จอห์น วู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก John Woo)
จอห์น วู
  • อู๋ อี่ว์เซิน
จอห์น วู ในงาน เทศกาลภาพยนตร์กาน 2005
เกิด (1946-05-01) 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1946 (77 ปี)
กว่างโจว, มณฑลกวางตุ้ง, สาธารณรัฐจีน
สัญชาติฮ่องกง
อาชีพผู้ผลิตภาพยนตร์
คู่สมรสแอนนี่ วู (สมรส 1976)
บุตรวู เชิง-ฟุง (ลูกสาว)
แองเจลิส วู (ลูกสาว)
วู ยี-ฟุง (ลูกชาย)
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม
อักษรจีนตัวย่อ
ลายมือชื่อ

จอห์น วู (อังกฤษ: John Woo, จีน: 吳宇森, พินอิน: Wú Yǔsēn) ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฮ่องกงที่ไปมีผลงานในฮอลลีวูดและมีชื่อเสียงในระดับโลก เกิดเมื่อวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 1946เมืองกว่างโจว ประเทศจีน มีชื่อในภาษาจีนว่า อู๋ อี่ว์เซิน ในช่วงวัยเด็กครอบครัวของเขามีปัญหาทางการเมืองของจีนอยู่มาก จึงทำให้ต้องเขามาอาศัยในฮ่องกงในปี ค.ศ. 1953 ต่อมาพ่อของเขาก็ล้มป่วย ไม่สามารถหาเลี้ยงชีพให้กับครอบครัวได้ ทำให้เขาต้องพึ่งเงินจากทางโบสถ์เพื่อใช้เรียนหนังสือ

ภาพยนตร์[แก้]

หลังจากพ่อของเขาเสีย จอห์นเริ่มสนใจงานภาพยนตร์เป็นอย่างมาก แต่ในขณะนั้นฮ่องกงยังไม่มีสถาบันสอนการผลิตภาพยนตร์เลย ทำให้เขาต้องทำงานในส่วนของการเป็นเด็กในกองถ่ายภาพยนตร์ เขาเริ่มทำงานให้กับบริษัทภาพยนตร์ที่ คาเธ่ต์ สตูติโอ และเขาก็ย้ายมาทำงานที่ ชอว์ บราเดอร์ส โดยทำงานเป็นผู้ช่วยผู้กำกับให้กับ จางเชอะ โดยงานภาพยนตร์ของเขา ล้วนได้รับแรงบันดาลใจมากจากจางเชอะด้วย จอห์นเริ่มมีผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกคือ The Dragon Tamers (1975) และ The Young Dragons (1975) เป็นภาพยนตร์กังฟูโบราณปนดราม่า Hand of Death (1976) แต่เรื่อง Last Hurrah for Chivalry (1979) กลับไม่ประสบความสำเร็จเลย

ในช่วงต้นทศวรรษที่ 80 จอห์นหันมาทำภาพยนตร์แนวตลกเป็นส่วนใหญ่ โดยมีเรื่อง From Riches to Rags (1980) Laughing Times (1981) Plain Jane to the Rescue (1982) และ To Hell with the Devil (1982) แต่ทุกเรื่องก็ประสบความสำเร็จพอสมควร จนช่วงหลังจากนั้น เขาก็อยู่ในช่วงวิกฤติของชีวิต เพราะผลงานเริ่มไม่ประสบความสำเร็จอีกครั้ง ทั้ง The Time You Need a Friend (1985) และ Heroes Shed No Tears (1986) (เปลี่ยนชื่อมาจาก Suset Warriors)

ผ่านวิกฤติ[แก้]

การแจ้งเกิดครั้งใหม่ของเขาเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1986 โดยการช่วยเหลือของ ฉีเคอะ โดยเขามอบหมายงานกำกับเรื่อง A Better Tomorrow (1986) หรือ โหด เลว ดี ซึ่งเป็นภาพยนตร์ในแนวแอ็คชั่นแก็งค์สเตอร์ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยกวาดรายได้ทั่วฮ่องกง และสามารถคว้ารางวัลม้าทองคำ (ตุ๊กตาทองฮ่องกง) มาถึง 5 รางวัล รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากนั้นเขาก็มีผลงานท๊อปฟอร์มหลายเรื่องด้วยกัน เช่น A Better Tomorrow II (1987), Just Heroes (1989) และโดยเฉพาะ The Killer (1989) ประสบความสำเร็จอย่างสูงทั้งในเอเชียและต่างประเทศ โดยนักวิจารณ์ทั่วโลก ต่างกล่าวกันว่าเป็นผลงานที่มีความเป็นตัวตนของเขามากที่สุด

จากนั้นช่วงทศวรรษที่ 90 เขาก็ยังประสบความสำเร็จอยู่มาก กับเรื่อง Bullet in the Head (1990), Once a Thief (1991) และ Hard Boiled (1992) ซึ่งเรื่องหลังนั้น เป็นภาพยนตร์ฮ่องกงเรื่องสุดท้ายที่เขากำกับ

ฮอลลีวูด[แก้]

จอห์นได้รับคำเชิญจาก ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ ให้มากำกับภาพยนตร์อเมริกันเรื่องแรกคือ Hard Target (1993) ทุนสร้าง 15 ล้านเหรียญ นำแสดงโดย ฌอง-คล็อด แวน แดมม์ โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ ประสบปัญหาของการจัดเรตที่อเมริกาเป็นอย่างมาก ทำให้จอห์นต้องลดความรุนแรงในเรื่องออกเป็นอย่างมาก ผลก็คือ ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จพอสมควร

จากนั้นอีก 3 ปี จอห์นก็ท๊อปฟอร์มกับหนังแอ็คชั่นทางทหารเรื่อง Broken Arrow (1996) ทุนสร้าง 65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสามารถขึ้นอันดับหนึ่งในบ็อกซ์ออฟฟิส และกวาดรายได้ในอเมริกาถึง 70.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 150.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากทั่วโลก

ปี 1997 จอห์นประสบความสำเร็จอย่างสูงกับภาพยนตร์แอ็คชั่น-ทริลเลอร์เรื่อง Face/Off (1997) ทุนสร้าง 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หนังประสบความสำเร็จอย่างสูง สามารถกวาดรายได้ในอเมริกาไปกว่า 112.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 245.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากทั่วโลก แถมนักวิจารณ์ยังกล่าวว่าเป็นภาพยนตร์อเมริกาที่มีความเป็นตัวตนของจอห์นที่สุด

ปี 2000 จอห์นก็มาคุมหน้าที่กำกับภาพยนตร์สายลับภาคต่อของ Mission Impossible ในเรื่อง Mission: Impossible 2 (2000) ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จอย่างสูงอีกครั้ง ทำให้ชื่อของเขา กลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกมากขึ้นกว่าเดิม แต่เขาต้องมาสะดุดกับภาพยนตร์สงครามโลกครั้งที่สองทุนสูงเรื่อง Windtalkers (2002) นำแสดงโดย นิโคลัส เคจ และภาพยนตร์ไซไฟ-แอ็คชั่น Paycheck (2003) ที่สร้างจากนวนิยายของ ฟิลิป เค. ดิก โดยเรื่องทั้งสองไม่ค่อยประสบความสำเร็จทั้งในอเมริกและทั่วโลก ทำให้จอห์น เว้นจากงานภาพยนตร์ในฮอลลีวูดจนถึงทุกวันนี้

สามก๊ก[แก้]

Red Cliff (2008) คือผลงานมหากาพย์สงครามเรื่องล่าสุดของจอห์น นับว่าเป็นภาพยนตร์จีนเรื่องแรกของเขาในรอบ 15 ปีที่เขาไปทำหนังอเมริกา นำแสดงโดย เหลียงเฉาเหว่ย, ทาเคชิ คาเนชิโร, จางฟงอี้, จางเจิ้น, เจ้าเวย, ฮูจุน, หยูหยง โดยมีทุนสร้างกว่า 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยจอห์นทำหน้าที่ทั้ง กำกับ, เขียนบท และอำนวยการสร้าง โดยสร้างจากวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ซึ่งได้ยกเอาเหตุการณ์สำคัญๆในเรื่อง คือ ศึกผาแดง มาถ่ายทอดโดยแบ่งออกฉายเป็นสองภาค

ภาคแรกเปิดฉายพร้อมกันทั่วเอเชียในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 โดยสามารถเปิดตัวขึ้นอันดับหนึ่งบ็อกซ์ออฟฟิส ทั้งในจีน, ฮ่องกง และไต้หวัน แต่ที่ประเทศไทยถือว่าไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก

รายได้ของทั้ง 2 ภาครวมทั้งสิ้น 248.4 ล้านดอลลาร์

งานอื่นๆ[แก้]

จอห์นมีผลงานทางโทรทัศน์ในอเมริกาอยู่หลายเรื่อง เริ่มตั้งแต่ซีรีส์โทรทัศน์เรื่อง Once a Thief (1996 - 1997) โดยสร้างจากภาพยนตร์ฮ่องกงของจอห์นในชื่อเดียวกัน ว่าเรื่องราวของกลุ่มนักโจรกรรม 3 คนที่ต้องไปทำภารกิจของในแต่ละตอน อีกเรื่องคือ Blackjack (1998) นำแสดงโดย ดอล์ฟ ลันท์เกรน ว่าด้วยเรื่องของบอดี้การ์ดที่มีความผิดปกติทางสายตา ได้รับมองหมายให้คุ้มกันนางแบบสาวคนนึง ที่ถูกคุกคามโดยฆาตกรโรคจิต และ The Robinsons: Lost in Space (2004) เป็นเรื่องราวการผจญภัยอวกาศของครอบครัวโรบินสัน

ปี 1998 จอห์นได้กำกับภาพยนตร์โฆษณาให้กับสินค้า ไนกี้ สองครั้งคือ Futebol Airport และ Good VS Evil นำแสดงโดยนักฟุตบอลทีมชาติบราซิล

ปี 2002 จอห์นมีส่วนร่วมในภาพยนตร์สั้นของบีเอ็มดับเบิลยู เรื่อง The Hire (2002) โดยกำกับตอนที่ชื่อว่า Hostage นำแสดงโดย ไคลฟ์ โอเวน

ปี 2005 จอห์นมีส่วนร่วมในโปรเจกต์ภาพยนตร์สั้นเรื่อง All the Invisible Children (2005) โดยเป็น 1 ใน 7 ผู้กำกับที่มากำกับภาพยนตร์สั้นโดยมีเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กหลากหลายประเทศ ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากโครงการยูนิเซฟ และ WFP 2 ซึ่งจอห์นกำกับในตอนที่มีชื่อว่า Song Song & Little Cat โดยเปิดฉายครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส เมื่อเดือนกันยายน ปี 2005

ปี 2007 จอห์นมีผลงานอำนวยการสร้างและกำกับ ซึ่งมีทั้งผลงานเกมที่ชื่อว่า Stranglehold (VG) (2007) โดยดึงเอาคาแรคเตอร์ของดาราคู่บุญอย่าง โจวเหวินฟะ มาเป็นตัวละครหลักในเกม ซึ่งวางจำหน่ายทั้งเครื่องเพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360 และเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี จากนั้นจอห์นก็มีงานสร้างนิยายภาพแนวแอ๊คชั่นโดยใช้ชื่อว่า John Woo's 7 Brothers (2006 - 2007) ของสำนักพิมพ์เวอร์จิน คอมิคส์ ฉบับ ลิมิเต็ด ซีรีส์ โดยออกในรูปแบบ Director's Cut และมีเล่มสองในชื่อว่า John Woo's 7 Brothers II (2007) และอำนวยการสร้างแอนิเมชันญี่ปุ่นเรื่อง Appleseed Saga: Ex Machina (2007) ของชินจิ อาระมากิ โดยดัดแปลงจากหนังสือการ์ตูนของ ชิโร ซามูเนะ โดยจัดจำหน่ายในรูปแบบ ดีวีดีและบลูเรย์ และภาพยนตร์แอ๊คชั่น - แก๊งค์สเตอร์เรื่อง Blood Brothers (2007) โดยรีเมคจาก Bullet in the Head ของจอห์นเอง

ผลงาน[แก้]

ภาพยนตร์[แก้]

ปี ชื่อ ตำแหน่ง หมายเหตุ
ผู้กำกับ เขียนบท ผู้อำนวยการสร้าง
1968 เดด นอต ใช่ ใช่ ไม่
เอาแรน ใช่ ไม่ ไม่
1974 เดอะ ยัง ดราก้อนส์ ใช่ ใช่ ไม่
1975 เดอะ ดราก้อน เทมเมอร์ส ใช่ ใช่ ไม่
1976 พริ้นเซส ช้าง ปิง ใช่ ใช่ ไม่
แฮนด์ ออฟ เดท: หนุ่มแต้จิ๋วถล่มยุทธจักร ใช่ ใช่ ไม่
1977 มันนี่ เครซี่ ใช่ ใช่ ไม่
1978 เฮลโล, เลท โฮมคัมคัมเมอร์ส ใช่ ใช่ ไม่
ฟอลโล่ เดอะ สตาร์ ใช่ ไม่ ไม่
1979 กระบี่ไร้เทียมทาน ตอนผู้กล้าหาญ ใช่ ใช่ ไม่
1980 ฟอร์ม ริสชีส ทู เรจส์ ใช่ ไม่ ไม่
1981 ทู เฮลล์ วิท เดอะ เดวิล ใช่ ใช่ ไม่
ลาฟฟิง ไทม์ส: ซือแป๋ แซ่ตลก ใช่ ใช่ ไม่
1982 เพลน เจน ทู เดอะ เรสคิว ใช่ ไม่ ไม่
1984 เดอะ ไทม์ ยู นีด อะ เฟรนด์ ใช่ ใช่ ใช่
1985 รัน, ไทเกอร์, รัน ใช่ ไม่ ใช่
1986 ฮีโรส์ เชด โน เทียร์ส: บ่งเหี้ยมด้วยเหี้ยม ใช่ ใช่ ใช่
อะ เบทเทอร์ ทูมอร์โรว์: โหด เลว ดี ใช่ ใช่ ใช่ เป็นนักแสดงด้วย
1987 อะ เบทเทอร์ ทูมอร์โรว์: โหด เลว ดี 2 ใช่ ใช่ ไม่
1989 เดอะ คิลเลอร์: โหดตัดโหด ใช่ ใช่ ไม่
จัส ฮีโรส์: โหดแตกเหลี่ยม ใช่ ไม่ ไม่
อะ เบทเทอร์ ทูมอร์โรว์: โหด เลว ดี 3 ไม่ ไม่ ใช่
1990 กอดคอกันไว้ อย่าให้ใครเจาะกะโหลก ใช่ ใช่ ใช่
1991 วันซ์ อะ ธีฟ: ตีแสกตะวัน ใช่ ใช่ ไม่
1992 ฮาร์ด บอลด์: ทะลักจุดแตก ใช่ ใช่ ไม่
1993 ฮาร์ด ทาร์เก็ต: คนแกร่งทะลวงเดี่ยว ใช่ ไม่ ไม่
1995 พีส โฮเทล: ฅน พ.ศ.ไหน ไม่ ไม่ ใช่
1996 โบรกเคน แอร์โรว์: คู่มหากาฬ หั่นนรก ใช่ ไม่ ไม่
ซัมบอดี้ อัพ แธร์ ไลน์ส มี: เคน...บูรพาไม่แพ้ ไม่ ไม่ ใช่
1997 เฟซ/ออฟ: สลับหน้าล่าล้างนรก ใช่ ไม่ ไม่
1998 เดอะ รีเพลสเม้นท์ คิลเลอส์: นักฆ่ากระสุนโลกันต์ ไม่ ไม่ ฝ่ายบริหาร ออกแบบท่าฉากแอ็คชั่นด้วย
เดอะ บิ๊ก ฮิท: 4 โหด โคตรอันตราย ไม่ ไม่ ใช่
2000 มิชชั่น:อิมพอสซิเบิ้ล ฝ่าปฏิบัติการสะท้านโลก 2 ใช่ ไม่ ไม่
2002 วินด์ทอร์คเกอร์ส: สมรภูมิมหากาฬ โค้ดสะท้านนรก ใช่ ไม่ ใช่
โฮสเตส ใช่ ไม่ ไม่ หนังสั้นของ บีเอ็มดับเบิลยู เรื่อง เดอะ ไฮร
2003 เพย์เช็ค: แกะรอยอดีต ล่าปมปริศนา ใช่ ไม่ ใช่
บูลลิทพรูฟ มังค์: คัมภีร์หยุดกระสุน ไม่ ไม่ ใช่
2005 เดอะ กลาส บีดส์ ไม่ ไม่ ใช่ ภาพยนตร์สั้น
2007 บลัด บราเธอร์ส: เซี่ยงไฮ้...คนโหด...เมืองเดือด ไม่ ไม่ ใช่
คนจักรกลสงคราม ล้างพันธุ์อนาคต ไม่ ไม่ ใช่
2008 สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ ภาค 1 ใช่ ใช่ ใช่
2009 สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ ภาค 2 ใช่ ใช่ ใช่
2010 เรน ออฟ อัสแซสซินส์: นักฆ่าดาบเทวดา ใช่ ไม่ ใช่ กำกับร่วมกับ ซู เจ้า-ปิน
2011 วอร์ริเออร์ส ออฟ เดอะ เรนโบว์: ซีดิก เบล ไม่ ไม่ ใช่
2014 เดอะ ครอสซิ่ง ภาค 1 ใช่ ไม่ ใช่
2015 เดอะ ครอสซิ่ง ภาค 2 ใช่ ไม่ ใช่
2017 แมนฮันท์ ใช่ ไม่ ไม่

โทรทัศน์[แก้]

ปี ชื่อ ผู้กำกับ ผู้อำนวยการสร้าง
ฝ่ายบริหาร
หมายเหตุ
1996 Once a Thief ใช่ ใช่ ภาพยนตร์โทรทัศน์
1997–1998 Once a Thief ไม่ ใช่
1998 Blackjack ใช่ ใช่ ภาพยนตร์โทรทัศน์
2002 Red Skies ไม่ ใช่

ผลตอบรับ[แก้]

ผลตอบรับ ทั้งคำวิจารณ์และรายได้ จากการกำกับภาพยนตร์ทั้งหมด 15 เรื่องของ จอห์น วู

ชื่อ รอตเทนโทเมโทส์[1] เมทาคริติก[2] ซีเนม่าสกอร์[3] ทุนสร้าง รายได้ทั่วโลก
กระบี่ไร้เทียมทาน ตอนผู้กล้าหาญ 100% (6.81/10) (5 รีวิว)
อะ เบทเทอร์ ทูมอร์โรว์: โหด เลว ดี 2 80% (6.46/10) (5 รีวิว)
เดอะ คิลเลอร์: โหดตัดโหด 98% (8.72/10) (40 รีวิว) 82 (19 รีวิว)
กอดคอกันไว้ อย่าให้ใครเจาะกะโหลก 100% (8.4/10) (6 รีวิว)
วันซ์ อะ ธีฟ: ตีแสกตะวัน 60% (6.46/10) (5 รีวิว)
ฮาร์ด บอลด์: ทะลักจุดแตก 94% (7.79/10) (35 รีวิว) $4,500,000 $2,500,000
ฮาร์ด ทาร์เก็ต: คนแกร่งทะลวงเดี่ยว 53% (5.3/10) (32 รีวิว) B $19,500,000 $74,189,677
โบรกเคน แอร์โรว์: คู่มหากาฬ หั่นนรก 53% (5.77/10) (32 รีวิว) 61 (21 รีวิว) B+ $50,000,000 $150,270,147
เฟซ/ออฟ: สลับหน้าล่าล้างนรก 92% (7.9/10) (86 รีวิว) 82 (25 รีวิว) $80,000,000 $245,676,146
มิชชั่น:อิมพอสซิเบิ้ล ฝ่าปฏิบัติการสะท้านโลก 2 57% (5.96/10) (148 รีวิว) 59 (40 รีวิว) A– $125,000,000 $546,388,108
วินด์ทอร์คเกอร์ส: สมรภูมิมหากาฬ โค้ดสะท้านนรก 32% (5.15/10) (168 รีวิว) 51 (35 รีวิว) B+ $115,000,000 $77,628,265
เพย์เช็ค: แกะรอยอดีต ล่าปมปริศนา 27% (4.7/10) (156 รีวิว) 43 (34 รีวิว) B– $60,000,000 $96,269,812
สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ ภาค 1 และ 2 91% (7.23/10) (116 รีวิว) 73 (22 รีวิว) $80,000,000 $250,142,692
เรน ออฟ อัสแซสซินส์: นักฆ่าดาบเทวดา 70% (5.75/10) (10 รีวิว) $14,000,000 $13,388,204
แมนฮันท์ 68% (6.21/10) (28 รีวิว) 68 (14 รีวิว) $50,000,000 $18,339,343
เฉลี่ย และ รวม 72% (6.57/10) 65 B+ $598 ล้าน $1,474,792,394

0–59% คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ไม่ชอบ 60–74% คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ชอบ 75–100% คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ชอบมาก

สีแดง 0–19 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ไม่ชอบเลย 20–39 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ไม่ชอบ สีส้ม 40–60 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ให้ปานกลาง สีเขียว 61–80 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ชอบ 81–100 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ชอบมาก

N/A ไม่ปรากฏ, หาข้อมูลไม่ได้

$ ดอลลาร์สหรัฐ

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  1. "จอห์น วู". รอตเทนโทเมโทส์. สืบค้นเมื่อ 24 November 2017.
  2. "จอห์น วู". เมทาคริติก. สืบค้นเมื่อ 24 November 2017.
  3. "ซีเนม่าสกอร์". cinemascore.com. สืบค้นเมื่อ 24 November 2017.