โลโมโซนิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Lomosonic)
โลโมโซนิก
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
แนวเพลง
ช่วงปีพ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน
ค่ายเพลงสมอลล์รูม (พ.ศ. 2552–2557)
วีเรคคอร์ดส (พ.ศ. 2558–2559)
สนามหลวงมิวสิก (พ.ศ. 2559–2563)
จีนี่ เรคคอร์ด (พ.ศ. 2563–ปัจจุบัน)
สมาชิกอริย์ธัช พลตาล
ฉัตรชัย งามสิริมงคลชัย
ปิติ สหพงศ์
ชาญเดช จันทร์จำเริญ
อดีตสมาชิกมาดสัมฤทธิ์ พสุภา
ทองเอก หอศิริธรรม

โลโมโซนิก (อังกฤษ: Lomosonic) เป็นวงดนตรีแนวร็อกสังกัดจีนี่ เรคคอร์ด ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2548 ออกจำหน่ายอัลบั้มแรก ไฟร์เวิกส์ (Fireworks) ในปี พ.ศ. 2552 อัลบั้มที่สอง เอ็กโคแอนด์ไซเลนซ์ (Echo & Silence) ในปี พ.ศ. 2556 อัลบั้มที่สาม แอนทาย-กราวิตี (ANTI-GRAVITY) ในปี พ.ศ. 2560 อัลบั้มอีพี สวีตโบรส์ (SWEET BROS.) และอัลบั้มที่สี่ สวีตโบรส์วิทแบดทีน (Sweet Bros. with Bad Teen) ในปี พ.ศ. 2563 และอัลบั้มที่ห้า พีสส์ออฟเมมโมรี่ส์ (Pieces Of Memories) ในปี พ.ศ. 2565

ประวัติ[แก้]

โลโมโซนิกรวมตัวกันตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี[1] โดยครั้งแรกเป็นการรวมตัวเพื่อร่วมแสดงในงานประจำปีและงานปาร์ตีต่าง ๆ และได้เข้าร่วมประกวดรายการประกวดวงดนตรีภายในมหาวิทยาลัย เริ่มจากป้อม ออตโต้ และเอก ซึ่งเรียนรุ่นเดียวกัน จนภายหลังได้ชักชวนบอย ซึ่งเป็นรุ่นน้องได้มาร้องแทนป้อม ส่วนอั๋ม ทางวงได้ใช้บ้านอั้มเป็นแหล่งอัดเพลง หลังจากนั้นบอย ก็ได้ชวนปิติ สมาชิกคนสุดท้าย ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมรุ่นมาเล่นกีตาร์ในวง จนได้ทำให้เห็นแนวทางของวงที่ชัดเจนขึ้น[2]

แต่เดิมโลโมโซนิกใช้ชื่อเพียงสั้น ๆ ว่า "โลโม่" (ประเภท/ยี่ห้อของกล้องถ่ายรูปชนิดหนึ่ง) ซึ่งชื่อนั้นถูกคิดขึ้นมาในชั่วข้ามคืนเพียงเพื่อต้องมีชื่อวง เพราะต้องการส่งเดโมให้กับค่ายสมอลล์รูม ใน "ไฮเนเก้น แฟต เฟส 5" ภายหลังต้องเปลี่ยนชื่อเป็น "โลโมโซนิก" (Lomosonic) เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์

ในปี พ.ศ. 2554 อั๋ม ลาออกจากวงเนื่องจากปัญหาภายใน และแนวทางที่ต่างกันในด้านการทำเพลง ในปี พ.ศ. 2555 เอก ลาออกจากวงเนื่องจากปัญหาที่ต้องทำงานสถาปนิกและไม่มีเวลาให้วง โดยประกาศอย่างเป็นทางการผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊กของวง[3] ในปี พ.ศ. 2558 โลโมโซนิกหมดสัญญากับทางค่ายสมอลล์รูม และได้ย้ายมาอยู่สังกัดวีเรคคอร์ดส[4][5] ออกซิงเกิลแรกชื่อว่า "คำตัดสิน" (Heartbeat)[6] และซิงเกิลที่สองชื่อว่า "เพราะความรักมันไม่เลือกเวลาเกิด"[7]

สมาชิก[แก้]

เส้นเวลา

ผลงาน[แก้]

ผลงานเพลงของโลโมโซนิก
ไฟล์:Lomosonic-cover01.JPEG
ปกอัลบั้ม ไฟร์เวิกส์
สตูดิโออัลบั้ม4
อีพี1

สตูดิโออัลบั้ม[แก้]

รายชื่อสตูดิโออัลบั้ม แสดงรายชื่อเพลง
ชื่ออัลบั้ม รายละเอียด รายชื่อเพลง
ไฟร์เวิกส์
(FIREWORKS)
  • ออกจำหน่าย: 24 เมษายน พ.ศ. 2552 (ซีดี)
  • ค่ายเพลง: สมอลล์รูม
  • โปรดิวเซอร์: โลโมโซนิค, รุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์
  1. "ได้หรือไม่ได้"
  2. "บาด"
  3. "วัน"
  4. "ดอกไม้ไฟ"
  5. "ตาบอดกะทันหัน"
  6. "ฉันเข้าใจแต่ไม่เข้าใจ"
  7. "ปลอม"
  8. "เปลือก"
  9. "เสื่อม"
  10. "ความเปลี่ยนแปลง"
เอ็กโคแอนด์ไซเลนซ์
(ECHO & SILENCE)
  • ออกจำหน่าย: 17 กันยายน พ.ศ. 2556 (ซีดี)
  • ค่ายเพลง: สมอลล์รูม
  • โปรดิวเซอร์: โลโมโซนิค, เทอดศักดิ์ ศิริเจน
  1. "ถึงเวลา..." (WAKE)
  2. "อึด" (TOLERATE)
  3. "อยากจะรักแค่ไหน" (AWAY MESSAGE)[8]
  4. "เหยียบ" (FEARLESS)
  5. "SILENCE"
  6. "ถ้าไม่อยากเสียใจ" (WISH)
  7. "แรง" (SUFFERING)
  8. "โปรด" (DECEIVE)
  9. "T MINUS ZERO"
  10. "เสียง" (MUTE)
  11. "WEAKNESS"
  12. "ความรู้สึกของวันนี้" (FELT)
  13. "เพลงรัก" (LOVE SONG)
  14. "สาย" (DECAY)
  15. "เก็บไว้" (ECHO)
  16. "ไม่เคยเข้าใจเรื่องที่ต้องเข้าใจ" (WORDS)
  17. "กอดคอ" (NOSTALGIA)
  18. "หลงทาง" (HOME)
  19. "ขอ" (WARM EYES)
    (แทร็กที่ซ่อนไว้: "ใครจะหยุดความเหงา" เริ่มต้นที่ 6:50)
แอนทาย-กราวิตี
(ANTI-GRAVITY)
  • ออกจำหน่าย: 2 มีนาคม พ.ศ. 2560 (ซีดี)
    26 มีนาคม พ.ศ. 2563 (แผ่นเสียง)
  • ค่ายเพลง: สนามหลวงมิวสิก
  • โปรดิวเซอร์: แซซาร์บี เดอกุซมัน
    ประทีปเดช เรืองวงศ์ (แทร็กที่ 10,11)
    จักริน จูประเสริฐ (แทร็กที่ซ่อนไว้)
  1. "เพชฌฆาตพายุนางฟ้า" (ANTI-GRAVITY)
  2. "น้อง...น้อง?" (SPICY BEEF NACHO)
  3. "ทางที่ลมผ่าน" (VERANDA)
  4. "ความอ่อนแอ" (FEELING)
  5. "ส่งมือ" (TRUST)
  6. "หลอก" (NAIVE)
  7. "ปล่อย" (NOISE)
  8. "กอด" (AIRPORT)
  9. "มีแค่เราสองคน" (TRIP)
  10. "เพลงกลับบ้าน" (LULLABY)
    (ร่วมกับ POD)
  11. "หากโลกนี้ไม่มีความรัก" (EVERYDAY OCCURRENCE)
    (ร่วมกับ POD)
  12. "BLOODPUMP!"
  13. "แสงไฟไม่จำเป็นในความมืดมิด" (NO WISH)
  14. "แค้นรักอสรพิษ" (RAINBOW BOA)
  15. "SORRY" (ZERO GRAVITY)
    (แทร็กที่ซ่อนไว้: "เพราะความรักมันไม่เลือกเวลาเกิด" (BIRTH))
สวีตโบรส์วิทแบดทีน
(SWEET BROS. with BAD TEEN)
  • ออกจำหน่าย: 24 กันยายน พ.ศ. 2563 (ซีดี)
    25 มีนาคม พ.ศ. 2564 (ตลับเทป)
  • ค่ายเพลง: จีนี่ เรคคอร์ด
  • โปรดิวเซอร์: พูนศักดิ์ จตุระบุล
    จักริน จูประเสริฐ (แทร็กที่ 7)
    ธันวา เกตุสุวรรณ (แทร็กที่ 8-11)
SWEET BROS.
  1. "เรื่องของผู้ใหญ่" (SWEET BROS.)
  2. "วันที่ฉันไม่อยู่" (TOMORROW)"
  3. "คนขี้อ่อย" (FLIRT!)
  4. "ยังไม่ถึงเวลา" (TIMING)
  5. "เพื่อนเก่าชื่อความเจ็บช้ำ" (HOMECOMING)
    (ร่วมกับ 25hours)
  6. "รักครั้งสุดท้าย" (MY MAGNET)
BAD TEEN
  1. "คำตัดสิน" (HEARTBEAT)
  2. "กลัวว่าความคิดถึงของฉันจะทำร้ายเธอ" (AFRAID)
  3. "ยอมแพ้" (SURRENDER)
  4. "ดับดวงอาทิตย์" (SHUT DOWN THE SUN)
    (ร่วมกับ Twopee)
  5. "TONIGHT WE RUN"
  6. "ไม่ใช่ความรัก" (LOSER)
    (ร่วมกับ โป่ง หินเหล็กไฟ)
พีสส์ออฟเมมโมรี่ส์
(PIECES OF MEMORIES)
  • ออกจำหน่าย: 31 มกราคม พ.ศ. 2565 (ซีดี)
  • ค่ายเพลง: จีนี่ เรคคอร์ด
  • โปรดิวเซอร์: พูนศักดิ์ จตุระบุล, วรวรรธน์ วิวรรธน์วณิชย์
  1. "แนะนำ" (GO AWAY)
  2. "นักซิ่งเจ้าน้ำตา" (ROUTE11)
  3. "ได้โปรดจดจำฉันไว้" (MEMORY)
  4. "ส่งเธอได้เท่านี้" (GOODBYE)
  5. "หมดรัก" (EXPIRE)
  6. "การที่ฉันได้รักเธอ" (LOVE AND LOST)
  7. "เธอไม่ได้เดียวดาย" (DEAR YOUTH,)
  8. "ฉันไม่คุ้นเคยกับความเหงา" (LONELINESS)
  9. "สิ่งที่ดีที่สุดที่เกิดกับฉัน" (I SEE YOU)

อีพี[แก้]

รายชื่ออีพี แสดงรายชื่อเพลง
ชื่ออัลบั้ม รายละเอียด รายชื่อเพลง
สวีตโบรส์
(SWEET BROS.)
  1. "เรื่องของผู้ใหญ่ (SWEET BROS.)"
  2. "วันที่ฉันไม่อยู่ (TOMORROW)"
  3. "คนขี้อ่อย (FLIRT!)"
  4. "ยังไม่ถึงเวลา (TIMING)"
  5. "เพื่อนเก่าชื่อความเจ็บช้ำ (HOMECOMING)"
    (ร่วมกับ 25hours)
  6. "รักครั้งสุดท้าย (MY MAGNET)"

อัลบั้มพิเศษ[แก้]

รายชื่ออัลบั้มพิเศษ แสดงรายชื่อเพลง
ชื่ออัลบั้ม รายละเอียด รายชื่อเพลง
ออดิโอ ทรานสมิชชั่น
(AUDIO TRANSMISSION)
  • ออกจำหน่าย: พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 (ซีดี)
  • ค่ายเพลง: สนามหลวงมิวสิก
  • บันทึกการแสดงสด Lomosonic Anti-Gravity Concert ในรูปแบบซีดี
Disc 1
  1. ".../—/.-/.-."
  2. "เพชฌฆาตพายุนางฟ้า"
  3. "คำตัดสิน"
  4. "ถึงเวลา..."
  5. "น้อง...น้อง?"
  6. "วัน"
  7. "ได้หรือไม่ได้"
  8. "กอดคอ"
  9. "เสียง"
  10. "เพลงรัก"
  11. "หลอก"
  12. "แรง"
  13. "ปล่อย"
Disc 2
  1. "บาด"
  2. "มีแค่เราสองคน"
  3. "ทางที่ลมผ่าน"
  4. "ความอ่อนแอ"
  5. "ส่งมือ"
  6. "SORRY"
  7. "แสงไฟไม่จำเป็นในความมืดมิด"
  8. "กอด"
  9. "อยากจะรักแค่ไหน"
  10. "WEAKNESS"
  11. "ความรู้สึกของวันนี้"
Disc 3
  1. "เพราะความรักมันไม่เลือกเวลาเกิด"
  2. "BLOODPUMP!"
  3. "เหยียบ"
  4. "แค้นรักอสรพิษ"
  5. "ดอกไม้ไฟ"
  6. "เก็บไว้"
  7. "ใครจะหยุดความเหงา"
  8. "ขอ"
  9. "หลงทาง"
ลอส ฟรีเควนซี่
(LOST FREQUENCIES)
  • ออกจำหน่าย: 20 ตุลาคม พ.ศ. 2566 (ซีดี)
  • อัลบั้มที่นำหลาย ๆ เพลงจากอัลบั้ม Echo & Silence มาบันทึกเสียงใหม่
  1. "ถึงเวลา..." (WAKE)
  2. "เหยียบ" (FEARLESS)
  3. "WEAKNESS"
  4. "ความรู้สึกของวันนี้" (FELT)
  5. "อยากจะรักแค่ไหน" (AWAY MESSAGE)
  6. "เพลงรัก" (LOVE SONG)
  7. "เก็บไว้" (ECHO)
  8. "แรง" (SUFFERING)
  9. "ถ้าไม่อยากเสียใจ" (WISH)
  10. "เสียง" (MUTE)
  11. "ใครจะหยุดความเหงา" (LOST FREQUENCIES)
  12. "ขอ" (WARM EYES)
  13. "หลงทาง" (HOME)

ซิงเกิล[แก้]

ปี รายชื่อเพลง อัลบั้ม
2552 "ได้หรือไม่ได้" FIREWORKS
"วัน"
"ดอกไม้ไฟ"
"บาด"
2554 "ใครจะหยุดความเหงา" ECHO & SILENCE
2555 "ถึงเวลา..." (WAKE)
"ความรู้สึกของวันนี้" (FELT)
2556 "อยากจะรักแค่ไหน" (AWAY MESSAGE)
"เก็บไว้" (ECHO)
"ขอ (WARM EYES)
2557 "เพลงรัก" (LOVE SONG)
"หลงทาง" (HOME)
2558 "คำตัดสิน" (HEARTBEAT) SWEET BROS. with BAD TEEN
"เพราะความรักมันไม่เลือกเวลาเกิด" (BIRTH) ANTI-GRAVITY
2559 "ปล่อย" (NOISE)
"เพลงกลับบ้าน" (LULLABY)
(ร่วมกับ POD)
2560 "หลอก" (NAIVE)
"ความอ่อนแอ" (FEELING)
"ทางที่ลมผ่าน" (VERANDA)
"เพชฌฆาตพายุนางฟ้า" (ANTI-GRAVITY)
"ส่งมือ" (TRUST)
2561 "หากโลกนี้ไม่มีความรัก" (EVERYDAY OCCURRENCE)
(ร่วมกับ POD)
"กอด" (AIRPORT)
"SORRY" (ZERO GRAVITY)
2562 "TONIGHT WE RUN" SWEET BROS. with BAD TEEN
"กลัวความคิดถึงของฉันจะทำร้ายเธอ" (AFRAID)
"ดับดวงอาทิตย์" (SHUT DOWN THE SUN)
(ร่วมกับ Twopee)
"ยอมแพ้" (SURRENDER)
2563 "วันที่ฉันไม่อยู่" (TOMORROW)
"ยังไม่ถึงเวลา" (TIMING)
"ไม่ใช่ความรัก" (LOSER)
(ร่วมกับ โป่ง หินเหล็กไฟ)
"รักครั้งสุดท้าย" (MY MAGNET)
"คนขี้อ่อย" (FLIRT!)
2564 "หมดรัก" (EXPIRE) PIECES OF MEMORIES
"ส่งเธอได้เท่านี้" (GOODBYE)
"ได้โปรดจดจำฉันไว้" (MEMORY)
2565 "นักซิ่งเจ้าน้ำตา" (ROUTE11)
"ฉันไม่คุ้นเคยกับความเหงา" (LONELINESS)
2567 "HARD MODE" LOMOSONIC6

ซิงเกิลอื่น ๆ[แก้]

  • "เมด อิน ไทยแลนด์" (ต้นฉบับ คาราบาว) (ประกอบซีรีส์ Carabao The Series)
  • "เจ้าตาก" (ต้นฉบับ คาราบาว) (ประกอบซีรีส์ Carabao The Series)
  • "สิ่งดีดี" (ต้นฉบับ Goose]) (ประกอบภาพยนตร์ Together วันที่รัก)
  • "เล่นของสูง" (ต้นฉบับ บิ๊กแอส)
  • "เพียงชายคนนี้ (ไม่ใช่ผู้วิเศษ)" (ต้นฉบับ เพชร โอสถานุเคราะห์) (ประกอบภาพยนตร์ ขุนแผน ฟ้าฟื้น)
  • "เธอไม่ได้เดียวดาย" (DEAR YOUTH,) (เพลงพิเศษแด่แฟนเพลง)
  • "นักโทษประหาร" (DEATH SENTENCE) (ต้นฉบับ จิรศักดิ์ ปานพุ่ม) (โปรเจกต์พิเศษ 40 ปีแกรมมี่ “ซนซน” นานที 40 ปีหน)

บี-ไซดส์[แก้]

"MERCHNDISC VOL.1" ออกจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2552 เป็น ดีที่ประกอบไปด้วย Tour diary และ Interview ความยาว 20 นาที และเพลงเดโมที่ไม่ได้บรรจุในอัลบั้มดอกไม้ไฟ 4 เพลง รวมถึงเพลงพิเศษที่ทางวงได้คัฟเวอร์เล่นในโอกาสต่าง ๆ วางขายเพียง 100 แผ่นในงาน FAT FESTIVAL ครั้งที่ 9

คอนเสิร์ต[แก้]

ผลงานอื่น ๆ[แก้]

  • เพลง "ต้องทำอย่างไรให้ลืมเธอ" ขับร้องโดย บอย อยู่ในอัลบั้ม Compilation ชื่อ Leisure Songs โดย Smallroom
  • เพลงโฆษณา "กระทิงแดง" ชุดรวม (เป้าหมายมีไว้พุ่งชน) เปิดช่วงฟุตบอลโลก 2010 ขับร้องโดย บอย
  • เพลง "เชื่อใจ" ความยาว 3 นาที ประกอบโฆษณา cockpit ขับร้องโดย บอย
  • เพลง 'ตัวประกัน' โดยศิลปิน Poobomb ในอัลบั้ม Smallroom007 'Boutuque' เนื้อร้อง ทำนอง เรียบเรียง อัดเครื่องดนตรีและเสียงร้องทั้งหมดโดย ป้อม โลโมโซนิค และ บู้ เสลอ
  • ป้อม ฉัตรชัย เคยสร้างผลงานมากมายในระหว่างศึกษาอยู่ระดับอุดมศึกษาแต่ที่เป็นที่จดจำและพูดถึงมากที่สุดก็คือเพลง ศึกษานารี และ วายร้าย ไวรัส

รางวัล[แก้]

ปี รางวัล สาขา เสนอชื่อเข้าชิง ผล
2552 แชนแนลวีไทยแลนด์ มิวสิกวิดีโอ อวอร์ด 2009 มิวสิกวิดีโอเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม ได้หรือไม่ได้ เสนอชื่อเข้าชิง
2565 TOTY Music Awards 2021[9] มิวสิควีดีโอแห่งปี ส่งเธอได้เท่านี้ (Goodbye) ชนะ

อ้างอิง[แก้]

  1. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ SoA+D (School of Architecture and Design)
  2. "lomosonic". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-13. สืบค้นเมื่อ 2014-10-29.
  3. แถลงการณ์จากมือเบส ทองเอก เรื่องลาออกจากวง lomosonic
  4. Lomosonic -- Facebook
  5. FongBeer WeRecords -- Facebook
  6. คำตัดสิน (HEARTBEAT) - LOMOSONIC【OFFICIAL MV】
  7. LOMOSONIC - เพราะความรักมันไม่เลือกเวลาเกิด【OFFICIAL LYRICS VIDEO】
  8. 'โลโมโซนิค'สังกัดสมอลล์รูม ปล่อยเพลงช้าซึ้ง'อยากจะรักแค่ไหน
  9. สุพัฒน์ ศิวะพรพันธ์ (March 1, 2022). "สรุปผลรางวัล TOTY Music Awards 2021 Tilly Birds คว้า 4 รางวัลใหญ่ 4EVE คว้ารางวัล Best Music of the Year และ Best Female Group". The Standard. สืบค้นเมื่อ March 1, 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]