น้ำมันแมคาเดเมีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Macadamia nut oil)
น้ำมันแมคาเดเมียในขวดบรรจุและถ้วย

น้ำมันแมคาเดเมีย (อังกฤษ: macadamia oil, macadamia nut oil) เป็นน้ำมันไม่ระเหยง่ายที่สกัดจากเนื้อแมคาเดเมีย (Macadamia integrifolia) ซึ่งเป็นพืชประจำถิ่นของออสเตรเลีย เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง เมื่อผ่านการกลั่นจะมีสีอำพันอ่อน ๆ มีกลิ่นถั่ว มีโครงสร้างทางเคมีเป็นกรดโอเลอิกประมาณ 60%, กรดปาลมิโตเลอิก 19%, กรดลิโนเลอิก 1-3% และกรดลิโนเลนิกอัลฟา 1-2% น้ำมันคงสภาพได้ดีมากและเก็บไว้ได้นานเพราะมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ต่ำ บางครั้งใช้ประกอบอาหารโดยผัด/ทอด (เพราะทนความร้อนได้สูง) หรือเป็นน้ำสลัด ใช้ในเครื่องสำอางเป็นสารให้ความชุ่มชื้นและช่วยบำรุงเส้นผม และใช้ในน้ำหอมช่วยไม่ให้ระเหยเร็ว

คุณสมบัติ[แก้]

Macadamia integrifolia

ถั่วแมคาเดเมียเป็นน้ำมัน 75% ของน้ำหนัก ที่เหลือเป็นโปรตีน 9.0%, คาร์โบไฮเดรต 9.3%, ความชื้น 1.5%, แร่ธาตุ 1.6% และใยอาหาร 2.0% เนื้อเมล็ดมีวิตามินเอ1 บี1 บี2 ไนอาซิน และแร่ธาตุจำเป็นรวมทั้งแคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และโพแทสเซียม น้ำมันเป็นไตรกลีเซอไรด์และโดยหลักประกอบด้วยไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยวมากถึง 80-84% ดังนั้น น้ำมันแมคาเดเมียจึงมีร้อยละของไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยวสูงสุดเทียบกับ "น้ำมันสุขภาพ" คือน้ำมันมะกอกและน้ำมันแคโนลา[1]

ต้นแมคาเดเมีย คือ Macadamia integrifolia เป็นต้นไม้ท้องถิ่นของออสเตรเลีย มีใบคล้ายต้นฮอลลี่ (สกุล Ilex) ที่ปลูกได้ดีในดินอินทรีย์ชื้น ทนหนาวได้จนถึงอุณหภูมิ -4.4 องศาเซลเซียส ต้นสามารถออกผลภายใน 5-7 ปี ผลจะอยู่ในเปลือกรูปกลมที่แข็งมาก เนื้อจะออกขาว ๆ หวาน สามารถทานดิบหรือคั่ว ดอกจะขาวจนถึงนวล ใบจะออกเป็นวงช่อละ 3 ใบ การขยายพันธุ์ทำด้วยเมล็ด ติดตาต่อกิ่ง หรือตอนกิ่ง เป็นต้นไม้ที่ปลูกเพื่อพาณิชย์[2]

มีต้นแมคาเดเมียสองชนิดที่เพาะปลูก คือ

  • Macadamia integrifolia (หรือ Macadamia ternifolia) มีชื่อสามัญว่า Australian nut (ถั่วออสเตรเลีย) หรือเรียกอีกอย่างว่า smooth shelled macadamia (แมคาเดเมียเปลือกเรียบ) เป็นพืชท้องถิ่นออสเตรเลียซึ่งพบในป่าดิบชื้นใกล้แม่น้ำลำธาร
  • Macadamia tetraphylla มีชื่อสามัญว่า Queensland nut (ถั่วควีนส์แลนด์) หรือเรียกอีกอย่างว่า rough shelled macadamia (แมคาเดเมียเปลือกหยาบ) เป็นพืชท้องถิ่นของรัฐควีนส์แลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ และรัฐนิวเซาท์เวลส์ตะวันออกเฉียงเหนือ

ปริมาณน้ำมันอยู่ในพิสัย 65-75% และปริมาณน้ำตาล 6-8% ทำให้มีสีและเนื้อต่าง ๆ เมื่อคั่วถั่วโดยวิธีเดียวกัน[2]

น้ำมันแมคาเดเมียเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง น้ำมันที่กลั่นจะใส มีสีเหลืองอำพันอ่อน ๆ มีกลิ่นถั่วหน่อย ๆ ความถ่วงจำเพาะของมันอยู่ระหว่าง 900-920 จุดวาบไฟ (อุณหภูมิต่ำสุดที่ไอน้ำมันจะติดไฟ) จะเกิน 148.9 องศาเซลเซียส[3]

การสะสมน้ำมันไม่เริ่มจนกว่าถั่วจะโตเต็มที่และเปลือกเริ่มแข็ง โดยจะสะสมอย่างรวดเร็วภายในเนื้อปลายฤดูร้อนในขณะที่ปริมาณน้ำตาลลดลง ตารางต่อไปนี้แสดงองค์ประกอบของแมคาเดเมียที่สุกแล้ว คั่ว หรือใส่เกลือ เหมือนกับเมล็ดพืชน้ำมันอื่น ๆ โปรตีนจะมี มีไธโอนีน น้อย เนื้อสด ๆ จะมีน้ำตาลถึง 4.6% โดยมากเป็นน้ำตาลง่าย ๆ (non-reducing) น้ำมันโดยมากเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวโดยคล้ายกันในพันธุ์ทั้งสอง แม้อัตราส่วนระหว่างกรดไขมันไม่อิ่มตัวกับกรดไขมันอิ่มตัวดูเหมือนจะสูงกว่าเล็กน้อยในพันธุ์ M. integrifolia (6.2:1 เทียบกับ 4.8:1) องค์ประกอบทางไขมันและการไร้คอเลสเตอรอล อาจจะมีการส่งเสริมให้แมคาเดเมียเป็นอาหารสุขภาพที่มีพลังงานสูง องค์ประกอบระเหยได้หลัก ๆ ของเนื้อแมคาเดเมียคั่วดูจะเหมือนกับที่พบในถั่วคั่วอื่น ๆ แม้ในขณะนี้จะมีการศึกษาในรายละเอียดน้อยมาก[4]

ใช้รับประทาน[แก้]

ผลแมคาเดเมียสด

น้ำมันแมคาเดเมียสามารถใช้ผัด/ทอดเพราะทนความร้อนได้สูงและมีคุณสมบัติอื่น ๆ ของน้ำมันที่ใช้ทานได้[5]

  • มีไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยวอาจถึง 85%
  • มีคุณภาพอยู่ได้โดยไม่แช่เย็น 1-2 ปี
  • มีจุดก่อควัน (อุณหภูมิต่ำสุดที่ไขมันจะเกินควันสีน้ำเงินอย่างต่อเนื่องซึ่งในที่สุดก็จะมองเห็นได้) 210 °C
  • มีจุดวาบไฟ (อุณหภูมิต่ำสุดที่ไขมันจะติดไฟ) เกิน 300 °C
คุณค่าทางอาหารของแมคาเดเมียคั่ว[4]
น้ำ (%) 2
พลังงาน (กิโลจูล) 3,064
โปรตีน (กรัม) 7.1
ไขมัน (กรัม) 78.6
กรดไขมันอิ่มตัว (กรัม) 11.4
กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว (กรัม) 61.1
กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ (กรัม) 0.014
คาร์โบไฮเดรต (กรัม) 14.3
แคลเซียม (มิลลิกรัม) 46.4
ฟอสฟอรัส (มิลลิกรัม) 203.6
เหล็ก (มิลลิกรัม) 1.8
โพแทสเซียม (มิลลิกรัม) 332.1
โซเดียม (มิลลิกรัม) 264.3
โซเดียมเมื่อไม่ใส่เกลือ (มิลลิกรัม) 7.1
ไทอามีน (มิลลิกรัม) 0.21
ไรโบเฟลวิน (มิลลิกรัม) 0.11
ไนอาซิน (มิลลิกรัม) 2.14
แมกนีเซียม (มิลลิกรัม) 0.12
สังกะสี (มิลลิกรัม) 1.4
แมงกานีส (มิลลิกรัม) 0.38
ทองแดง (มิลลิกรัม) 0.33

องค์ประกอบทางเคมี[แก้]

ข้อมูลทางเทคนิคของน้ำมันแมคาเดเมีย[6]
ตัวแปร หน่วย น้อยสุด มากสุด
กรดไขมันอิสระ (กรดโอเลอิก) % 1.5
ค่าเปอร์ออกไซด์ meqO2/Kg 5.0
ค่าสปอนิฟิเคชั่น mg/KOH/gr
C:16:0 กรดปาลมิติก % 7.0 10.0
C:16:1 กรดปาลมิโตเลอิก % 14.0 22.0
C:18:0 กรดสเตียริก % 2.0 5.5
C:18:1 กรดโอเลอิก % 53.0 67.0
C:18:2 กรดลิโนเลอิก % 1.0 5.0
C:20:0 กรดอะราคิดิก % 1.0 3.0
C:20:1 กรดกาโดเลอิก % 1.0 3.0
C:22:0 กรดเบฮินิก % 1.0
น้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จินเพื่อเปรียบเทียบ[7][8]
คุณสมบัติ หน่วย น้อยสุด มากสุด
กรดไขมันอิสระ (กรดโอเลอิก) % <0.8
ค่าเปอร์ออกไซด์ meqO2/Kg <20.0
ค่าสปอนิฟิเคชั่น mg/KOH/gr
C:16:0 กรดปาลมิติก % 7.5 20.0
C:16:1 กรดปาลมิโตเลอิก % 0.3 3.5
C:18:0 กรดสเตียริก % 0.5 5.0
C:18:1 กรดโอเลอิก % 55.0 83.0
C:18:2 กรดลิโนเลอิก % 3.5 21.0
C:18:3 กรดลิโนเลนิก % 0 <1.0
C:20:0 กรดอะราคิดิก % <0.6
C:20:1 กรดกาโดเลอิก % <0.4

น้ำมันแมคาเดเมียมีกรดโอเลอิก (กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว) ประมาณ 60%, กรดปาลมิโตเลอิก (palmitoleic) 19%, กรดลิโนเลอิก (กรดไขมันโอเมกา-6) 1-3% และกรดลิโนเลนิกอัลฟา (กรดไขมันโอเมกา-3) 1-2% บางพันธุ์มีกรดไขมันโอเมกา-6 และโอเมกา-3 พอ ๆ กัน แม้แมคาเดเมียจะปลูกในที่ต่าง ๆ แต่ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมก็ไม่ได้มีอิทธิพลสำคัญต่อลักษณะกรดไขมันของมัน เป็นไขมันที่มีคุณสมบัติทั่วไปของน้ำมันพืชอันเป็นไตรกลีเซอไรด์ เป็นน้ำมันที่เสถียรดีเพราะมีไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่น้อย[9]

น้ำมันพืช[10][11]
ประเภท การ
แปรรูป
กรดไขมัน
อิ่มตัว
กรดไขมันไม่อิ่มตัว
มีพันธะคู่เดี่ยว
กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ จุดก่อควัน
มีพันธะเดียว
รวม[10]
กรดโอเลอิก
(ω-9)
มีหลายพันธะ
รวม[10]
กรดลิโนเลนิก
(ω-3)
กรดลิโนเลอิก
(ω-6)
อาโวคาโด[12] 11.6 70.6 13.5 1 12.5 249 องศาเซลเซียส (480 องศาฟาเรนไฮต์)[13]
คาโนลา[14] 7.4 63.3 61.8 28.1 9.1 18.6 238 องศาเซลเซียส (460 องศาฟาเรนไฮต์)[15]
มะพร้าว[16] 82.5 6.3 6 1.7 175 องศาเซลเซียส (347 องศาฟาเรนไฮต์)[15]
ข้าวโพด[17] 12.9 27.6 27.3 54.7 1 58

232 องศาเซลเซียส (450 องศาฟาเรนไฮต์)[18]

เมล็ดฝ้าย[19] 25.9 17.8 19 51.9 1 54 216 องศาเซลเซียส (420 องศาฟาเรนไฮต์)[18]
เมล็ดแฟลกซ์[20] 9.0 18.4 18 67.8 53 13

107 องศาเซลเซียส (225 องศาฟาเรนไฮต์)

เมล็ดองุ่น 10.5 14.3 14.3 74.7 - 74.7 216 องศาเซลเซียส (421 องศาฟาเรนไฮต์)[21]
น้ำมันกัญชง[22] 7.0 9.0 9.0 82.0 22.0 54.0 166 องศาเซลเซียส (330 องศาฟาเรนไฮต์)[23]
มะกอก[24] 13.8 73.0 71.3 10.5 0.7 9.8 193 องศาเซลเซียส (380 องศาฟาเรนไฮต์)[15]
ปาล์ม[25] 49.3 37.0 40 9.3 0.2 9.1 235 องศาเซลเซียส (455 องศาฟาเรนไฮต์)
ถั่วลิสง[26] 20.3 48.1 46.5 31.5 31.4 232 องศาเซลเซียส (450 องศาฟาเรนไฮต์)[18]
คำฝอย[27] 7.5 75.2 75.2 12.8 0 12.8 212 องศาเซลเซียส (414 องศาฟาเรนไฮต์)[15]
ถั่วเหลือง[28] 15.6 22.8 22.6 57.7 7 51 238 องศาเซลเซียส (460 องศาฟาเรนไฮต์)[18]
เมล็ดทานตะวัน (มาตรฐาน, 65% ไลโนเลอิก)[29] 10.3 19.5 19.5 65.7 0 65.7
เมล็ดทานตะวัน (<60% ไลโนเลอิก)[30] 10.1 45.4 45.3 40.1 0.2 39.8

227 องศาเซลเซียส (440 องศาฟาเรนไฮต์)[18]

เมล็ดทานตะวัน (>70% โอเลอิก)[31] 9.9 83.7 82.6 3.8 0.2 3.6

227 องศาเซลเซียส (440 องศาฟาเรนไฮต์)[18]

เมล็ดฝ้าย[32] ไฮโดรจีเนต 93.6 1.5 0.6 0.3
ปาล์ม[33] ไฮโดรจีเนต 88.2 5.7 0
ถั่วเหลือง[34] ไฮโดรจีเนตบางส่วน 14.9 43.0 42.5 37.6 2.6 34.9
ค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) ของน้ำหนักไขมันรวม

ใช้ในเครื่องสำอาง[แก้]

กรดปาลมิโตเลอิกมีคุณสมบัติคล้ายกับไขผิวหนังของมนุษย์ ดังนั้น จึงใช้ในผลิตภัณฑ์การแพทย์และเครื่องสำอางหลายอย่าง แหล่งกรดปาลิโตเลอิกรวมถึง ไขมันตัวมิงค์ (วงศ์ย่อยเพียงพอน), น้ำมันจากพืชสกุล Hippophae วงศ์มะหลอด (เช่น ซีบักทอร์น) และน้ำมันแมคาเดเมีย กรดปาลมิโตเลอิกความเข้มข้นสูงดังที่พบในพืชทั้งสองนี้ไม่สามัญในน้ำมันพืช โดยอาจเข้มข้นถึง 21% ในน้ำมันแมคาเดเมีย[35] สารอนุพันธ์ของน้ำมันแมคาเดเมียที่ใช้ในเครื่องสำอางรวมทั้งสารทำให้นุ่มและชุ่มชื้น (emollient) คือ ethyl macadamiate (ละลายในไขมันได้) และ PEG-16 macadamia glycerides (ละลายน้ำได้)

สภาพมีขั้วของเฟสน้ำมัน (oil phase) มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อสูตรและคุณสมบัติของอิมัลชันเครื่องสำอาง จัดเป็นปัจจัยจำเป็นต่อความเสถียรของอิมัลชันน้ำผสมน้ำมัน[36] สภาพมีขั้วของน้ำมันแมคาเดเมียอยู่ที่ 525.50 nm ± 0.29 nm (SE) ซึ่งจัดว่าสูง ดังนั้นน้ำมันที่มีขั้วจึงเพิ่มความละลายได้ขององค์ประกอบเครื่องสำอางที่ละลายน้ำมันได้[36] น้ำมันแมคาเดเมียสามารถใช้แทนน้ำมันมิงค์โดยมากได้ และใช้สำหรับเครื่องบำรุงรักษาผมด้วย

ชื่อ International Nomenclature of Cosmetic Ingredients (INCI name) ของน้ำมันแมคาเดเมีย ก็คือ macadamia ternifolia seed oil โดยมีเลขทะเบียน CAS คือ 128497-20-1

อ้างอิง[แก้]

  1. Akhtar Naveed; Mahmood Ahmad; และคณะ (2006). "Evaluation of basic properties of macadamia nut oil". Gomal University Journal of Research. 22: 21–27. สืบค้นเมื่อ 2016-01-02.
  2. 2.0 2.1 "Madamia Integrifolia". CRFG. สืบค้นเมื่อ 2016-01-02.[ลิงก์เสีย]
  3. "MSDS Macadamia Nut Oil". AAKO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-28. สืบค้นเมื่อ 2016-01-01.
  4. 4.0 4.1 G.E. Wickens (1995). "Major edible nuts: Macadamia or Queensland nut". Non-woods forest products 5: Edible Nuts (PDF). Rome: FAO. pp. 33–37. ISBN 92-5-103748-5.
  5. Sara Koohikamali; Mohammad S. Alam (August 2019). "Improvement in nutritional quality and thermal stability of palm olein blended with macadamia oil for deep-fat frying application". Journal of Food Science and Technology -Mysore-. doi:10.1007/s13197-019-03979-0.
  6. "Macadamia Nut Oil" (PDF). McKinley Resources. สืบค้นเมื่อ 2015-12-31.[ลิงก์เสีย]
  7. "Chemistry and quality of olive oil" (PDF). primefacts. New South Wales Department of Primary Industries. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-13. สืบค้นเมื่อ 2015-12-31.
  8. "Olive oil Chemical Characteristics". Olive Oil Source. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-16. สืบค้นเมื่อ 2015-12-31.
  9. Kleemann, Michael (2010-03-07). "Organic & Natural Life - Business Opportunities". xing.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-02. สืบค้นเมื่อ 2012-08-15.
  10. 10.0 10.1 10.2 "US National Nutrient Database, Release 28". United States Department of Agriculture. May 2016. All values in this column are from the USDA Nutrient database unless otherwise cited.
  11. "Fats and fatty acids contents per 100 g (click for "more details") example: avocado oil; user can search for other oils". Nutritiondata.com, Conde Nast for the USDA National Nutrient Database, Standard Release 21. 2014. สืบค้นเมื่อ 7 September 2017. Values from Nutritiondata.com (SR 21) may need to be reconciled with most recent release from the USDA SR 28 as of Sept 2017.
  12. "Avocado oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  13. What is unrefined, extra virgin cold-pressed avocado oil?, The American Oil Chemists’ Society
  14. "Canola oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 Katragadda, H. R.; Fullana, A. S.; Sidhu, S.; Carbonell-Barrachina, Á. A. (2010). "Emissions of volatile aldehydes from heated cooking oils". Food Chemistry. 120: 59. doi:10.1016/j.foodchem.2009.09.070.
  16. "Coconut oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  17. "Corn oil, industrial and retail, all purpose salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  18. 18.0 18.1 18.2 18.3 18.4 18.5 Wolke, Robert L. (16 May 2007). "Where There's Smoke, There's a Fryer". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 5 March 2011.
  19. "Cottonseed oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  20. "Linseed/Flaxseed oil, cold pressed, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  21. Garavaglia J, Markoski MM, Oliveira A, Marcadenti A (2016). "Grape Seed Oil Compounds: Biological and Chemical Actions for Health". Nutr Metab Insights. 9: 59–64. doi:10.4137/NMI.S32910. PMC 4988453. PMID 27559299.
  22. "Efficacy of dietary hempseed oil in patients with atopic dermatitis". Journal of Dermatological Treatment. 2005. สืบค้นเมื่อ 25 October 2017.
  23. https://www.veghealth.com/nutrition-tables/Smoke-Points-of-Oils-table.pdf
  24. "Olive oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  25. "Palm oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  26. "Oil, peanut". FoodData Central. usda.gov.
  27. "Safflower oil, salad or cooking, high oleic, primary commerce, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  28. "Soybean oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  29. "Sunflower oil, 65% linoleic, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 15 November 2018.
  30. "Sunflower oil, less than 60% of total fats as linoleic acid, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  31. "Sunflower oil, high oleic - 70% or more as oleic acid, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  32. "Cottonseed oil, industrial, fully hydrogenated, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  33. "Palm oil, industrial, fully hydrogenated, filling fat, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  34. "Soybean oil, salad or cooking, (partially hydrogenated), fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  35. Ako, H; Okoda, D; Gray, D (1995). "Healthful new oil from macadamia nuts". Nutrition. 11 (3): 286–8. PMID 8541698.
  36. 36.0 36.1 Dietz, T. "Basic properties of cosmetic oils and their relevance to emulsion preparations". SÖFW-Journal. 125 (7): 2–7.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]