สถาปัตยกรรมมัวร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Moorish architecture)
ประตูหลักของป้อมปราการอัลเอาดายะฮ์ในกรุงราบัต ประเทศโมร็อกโก (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12)

สถาปัตยกรรมมัวร์ (อังกฤษ: Moorish architecture) เป็นรูปแบบหนึ่งในสถาปัตยกรรมอิสลามที่ซึ่งมีวิวัฒนาการในโลกอิสลามตะวันตก อันรวมถึงอัลอันดะลุส (สเปนและโปรตุเกสภายใต้การปกครองของมุสลิมระหว่าง ค.ศ. 711 ถึง 1492), โมร็อกโก, แอลจีเรีย และตูนิเซีย[1][2][3][4][5] ศัพท์ มัวร์ มาจากคำที่ชาวยุโรปตะวันตกใช้เรียกชาวมุสลิมในภูมิภาคเหล่านั้นว่า "ชาวมัวร์"[6][7][8] ซึ่งมาจากคำในภาษาละตินว่า "เมารี" (Mauri) ซึ่งดั้งเดิมแล้วหมายถึงผู้ที่มาจากดินแดนเมาเรตานิอา (Mauretania) ซึ่งคือโมร็อกโกในปัจจุบัน[9] จึงทำให้บางครั้งมีผู้เรียกสถาปัตยกรรมมัวร์ว่า สถาปัตยกรรมอิสลามตะวันตก (Western Islamic architecture)[1][10]

สถาปัตยกรรมมัวร์เป็นการผสมผสานวัฒนธรรมของชาวเบอร์เบอร์ในแอฟริกาเหนือ, ไอบีเรียยุคก่อนอิสลาม (โรมันโบราณ, ไบแซนไทน์ และวิซิกอธ) และอิสลามแบบตะวันออกกลาง องค์ประกอบที่เป็นที่รู้จักของสถาปัตยกรรมมัวร์ เช่น ช่องโค้งรูปเกือกม้าแบบ "มัวร์", สวนริยาฎ และลวดลายนูนต่ำเรขาคณิตและอะราเบสก์ในงานไม้ งานปูนแต่ง และงานกระเบื้อง (เช่น ซิลลีจญ์)[1][2][7][11][4] เมืองที่เป็นศูนย์กลางสำคัญของการพัฒนาสถาปัตยกรรมมัวร์ได้แก่ กอร์โดบา, อัลก็อยเราะวาน, แฟ็ส, มาร์ราเกช, เซบิยา, กรานาดา และตแลมแซนเป็นต้น[1]

หลังจากการปกครองของมุสลิมในสเปนและโปรตุเกสสิ้นสุดลงแล้ว ธรรมเนียมของสถาปัตยกรรมมัวร์ยังคงปรากฏในแอฟริกาตอนเหนือและในสถาปัตยกรรมมูเดฆาร์ในสเปน ที่ซึ่งนำเอาองค์ประกอบของมัวร์ไปประยุกต์ใช้ในงานของศาสนาคริสต์[12][5] ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ปรากฏว่าสถาปัตยกรรมมัวร์ถูกนำมาเลียนแบบหรือพัฒนาขึ้นเป็นสถาปัตยกรรมมัวร์ฟื้นฟู (Moorish Revival) หรือมัวร์ใหม่ (Neo-Moorish) โดยเฉพาะในแถบสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผลจากกระแสจินตนิยมในคตินิยมโลกตะวันออก นอกจากนี้ในปัจจุบันยังปรากฏสถาปัตยกรรมแบบมัวร์โดดเด่นเป็นพิเศษในสถาปัตยกรรมซิโนกอก ศาสนสถานของศาสนายิวที่สร้างขึ้นในยุคหลัง ๆ[13][14]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Marçais, Georges (1954). L'architecture musulmane d'Occident. Paris: Arts et métiers graphiques.
  2. 2.0 2.1 Parker, Richard (1981). A practical guide to Islamic Monuments in Morocco. Charlottesville, VA: The Baraka Press.
  3. Gaudio, Attilio (1982). Fès: Joyau de la civilisation islamique. Paris: Les Presse de l'UNESCO: Nouvelles Éditions Latines. ISBN 2723301591.
  4. 4.0 4.1 Touri, Abdelaziz; Benaboud, Mhammad; Boujibar El-Khatib, Naïma; Lakhdar, Kamal; Mezzine, Mohamed (2010). Andalusian Morocco: A Discovery in Living Art (2 ed.). Ministère des Affaires Culturelles du Royaume du Maroc & Museum With No Frontiers. ISBN 978-3902782311.
  5. 5.0 5.1 Dodds, Jerrilynn D., บ.ก. (1992). Al-Andalus: The Art of Islamic Spain. New York: The Metropolitan Museum of Art. ISBN 0870996371.
  6. "moor | Origin and meaning of moor by Online Etymology Dictionary". www.etymonline.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-09.
  7. 7.0 7.1 Barrucand, Marianne; Bednorz, Achim (1992). Moorish architecture in Andalusia. Taschen. ISBN 3822876348.
  8. Lévi-Provençal, E.; Donzel, E. van (2012). "Moors". ใน Bearman, P.; Bianquis, Th.; Bosworth, C.E.; van Donzel, E.; Heinrichs, W.P. (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Brill.
  9. Gabriel Camps (2007). Les Berbères, Mémoire et Identité. pp. 116–118.
  10. Bloom, Jonathan M. (2020). Architecture of the Islamic West: North Africa and the Iberian Peninsula, 700-1800. Yale University Press. ISBN 9780300218701.
  11. Bennison, Amira K. (2016). The Almoravid and Almohad Empires. Edinburgh University Press. ISBN 9780748646821.
  12. López Guzmán, Rafael. Arquitectura mudéjar. Cátedra. ISBN 84-376-1801-0.
  13. Giese, Francine; Varela Braga, Ariane; Lahoz Kopiske, Helena; Kaufmann, Katrin; Castro Royo, Laura; Keller, Sarah (2016). "Resplendence of al-Andalus: Exchange and Transfer Processes in Mudéjar and Neo-Moorish Architecture" (PDF). Asiatische Studien – Études Asiatiques. 70 (4): 1307–1353. doi:10.1515/asia-2016-0499. S2CID 99943973.
  14. "Why Moorish? Synagogues and the Moorish Revival". Museum at Eldridge Street (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-04-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-01. สืบค้นเมื่อ 2019-11-17.