ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก NPD)
โรคหลงตัวเอง
ชื่ออื่นNarcissistic personality disorder, megalomania[1]
A man looking into a pool of water
นาร์ซิสซัสผู้กำลังมองเงาสะท้อนตนเอง วาดโดยการาวัจโจ
สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์
อาการรู้สึกว่าตัวเองสำคัญมากกว่าความเป็นจริง ความต้องการถูกชมเชยมากเกินปกติ ไม่เข้าใจความรู้สึกผู้อื่น[2][3]
การตั้งต้นวัยรุ่น[3]
ระยะดำเนินโรคระยะยาว[3]
สาเหตุไม่ทราบ[4]
โรคอื่นที่คล้ายกันโรคอารมณ์สองขั้ว, การติดยาเสพติด, โรคซึมเศร้า, โรควิตกกังวล[5]
การรักษายาก[2]
ความชุก1%[4]

ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง[6] (อังกฤษ: Narcissistic personality disorder, NPD) หรือที่มักรู้จักกันในชื่อ โรคหลงตัวเอง เป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่ส่งผลให้พฤติกรรมผิดปกติในระยะยาว อาการหลักได้แก่การรู้สึกว่าตัวเองสำคัญมากกว่าความเป็นจริง มีความต้องการถูกชมเชยมากเกินปกติ และการไม่เข้าใจความรู้สึกผู้อื่น[3] ผู้เป็นโรคนี้เสียเวลากับการคิดเกี่ยวกับความสำเร็จ ความมีอำนาจ หรือเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของตน พวกเขามักเอาเปรียบคนรอบข้าง พฤติกรรมมักเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นและเกิดขึ้นได้ในหลายเหตุการณ์

ยังไม่มีใครรู้สาเหตุของโรคหลงตัวเอง[4] คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตจัดให้โรคนี้อยู่ในกลุ่ม B (cluster B) โรคถูกวินิฉัยด้วยการสัมภาษณ์โดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ โรคนี้ต่างจากอาการฟุ้งพล่าน และอาการติดยา

การรักษายังไม่ถูกศึกษามากนัก การบำบัดมักเป็นไปได้ยากเนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับว่าตัวเองมีปัญหา[2] เชื่อกันว่าคนประมาณหนึ่งเปอร์เซ็นต์เป็นโรคนี้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต โรคนี้มักเกิดขึ้นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงและในคนหนุ่มสาวมากกว่าคนมีอายุ บุคลิกภาพนี้ถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2468 โดยโรเบิร์ต วีลเดอร์ (Robert Wealder) โดยชื่อที่ใช้ในปัจจุบันถูกใช้ครั้งแรกใน พ.ศ. 2511[7]

อาการ[แก้]

คนที่เป็นโรคหลงตัวเองจะชอบโอ้อวด ต้องการให้คนอื่นชม ชอบเหยียดหยามผู้อื่น และขาดความร่วมรู้สึกต่อผู้อื่น[8][9] ทำให้ผู้เป็นโรคหลงตัวเองดูเหมือนมีพฤติกรรมที่ดื้อรั้น รู้สึกว่าตนเองเหนือกว่าคนอื่น และมักคอยหาทางควบคุมผู้อื่นหรือใช้อำนาจแบบผิด ๆ[10] โรคหลงตัวเองต่างกับความมั่นใจในตนเอง โดยคนเป็นโรคนี้มักให้ความสำคัญกับตนเองมากกว่าผู้อื่น และมักไม่เอาใจใส่ความรู้สึกหรือความต้องการของคนรอบข้าง รวมถึงคาดหวังว่าตนเองจะได้รับการปฏิบัติที่เหนือกว่า โดยไม่คำนึงถึงสถานะความสำเร็จที่แท้จริงของตน[11] นอกจากนี้ผู้เป็นโรคนี้มักมีอาการอัตตาอ่อนแอ (fragile ego) ทำให้ไม่สามารถทนต่อคำวิจารณ์ของคนอื่น และมักดูถูกคนอื่นเพื่อให้รู้สึกว่าตนเหนือกว่า

คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต พิมพ์ที่ 5 (DSM-5) ระบุว่าบุคคลที่เป็นโรคหลงตัวเองมักมีอาการบางข้อหรือทุกข้อต่อไปนี้:

  1. โอ้อวดเพื่อให้ผู้อื่นปฏิบัติราวกับตนอย่างอยู่เหนือกว่า
  2. คงอยู่กับจินตนาการเกี่ยวกับอำนาจ ความสำเร็จ ความฉลาด ความมีเสน่ห์ และอื่น ๆ 
  3. มองว่าตัวเองพิเศษ เหนือกว่าผู้อื่น และเกี่ยวข้องกับคนหรือสถาบันดัง
  4. ต้องการให้คนอื่นชื่นชมตลอดเวลา
  5. รู้สึกว่าตนเองควรได้รับการปฏิบัติแบบพิเศษและผู้อื่นควรเชื่อฟังตน
  6. เอาเปรียบผู้อื่นเพื่อผลดีต่อตนเอง
  7. ไม่ยอมเข้าใจความรู้สึก ความต้องการ และความจำเป็นของผู้อื่น
  8. อิจฉาผู้อื่นและเชื่อว่าผู้อื่นก็อิจฉาตนเช่นกัน
  9. ขี้โม้และมีพฤติกรรมดื้อรั้น

โรคหลงตัวเองมักเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นหรือช่วงเข้าสู่ผู้ใหญ่ เด็กและวัยรุ่นอาจมีพฤติกรรมบางอย่างที่คล้ายกับโรคหลงตัวเองทว่ามักเป็นการชั่วคราว และไม่เข้าขายของการวินิจฉัยโรค อาการที่แท้จริงของโรคมักเกิดขึ้นในหลายเหตุการณ์ และไม่เปลี่ยนแปลงแม้เวลาผ่านไป DSM-5 ระบุว่าผู้ป่วยต้องแสดงอาการที่แตกต่างจากบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมอย่างเห็นได้ชัดถึงจะเรียกได้ว่าเป็นอาการของโรคหลงตัวเอง

สาเหตุ[แก้]

ไม่มีใครรู้ถึงสาเหตุของโรคหลงตัวเอง ผู้เชี่ยวชาญมักใช้แบบจำลองชีวจิตสังคม (biopsychosocial model) ของสาเหตุ[12] ซึ่งแปลว่าปัจจัยทางสภาพแวดล้อม สังคม พันธุกรรม และชีวประสาท ล้วนมีผลต่อบุคลิกภาพหลงตัวเอง

พันธุกรรม[แก้]

หลักฐานชี้ว่าโรคหลงตัวเองสามารถสืบทอดได้ และโอกาสการเกิดโรคสูงขึ้นมากหากมีญาติที่มีประวัติว่าเคยเป็นโรคหลงตัวเอง งานวิจัยเกี่ยวกับการเกิดความผิดปกติทางบุคลิกภาพในฝาแฝดพบว่าโรคหลงตัวเองมีอัตราพันธุกรรมสูง[13][14]

อย่างไรก็ตาม ยีนและปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีนที่มีส่วนก่อให้เกิดโรคยังไม่ถูกพบ

สภาพแวดล้อม[แก้]

เชื่อว่าปัจจัยทางสภาพแวดล้อมและสังคมก็มีส่วนก่อให้เกิดโรคหลงตัวเอง[12] ในบางคน โรคอาจพัฒนาจากความสัมพันธ์ที่บกพร่องต่อผู้ดูแลที่มักเป็นผู้ปกครอง[15] สิ่งนี้อาจส่งผลให้เด็กมองตนเองว่าไม่สำคัญและขาดการเชื่อมต่อกับผู้อื่น และมักเชื่อว่าตนเองมีบุคลิกภาพบางอย่างที่ไม่ปกติทำให้พวกเขา/เธอไม่มีค่าและไม่เป็นที่ต้องการ[16] เชื่อว่าผู้ปกครองที่ตามใจมากเกินไปหรือที่ใจร้ายและบังคับมากเกินไปอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผล[11][17]

อ้างอิงจาก Leonard Groopman และ Arnold Cooper ปัจจัยต่อไปนี้ถูกระบุโดยนักวิจัยหลายคนว่าเป็นปัจจัยที่อาจส่งเสริมให้เกิดโรคหลงตัวเอง:[18]

  • พื้นนิสัยที่อ่อนไหวมากเกินไปซึ่งติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด
  • การชื่นชมเกินจริงที่ไม่เคยถูกดุลด้วยความคิดเห็นที่เป็นจริง
  • การชื่นชมพฤติกรรมดี หรือการวิจารณ์พฤติกรรมไม่ดีที่มากเกินไป 
  • การที่ผู้ปกครอง ญาติ หรือเพื่อนตามใจและประเมินค่าสูงไป
  • ถูกผู้ใหญ่ชมว่ามีทักษะหรือหน้าตาดี
  • การทารุณกรรมทางอารมณ์อย่างรุนแรงในวัยเด็ก
  • การดูแลที่ไม่สม่ำเสมอจากผู้ปกครอง
  • การเรียนรู้พฤติกรรมชักจูงจากผู้ปกครองหรือเพื่อน
  • ถูกให้ความสำคัญจากผู้ปกครองเพราะพวกเขาต้องการเพิ่มความมั่นใจตนเอง

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Breedlove, S. Marc (2015). Principles of Psychology. Oxford University Press. p. 709. ISBN 9780199329366. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กันยายน 2017. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2016.
  2. 2.0 2.1 2.2 Caligor, E; Levy, KN; Yeomans, FE (May 2015). "Narcissistic personality disorder: diagnostic and clinical challenges". The American Journal of Psychiatry. 172 (5): 415–22. doi:10.1176/appi.ajp.2014.14060723. PMID 25930131.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Diagnostic and statistical manual of mental disorders : DSM-5 (5th ed.). Washington [etc.]: American Psychiatric Publishing. 2013. pp. 645, 669–72. ISBN 9780890425558.
  4. 4.0 4.1 4.2 Sederer, Lloyd I. (2009). Blueprints psychiatry (5th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins. p. 29. ISBN 9780781782531. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มกราคม 2017.
  5. Caligor, E; Levy, KN; Yeomans, FE (May 2015). "Narcissistic personality disorder: diagnostic and clinical challenges". The American Journal of Psychiatry. 172 (5): 415–22. PMID 25930131.
  6. "ICD-10-TM Online บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ฉบับประเทศไทย]". thcc.or.th. สืบค้นเมื่อ 2017-12-30.
  7. O'Donohue, William (2007). Personality disorders : toward the DSM-V. Los Angeles: SAGE Publications. p. 235. ISBN 9781412904223. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กันยายน 2017. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2016.
  8. American Psychiatric Association (2013), Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (5th ed.), Arlington: American Psychiatric Publishing, pp. 669–72, ISBN 0890425558
  9. Ronningstam, Elsa (2016), "New Insights Into Narcissistic Personality Disorder", Psychiatric Times, 33 (2): 11
  10. Ronningstam E (2011). "Narcissistic personality disorder: a clinical perspective". J Psychiatr Pract. 17 (2): 89–99. doi:10.1097/01.pra.0000396060.67150.40. PMID 21430487.
  11. 11.0 11.1 Mayo Clinic Staff (18 Nov 2014), "Narcissistic personality disorder: Symptoms", Mayo Clinic, Mayo Foundation for Medical Education and Research, สืบค้นเมื่อ 29 Apr 2016[ลิงก์เสีย]
  12. 12.0 12.1 Paris, Joel (2014), "Modernity and narcissistic personality disorder", Personality Disorders: Theory, Research, and Treatment, 5 (2): 220, doi:10.1037/a0028580
  13. Torgersen, S; Lygren, S; Oien, PA; Skre, I; Onstad, S; Edvardsen, J; Tambs, K; Kringlen, E (December 2000). "A twin study of personality disorders". Comprehensive psychiatry. 41 (6): 416–25. doi:10.1053/comp.2000.16560. PMID 11086146.
  14. Reichborn-Kjennerud, Ted (1 March 2010). "The genetic epidemiology of personality disorders". Dialogues in Clinical Neuroscience. 12 (1): 103–114. ISSN 1294-8322. PMC 3181941. PMID 20373672.
  15. Ken Magid (1987). High risk children without a conscience. Bantam. p. 67. ISBN 0-553-05290-X. สืบค้นเมื่อ 17 November 2012.
  16. Stephen M. Johnson (1 พฤษภาคม 1987). Humanizing the narcissistic style. W.W. Norton. p. 39. ISBN 978-0-393-70037-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 กรกฎาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2013.
  17. Berger, FK (31 Oct 2014), "Medical Encyclopedia: Narcissistic personality disorder", MedlinePlus, U.S. National Library of Medicine {{citation}}: |url= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  18. Groopman, Leonard C. M.D.; Cooper, Arnold M. M.D. (2006). "Narcissistic Personality Disorder". Personality Disorders – Narcissistic Personality Disorder. Armenian Medical Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 พฤษภาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2007.