วีรนคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Hero cities)

วีรนคร[1] (รัสเซีย: город-герой, gorod-geroy, ยูเครน: місто-герой, misto-heroy, เบลารุส: горад-герой, horad-heroy) เป็นชื่อเมืองเกียรติยศของสหภาพโซเวียตโดยมอบให้กับ 12 เมืองที่เข้าร่วมในแนวรบด้านตะวันออก[2] รวมไปถึงป้อมแบรสต์ที่ได้รับเกียรติป้อมวีรชน

วีรนครจะได้รับดาวทองและเครื่องอิสริยาภรณ์เลนินและใบประกาศจากสถาประธานสภาเปรซีเดียมแห่งสภาโซเวียตสูงสุด[3] เมืองที่ได้จะสร้างอนุสาวรีย์เพื่อเป็นเกียรติ

ประวัติ[แก้]

สำหรับ "วีรนคร" ได้รับการประกาศจากหนังสือพิมพ์ ปราฟดา ในช่วงปี ค.ศ. 1942 โดยประกาศอย่างเป็นทางการประกาศในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 โดยโจเซฟ สตาลิน ตามคำสั่งผู้บัญชาการสูงสุดที่ 20 โดยมอบให้กับวีรนคร 5 แห่ง ได้แก่ เลนินกราด, สตาลินกราด, เซวัสโตปอล และออแดซา[4]

ในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1961 (ครบรอบ 20 ปีแห่งจุดเรื่มต้นของแนวรบด้านตะวันออก) เคียฟได้รับมอบตำแหน่งใน ประกาศ ได้มีการมอบเครื่องอิสริยาภรณ์เลนินให้เคียฟรวมกับมอบเหรียญ "สำหรับการป้องกันที่เคียฟ"

ต่อมาในวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1965 ในช่วงครบรอบ 20 ปีในชัยชนะเหนือเยอรมนีในมหาสงครามของผู้รักชาติ มีประกาศจากคณะกรรมการบริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุด ว่ามีเมืองได้รับเกียรติเป็นวีรนคร คือ เลนินกราด, สตาลินกราด, เคียฟ, เซวัสโตปอล และออแดซา[3] ได้มีการมอบตำแหน่งให้กับมอสโก และอีกแห่งคือแบรสต์สำหรับ ป้อมวีรชน[4]

และต่อมาได้มีการมอบยศนี้ต่อเมืองอื่น ๆ ดังนี้

สมุดภาพอนุสาวรีย์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. สารานุกรมประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ ๒ (ในภูมิภาคยุโรป). กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2562, หน้า 574.
  2. Smorodinskaya, Tatiana; Evans-Romaine, Karen; Goscilo, Helena (2013). Encyclopaedia of Contemporary Russian. Routledge. p. 248. ISBN 1136787852.
  3. 3.0 3.1 Большая Школьная Энциклопедия «Руссика». История России. 20 в [Great Students' Encyclopedia "Russika" - Russian 20th Century history] (ภาษารัสเซีย). ОЛМА Медиа Групп. pp. 113–114. ISBN 5224035872.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 Mikhailov, Andrei (8 May 2015). "Hero Cities still victorious and heroic, despite squabble". Pravda.ru. สืบค้นเมื่อ 13 July 2015.