ตึกระทึกเสียดฟ้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก High-Rise)
ตึกระทึกเสียดฟ้า
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับเบน วีทลีย์
เขียนบทเอมี จัมพ์
สร้างจากHigh Rise
โดย เจ. จี. บัลลาร์ด
อำนวยการสร้างเจเรมี ทอมัส
นักแสดงนำ
กำกับภาพลอรี โรส
ตัดต่อ
  • เบน วีทลีย์
  • เอมี จัมพ์
ดนตรีประกอบคลินต์ แมนเซลล์
บริษัทผู้สร้าง
  • Recorded Picture Company
  • Film4
  • British Film Institute
  • HanWay Films
  • Northern Ireland Screen
  • Ingenious Media
ผู้จัดจำหน่ายStudioCanal
วันฉาย13 กันยายน 2015 (TIFF)
18 มีนาคม 2016
(สหราชอาณาจักร)
5 พฤษภาคม 2016 (ไทย)[1]
ความยาว119 นาที[2]
ประเทศสหราชอาณาจักร
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ)[3]
ทำเงิน5.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[4]
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

ตึกระทึกเสียดฟ้า (อังกฤษ: High-Rise) เป็นภาพยนตร์แนวดิสโทเปียจากสหราชอาณาจักร กำกับโดยเบน วีทลีย์ เขียนบทโดยเอมี จัมพ์ โดยดัดแปลงจากนิยายชื่อเดียวกันของเจ. จี. บัลลาร์ด[5] นำแสดงโดย ทอม ฮิดเดิลสตัน เจเรมี ไอเอินส์และเซียนนา มิลเลอร์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายรอบปฐมทัศน์โลกที่งานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโทรอนโตในเดือนกันยายน 2015

เรื่องย่อ[แก้]

ภาพยนตร์เปิดเรื่องด้วยฉากที่ดร. รอเบิร์ต แลง อาศัยอยู่ในอะพาร์ตเมนต์ที่เสื่อมโทรม แลงเลี้ยงสุนัขตัวหนึ่งซึ่งต่อมาเขานำมาย่างกินเป็นอาหาร ก่อนที่ภาพยนตร์จะตัดภาพกลับไปเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว

หลังจากพี่สาวเสียชีวิต แลงย้ายเข้ามาอาศัยที่ชั้นที่ 25 ของอะพาร์ตเมนต์หรูหรา 1 ใน 5 แห่งที่สร้างโดยแอนโทนี รอยัล อะพาร์ตเมนต์ที่นี่มีทุกอย่างครบครันเช่น สระว่ายน้ำ ห้องออกกำลังกาย ซุปเปอร์มาร์เก็ตและลิฟต์ความเร็วสูง ทำให้ผู้อาศัยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องออกจากอาคาร ภายในอะพาร์ตเมนต์แห่งนี้แบ่งผู้อาศัยออกเป็น 3 กลุ่มตามระดับชั้น

หลังจากได้พบและร่วมงานเลี้ยงกับชาร์ล็อตต์ เมลวิลล์ แลงถูกเชิญให้ไปพบกับรอยัล ภรรยาของรอยัล แอน เชิญแลงให้มางานเลี้ยงของกลุ่มคนชั้นสูง แลงพบกับมันโรว์ หนึ่งในผู้ฝึกงานกับเขาและถูกหัวเราะเยาะก่อนพาออกจากงาน ต่อมาแลงตรวจผลสแกนศีรษะของมันโรว์ที่เป็นลมระหว่างการฝึก แลงซึ่งต้องการแก้แค้นมันโรว์คืนบอกว่าเขาพบ "บางอย่าง" ในสมองของมันโรว์

ต่อมาแลงร่วมงานเลี้ยงเด็กที่ชั้นที่ 2 ของริชาร์ด ไวลเดอร์และภรรยาท้องแก่ เฮเลน ริชาร์ดนำเด็ก ๆ ไปที่สระว่ายน้ำหลังได้ยินว่าเด็ก ๆ ถูกห้ามลงสระ ก่อนจะพบว่าที่สระว่ายน้ำมีงานเลี้ยงที่จัดโดยนักแสดง เจน เชอริแดน ท่ามกลางความวุ่นวาย ไวลเดอร์ฆ่าสุนัขของเจน ต่อมาผู้อาศัยในอะพาร์ตเมนต์ทราบข่าวมันโรว์กระโดดตึกฆ่าตัวตาย ชีวิตภายในอะพาร์ตเมนต์เริ่มแย่ลงเมื่อไฟฟ้าขัดข้อง การกระทบกระทั่งระหว่างผู้อาศัยและการแบ่งแยกระหว่างชนชั้น แพงบอร์น ผู้อาศัยชั้นสูงนำคนเข้ายึดซุปเปอร์มาร์เก็ตและทำร้ายไวลเดอร์ ส่วนเฮเลนไปหาแลงและมีเพศสัมพันธ์กัน หลังเฮเลนออกจากห้อง เธอถูกจับตัวให้ไปเป็นแม่บ้านให้กับชนชั้นสูง

ไวลเดอร์ซึ่งฟื้นจากการถูกทำร้ายตัดสินใจบุกขึ้นชั้นบนเพื่อฆ่ารอยัล ส่วนแลงซึ่งปฏิเสธที่จะทำการผ่าตัดสมองไวลเดอร์ตามจดหมายของแพงบอร์นถูกชนชั้นสูงจับตัวไปและเกือบจะถูกโยนลงมา แต่รอยัลมาช่วยไว้ทัน ทั้งคู่ทานอาหารเย็นร่วมกันแล้วถกเรื่องชีวิตภายในอะพาร์ตเมนต์ ไวลเดอร์ขึ้นมาชั้นบนสุดและยิงรอยัลเสียชีวิต ส่วนตัวไวลเดอร์เองถูกกลุ่มผู้หญิงรุมแทงจนเสียชีวิต

ภาพยนตร์ตัดกลับมาที่ฉากเริ่มต้น โดยกลุ่มผู้หญิงชั้นบนร่วมกันสร้างสังคมใหม่ ส่วนแลงดูแลรักษาผู้บาดเจ็บและอาศัยอยู่กับชาร์ล็อตต์ พร้อมกับเตรียมพร้อมรับผู้คนจากอะพาร์ตเมนต์รอบ ๆ ที่อีกไม่นานจะต้องพบกับชะตากรรมเช่นเดียวกับตน ภาพยนตร์จบลงที่ฉากโทบี ลูกชายของชาร์ล็อตต์ (ที่ก่อนหน้านี้เปิดเผยว่าเกิดกับรอยัล) นั่งฟังสุนทรพจน์ของมาร์กาเรต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร

นักแสดง[แก้]

การสร้าง[แก้]

เจเรมี ทอมัส ผู้อำนวยการสร้างต้องการจะสร้างภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากนิยาย High-Rise ของเจ. จี. บัลลาร์ดมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970[6] เขาเคยร่วมมือกับนิโคลัส โรกและพอล เมเยอส์เบิร์กสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970[7][8] ต่อมาในช่วงทศวรรษ 2000 ทอมัสร่วมมือกับริชาร์ด สแตนลีย์และวินเซนโซ นาตาลีพัฒนาโครงการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้อีกครั้ง[9][10][11]

ในปี 2013 เบน วีทนีย์พบกับทอมัสซึ่งเป็นผู้ถือสิทธิ์ในการดัดแปลงนิยายและให้เอมี จัมพ์ ซึ่งเป็นภรรยาของวีทนีย์เองทำหน้าที่เขียนบท ทอม ฮิดเดิลสตันได้รับเลือกให้แสดงบทนำในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 ต่อมาในเดือนมิถุนายน ปีเดียวกัน ลุค อีแวนส์และเอลิซาเบธ มอสส์ได้รับเลือกให้ร่วมแสดง การถ่ายทำเริ่มในเดือนกรกฎาคม ปีเดียวกันที่เบลฟาสต์[12] และถ่ายทำที่เมืองบังกอร์ ไอร์แลนด์เหนือ[13][14]

การตอบรับ[แก้]

การตอบรับในประเทศไทย[แก้]

ตึกระทึกเสียดฟ้า ทำรายได้เปิดตัวในประเทศไทย 65,000 บาท[15] ระหว่างวันที่ 5–11 พฤษภาคม 2016 ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ 310,000 บาท[16]

รางวัล[แก้]

ตึกระทึกเสียดฟ้า ได้รับรางวัล European Composer and Songwriter Alliance Grand Scores Award สาขาเพลงประกอบยอดเยี่ยม[17]

อ้างอิง[แก้]

  1. High-Rise - Major Cineplex
  2. "HIGH-RISE (15)". British Board of Film Classification. 11 February 2016. สืบค้นเมื่อ 11 February 2016.
  3. "'High Rise': Filming the 'Unfilmable' Ballard". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 4 August 2016.
  4. "High-Rise (2016) - Financial Information". The Numbers. สืบค้นเมื่อ 28 March 2021.
  5. Andreas Wiseman. "Jeremy Irons Heads For High Rise". Screen International. สืบค้นเมื่อ 29 August 2014.
  6. Louise Jury. "High rise drama and David Hockney in frame for new British films". The Evening Standard. สืบค้นเมื่อ 7 August 2014.
  7. Calum Marsh. "Lost in Translation: Notes on Adapting Ballard". The Paris Review. สืบค้นเมื่อ 7 August 2014.
  8. Owen Williams (29 August 2013). "Ben Wheatley Directing Ballard's High-Rise". Empire Online. สืบค้นเมื่อ 22 May 2014.
  9. Todd Brown. "Richard Stanley Scripting Vincenzo Natali's HIGH RISE". Twitch Film. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-28. สืบค้นเมื่อ 7 August 2014.
  10. Anthony Kaufman. "Director Vincenzo Natali on 'Splice': 'It's a dangerous film on a number of levels'". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 7 August 2014.
  11. Matt Goldberg. "SPLICE Director Vincenzo Natali Talks HIGH RISE and NEUROMANCER". Collider. สืบค้นเมื่อ 7 August 2014.
  12. George Wales (5 February 2014). "Ben Wheatley confirms Tom Hiddleston for High-Rise". Total Film. สืบค้นเมื่อ 22 May 2014.
  13. "Tom Hiddleston spotted on the set of 'High Rise' in Northern Ireland". On Location Vacations. 17 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-20. สืบค้นเมื่อ 21 July 2014.
  14. Christine. "'High Rise' film to be shot in Bangor this summer". North Down Borough Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-12. สืบค้นเมื่อ 8 August 2014.
  15. รายได้เปิดตัวหนังใหม่ 5 พฤษภาคม 2559
  16. รายได้หนังประจำสัปดาห์ที่ 5-11 พ.ค. 2559
  17. "Moët & Chandon Grand Scores 2017 | BASCA | British Academy of Songwriters Composers and Authors". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-17. สืบค้นเมื่อ 2017-02-03.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]