กุสทัฟ มาเลอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Gustav Mahler)
Middle-aged man, seated, facing towards the left but head turned towards the right. He has a high forehead, rimless glasses and is wearing a dark, crumpled suit
กุสทัฟ มาเลอร์ ในปี 1907

กุสทัฟ มาเลอร์ (เยอรมัน: Gustav Mahler) เป็นคีตกวีและวาทยกรชาวโบฮีเมีย-ออสเตรีย มาเลอร์เป็นที่รู้จักในยุคของเขา ในฐานะวาทยากรชื่อดังแห่งยุค แต่ในปัจจุบัน เขากลับเป็นที่ยอมรับในฐานะคีตกวีแห่งยุคนีโอโรแมนติก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากซิมโฟนี และบทเพลงในลักษณะซิมโฟนี เช่น เพลง Das Lied von der Erde (บทเพลงแห่งโลก) ที่เป็นจุดสุดยอดของบทเพลงขับร้องที่เขาประพันธ์ ส่วนซิมโฟนีหมายเลข 3 ความยาว 95 นาที นับเป็นซิมโฟนีที่ยาวที่สุดที่เคยมีการเปิดแสดง และยังชื่อได้ว่าเป็นซิมโฟนีที่ยาวที่สุดในบรรดาซิมโฟนีทั้งหลายอีกด้วย

ประวัติ[แก้]

กุสทัฟ มาเลอร์ เกิดในครอบครัวชาวยิวในเมืองคาลิชท์ แคว้นโบฮีเมีย บิดามารดาของเขาได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองจิห์ลาวาในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งมาเลอร์ได้ใช้เวลาในวัยเด็กส่วนใหญ่ที่นั่น หลังจากที่บิดามารดาของมาเลอร์ได้สังเกตเห็นความสามารถทางดนตรีของเขาตั้งแต่วัยเด็ก จึงจัดการให้เขาได้เรียนเปียโนตั้งแต่อายุหกขวบ ในปี 1875 มาเลอร์ผู้ซึ่งขณะนั้นมีอายุได้ 15 ปี ได้รับให้เข้าศึกษาในวิทยาลัยดนตรีแห่งกรุงเวียนนา ที่ซึ่งเขาได้เรียนเปียโนกับจูเลียส เอปสไตน์ สามปีต่อมา มาเลอร์ได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเวียนนา ที่ซึ่งอันโตน บรูคเนอร์เป็นอาจารย์ประจำอยู่ ในระหว่างเรียนในมหาวิทยาลัย เขาได้ทำงานเป็นครูสอนดนตรีไปด้วย และได้ลองประพันธ์เพลงเป็นครั้งแรก กับเพลงร้องที่มีชื่อว่า Das klagende Lied ซึ่งตอนหลังได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นคันตาต้า ได้ส่งเข้าประกวดแต่ประสบกับความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง

ในปี 1880 มาเลอร์ได้เริ่มทำงานในตำแหน่งวาทยากร ซึ่งเป็นงานช่วงฤดูร้อนที่โรงละครแบดฮอลล์ ซึ่งในปีต่อ ๆ มาเขาได้เป็นวาทยากรในโรงอุปรากรใหญ่หลายแห่งด้วยกัน เป็นต้นว่า โรงอุปรากรเมืองลุบลานาในปี 1881 เมืองโอโลมุคในปี 1882 เมืองคาสเซลในปี 1884 กรุงปรากในปี 1885 เมืองไลพ์ซิจในปี 1886 และที่กรุงบูดาเปสต์ในปี 1888 ในปี 1887 เขาได้รับตำแหน่งเป็นวาทยกรควบคุมการบรรเลงอุปรากรชุดของริชาร์ด วากเนอร์ ที่มีชื่อว่าเดอะ ริง แทนที่อาร์ตู นิคิชที่ล้มป่วย และได้สร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนและต่อนักวิจารณ์ ในปีหลังจากที่เขาได้ประพันธ์อุปรากรเรื่อง Die drei Pintos ที่ คาร์ล มาเรีย ฟอน เวเบอร์ประพันธ์ไว้ไม่จบ มาเลอร์ประสบความสำเร็จอย่างสูง อีกทั้งยังสร้างชื่อเสียงและรายได้ให้กับเขาอย่างมาก เขาได้รับตำแหน่งงานระยะยาวตำแหน่งแรกที่โรงอุปรากรแห่งนครฮัมบวร์ค ในปี 1891 จนกระทั่งถึงปี 1897 ในช่วงเวลานั้น เขาได้ใช้เวลาในช่วงพักร้อนที่เมืองสไตน์บาค-อัม-อัทเทอร์ซีในออสเตรียตอนบน อุทิศให้แก่การประพันธ์เพลง และได้แต่งซิมโฟนีหมายเลข 1 บทเพลงส่วนใหญ่ในเพลงชุดขับร้อง และแตรวิเศษของวัยเด็ก ซึ่งเป็นการรวมเพลงที่มีชื่อเดียวกันกับบทกวีพื้นบ้าน

ดนตรี[แก้]

มรดกทางดนตรี[แก้]

ผลงาน[แก้]

ซิมโฟนี[แก้]

บทเพลงสำหรับขับร้อง[แก้]

  • Das klagende Lied, ( 1880]])
  • Drei Lieder, บทเพลงสามบทสำหรับนักร้องเสียงเทนเนอร์และเปียโน ( 1880]])
  • Lieder und Gesänge aus der Jugendzeit เพลง 14 บทพร้อมกับเปียโนประกอบ ( 1880]]- 1890]])
  • Lieder eines fahrenden Gesellen (Songs of a Wayfarer) สำหรับร้องประกอบเปียโน หรือวงดุริยางค์ ( 1883]]- 1885]])
  • Lieder aus "Des Knaben Wunderhorn" (แตรวิเศษของวัยเด็ก) สำหรับเสียงร้องและวงดุริยางค์ ( 1888]]- 1896]], อีกสองบทแต่งในปี 1899]] และ 1901]])
  • Rückert Lieder สำหรับร้องประกอบเปียโน หรือวงดุริยางค์ ( 1901]]- 1902]])
  • Kindertotenlieder (เพลงสำหรับการตายของเด็ก) สำหรับนักร้องและวงดุริยางค์ ( 1901]]- 1904]])
  • Das Lied von der Erde (The Song of the Earth) สำหรับนักร้องและวงดุริยางค์ ( 1907]]- 1909]])
    • หมายเหตุ : ผลงานนี้จัดได้เป็นทั้งประเภทซิมโฟนี และเพลงชุดขับร้อง มาเลอร์หลีกเลี่ยงที่จะตั้งชื่อเพลงนี้ว่าซิมโฟนีหมายเลข 9 ด้วยความเชื่อทางไสยศาสตร์ และความกลัวอาถรรพ์หมายเลข 9

อ้างอิง[แก้]

  • Machlis, J. and Forney, K. (1999). The Enjoyment of Music: An Introduction to Perceptive Listening (Chronological Version) (8th ed.). New York: Norton. ISBN 0-393-97299-2.
  • Sadie, S. (Ed.). (1988). The Grove Concise Dictionary of Music. London: Oxford University Press. ISBN 0-333-43236-3.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]