ล็อนดินิอูง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Londinium)
ขอบเขตของเมืองในยุคโรมันช่วงปลาย และแสดงเห็นลุ่มแม่น้ำเทมส์ยุคใหม่[1]

ล็อนดินิอูง (ละติน: Londinium) เป็นชุมชนที่ก่อตั้งในช่วงเวลาราวคริสต์ศักราช 47-50[2][3] ซึ่ง ณ ปัจจุบันคือ นครลอนดอน ชุมชนตั้งอยู่ตรงจุดตัดสำคัญเหนือแม่น้ำเทมส์ ส่งผลทำให้เมืองมีถนนเชื่อมต่อและเป็นเมืองท่าที่สำคัญ เป็นศูนย์กลางการค้าของบริเตนสมัยโรมันจนโรมันออกจากเมืองไปในศตวรรษที่ 5 มีความเป็นไปได้ว่าเมืองจะเป็นค่ายทหารโรมันมาก่อนในระยะเวลาสั้น ๆ แต่หลักฐานก็มีไม่มากและยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่[4][5]

เมืองก่อตั้งขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 1 ล็อนดินิอูงในช่วงแรกมีพื้นที่เล็ก ประมาณ 1.4 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดประมาณไฮด์พาร์กในปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 60 หรือ 61 มีการก่อกบฎโดยชาวไอซีไนต่อราชินีบูดิกา ทำให้ทหารโรมันออกจากเมืองไปซึ่งมีการเผาทำลายเมืองไป จากนั้นผู้ปกครองชาวโรมัน ไกอัส ซูเอโทเนียส พอไลนัสได้เข้ามาตั้งค่ายทหาร[6] และได้สร้างเมืองใหม่ มีความเป็นไปได้ว่าเมืองได้รับการฟื้นฟูภายในหนึ่งทศวรรษ ต่อมาในช่วงท้ายทศวรรษของศวรรษที่ 1ล็อนดินิอูงมีการขยับขยายอย่างรวดเร็ว เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของบริเตนในสมัยโรมัน มีอาคารสาธารณะใหญ่ ๆ อย่าง จัตุรัสโรมัน (forum)[7] และทวิอัฒจันทร์ (amphitheatre)[8]

ในช่วงเปลี่ยนศตวรรษ ล็อนดินิอูงมีประชากรราว 30,000 หรือ 60,000 คน และเกือบได้เป็นนครหลวงแคว้นแทนเมืองคามูโลดูนัม (โคลเชสเตอร์) และกลางศตวรรษที่ 2 จึงได้เป็นนครหลวงแคว้นในที่สุด เมืองยังมีวิหารที่ถือเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์เมื่อตอนจักรพรรดิฮาดริอานุสมายังเมืองนี้เมื่อปี ค.ศ. 122 ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 2 ล็อนดินิอูงเริ่มมีพื้นที่และประชากรน้อยลง

ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 190 ถึง 225 ชาวโรมันได้สร้างกำแพงเมืองล้อมรอบ รวมถึงสร้างกำแพงฮาดริอานุสและสร้างเครือข่ายถนน กำแพงลอนดอน อายุกว่า 1,600 ปี ยังคงเหลือซากในปัจจุบัน ถือเป็นตัววัดอายุของเมืองเก่านครลอนดอน

อ้างอิง[แก้]

  1. Note that this image includes both the garrison fort, which was demolished in the 3rd century, and the Mithraeum, which was abandoned around the same time. The identification of the "governor's palace" remains conjectural.
  2. Hingley, Richard,. Londinium : a biography : Roman London from its origins to the fifth century. London. pp. 27–32. ISBN 978-1-350-04730-3. OCLC 1042078915.{{cite book}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. Hill, Julian. and Rowsome, Peter (2011). Roman London and the Walbrook stream crossing : excavations at 1 Poultry and vicinity, City of London. Rowsome, Peter., Museum of London Archaeology. London: Museum of London Archaeology. pp. 251–62. ISBN 978-1-907586-04-0. OCLC 778916833.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. Perring, Dominic (2011/ed). "Two studies on Roman London. A: London's military origins. B: Population decline and ritual landscapes in Antonine London". Journal of Roman Archaeology (ภาษาอังกฤษ). 24: 249–282. doi:10.1017/S1047759400003378. ISSN 1047-7594. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  5. Wallace, Lacey (2013). "The Foundation of Roman London: Examining the Claudian Fort Hypothesis". Oxford Journal of Archaeology (ภาษาอังกฤษ). 32 (3): 275–291. doi:10.1111/ojoa.12015. ISSN 1468-0092.
  6. Dunwoodie, Lesley. (2015). An early Roman fort and urban development on Londinium's eastern hill : excavations at Plantation Place, City of London, 1997-2003. Harward, Chiz., Pitt, Ken. London: MOLA (Museum of London Archaeology). ISBN 978-1-907586-32-3. OCLC 920542650.
  7. Marsden, Peter Richard Valentine. (1987). The Roman Forum Site in London : discoveries before 1985. Museum of London. London: H.M.S.O. ISBN 0-11-290442-4. OCLC 16415134.
  8. Bateman, Nick. (2008). London's Roman amphitheatre : Guildhall Yard, City of London. Cowan, Carrie., Wroe-Brown, Robin., Museum of London. Archaeology Service. [London]: Museum of London Archaeology Service. ISBN 978-1-901992-71-7. OCLC 276334521.