สนามกีฬาจาลันเบอซาร์

พิกัด: 1°18′36″N 103°51′37″E / 1.310016°N 103.860347°E / 1.310016; 103.860347
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Jalan Besar Stadium)
สนามกีฬาจาลันเบอซาร์
แผนที่
ที่ตั้งกัลลัง ประเทศสิงคโปร์
พิกัด1°18′36″N 103°51′37″E / 1.310016°N 103.860347°E / 1.310016; 103.860347
เจ้าของการกีฬาสิงคโปร์
ผู้ดำเนินการการกีฬาสิงคโปร์
ความจุ6,000 ที่นั่ง
พื้นผิวหญ้าเทียม
ป้ายแสดงคะแนนมี
การก่อสร้าง
เปิดใช้สนามพ.ศ. 2475
ปรับปรุงพ.ศ. 2542–2546
การใช้งาน
ฟุตบอลทีมชาติสิงคโปร์ (พ.ศ. 2475–)
ยังไลออนส์ (พ.ศ. 2546–)
ฮูกังยูไนเต็ด (พ.ศ. 2562–)
ไลออนส์ทเวลฟ์ (พ.ศ. 2554–2558)

สนามกีฬาจาลันเบอซาร์ (มลายู: Stadium Jalan Besar; อังกฤษ: Jalan Besar Stadium; จีน: 惹兰勿刹体育场; ทมิฬ: ஜாலான் புசார் ஸ்டேடியம்) เป็นสนามฟุตบอลความจุ 6,000 ที่นั่ง ตั้งอยู่ในกัลลัง ประเทศสิงคโปร์ โดยสนามแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์กีฬาและนันทนาการจาลันเบอซาร์ ซึ่งรวมไปถึงสนามกีฬาและสนามว่ายน้ำ โดยปัจจุบันเป็นสนามเหย้าของยังไลออนส์และฮูกังยูไนเต็ด

สนามนี้เคยใช้เป็นสนามเหย้าหลักของทีมชาติสิงคโปร์ ในขณะที่สนามกีฬาแห่งชาติสิงคโปร์ กำลังก่อสร้าง และอาจจะใช้สนามนี้เป็นสนามแข่งขันในบางนัดด้วย

สนามกีฬาจาลันเบอซาร์ตั้งอยู่บนถนนทีริต (Tyrwhitt) ใกล้กับถนนจาลันเบอซาร์ซึ่งเป็นที่มาของชื่อสนาม

ประวัติ[แก้]

สนามเปิดครั้งแรกในวันเปิดกล่องของขวัญ เมื่อ พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929)[1] และคาดว่าจึงเป็นที่มาของสันสถาปนาฟุตบอลสิงคโปร์ โดยการแข่งขันมาลายาคัพ ได้จัดที่สนามแห่งนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 จนถึง พ.ศ. 2509 และการแข่งขันมาเลเซียคัพตั้งแต่ พ.ศ. 2510 จนถึง พ.ศ. 2516

ช่วงระหว่างการยึดครองดินแดนสิงคโปร์จากญี่ปุ่น สนามนี้เป็นหนึ่งในเหตุการณ์การสังหารหมู่ซู่ชิง โดยระหว่างสงคราม สนามแห่งนี้ใช้เป็นศูนย์ภาษาเพื่อสอนภาษาญี่ปุ่นอีกด้วย

ใน พ.ศ. 2507 มีการชุมนุมที่สนามนี้เพื่อไว้อาลัยการเสียชีวิตของจาวาฮาร์ลาล เนรู นายกรัฐมนตรีของอินเดีย

สนามแห่งนี้เป็นสนามที่เคยจัดการแข่งขันมากมายในประวัติศาสตร์สิงคโปร์ เช่น เป็นสถานที่สำหรับการจัดงานเทศกาลเยาวชนสิงคโปร์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2498, งานกองทัพบกสิงคโปร์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2512 และขบวนพาเหรดวันชาติสิงคโปร์ใน พ.ศ. 2524

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2542 สนามได้ทำการปิดปรับปรุง และเปิดอีกครั้งในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 ด้วยความจุ 6,000 ที่นั่ง โดยตำแหน่งของสนามแข่งขันยังอยู่ที่เดิมเหมือนในยุคก่อนปรับปรุง

ใน พ.ศ. 2549 ภายใต้แผนของฟีฟ่า สนามแห่งนี้ได้ปูหญ้าเทียมด้วยมาตรฐานฟีฟ่า 1 ดาว โดยค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงอยู่ที่ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งได้รับทุนจากฟีฟ่าโกล และแผนการช่วยเหลือทางการเงินของฟีฟ่า ต่อมาใน พ.ศ. 2551 ได้มีการปูหญ้าใหม่ โดยมีค่าใช้จ่าย 400,000 ดอลลาร์สหรัฐ ด้วยหญ้ามาตรฐานฟีฟ่า 2 ดาว ซึ่งเป็นหญ้าเทียมที่มีคุณภาพดีกว่า โดยได้รับทุนจากฟีฟ่า[2]

ในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เบิร์นลีย์ ได้แข่งขันกับทีมรวมดาราสิงคโปร์ ในการแข่งขันเอฟไอเอสเอเชียนชาเลนจ์คัพ โดยสิงคโปร์แพ้ 0–1[3][4]

ระหว่างการแข่งขันโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2010 ที่จัดขึ้นที่สิงคโปร์ สนามนี้เป็นสนามสำหรับจัดการแข่งขันฟุตบอลชายและหญิงของการแข่งขันนี้

ในระหว่งที่ไลออนส์ทเวลฟ์มีผู้สนับสนุนเป็นคิงส์เมน ได้มีการสร้างอัฒจันทร์คิงจอรส์ขึ้นใน พ.ศ. 2555 โดยเป็นอัฒจันทร์ชั่วคราว ทำให้สามารถจุผู้ชมได้เพิ่มเป็น 8,000 คน

ในวันที่ 30 ตุลาตม พ.ศ. 2555 ได้มีการติดตั้งจอแสดงผลคะแนนแบบแอลอีดีใหม่ที่มีคุณภาพที่ดีกว่าเดิม โดยสามารถแสดงภาพย้อนหลังระหว่างเกมในสนามได้[5] ซึ่งมีการติดตั้งจอทั้งหมด 2 จอ บนอัฒจันทร์หลักฝั่งทิศเหนือและทิศใต้

ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 อัตเลติโกเดมาดริดได้ลงเล่นในสนามนี้กับทีมรวมดาราสิงคโปร์ ในการแข่งขันถ้วยการกุศลของปีเตอร์ ลิม โดยสิงคโปร์แพ้ 0–2.[6]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • Sharon Seow, "Exploring Jalan Besar", Voices@Central Singapore Issue No. 35, Jul/Aug 2007.
  1. "Opening of the Jalan Besar Stadium". Malayan Saturday Post, 4 January 1930, Page 6.
  2. "MILLION-DOLLAR MAKEOVER". Asiaone.
  3. "Asian Games preparations right on track for Singapore U-23 football team". redsports. 26 กรกฎาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "Singapore Selection side edged out 1-0 by Burnley". redsports. 25 กรกฎาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2560. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. http://www.goal.com/en-sg/news/3880/singapore/2012/10/31/3490589/high-definition-led-video-wall-launched-at-jalan-besar
  6. "Singapore Selection vs Atletico Madrid Preview". goal.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]