26 สิงหาคม ค.ศ. 1921(1921-08-26)
ทัลซา รัฐโอคลาโฮมา สหรัฐ
เสียชีวิต20 มกราคม ค.ศ. 2018(2018-01-20) (96 ปี)
ลองวิว รัฐวอชิงตัน สหรัฐ
อาชีพคนงานสงความ พนักงานเสิร์ฟ
มีชื่อเสียงจาก"โรซีคนตอกหมุด" บนโปสเตอร์วีแคนดูอิต!
คู่สมรสJoseph Blankenship (หย่า)
John Muhlig (เสียชีวิต ค.ศ. 1971)
Charles Fraley (สมรส 1979; เสียชีวิต 1998)[1]

เนโอมี พาร์กเกอร์ เฟรลีย์ (อังกฤษ: Naomi Parker Fraley; 26 สิงหาคม ค.ศ. 1921 – 20 มกราคม ค.ศ. 2018) เป็นคนงานสงครามชาวอเมริกัน และเป็นแรงบันดาลใจของภาพ "วีแคนดูอิต!" ("เราทำได้!") โปสเตอร์ที่โด่งดัง[2] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เธอทำงานโรงงานประกอบเครื่องบินของฐานนาวิกโยธินแอลามีดา และถูกถ่ายภาพขณะใช้เครื่องจักรและรูปถ่ายนี้เองที่กลายเป็นแรงบันดาลใจนำไปวาดโปสเตอร์ดังกล่าว ก่อนหน้านี้เป็นที่เข้าใจกันว่าหญิงสาวในภาพคือ เจรัลดีน ดอยล์ ภายหลังศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเซตันฮอลล์ ได้ออกมาแก้ความเข้าใจผิดนั้น

หลังสงคราม เธอทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟในพาล์มสปริงส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย และแต่งงานสามครั้ง เธอเสียชีวิตใน ค.ศ. 2018 อายุได้ 96 ปี โดยมีบุตรชายและบุตรบุญธรรมอีกหกคนยังมีชีวิตอยู่ในขณะนั้น[3]

ชีวิตในวัยเด็ก[แก้]

เนโอมี เฟิร์น พาร์กเกอร์ เกิดที่เมืองทัลซา รัฐโอคลาโฮมา ในปี ค.ศ. 1921 เป็นลูกคนที่สามในแปดคนของโจเซฟ พาร์กเกอร์ และเอสเตอร์ เลส์[1][4] พ่อของเธอเป็นวิศวกรเหมืองแร่ ส่วนแม่ของเธอเป็นแม่บ้าน ครอบครัวย้ายจากนิวยอร์กไปแคลิฟอร์เนีย[5] เธออาศัยอยู่ในแอลามีดา ในช่วงเวลาที่มีการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์[5] เธอและน้องสาวของเธอ เอดาจึงไปทำงานที่ฐานนาวิกโยธิน ซึ่งพวกเขาได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ประกอบเครื่องบิน[1]

เราทำได้![แก้]

โปสเตอร์ "วีแคนดูอิต!" ปรากฏในโรงงานไม่กี่แห่งใน ค.ศ. 1943

ใน ค.ศ. 1942 ภาพของพาร์กเกอร์ได้รับการบันทึกที่โรงงานขณะกำลังใช้เครื่องกลึง และปรากฏในสื่อท้องถิ่นรวมถึง พิตส์เบิร์กเพรสส์ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1942[6] ปีต่อมาโปสเตอร์ "วีแคนดูอิต!" ของเจ โฮวอร์ด มิลเลอร์ก็ได้ปรากฏขึ้นในแคมเปญรณรงค์ขวัญกำลังใจคนงาน[5] มิลเลอร์คงเห็นภาพของพาร์กเกอร์ในหนังสือพิมพ์ และใช้เธอเป็นต้นแบบในการวาดโปสเตอร์[1]

การเสียชีวิต[แก้]

เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2018 เธอเสียชีวิตในลองวิว รัฐวอชิงตัน เมื่ออายุ 96 ปี[1] เดือนต่อมา ชีวิตของเธอได้รับการเฉลิมฉลองในรายการมรณกรรมของ BBC Radio 4 Last Word[7]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Fox, Margalit (2018). "Naomi Parker Fraley, the Real Rosie the Riveter, Dies at 96". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ January 23, 2018.
  2. Gunter, Joel (2018). "Mystery real-life Rosie the Riveter dies". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ January 23, 2018.
  3. Kopf, Adam Pasick, Dan. "The riveting story of wartime propaganda that became a feminist icon". Quartz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2022-03-07.
  4. "Naomi Parker Fraley, the real-life Rosie the Riveter, dies at 96". Today. January 29, 2018. สืบค้นเมื่อ January 23, 2018.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Naomi Parker Fraley, wartime machinist linked to Rosie the Riveter, dies at 96". The Washington Post. January 23, 2018. สืบค้นเมื่อ January 23, 2018.
  6. "Everyone Was Wrong About the Real 'Rosie the Riveter' for Decades. Here's How the Mystery Was Solved". January 23, 2018. สืบค้นเมื่อ January 23, 2018.
  7. "John Mahoney, Hannah Hauxwell, Professor Kenneth Richard Seddon OBE, Sir John Cotterell, Naomi Parker Fraley". BBC. {{cite episode}}: |series= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)