คเณศมนเทียร (โมรคาว)

พิกัด: 18°16′33.8″N 74°19′17″E / 18.276056°N 74.32139°E / 18.276056; 74.32139
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Morgaon Ganesha Temple)
श्री मयुरेश्वर मोरगांव
ศรีมยุเรศวร โมรคาว
ศิขรของมนเทียร
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตอำเภอปูเน
เทพพระคเณศในปางของมยุเรศวร (Mayureshwar) หรือโมเรศวร (Moreshwar)
เทศกาลคเณศจตุรถี, คเณศชยันตี , Shahi Dasara
ที่ตั้ง
ที่ตั้งโมรคาว
รัฐรัฐมหาราษฏระ
ประเทศประเทศอินเดีย
คเณศมนเทียร (โมรคาว)ตั้งอยู่ในรัฐมหาราษฏระ
คเณศมนเทียร (โมรคาว)
ที่ตั้งในรัฐมหาราษฏระ
พิกัดภูมิศาสตร์18°16′33.8″N 74°19′17″E / 18.276056°N 74.32139°E / 18.276056; 74.32139
สถาปัตยกรรม
เสร็จสมบูรณ์ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 17
เว็บไซต์
www.facebook.com/mayureshwarmorgaon/

ศรีมยุเรศวรมนเทียร (มราฐี: श्री मयूरेश्वर मंदीर; Shri Mayureshwar Mandir) หรือ ศรีโมเรศวรมนเทียร (มราฐี: श्री मोरेश्वर मंदीर; Shri Moreshwar Temple) เป็นโบสถ์พราหมณ์ (มนเทียร) ที่บูชาพระพิฆเนศ ตั้งอยู่ที่โมรคาว (มราฐี: मोरगाव หรือ โมรเกาน์; Morgaon) ในอำเภอปูเน 65 กิโลเมตรจากเมืองปูเน ในรัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย[1] มนเทียรนี้เป็นจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายของการแสวงบุญตามมนเทียรของพระคเณศทั้งแปดแห่งที่เรียกว่า อัษฏวินายก (Ashtavinayaka)

โมรคาวเป็นศูนย์กลางและโบสถ์สำคัญของลัทธิคาณปัตยะในศาสนาฮินดู ลัทธิซึ่งบูชาพระคเณศเป็นเทพเจ้าสูงสุด ตำนานฮินดูเล่าว่าพระคเณศได้สังหารปีศาจสินธุ (Sindhu) ที่นี่ มนเทียรนี้ไม่ปรากฏว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่สันตะแห่งคาณปัตยะนามว่า โมรยา โคสาวี (Morya Gosavi) เชื่อกันว่ามีความเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างมนเทียรนี้ มนเทียรนี้เจริญรุ่งเรืองขึ้นด้วยการสนับสนุนของผู้ปกครองเปศว (Peshwa) และลูกหลานของโมรยะ โคสวีเอง

ความสำคัญ[แก้]

โมรคาวมนเทียรนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการจาริกแสวงบุญตามเส้นทางของอัษฏวินายกทั้ง 8 แห่งรอบ ๆ เมืองปูเน รัฐมหาราษฏระ[1][2] และผู้แสวงบุญจะต้องเดินทางกลับมาที่มนเทียรนี้เมื่อได้จาริกไปครบทั้ง 8 มนเทียรจึงจะถือว่าได้เสร็จสิ้นอัษฏวินายกยาตร (การเดินทางเพื่อสักการะอัษฏวินายกทั้งแปด) อย่างสมบูรณ์[1] นอกจากนี้โมรคาวมนเทียรยังเป็น "โบสถ์พราหมณ์ที่สำคัญที่สุดในผู้นับถือพระพิฆเนศ" ("India's foremost Gaṇeśa (Ganesha) pilgrimage")[2][3][4]

โมรเคาน์เป็น อธยปิฐา (adhya pitha) คือศูนย์กลางสำคัญที่สุดของนิกายคาณปัตยะที่บูชาพระพิฆเนศเป็นสูงสุดในศาสนาฮินดู[4]มุทคลปุราณะ (Mudgala Purana) ใช้ 22 บทในการพรรณาถึงความยิ่งใหญ่ของโมรเคาน์ ส่วนในคเณศปุราณะระบุว่า โมรเคาน์ (มยุรปุรี - Mayurapuri) เป็นหนึ่งในสามสถานที่ที่ซึ่งมีความสำคัญมากต่อพระพิฆเนศ เป็นที่เดียวบนโลกมนุษย์ (ภูโลก - Bhuloka) อีกสองที่คือเขาไกลาศบนสวรรค์ และในวิมานของอธิเศษะใน ปาตาล (Patala - บาดาล)[4] ในความเชื่อหนึ่เชื่อว่ามนเทียรนี้ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีจุดสิ้นสุด ในขณะที่อีกความเชื่อเชื่อว่าเมื่อถึงเวลาปรรลัย (pralaya - การสลายสิ้นของโลก) พระคเณศจะเสด็จลงมาเข้าสู่โยคนิทรา (yoganidra) ณ ที่แห่งนี้[5] ความศักดิ์สิทธิ์ของที่นี่ถือได้ว่าเทียบเท่ากับเมืองพาราณสี[2]

สถาปัตยกรรม[แก้]

ประตูทางเข้าหลักของมนเทียร

มนเทียรนั้นรายล้อมด้วยกำแพงหินสูงซึ่งมีหอสูงอยู่ที่มุมทั้ง 4 มุม แสดงให้เห็นนว่าอาจได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมมุสลิม[1][3] ครั้งหนึ่งเคยมีประมุขมุสลิมเป็นผู้อุปถัมภ์ของมนเทียร[3] มนเทียรนี้ประกอบทางเข้าออกสี่ทาง ตรงกับทิศสี่ทิศจากมูรติของพระคเณศในมนเทียร แต่ละทางเข้าออกแสดงภาพของพระองค์ในปางต่าง ๆ สี่วัย (ยุคะ - yuga) ที่ซึ่งแต่ละปางเกี่ยวข้องกับ ปุรุษารถะ (Puruṣārtha) หรือเป้าหมายทั้งสี่ในชีวิตตามคติฮินดู และมีองค์ประกอบอื่นเป็นเทวบุคคลอื่นอีกสององค์ประกบ ทางเข้าออกทางทิศตะวันออกแสดงภาพพาลลาลวินายก (Ballalvinayaka) ประกบด้วยพระราม (ปางหนึ่งของพระวิษณุ) และพระสีตา พระชายา เป็นสัญลักษณ์ถึงธรรม (ความถูกต้อง หน้าที่ จริยธรรม) ทางทิศใต้เป็นพระวิฆเนศวรประกบด้วยพระศิวะผู้ทรงเป็นพระบิดาและพระปารวตีผู้ทรงเป็นพระมารดา เป็นสัญลักษณ์ถึง อรรถ (Artha - ความั่งคั่งและชื่อเสียง) ทางทิศตะวันนตกเป็นภาพจินตมณี ประกบด้วยพระกามเทวะกับพระระตี (Rati) พระชายา แสดงถึงกามะ (Kama - ความปรารถนา ความรัก และความสุขทางอารมณ์) และสุดท้ายคือทางเข้าออกทิศเหนือเป็นพระมหาคณปติ ประกบด้วยพระวราหะ (Varaha) หรือปางอวตารเป็นหมูป่าของพระวิษณุ และพระปฤถวี พระชายา แสดงถึงขั้นการโมกษะ[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Gunaji, Milind (2003). "Morgaon". Offbeat tracks in Maharashtra. Popular Prakashan. pp. 106–7. ISBN 9788171546695. สืบค้นเมื่อ 2009-11-26.
  2. 2.0 2.1 2.2 Anne Feldhaus. "Connected places: region, pilgrimage, and geographical imagination in India". Palgrave Macmillan. pp. 142–3, 145–6, 160. ISBN 978-1-4039-6324-6. สืบค้นเมื่อ 13 January 2010.
  3. 3.0 3.1 3.2 Subramuniyaswami, Satguru Sivaya (2000). Loving Ganesa: Hinduism's Endearing Elephant-Faced God. The Morgaon Temple. Himalayan Academy Publications. pp. 278, 284. ISBN 9780945497776. สืบค้นเมื่อ 2009-11-26.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Grimes pp. 37–8
  5. Grimes pp.112–3

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]