เฮพารินโคแฟกเตอร์ II

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Heparin cofactor II)
SERPIND1
Available structures
PDBHuman UniProt search: PDBe RCSB
Identifiers
AliasesSERPIND1, D22S673, HC2, HCF2, HCII, HLS2, LS2, THPH10, serpin family D member 1
External IDsOMIM: 142360 HomoloGene: 36018 GeneCards: SERPIND1
Gene location (Human)
Chromosome 22 (human)
Chr.Chromosome 22 (human)[1]
Chromosome 22 (human)
Genomic location for SERPIND1
Genomic location for SERPIND1
Band22q11.21Start20,774,113 bp[1]
End20,787,720 bp[1]
RNA expression pattern
More reference expression data
Orthologs
SpeciesHumanMouse
Entrez
Ensembl
UniProt
RefSeq (mRNA)

NM_000185

n/a

RefSeq (protein)

NP_000176

n/a

Location (UCSC)Chr 22: 20.77 – 20.79 Mbn/a
PubMed search[2]n/a
Wikidata
View/Edit Human

เฮพารินโคแฟกเตอร์ II (อังกฤษ: Heparin cofactor II หรือ HCII) เป็นโปรตีนที่พบในมนุษย์ ถูกถอดรหัสได้จากยีน SERPIND1 บนโครโมโซมคู่ที่ 22 ถูกจัดอยู่มหาวงศ์เซอร์ปิน เคลดดี ลำดับที่ 1 มีฤทธิ์เป็นสารยับยั้งซีรีนโปรตีเอส (serine proteinase inhibitor) ทั้งนี้ HCII เป็นสารตัวกลางที่มีความจำเป็นต่อกระบวนการการจับลิ่มของเลือด โดยจะออกฤทธิ์ยับยั้งแฟกเตอร์ IIa และเป็นโคแฟกเตอร์ต่อเฮพารินและเดอมาแตนซัลเฟต[3] นอกจากนี้ยังสามารถต้านทรอมบินได้เล็กน้อย โดย HCII จะสามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของทรอมบินได้อย่างรวดเร็วเมื่อมีการแตกออกของเฮพารินจากแมสต์เซลล์หรือมีการฉีกขาดของเดอมาแตนซัลเฟตที่ผนังหลอดเลือด[3]

ยีน SERPIND1 ที่ควบคุมการถอดรหัส HCII นั้น มีส่วนประกอบที่สำคัญเป็น 4 เอ็กซอน และ 5 อินตรอน การวิเคราะห์หลักฐานกายวิภาคเปรียบเทียบพบว่า HCII มีการพัฒนาโครงสร้างมาจากจุดกำเนิดเดียวกันกับแอนติทรอมบินและโปรตีนสมาชิกอื่นในกลุ่มแอลฟา-1 แอนติทริปซิน แต่ทำหน้าที่ต่างกัน (homology) โดยการกลายพันธุ์ของยีนนี้มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะพร่องเฮพารินโคแฟกเตอร์ II (heparin cofactor II deficiency)[3] ซึ่งจะทำให้มีการสร้างทรอมบินที่มากเกินและเกิดภาวะเลือดแข็งตัวเร็วกว่าปกติได้ (Hypercoagulable state)[4]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 GRCh38: Ensembl release 89: ENSG00000099937 - Ensembl, May 2017
  2. "Human PubMed Reference:".
  3. 3.0 3.1 3.2 "Entrez Gene: SERPIND1 serpin peptidase inhibitor, clade D (heparin cofactor), member 1".
  4. ดารินทร์ ซอโสตถิกุล (2016). "Updated in Pediatric Thrombophilia" (PDF). ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. p. 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 February 2018. สืบค้นเมื่อ 7 October 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]