Intraparietal sulcus

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Intraparietal sulcus
Gray726 intraparietal sulcus.svg
ผิวด้านข้างของซีกสมองด้านซ้าย มองจากด้านข้าง (Intraparietal sulcus อยู่ที่ด้านบนข้างขวา เป็นแนวนอน)
ParietCapts lateral.png
ซีกสมองด้านขวา มองจากด้านข้าง สมองกลีบข้างมีสีน้ำเงิน ส่วน Intraparietal sulcus อยู่ในแนวนอนที่ตรงกลางของสมองกลีบข้าง
รายละเอียด
ส่วนหนึ่งของสมองกลีบข้าง
ตัวระบุ
ภาษาละตินsulcus intraparietalis
คำย่อIPS
นิวโรเนมส์97
นิวโรเล็กซ์ IDbirnlex_4031
TA98A14.1.09.127
TA25475
FMA83772
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์

intraparietal sulcus (ตัวย่อ IPS, แปลว่า ร่องภายในสมองกลีบข้าง) อยู่ที่ผิวด้านข้างของสมองกลีบข้าง มีทั้งส่วนที่เป็นไปแนวเอียงและเป็นไปในแนวนอน IPS มีส่วนย่อยต่าง ๆ ที่มีกิจหน้าที่ต่าง ๆ กัน ที่ได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวางทางประสาทสรีรวิทยา (neurophysiology) โดยวัดการตอบสนองในระดับเซลล์เดียวของสัตว์อันดับวานร[1][2] และโดยการสร้างภาพสมองโดยกิจ (functional neuroimaging) ในมนุษย์[3] สมองส่วนนี้มีหน้าที่หลักเกี่ยวกับการประสานงานระหว่างการรับรู้และการสั่งการ (perceptual-motor) คือการสั่งการการเคลื่อนไหวตาและการเอื้อม และเกี่ยวกับความใส่ใจทางตา

เชื่อกันว่า IPS ยังมีบทบาทในหน้าที่อื่น ๆ อีกด้วย รวมทั้ง การประมวลข้อมูลคณิตโดยสัญลักษณ์[4] ควา,จำใช้งานทางตาและพื้นที่ (visuospatial working memory)[5] และการประเมินเจตนาความตั้งใจของผู้อื่น[6]

บทบาทของ IPS ในการประมวลเลข[แก้]

งานวิจัยทางพฤติกรรมบอกเป็นนัยว่า IPS มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเสียหายต่อการประมวลตัวเลขโดยขนาด (numerical magnitude processing) ขั้นพื้นฐาน และมีรูปแบบการสลับกันทั้งโดยโครงสร้างและโดยหน้าที่ระหว่าง IPS และ คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (prefrontal cortex) ในความผิดปกติจำเพาะของทักษะทางคณิตศาสตร์ (dyscalculia [ICD-10 R81.2])[7] มีการพบว่าเด็กที่มีปัญหาทางพัฒนาการโดยภาวะ dyscalculia มีเนื้อเทาที่น้อยกว่าใน IPS ซีกซ้าย[8]

งานวิจัยหลายงานแสดงว่า มีการทำงานทางไฟฟ้าในกลุ่มเซลล์ประสาทของ IPS โดยเฉพาะ เมื่อผู้ร่วมการทดลองกำลังทำการคำนวณเลขเท่านั้น ส่วนในกิจนอกการทดลอง พบว่า เมื่อคนไข้กล่าวถึงเลข ๆ หนึ่ง หรือแม้แต่คำพูดอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับปริมาณเช่น "อีกหน่อยหนึ่ง" "มากมาย" หรือว่า "ใหญ่กว่าอีกตัวหนึ่ง" ก็จะมีการทำงานทางไฟฟ้าของกลุ่มเซลล์ประสาทของ IPS เดียวกันที่ทำงานเมื่อคนไข้กำลังทำการคำนวณในการทดลอง[9]

หน้าที่อื่น ๆ ของ IPS[แก้]

มีเขตย่อย 5 เขตใน IPS คือ anterior (ด้านหน้า), lateral (ด้านข้าง), ventral (ด้านล่าง), caudal (ด้านท้าย), และ medial (ด้านใน)

  • LIP & VIP: มีหน้าที่เกี่ยวกับการใส่ใจทางตาและการเคลื่อนไหวตาแบบ saccade
  • VIP & MIP: การเอื้อมหรือการชี้ที่อาศัยตา
  • AIP: การจับหรือการใช้มือจัดการที่อาศัยตา
  • CIP: การรับรู้ความไกล (ความลึก) โดย stereopsis

เขตต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนส่งแอกซอนไปยังสมองกลีบหน้าคือเขตต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ executive control

นอกจากนั้นแล้ว การทำงานของ IPS ยังมีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ลำดับการเคลื่อนไหวนิ้ว[10]

รูปภาพอื่น ๆ[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Colby C.E., Goldberg M.E. (1999). "Space and attention in parietal cortex". Annual Review of Neuroscience. 22: 319–349. doi:10.1146/annurev.neuro.22.1.319. PMID 10202542.
  2. Andersen R.A. (1989). "Visual and eye movement functions of the posterior parietal cortex". Annual Review of Neuroscience. 12: 377–403. doi:10.1146/annurev.ne.12.030189.002113. PMID 2648954.
  3. Culham, J.C.; Nancy G. Kanwisher (April 2001). "Neuroimaging of cognitive functions in human parietal cortex". Current Opinion in Neurobiology. 11 (2): 157–163. doi:10.1016/S0959-4388(00)00191-4.
  4. Cantlon J, Brannon E, Carter E, Pelphrey K (2006). "Functional imaging of numerical processing in adults and 4-y-old children". PLoS Biol. 4 (5): e125. doi:10.1371/journal.pbio.0040125. PMC 1431577. PMID 16594732.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) link
  5. Todd JJ, Marois R (2004). "Capacity limit of visual short-term memory in human posterior parietal cortex". Nature. 428 (6984): 751–754. doi:10.1038/nature02466. PMID 15085133.
  6. Grafton, Hamilton (2006). "Dartmouth Study Finds How The Brain Interprets The Intent Of Others". Science Daily.
  7. Ansari D., Karmiloff-Smith A. (2002). "Atypical trajectories of numver development: a neuroconstructivist perspective". Trends in Cognitive Science. 6 (12): 511–516. doi:10.1016/S1364-6613(02)02040-5. PMID 12475711.
  8. Kucian K.; และคณะ (2006). "Impaired neural networks for approximate calculation in dyscalculic children: a functional MRI study". Behavior and Brain Function. 2: 31. doi:10.1186/1744-9081-2-31. PMC 1574332. PMID 16953876.
  9. doi:10.1038/ncomms3528
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  10. PMID 12364526

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]