ระบบเกษตรกรรมพืชเดี่ยว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Monoculture)
ไร่มันฝรั่ง

ระบบเกษตรกรรมพืชเดี่ยว (อังกฤษ: Monoculture) เป็นระบบเกษตรกรรมที่เป็นการปลูกพืชชนิดเดียวในบริเวณกว้างเป็นวิธีที่นิยมใช้โดยเกษตรกรผู้มีเนื้อที่ในการเกษตรกรรมเป็นจำนวนมาก ถ้าพูดถึงป่าระบบเกษตรกรรมพืชเดี่ยวก็หมายถึงการปลูกไม้พันธุ์เดียวเท่านั้น[1]

คำว่า “ระบบเกษตรกรรมพืชเดี่ยว” มักจะใช้ในการเกษตรกรรมที่หมายถึงการปลูกพืชที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในด้านการเจริญเติบโตทางพันธุศาสตร์ เช่นการปลูกข้าวสาลี หรือไร่แอปเปิล หรือ ไร่องุ่น พืชพันธุ์เหล่านี้มีลักษณะการเจริญเติบโต ให้ผลสูง และใช้เนื้อที่น้อย เพราะการปลูก การบำรุง และการเก็บเกี่ยวสามารถทำให้เป็นมาตรฐานได้ การสร้างมาตรฐานเป็นการเพิ่มความมีประสิทธิภาพทางเกษตรกรรม นอกจากนั้นก็ยังสามารถจัดพืชผลให้เหมาะกับตำแหน่งที่ปลูกได้ เช่นเลือกพืชที่เหมาะกับเนื้อดิน หรือเลือกพืชที่มีฤดูการปลูกสั้น แต่เกษตรเชิงเดี่ยว ซึ่งนำรายได้จากการขายมาวัดความสำเร็จนั้น อาศัยปัจจัยภายนอกแทบทุกอย่างในการผลิต ต้องนำเข้าและใช้วัตถุดิบจากภายนอก ซึ่งเกษตรกรไม่สามารถกำหนดราคาเองได้ ต้นทุนส่วนใหญ่จึงมักอยู่ที่วัตถุดิบที่ไม่สามารถผลิตได้เอง และราคาขึ้นอยู่กับกลไกทางตลาด พ่อค้าวัตถุดิบจะเรียกราคาจากเกษตรกรได้ 100% ทำให้ชาวบ้านเป็นหนี้ในทุกฤดูการผลิต ยิ่งทำยิ่งเป็นหนี้ ไม่ทำก็เป็นหนี้อยู่เพราะหนี้เก่าออกดอกเรื่อยๆ ทำให้เกษตรกรต้องออกแสวงหาทางทำกินใหม่ๆในเมืองหลวง ส่งเงินใช้หนี้ เป็นหนี้ในระยะยาวทั้งชีวิต ดังกล่าว ทำให้คนไทยมีน้ำใจน้อยลง เพราะสภาวะที่ขาดแคลนเช่นเดียวกัน เกษตรกรต้องรับภาระต่างๆมากขึ้น เพราะพ่อค้าจะเอาแต่ผลผลิตงามๆ ชาวนาชาวไร่ก็ต้องซื้อปุ๋ยซื้อยาฆ่าแมลงเพิ่มมากขึ้นเพื่อไม่ให้โดนกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง ส่งผลมาที่ประชาชนผู้บริโภคที่ต้องรับสารปนเปื้อนไปเรื่อยๆ ต่อมาก็ป่วย และเข้าโรงพยาบาล ขาดแคลนรายได้ เป็นผลกระทบระยะยาวเช่นเดียวกัน[ต้องการอ้างอิง]

ระบบเกษตรกรรมพืชเดี่ยวให้ผลิตผลมากกว่าโดยไม่มีคู่แข่งจากพืชอื่น และการปลูกอย่างเป็นระเบียบทำให้การใช้เนื้อที่มีประสิทธิภาพมากกว่าพืชผสม แต่ผลเสียคือพืชจะดูดอาหารที่ต้องการออกจากดินโดยไม่มีการทดแทนเช่นระบบการปลูกพืชหลากชนิด

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-17. สืบค้นเมื่อ 2009-08-24.

ดูเพิ่ม[แก้]