MOA-2007-BLG-192Lb

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
MOA-2007-BLG-192Lb
ดาวเคราะห์นอกระบบ รายชื่อ

ภาพวาดจินตนาการของดาว MOA-2007-BLG-192Lb
ดาวฤกษ์แม่
ดาวฤกษ์ MOA-2007-BLG-192L
กลุ่มดาว กลุ่มดาวคนยิงธนู
ไรต์แอสเซนชัน (α) 18h 08m 04s[1]
เดคลิเนชัน (δ) −27° 09′ 00″[1]
ระยะห่าง3000±1000 ly
(1000±400[2] pc)
ระยะห่างที่สังเกตการณ์เห็น
Projected separation (d) 0.62+0.22−0.16[2] AU
ลักษณะทางกายภาพ
มวล(m)3.3+4.9−1.6[2] M
ข้อมูลการค้นพบ
ค้นพบเมื่อ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2008
ค้นพบโดย เบนเนตต์ และคณะ
วิธีตรวจจับ ไมโครเลนส์ของแรงโน้มถ่วง
สถานที่ที่ค้นพบ หอดูดาวมหาวิทยาลัยเมานต์จอห์น
 นิวซีแลนด์
สถานะการค้นพบ Announced[2]
อ้างอิงกับฐานข้อมูลอื่น
สารานุกรม
ดาวเคราะห์นอกระบบ
ข้อมูล
ซิมแบดข้อมูล

MOA-2007-BLG-192Lb บางครั้งจะเรียกสั้นๆว่า MOA-192 b[3] เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 3,000 ปีแสง อยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู ดาวดวงนี้ค้นพบการโคจรรอบดาวแคระน้ำตาล หรือดาวฤกษ์มวลต่ำ MOA-2007-BLG-192L โดยมีมวลประมาณ 3.3 เท่าของโลก และเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์นอกระบบที่เล็กที่สุดเท่าที่ทราบมา มันถูกค้นพบเมื่อมีการตรวจสอบปรากฏการณ์ไมโครเลนส์ของแรงโน้มถ่วงเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 ซึ่งการตรวจพบเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจปรากฏการณ์ไมโครเลนส์ MOA-II ในการสำรวจที่หอดูดาวมหาวิทยาลัยเมานต์จอห์น ในประเทศนิวซีแลนด์[2]

ระบบดาวเคราะห์หลักก็มีขนาดเล็กเช่นกัน โดยมีมวลประมาณ 6% ของดวงอาทิตย์ มันอาจจะเป็นขนาดเล็กเกินไปที่จะรักษาปฏิกิริยาฟิวชัน ทำให้เปล่งแสงราง ๆ แบบดาวแคระน้ำตาล[4] นอกจากนี้ระยะทางโดยประมาณที่คาดการณ์ระหว่าง MOA-2007-BLG-192Lb และดาวฤกษ์หลักคือประมาณ 0.62 หน่วยดาราศาสตร์[2] ซึ่งหมายความว่าดาวเคราะห์อาจจะก่อตัวโดยประกอบด้วยน้ำแข็งและก๊าซจำนวนมาก เช่นเดียวกับเช่น ดาวเนปจูน (ดาวเคราะห์น้ำแข็งยักษ์) ที่มีองค์ประกอบดังกล่าวมากกว่า ดาวเคราะห์คล้ายโลก ตามอ้างอิงจากนักดาราศาสตร์ เดวิด เบนเนตต์ ของมหาวิทยาลัยนอเตอร์เดม[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Notes for star MOA-2007-BLG-192-L". The Extrasolar Planets Encyclopaedia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-26. สืบค้นเมื่อ 2008-06-16. เก็บถาวร 2008-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Bennett, D. P.; Bond, I. A.; Udalski, A.; และคณะ (2008), "A Low-Mass Planet with a Possible Sub-Stellar-Mass Host in Microlensing Event MOA-2007-BLG-192", The Astrophysical Journal, 684 (1): 663–683, arXiv:0806.0025, Bibcode:2008ApJ...684..663B, doi:10.1086/589940
  3. Planet Quest: New Worlds Atlas เก็บถาวร 2008-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, JPL. Accessed on line July 2, 2008.
  4. 4.0 4.1 Smallest Extrasolar Planet Portends Other Earths เก็บถาวร 2009-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Richard A. Kerr, ScienceNOW Daily News, June 2, 2008. Accessed on line June 16, 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัด: Sky map 18h 08m 04s, −27° 09′ 00″