แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Harry Potter and the Deathly Hallows (film))
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1
โปสเตอร์ภาพยนตร์
กำกับเดวิด เยตส์
เขียนบทจากนิยายของ เจ.เค. โรว์ลิ่ง
ผู้เขียนบท สตีฟ โคล์ฟส์
อำนวยการสร้างเดวิด เฮย์แมน
เดวิด แบร์รอน
นักแสดงนำแดเนียล แรดคลิฟฟ์
รูเพิร์ท กรินท์
เอ็มม่า วัตสัน
กำกับภาพเอเดอราโด เซอร่า
ตัดต่อมาร์ค เดย์
ผู้จัดจำหน่ายวอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส
วันฉาย19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 (2010-11-19)
สหราชอาณาจักร
19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 (2010-11-19)
สหรัฐอเมริกา
ความยาว146 นาที[1]
ประเทศสหราชอาณาจักร
สหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(รวมกับภาค 2)[2]
ทำเงิน960.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [3]
ก่อนหน้านี้แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม
ต่อจากนี้แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1 (อังกฤษ: Harry Potter and the Deathly Hallows – Part 1) เป็นภาพยนตร์แฟนตาซี-ผจญภัยภาคต่อที่ดัดแปลงจากบทประพันธ์ของเจ. เค. โรว์ลิ่ง ซึ่งดัดแปลงมาจากนิยายเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ ตอนที่ 7 ในชื่อ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายของหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ แต่เนื่องจากในภาคสุดท้ายนั้นมีรายละเอียดมากและทางผู้สร้างต้องการให้หนังจบลงอย่างสมบูรณ์แบบ จึงแบ่งออกเป็น 2 ตอนคือ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูตตอนที่ 1 และตอนที่ 2 สำหรับตอนที่ 1 เริ่มถ่ายทำเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 และจะเข้าฉายในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ตอนที่ 2 จะเข้าฉายในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554[4][5] ภาพยนตร์มีนักแสดงนำได้แก่ แดเนียล แรดคลิฟฟ์ รูเพิร์ท กรินท์ และเอ็มม่า วัตสัน กำกับการแสดงโดย เดวิด เยตส์ เขียนบทโดยสตีฟ โคลฟ อำนวยการสร้างโดย เดวิด เฮย์แมน และเดวิด แบร์รอน

โดยเนื้อเรื่องของภาคนี้จะดำเนินเรื่องต่อจากภาค 6 หลังจากที่ดัมเบิลดอร์จากไปพร้อมกับปริศนาของฮอร์ครักซ์ทไว้ให้แฮร์รี่สานต่อ โลกเวทมตร์และโลกมนุษย์ได้ถูกแทรกแซงจากลอร์ดโวลเดอมอร์อย่างสมบูรณ์ แฮร์รี่ซึ่งถูกโวลเดอมอร์หมายหัวจึงต้องหลบหนีจากการตามล่า อีกทั้งยังต้องทำภารกิจของตามหาฮอร์ครักซ์ที่ดัมเบิลดอร์ทิ้งไว้ให้เขาโดยมีรอนและเฮอร์ไมโอนี่เป็นเพื่อนร่วมเดินทางโดยมีอุปสรรคและอันตรายรอพวกเขาอยู่ และผลสุดท้ายมันอาจนำมาซึ่งสงครามระหว่างแฮร์รี่และโวลเดอมอร์

แรกเริ่มเดิมทีนั้นภาพยนตร์ทั้งสองตอนมีกำหนดฉายในระบบสามมิติแต่เนื่องจากทางผู้สร้างมีเวลาน้อยในการแปลงภาพให้ออกมาเป็นสามมิติ จึงได้ระงับการฉายระบบสามมิติในส่วนของตอนที่ 1 เนื่องจากกลัวแฟนคลับที่เฝ้ารอผิดหวังกับภาพที่ออกมาไม่ดี อย่างไรก็ตามในส่วนของตอนที่ 2 ผู้สร้างยืนยันที่จะฉายในระบบสามมิติตามเดิม

นักแสดง[แก้]

งานสร้าง[แก้]

การเตรียมงานสร้าง[แก้]

แรกเริ่มเดิมทีความคิดที่จะแบ่งภาพยนตร์ออกเป็นสองตอนเริ่มมีการถกเถียงขึ้นในระหว่างการเตรียมงานถ่ายทำภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี ภาพยนตร์ภาคที่สี่แต่ทางผู้สร้างลงความเห็นว่าจะไม่แบ่งออกเป็นสองตอนในที่สุด แต่สุดท้ายในภาคที่ 7เนื้อเรื่องในหนังสือมีความละเอียดมา ทางผู้สร้างต่างลงความเห็นว่าไม่สามารถดัดแปลงเนื้อเรื่องทั้งหมดลงในภาพยนตร์เรื่องเดียวได้ จึงมีความเห็นให้แบ่งภาพยนตร์ออกเป็น 2ตอน ซึ่งระยะห่างในการฉายนั้นไม่ห่างกันมากเท่าภาคก่อนๆ ซึ่งทางผู้สร้างได้ยืนยันว่าการแบ่งภาพยนตร์ออกเป็นสองตอนไม่เกี่ยวข้องกับการหารายได้เพิ่มเติมจากภาพยนตร์ชุดนี้ โดยเนื้อเรื่องในตอนที่ 1นั้นจะจบลงตรงบทที่ 24 ช่างทำไมกายสิทธิ์ ในฉากที่โวลเดอมอร์ขโมยไม้กายสิทธิ์เอลเดอร์ของดัมเบิลดอร์จากหลุมศพ

ส่วนในด้านของผู้กำกับการแสดงทางค่ายวอร์เนอร์ บราเดอร์สได้เลือกให้เดวิด เยตส์ ผู้กำกับจากภาค5และภาค6มารับหน้าที่การกำกับในตอนสุดท้ายของภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ทั้งสองตอน ทำให้เยตส์เป็นผู้กำกับที่รับหน้าที่กำกับการแสดงในภาพยนตร์ชุดนี้กว่า 4ภาค มากที่สุดในบรรดาผู้กำกับของแฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งในการเตรียมงานถ่ายทำทั้งหมดเป็นไปอย่างราบรื่น ทางผู้สร้างต้องสร้างป่าโบราณจำลองในสตูดิโอเพื่อถ่ายทำฉากกวางสาวสีเงิน ซึ่งกการเซ็ตฉากและสเปเชี่ยลเอ็ฟเฟ็คที่ใช้มีรายจ่ายที่สูงมาก ทำให้ภาพยนตร์ตอนแรกมีทุนสร้างถึง 250ล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว ในส่วนของการเตรียมงานทั้งหมดใช้เวลาไป 250 วัน ในขณะที่การถ่ายทำใช้เวลาไป 478 วัน

การถ่ายทำและงานเบื้องหลัง[แก้]

การถ่ายทำเริ่มขึ้น 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ในสตูดิโอลีฟเดนซึ่งเป็นที่ถ่ายทำภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์มาตั้งแต่ภาคแรก การถ่ายทำพบปัญหาเป็นครั้งคราว ระหว่างการซ้อมฉากขี่ไม้กวาดในฉากต่อสู้กลางอากาศ เดวิด โฮล์มส์ ตัวแสดงแทนของแดเนียล แรดคลิฟฟ์ประสบอุบัติเหตุตกลงมาจากฉากและได้รับบาดเจ็บสาหัส ทำให้กองถ่ายต้องหยุดไปชั่วคราว จากการประสบอุบัติเหตุครั้งนี้ส่งผลให้นายเดวิด โฮล์มส์เป็นอัมพาตตั้งแต่เอวลงไป ภายหลังจากเหตุการณ์นี้การถ่ายทำก็เป็นไปอย่างราบรื่นจนกระทั่งปิดกล้องลง

ในด้านงานเบื้องหลัง เนื่องจากเป็นภาคสุดท้ายของภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ทำให้ทางวอร์เนอร์จ่ายงบประมาณในการถ่ายทำสูงถึง 250 ล้านเหรียญ ซึ่งในภาคที่ 1 ของเครื่องรางยมทูตมีฉากที่ถ่ายทำในป่าเป็นส่วนใหญ่และไม่มีฉากฮอกวอตส์ให้เห็น ทำให้ทางทีมงานใช้สถานที่จริงและไม่ต้องในสเปเซี่ยลเอฟเฟ็คเข้าช่วยในการสร้างปราสาทและป่าเหมือนในภาคก่อนๆมากนัก ซึ่งเป็นการประหยัดงบไปได้ในส่วนหนึ่ง แต่ในฉากที่แฮร์รี่ต้องงมดาบลงมาจากบึงน้ำแข็งในป่าที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ ทางทีมงานได้สร้างป่าและหิมะจำลองขึ้นมาในสตูดิโอแทน และฉากการเล่านิทานของเฮอร์ไมโอนี่เรื่องนิทานสามพี่น้องถูกเล่าด้วยแอนิเมชั่น ส่วนในภาคที่ 2 ของเครื่องรางยมทูตซึ่งมีฉากที่ต้องใช้สเปเชียลเอฟเฟ็คเป็นจำนวนมาก เช่นฉากสงครามในฮอกวอตส์และฉากพวกแฮร์รี่ขี่มังกรหนี ทำให้รายจ่ายในการถ่ายทำภาคที่ 2 มีมากกว่าภาคที่ 1 มาก

ในการถ่ายทำฉากจบของภาพยนตร์ชุดนี้ซึ่งเป็นฉากในสถานีรถไฟ ที่เล่าถึงแฮร์รี่ในอีก 19 ปีต่อมาหลังจากปราบโวลเดอมอร์ลงได้ ทีมงานช่างแต่งหน้าได้แต่งใบหน้าของนักแสดงนำทั้งสาม รวมถึงทอม เฟลตัน ให้ดูแก่ลงและได้มีการใช้สเปเชี่ยลเอฟเฟ็คช่วยอีกเล็กน้อยให้ใบหน้าของนักแสดงทั้งสี่ดูสมจริงขึ้น และการถ่ายทำวันสุดท้ายของภาพยนตร์ก็จบลง นับเป็นเวลา 10 ปีที่แฮร์รี่ พอตเตอร์ได้มีการถ่ายทำขึ้น จนจบลงในที่สุด

ฉากที่ดัดแปลงเนื้อหา[แก้]

ในส่วนของภาพยนตร์มีการตัดฉากต่างๆ ในหนังสือน้อยกว่าภาคก่อนๆ เนื่องจาก แบ่งออกเป็น 2 ตอนทำให้ผู้สร้างสามารถใส่รายละเอียดได้อย่างครบถ้วน ในฉากที่ได้รับการดัดแปลงไปจากหนังสือมีดังนี้

ภาคที่ 1[แก้]

  • ฉากที่แฮรี่อ่านเจอข้อความที่สกิตเตอร์เขียนเกี่ยวกับศาสตราจารย์อัมเบิลดอร์เป็นที่บ้านที่แฮรี่อยู่ ไม่ใช่บ้านโพรงกระต่าย
  • มีฉากที่เฮอร์ไมโอนี่ลบความทรงจำของพ่อแม่ เพื่อไม่ให้ทั้งคู่ได้รับอันตรายจากผู้เสพความตาย ซึ่งในหนังสือได้มีการกล่าวถึงเฉย ๆ
  • ฉากอพยพของพวกเดอร์ลีย์ถูกตัดให้สั้นลง
  • ในฉากการต่อสู้บนท้องฟ้าที่มีแฮร์รี่ตัวจริงและตัวปลอมอยู่ 7 คน เฮ็ดวิกเข้ามาปกป้องแฮร์รี่ทำให้ผู้เสพความตายรู้ทัน ต่างจากในหนังสือที่แฮร์รี่ใช้คาถาปลดอาวุธซึ่งเป็นคาถาประจำตัวทำให้ผู้เสพความตายรู้ทัน
  • อลาสเตอร์ มู้ดดี้ หรือ "แม้ด-อาย" มู้ดดี้ เสียชีวิตขณะที่ต่อสู้กันบนท้องฟ้าโดยโดนยิงคาถาพิฆาตใส่หน้าอย่างจัง แล้วตกไม้กวาดตาย แต่ที่บ้านของรอนไม่มีการไว้อาลัยเหมือนในหนังสือ
  • ในงานแต่งงานของบิลและเฟลอร์ แฮร์รี่ไม่ได้ปลอมตัวเป็นญาติรอนเหมือนในหนังสือ
  • ด็อบบี้และครีเชอร์จับตัวมันดังกัสมาให้แฮร์รี่ ซึ่งในหนังสือครีเชอร์จับมันดังกัสมาด้วยตัวคนเดียว
  • ฉากบุกกระทรวงพวกแฮร์รี่คืนร่างเร็วกว่าในหนังสือ
  • ไม่มีฉากพวกแฮร์รี่แอบฟังก็อบลินในยามค่ำคืน
  • มีการเพิ่มฉากแฮร์รี่เต้นรำกับเฮอร์ไมโอนี่เพื่อให้เธอรู้สึกดีขึ้นหลังรอนหนีไป
  • มีการเพิ่มฉากการไล่ล่าของนักต้อนในป่า ซึ่งพบพวกแฮร์รี่โดยบังเอิญ ในขณะที่ในหนังสือพวกนักต้อนจับตัวพวกแฮร์รี่ได้ทันที
  • หางหนอนยังไม่ตาย

อ้างอิง[แก้]

  1. "Harry Potter and the Deathly Hallows – Part 1". British Board of Film Classification. 26 October 2010. สืบค้นเมื่อ 6 December 2010.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-16. สืบค้นเมื่อ 2016-05-22.
  3. http://www.boxofficemojo.com/movies/?id=harrypotter7.htm
  4. "Release Date Set for Harry Potter 7: Part I". Comingsoon.net. 25 April 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-18. สืบค้นเมื่อ 24 May 2008.
  5. "WB Sets Lots of New Release Dates!". Comingsoon.net. 25 February 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-26. สืบค้นเมื่อ 25 February 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]