คาโดกาวะคอร์ปอเรชั่น
![]() | |
ชื่อท้องถิ่น | 株式会社KADOKAWA |
---|---|
ชื่อโรมัน | บริษัทร่วมทุน (ญี่ปุ่น) KADOKAWA |
ชื่อเดิม | คาโดกาวะดวังโกะคอร์ปอเรชั่น (2557–2562) |
ประเภท | บริษัทจำกัด |
การซื้อขาย | TYO: 9468 |
อุตสาหกรรม | |
ก่อตั้ง |
|
ผู้ก่อตั้ง | เก็นโยชิ คาโดกาวะ (สำหรับสาขา คาโดกาวะโชเต็ง) |
สำนักงานใหญ่ | ฟูจิมิ, เขตชิโยดะ, โตเกียว |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
บุคลากรหลัก | ทาเคชิ นัตสึโนะ (ประธาน) |
รายได้ | ![]() |
รายได้จากการดำเนินงาน | ![]() |
สินทรัพย์ | ![]() |
พนักงาน | 5,349[1] |
เว็บไซต์ | group |

บริษัท คาโดกาวะคอร์ปอเรชั่น จํากัด (ญี่ปุ่น: Kadokawa Corporation; โรมาจิ: 株式会社KADOKAWA; ทับศัพท์: Kabushiki-gaisha Kadokawa) เดิมชื่อ คาโดกาวะดวังโกะคอร์ปอเรชั่น[2] เป็นกลุ่มบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ใน ฟูจิมิ, เขตชิโยดะ, โตเกียว
ก่อตั้งขึ้นจากการควบรวมกิจการระหว่างบริษัท คาโดกาวะคอร์ปอเรชั่น และ ดวังโกะ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557[3][4] บริษัทมีธุรกิจในด้านความบันเทิง (รวมถึงสตูดิโอผลิตอนิเมะและวิดีโอเกม) สิ่งพิมพ์ และอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงสินทรัพย์อื่นๆ
คาโดกาวะ เป็นสมาชิกของสมาคมภาพยนตร์แห่งประเทศญี่ปุ่น (MPPAJ) จึงเป็นหนึ่งในสตูดิโอภาพยนตร์ขนาดใหญ่สี่แห่งของญี่ปุ่นที่มีอายุน้อยที่สุด
ประวัติของบริษัท
[แก้]บริษัทโฮลดิ้งที่รู้จักในปัจจุบันในชื่อคาโดกาวะ คอร์ปอเรชั่น เดิมก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2488 ในชื่อ คาโดกาวะโชเต็ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ "ฟื้นฟูวัฒนธรรมญี่ปุ่นผ่านการตีพิมพ์" ในยุคหลังสงคราม[5] บริษัทได้ควบรวมกิจการกับบริษัท ดวังโกะ จำกัด เพื่อก่อตั้ง คาโดกาวะ ดวังโกะ ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 และกลายเป็นบริษัทย่อยของ คาโดกาวะ ดวังโกะ
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 บริษัท คาโดกาวะดวังโกะ ประกาศว่าบริษัท ดวังโกะ จะไม่เป็นบริษัทในเครืออีกต่อไป และจะกลายมาเป็นบริษัทในเครือโดยตรงของบริษัท คาโดกาวะคอร์ปอเรชั่น ในการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ ส่งผลให้บริษัท คาโดกาวะคอร์ปอเรชั่น กลายเป็นบริษัทในเครือเพียงแห่งเดียวของบริษัทโฮลดิ้ง คาโดกาวะดวังโกะ[6]
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 คาโดกาวะดวังโกะ ได้การปรับโครงสร้างบริษัทใหม่[7] โดยเหลือเพียงธุรกิจสิ่งพิมพ์ใน คาโดกาวะคอร์ปอเรชั่น และได้เปลี่ยนชื่อเป็น คาโดกาวะฟิวเจอร์พับลิชชิ่ง โดยที่ คาโดกาวะ ดวังโกะ เองได้กลายเป็น คาโดกาวะคอร์ปอเรชั่น รุ่นที่สองและเป็นบริษัทโฮลดิ้งของบริษัททั้งหมดในเครือคาโดกาวะ ซึ่งชื่อเดิมของ คาโดกาวะโชเต็ง ยังคงอยู่ในฐานะแบรนด์และแผนกหนึ่งของ คาโดกาวะฟิวเจอร์พับลิชชิ่ง
เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 คาโดกาวะ ประกาศว่าบริษัทได้เป็นพันธมิตรทางการเงินกับ โซนี่ และ ไซเบอร์เอเจนท์ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการสร้างและพัฒนา ซึ่งได้ทรัพย์สินทางปัญญาใหม่ๆ มาในบริษัท พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่แล้วให้สูงสุด ตามข้อตกลงนี้ ทั้งโซนี่และไซเบอร์เอเจนท์จะได้รับหุ้นในบริษัทคิดเป็น 1.93% ในบริษัท[8]
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 กาเกาเจแพน ได้เข้าซื้อหุ้น 8.3% ในคาโดกาวะ ทำให้กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดในขณะนั้น[9] เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2564 คาโดกาวะ ประกาศว่าได้เป็นพันธมิตรทางการเงินและธุรกิจกับเทนเซ็นต์ ซึ่งได้เข้าซื้อหุ้น 6.86% ในเครือบริษัทเป็นมูลค่า ¥30 พันล้านเยน ($264 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เป้าหมายก็เพื่อให้คาโดกาวะขยายการเข้าถึงระดับโลกโดยใช้แพลตฟอร์มของเทนเซ็นต์ โดยประเทศจีนซึ่งมีบริษัทการร่วมทุนกับเทนเซ็นต์อยู่แล้วถือเป็นเป้าหมาย[10]
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 คาโดกาวะ ประกาศว่าได้ร่วมเป็นหุ้นส่วนกับสำนักพิมพ์ ดูปุยส์ ของบริษัท เบลเยียมพับลิชชิ่ง เพื่อเข้าซื้อหุ้น 51% ในแบรนด์มังงะ เวก้าดูปุยส์ ของ ดูปุยส์ และได้เปิดธุรกิจร่วมกับ ดูปุยส์ ภายใต้ชื่อ เวก้า เอสเอเอส ซึ่งจะนำผลงานของคาโดกาวะเอง รวมถึงมังงะญี่ปุ่นและเกาหลีไปยังตลาดฝรั่งเศส โดย ดูปุยส์ จะคงถือหุ้น 49% ในแบรนด์ร่วมนี้[11][12]
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2567 บริษัทได้ประกาศว่าได้ซื้อสตูดิโออนิเมะ โดงาโกโบ[13]
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2567 มีการรายงานว่า โซนี่กรุ๊ปคอร์ปอเรชั่น กำลังเจรจาซื้อกิจการของ คาโดกาวะ ซึ่งก็เคยหารือเรื่องการเข้าซื้อกิจการของ คาโดกาวะ ทั้งหมด แต่มีความสนใจเฉพาะในสินทรัพย์ที่เกี่ยวกับอนิเมะและวิดีโอเกมเท่านั้น อย่างไรก็ตาม คาโดกาวะ ยืนยันว่า ข้อเสนอการซื้อกิจการต้องครอบคลุมทั้งบริษัท
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2567 โซนี่ ได้ประกาศ "ความร่วมมือทางทุนและธุรกิจเชิงกลยุทธ์" กับ คาโดกาวะ โดย โซนี่ ได้ซื้อหุ้น 12 ล้านหุ้นในราคา ¥50 พันล้านเยน ($320 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2568 ซึ่งทำให้ โซนี่ ถือหุ้น 10% และกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของคาโดกาวะ ภายใต้ข้อตกลงนี้ คาโดกาวะจะร่วมมือกับ โซนี่ ในโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาของคาโดกาวะ รวมถึงการผลิตอนิเมะร่วมกัน, การทําเป็นไลฟ์แอ็กชัน, และการขยายการจัดจำหน่าย
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 คาโดกาวะ ประกาศการควบรวมกิจการของบริษัท ดวังโกะ, บุ๊ควอล์คเกอร์ และคาโดกาวะคอนเนคเต็ด เข้าด้วยกันเป็นบริษัทเดียว โดยบริษัท ดวังโกะ จะเป็นบริษัทที่อยู่รอดจากการควบรวมกิจการครั้งนี้ ซึ่งการควบรวมกิจการครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมของบริษัทที่ควบรวม เช่น บุ๊ควอล์คเกอร์ ซึ่งจะยังคงดำเนินการภายใต้แบรนด์และการดำเนินงานเดิม แต่จะอยู่ภายใต้การบริหารของ ดวังโกะ
การจับกุมประธาน
[แก้]ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 ประธานคาโดกาวะ สึกุฮิโกะ คาโดกาวะ ซึ่งเป็นบุตรชายของผู้ก่อตั้ง เก็นโยชิ คาโดกาวะ ถูกจับกุมในการสอบสวนของตำรวจเกี่ยวกับการติดสินบน อัยการกล่าวว่าประธานคาโดกาวะอนุมัติการจ่ายเงิน ¥76 ล้านเยน (ปรับเป็นเงิน ¥69 ล้านเยนตามกฎหมายว่าด้วยอายุความของญี่ปุ่น) ให้กับบริษัทที่ปรึกษาที่มีความเชื่อมโยงกับอดีตผู้บริหารของคณะกรรมการจัดงานโอลิมปิกโตเกียวเพื่อแลกกับการให้เป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020และพาราลิมปิกฤดูร้อน 2020 คาโดกาวะปฏิเสธข้อกล่าวหา และบริษัทของเขาประกาศว่าจะให้ความร่วมมือในการสอบสวน ข้อกล่าวหานี้ทำให้เขาถูกอัยการฟ้องเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2565 และในวันต่อมา เขาก็ประกาศความตั้งใจที่จะลาออกจากตำแหน่งประธานบริษัทและเขาก็ยังคงปฏิเสธข้อกล่าวหาและยืนยันว่าจะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนในศาล[14]
การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ในปี พ.ศ. 2567
[แก้]เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2567 กลุ่มแฮกเกอร์ที่เรียกว่า BlackSuit ได้โจมตีด้วย แรนซัมแวร์ บนเว็บไซต์หลายแห่งที่เป็นของ คาโดกาวะ รวมถึงเว็บไซต์สตรีมมิ่งวิดีโอ นิโคนิโค ส่งผลให้บริการส่วนใหญ่ของเว็บไซต์ถูกระงับชั่วคราว และในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2567 กลุ่มแฮกเกอร์ได้แถลงการณ์บน ดาร์กเว็บ โดยอ้างว่าเป็นคนโจมตีในครั้งนี้ และขู่ว่าจะเปิดเผยข้อมูลที่ถูกขโมยไปเป็นจำนวน 1.5 เทระไบต์ ซึ่งรวมถึงข้อมูลของพันธมิตรทางธุรกิจและข้อมูลผู้ใช้ เว้นแต่จะจ่ายค่าไถ่ [15] [16]
บริษัทในเครือ
[แก้]บริษัท คาโดกาวะคอร์ปอเรชั่น ทำหน้าที่รวบรวมบริษัทในเครือของญี่ปุ่นหลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับ คาโดกาวะโชเต็ง ภายใต้ชื่อเครือบริษัทที่เรียกว่า คาโดกาวะกรุ๊ป[17] บริษัทมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่ บริษัทสำนักพิมพ์, บริษัทภาพยนตร์และภาพ และบริษัทสื่อผสม สำนักพิมพ์ส่วนใหญ่จะจำหน่ายหนังสือ, นิตยสารบุงโกบง, มังงะ, และนิตยสารสื่อภาพ[18] บริษัทภาพยนตร์และสื่อภาพจะดูแลภาพยนตร์ญี่ปุ่น, การจำหน่ายดีวีดีภาพยนตร์ต่างประเทศ และอนิเมะ[19] บริษัทสื่อผสมจะจำหน่ายเนื้อหาดิจิทัล, นิตยสารข้อมูลรายการโทรทัศน์ รวมไปถึงการถ่ายทอดข้อมูลที่ผสมผสานระหว่างสื่อกระดาษ อินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ[20] และมีธุรกิจอื่นๆ เช่น ดูแลเกี่ยวกับวิดีโอเกม, การเช่าที่ดิน, รวมถึงบริษัทตัวแทนโฆษณา ทั้งหมดนี้ทำให้เครือคาโดกาวะเป็นบริษัทที่หลากหลายและมีการขยายธุรกิจในหลายภาคส่วน[21]
อดีตบริษัทย่อย
[แก้]- อัสมิกเอซ
- Daihyakka News: ควบรวมเข้ากับดวังโกะในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562
- คาโดกาวะเอนเตอร์เทนเมนต์: เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 คาโดกาวะเอนเตอร์เทนเมนต์ ได้ควบรวมกิจการเข้ากับ คาโดกาวะพิคเจอร์ส
- คาโดกาวะกรุ๊ปพับลิชชิ่ง: เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 คาโดกาวะกรุ๊ปพับลิชชิ่งได้ควบรวมกิจการเข้ากับ คาโดกาวะกรุ๊ปโฮลดิ้งส์
- คาโดกาวะเกมส์: ในเดือนพฤษภาคมปี พ.ศ. 2565 คาโดกาวะเกมส์ได้ขายธุรกิจของตนให้กับบริษัทแยกชื่อ ดรากามิเกมส์ ซึ่งรวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทด้วย[22]
- คาโดกาวะ เจ:คอม มีเดีย: ก่อตั้งในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 โดยเป็นการร่วมทุนระหว่าง คาโดกาวะโชเต็ง และ เจ:คอม[23] และถูกยุบในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553
- โซเน็ตคาโดกาวะลิงค์: ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2550 โดยมี โซเน็ตเอนเตอร์เทนเมนต์ (43.5%), คาโดกาวะโมบาย (43.5%) และ เดนท์สุอีลิ้งค์[24] (13.0%).[25]
- คาโดกาวะโมบายแอนด์มูฟวี่เกต: ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 คาโดกาวะโมบายได้ควบรวมกิจการกับ มูฟวี่เกต เพื่อก่อตั้งเป็น คาโดกาวะคอนเทนต์เกต[26]
- คาโดกาวะโปรดักชั่น: เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 บริษัทได้ถูกยุบและรวมเข้ากับ คาโดกาวะคอร์ปอเรชั่น
- เมจส์: เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เมจส์ ถูกซื้อโดย ชิโยมารุ สตูดิโอ ซึ่งเป็นบริษัทแนวคิดและลิขสิทธิ์ซึ่งมี CEO ของ เมจส์ เป็นผู้นำเช่นกัน[27]
- มีเดียลีฟส์: ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553 มีเดียลีฟส์ ได้ควบรวมกิจการเข้ากับ เอ็นเตอร์เบรน[28]
- เอ็นทีทีไพรม์สแควร์: ในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 แฟนเซอร์วิส ได้ยุติการร่วมทุนกับ เอ็นทีที
- ซารูกาคุโช: กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของ คาโดกาวะกรุ๊ปโฮลดิ้ง ภายใต้ เอ็นเตอร์เบรน ในช่วงที่บริษัทเข้าซื้อกิจการ แอสกี เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553 โพลทูวิน ประกาศว่าได้เข้าซื้อกิจการ ซารูกาคุโช แล้ว[29]
- สตูดิโอไลด์: ปิดตัวลงในเดือนเมษายน พ.ศ. 2562
- เวิร์ดส์เกียร์: เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2549 พานาโซนิค ได้ประกาศจัดตั้ง เวิร์ดส์เกียร์ ร่วมกับ คาโดกาวะโมบาย และ โตเกียวบรอดคาสติ้งซิสเต็ม โดยจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2549[30] เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553 คาโดกาวะกรุ๊ปโฮลดิ้ง ประกาศว่าจะควบรวม เวิร์ดส์เกียร์ เข้ากับ คาโดกาวะคอนเทนต์เกต โดยจะเริ่มมีผลในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป[31]
ดูเพิ่ม
[แก้]- แอสกีมีเดียเวิร์กส – แยกตัวออกมาจาก คาโดกาวะ แต่กลับมาเป็นบริษัทในเครือของ คาโดกาวะ อีกครั้ง
- ดี.ลีก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "KADOKAWA Integrated Report 2022". group.kadokawa.co.jp (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 27, 2023. สืบค้นเมื่อ April 27, 2023.
- ↑ カドカワ株式会社 Kadokawa Kabushiki-gaisha, จนถึงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 株式会社KADOKAWA・DWANGO
- ↑ "Dwango to merge with Kadokawa". The Japan Times. May 14, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 6, 2015. สืบค้นเมื่อ April 13, 2015.
- ↑ "Publisher Kadokawa, Internet firm Dwango complete merger". The Japan Times. October 1, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 5, 2019. สืบค้นเมื่อ April 13, 2015.
- ↑ "Kadokawa Corporation: Corporation History".[ลิงก์เสีย]
- ↑ Ressler, Karen. "Nobuo Kawakami Steps Down as Kadokawa Dwango President". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 16, 2019. สืบค้นเมื่อ February 16, 2019.
- ↑ "会社分割(簡易吸収分割)の実施、商号変更及び定款一部変更、並びに代表取締役及び役員の異動に関するお知らせ" (PDF). E-IR (ภาษาญี่ปุ่น). Pronexus Inc. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ May 14, 2019. สืบค้นเมื่อ May 14, 2019.
- ↑ Mateo, Alex (February 5, 2021). "Kadokawa Corporation Forms Capital Alliance with CyberAgent, Sony". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 5, 2021. สืบค้นเมื่อ February 5, 2021.
- ↑ Kim, Joo-wan; Cha, Jun-ho; Koo, Min-ki (August 17, 2021). "Kakao Group's past, present and future as conglomerate". The Korea Economic Daily. สืบค้นเมื่อ November 24, 2024.
- ↑ "Notice Concerning Strategic Alliance with Tencent Group" (PDF). Kadokawa Corporation. October 29, 2021. สืบค้นเมื่อ July 30, 2022.
- ↑ "KADOKAWA forms French Joint Venture with Dupuis of European Média-Participations Group". Kadokawa. January 25, 2024. สืบค้นเมื่อ December 18, 2024.
- ↑ Hazra, Adriana (February 3, 2024). "Kadokawa Launches Joint Venture Business With French Publisher Dupuis". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ December 18, 2024.
- ↑ Hodgkins, Crystalyn (July 11, 2024). "Kadokawa Acquires Anime Studio Doga Kobo". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ July 11, 2024.
- ↑ "เกมจบ คดียังไม่จบ: จับเพิ่มประธานบริษัท 'Kadokawa' จากการขยายผลคดีติดสินบนโอลิมปิกโตเกียว | The Opener". theopener.co.th (ภาษาอังกฤษ). 2022-09-15. สืบค้นเมื่อ 2025-03-27.
- ↑ Jiji (3 July 2024). "Hackers behind Kadokawa cyberattack claim new info leak". The Japan Times (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 3, 2024. สืบค้นเมื่อ 3 July 2024.
- ↑ Sudo, Tatsuya (July 2, 2024). "More Kadokawa data leaked as deadline for ransom passes". The Asahi Shimbun. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 3, 2024. สืบค้นเมื่อ 3 July 2024.
- ↑ "KADOKAWA Corporation" グループ会社一覧 [Group Company Summary] (ภาษาญี่ปุ่น). Kadokawa Group Holdings. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2021. สืบค้นเมื่อ November 10, 2013.
- ↑ "Publishing businesses under Kadokawa Group Holdings". Kadokawa Group Holdings. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 1, 2012. สืบค้นเมื่อ November 21, 2009.
- ↑ "Movie/Visual businesses under Kadokawa Group Holdings". Kadokawa Group Holdings. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 10, 2013. สืบค้นเมื่อ November 21, 2009.
- ↑ "Cross media businesses under Kadokawa Group Holdings". Kadokawa Group Holdings. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 17, 2010. สืบค้นเมื่อ November 21, 2009.
- ↑ "Other businesses under Kadokawa Group Holdings". Kadokawa Group Holdings. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 17, 2010. สืบค้นเมื่อ November 21, 2009.
- ↑ "Kadokawa Games to divest part of its business to Dragami Games, a new company established by Yoshimi Yasuda". Gematsu (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-05-26. สืบค้นเมื่อ 2023-07-31.
- ↑ "角川ジェイコム・メディア 「J:COM Walker」創刊 J:COM さいたま、J:COM 相模原・大和 各サービスエリアで8 月に発行" (ภาษาญี่ปุ่น). PR Times. June 14, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2015. สืบค้นเมื่อ April 11, 2012.
- ↑ インターネット分野専門の広告会社「電通イー・リンク」を設立 (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Cyber Communications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 13, 2011. สืบค้นเมื่อ April 11, 2012.
- ↑ -「地域情報映像」×「ネット地域広告」×「ネット対応機器」- 「株式会社ソネット・カドカワ・リンク」を3 社共同で設立 ~高品質映像で嗜好に適した情報と出会える『地域情報探訪サイト』を構築~ (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). So-net Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ April 12, 2013. สืบค้นเมื่อ April 11, 2012.
- ↑ 連結子会社 角川モバイルとムービーゲートの合併に関して (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Kadokawa Group Holdings. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ January 3, 2011. สืบค้นเมื่อ April 11, 2012.
- ↑ Romano, Sal (July 26, 2019). "Mages goes independent from Kadokawa Group, 5pb. to consolidate into Mages". Gematsu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2020. สืบค้นเมื่อ July 26, 2019.
- ↑ "MediaLeaves, Inc. announcement" (ภาษาญี่ปุ่น). MediaLeaves. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 28, 2010. สืบค้นเมื่อ April 11, 2012.
- ↑ 株式会社猿楽庁の株式取得(子会社化)に関するお知らせ (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Pole To Win. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 19, 2013. สืบค้นเมื่อ April 11, 2012.
- ↑ "角川・松下電器・TBS 3社が電子書籍事業会社 「ワーズギア株式会社」設立で合意 ~読書端末とコンテンツを提供~" (ภาษาญี่ปุ่น). Panasonic. สืบค้นเมื่อ April 11, 2012.[ลิงก์เสีย]
- ↑ グループ企業再編による 映像・雑誌・デジタル事業の強化について (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Kadokawa Group Holdings. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ August 29, 2011. สืบค้นเมื่อ April 11, 2012.