ละครสวมหน้ากาก
ละครสวมหน้ากาก (อังกฤษ: Masque, ออกเสียง) เป็นการละเล่นแบบหนึ่งที่นิยมทำกันในราชสำนักยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่อันที่จริงแล้วเริ่มขึ้นในอิตาลีก่อนหน้านั้นในรูปแบบของละครอินเทอร์เมดิโอซึ่งเป็นละครสวมหน้ากากที่แสดงในที่สาธารณะในงานเทศกาลยุคกลาง ละครสวมหน้ากากประกอบด้วยดนตรีและการเต้นรำ, การร้องเพลงและการแสดง บนเวทีที่ตกแต่งอย่างหรูหรา ที่โครงสร้างของฉากและเครื่องแต่งกายอาจจะออกแบบโดยสถาปนิกผู้มีชื่อเสียง ที่เป็นจะอุปมานิทัศน์ที่เป็นการสรรเสริญผู้เป็นเจ้าภาพ นักแสดงและนักดนตรีอาชีพจะได้รับการจ้างให้แสดงและร้องเพลงในละครดังกล่าว โดยทั่วไปแล้วผู้แสดงที่เป็นข้าราชสำนักจะไม่มีบทพูดหรือร้องแอนน์แห่งเดนมาร์กพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษมักจะทรงมีบทเต้นรำร่วมกับนางสนองพระโอษฐ์ในละครสวมหน้ากาก ระหว่างปี ค.ศ. 1603 จนถึง ค.ศ. 1611 และ สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 และ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ต่างก็เคยมีบทในละครสวมหน้ากากของพระองค์ ตามธรรมเนียมนิยมของละครสวมหน้ากากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสทรงเต้นบัลเลต์ที่พระราชวังแวร์ซายส์ตามดนตรีโดยฌอง-แบ๊ปติสต์ ลุลลี่
การวิวัฒนาการ
[แก้]ละครสวมหน้ากากวิวัฒนาการมาจากเทศกาลอันหรูหราของราชสำนักของอาณาจักรดยุคแห่งเบอร์กันดีในสมัยยุคกลางตอนปลาย การละเล่นดังกล่าวมักจะเป็นการแสดงเพื่อการสรรเสริญเยินยอแก่ผู้เป็นแขก และอาจจะรวมฉากท้องทุ่ง (pastoral settings), ตำนานลึกลับ และองค์ประกอบที่เป็นนาฏกรรมของหัวข้อเกี่ยวกับจริยธรรม และสิ่งที่ขาดไม่ได้คืออุปมานิทัศน์ของหัวข้อที่เกี่ยวกับการเมืองและการสังคม งานเทศกาลดังกล่าวมักจะเฉลิมฉลองการเกิด, การแต่งงาน, การมีประมุของค์ใหม่ และ พิธีเลียบพระนคร ศิลปะรูปลักษณ์ที่ใช้ในการละครมักจะมีพื้นฐานมาจากแหล่งข้อมูลคลาสสิกมากกว่าที่จะเป็นทางศาสนา และ เป็นส่วนหนึ่งของการฉลองใหญ่ ฉะนั้นละครสวมหน้ากากจึงเหมาะสมกับการจัดแบบแมนเนอริสม์โดยนักออกแบบผู้มีฝีมือเช่นจูลีโอ โรมาโน หรือ อินิโก โจนส์ นักวิพากษ์วรรณกรรมใหม่เขียนบรรยายในบทความเช่นใน "The Politics of the Stuart Court Masque", ค.ศ. 1998 (ไทย: การเมืองของละครสวมหน้ากากในราชสำนักสจวต)[1] โดยเดวิด เบวิงตันและปีเตอร์ โฮลบรุคที่ชี้ให้เห็นเนื้อหาทางการเมืองที่ซ่อนอยู่ในบทละครสวมหน้ากาก บางครั้งนัยยะทางการเมืองก็ไม่ยากนักที่จะเห็นได้เช่นในละครเรื่อง "ชัยชนะของสันติ", ค.ศ. 1998 (ไทย: การเมืองของละครสวมหน้ากากในราชสำนักสจวต) ที่สร้างด้วยทุนจำนวนมากที่หามาได้โดยรัฐสภาโดยสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ที่สร้างความไม่พึงพอใจให้แก่ฝ่ายเพียวริตัน พระราชพิธีเฉลิมฉลองในราชสำนักของแคทเธอรีน เดอ เมดิชิที่มักมีสาระเกี่ยวกับการเมืองยิ่งไปกว่าของอังกฤษ เป็นงานอันใหญ่โตเลื่องชื่อกันไปทั่วในสมัยนั้น แต่ละครอินเทอร์เมซซิของสำนักของตระกูลเมดิชิในฟลอเรนซ์ก็มีชื่อเสียงพอกัน
รายชื่อละครสวมหน้ากากบางเรื่อง
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ David Bevington and Peter Holbrook, editors, The Politics of the Stuart Court Masque 1998 ISBN 0-521-59436-7).
- Ravelhofer, Barbara, (2006), The Early Stuart Masque: Dance, Costume, and Music, Oxford University Press.
- Sabol, Andrew J. (editor), (1959), Songs and dances from the Stuart Masque. An edition of sixty-three items of music for the English court masque from 1604 to 1641, Brown University Press.
- Sabol, Andrew J. (editor), (1982), Four hundred songs and dances from the Stuart Masque, Brown University Press.
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "The Elizabethan origins of the masque" เก็บถาวร 2006-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Cambridge History of English and American Literature: Popularity of the Masque in the age of Elizabeth
- Cambridge History of English and American Literature: The Masque in Spenser
- Florimène, 1635: the next-to-last masque of the court of Charles I
- "The Masque at Ashby" เก็บถาวร 2004-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน: John Marston's only extant masque, written for the Dowager Countess of Derby's 1607 visit to Ashby-de-la-Zouche, recreated by students
- Elizabethan Authors: Thomas Nash, Summer's Last Will and Testament on-line text and notes
- Masque of Anarchy, A Poem by Percy Bysshe Shelley
- "The Society of the English Masque"