กรีนแลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Greenland)
กรีนแลนด์

Kalaallit Nunaat (กรีนแลนด์)
Grønland (เดนมาร์ก)
ตราแผ่นดินของกรีนแลนด์
ตราแผ่นดิน
เพลงชาติ"นูนาร์ปุต อูต็อกการ์ซูวังงอราวิต"
"Nunarput, utoqqarsuanngoravit" (กรีนแลนด์)
"คุณคือผืนดินเก่าแก่ของพวกเรา"

เพลงชาวกะลาลลิต:
"นูนา อาซิลาซุก"
"Nuna asiilasooq" (กรีนแลนด์)
"ดินแดนแห่งความยิ่งใหญ่"
[a]
ที่ตั้งของกรีนแลนด์
ที่ตั้งของกรีนแลนด์
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
นุก
ภาษาราชการภาษากรีนแลนด์[b]
กลุ่มชาติพันธุ์
(พ.ศ. 2563[5])
สถานะชนพื้นเมือง:[4]

ไม่ใช่ชนพื้นเมือง:

ศาสนา
คริสต์ (คริสตจักรแห่งกรีนแลนด์)
การปกครองรัฐบาลภายใต้ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและระบบรัฐสภาตามหลักการกระจายอำนาจ
สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10
Múte Bourup Egede
สภานิติบัญญัติรัฐสภากรีนแลนด์
เอกราชปกครองตนเอง จากเดนมาร์ก
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
พื้นที่
• รวม
2,166,086 ตารางกิโลเมตร (836,330 ตารางไมล์)
83.1
ประชากร
• 1 มกราคม 2562 ประมาณ
55,992 (207)
0.025 ต่อตารางกิโลเมตร (0.1 ต่อตารางไมล์) (230)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2544 (ประมาณ)
• รวม
1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (192)
20,000 ดอลลาร์สหรัฐ (52)
เอชดีไอ (2013)0.803
สูงมาก
สกุลเงินโครนเดนมาร์ก (DKK)
เขตเวลาUTC0 to -4
รหัสโทรศัพท์299
โดเมนบนสุด.gl
ปี พ.ศ. 2543: เนื้อที่ 410,449 ตารางกิโลเมตร (158,433 ตารางไมล์) ไม่มีน้ำแข็งปกคลุม ส่วนเนื้อที่ 1,755,637 ตารางกิโลเมตร (677,676 ตารางไมล์) ถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็ง

กรีนแลนด์[6] (อังกฤษ: Greenland) หรือ กะลาลิตนูนาต[6] (กรีนแลนด์: Kalaallit Nunaat; เดนมาร์ก: Grønland, ออกเสียง: [ˈkʁɶnˌlænˀ]) เป็นดินแดนทางเหนือสุดของโลก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติกและเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ประมาณ 2,175,900 ตารางกิโลเมตร มีฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองของประเทศเดนมาร์ก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499

ประวัติศาสตร์[แก้]

ในสมัยช่วงศตวรรษที่ 10 - 11 ได้มีพวกไวกิงจากแถบสแกนดิเนเวียอพยพถิ่นอาศัย จนกลายเป็นเมืองขึ้นของเดนมาร์ก ต่อมา กรีนแลนด์ได้รับสิทธิปกครองตนเองจากเดนมาร์กเมื่อปี 1979 โดยมีอำนาจปกครองตนเองในทุกๆ ด้านยกเว้นด้านการต่างประเทศและการทหารเช่นเดียวกับหมู่เกาะแฟโร

การเมือง[แก้]

ปัจจุบันกรีนแลนด์มีรัฐบาลปกครองตนเอง โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลมาตั้งแต่ ค.ศ. 1979 โดยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลเดนมาร์ก โดยมีพระมหากษัตริย์คือ สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10 แห่งเดนมาร์ก

ภูมิศาสตร์[แก้]

กรีนแลนด์เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก และตั้งอยู่ทางทิศเหนือบริเวณที่แอตแลนติกพบกับมหาสมุทรอาร์ติค ซึ่งในปัจจุบันกลายเป็นน้ำแข็งไปหมดแล้ว และมีทะเลล้อมรอบเกาะอยู่ ดังนั้นชายฝั่งจะมีอุณหภูมิต่ำอยู่ตลอดเวลา และด้วยสภาพที่ตั้งจึงทำให้ภูมิอากาศของกรีนแลนด์เป็นภูมิอากาศหนาวเย็นแบบอาร์คติก

แผ่นน้ำแข็งมีอาณาเขตกว้างปกคุลุมถึง 1,833,900 ตารางกิโลเมตร เท่ากับ พื้นที่ทั้งหมด 85 เปอร์เซ็นของพื้นที่ทั้งหมดของกรีนแลนด์และขยายไปจนถึง 2,500 กิโลเมตร จากทางเหนือจรดทางใต้ และกว้างกว่า 1,000 กิโลเมตรจากทางตะวันออกไปทางตะวันตก ทางตอนกลางของเกาะ มีแผ่นน้ำแข็งที่มีความหนามากกว่า 3 กิโลเมตรและ ถือได้ว่าเป็น 10 เปอร์เซ็นของพื้นที่ทั้งหมด

การขนส่ง[แก้]

มีสนามบินหลักสองแห่ง คือนาร์ซาร์สวก (Mittarfik Narsarsuaq) ซึ่งอยู่ทางใต้ของประเทศ และคางเกอร์ลูสซวก (Mittarfik Kangerlussuaq) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกกลางของประเทศ

ประชากร[แก้]

กรีนแลนด์มีประชากรราว 56,370 คน (ปี ค.ศ. 2013)[7] ประกอบด้วยชาวอินูอิต 88% (รวมทั้งผู้เป็นลูกผสม) และชาวยุโรป 12% ซึ่งโดยมากเป็นชาวเดนมาร์ก ภาษาหลักคือ กรีนแลนด์ (kalaallisut หรือ grønlandsk) และเดนมาร์ก (dansk) โดยประชากรส่วนใหญ่พูดได้ทั้งสองภาษา ศาสนาที่ประชากรโดยมากนับถือ คือ ศาสนาคริสต์ นิกายลูเทอแรน ถึงแม้เกาะกรีนแลนด์จะเป็นเกาะใหญ่ แต่ประชากรก็อาศัยได้เฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น เนื่องจากเกาะนี้มีน้ำแข็งปกคลุมอยู่มาก

ศาสนา[แก้]

ศาสนาคริสต์ (คริสตจักรแห่งกรีนแลนด์) และความเชื่อของชาวอินูอิต

การปกครองตนเอง[แก้]

กรีนแลนด์ได้มีการลงประชามติเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 มีประชาชนออกมาใช้สิทธิ์ประมาณ 39,000 คน โดยผลการลงประชามติประกาศในวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ตอนเช้า ปรากฏว่าร้อยละ 75.54 เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 23.57 ไม่เห็นด้วย โดยจะมีผลรับรองในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552 โดยมีสิทธิและเสรีภาพเต็ม พ้นจากประเทศเดนมาร์ก โดยสามารถขยายอำนาจการปกครองไปยังพื้นที่ใหม่ ๆ และสามารถบริหารแหล่งทรัพยากรธรรมชาติใต้ท้องทะเล ซึ่งคาดว่ามีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก รวมถึงดูแลความรับผิดชอบด้านความยุติธรรม หน้าที่ของตำรวจและกิจการต่างประเทศ แต่ไม่มีสิทธิในการทหาร

ทั้งนี้ นายลาร์ส-เอมีล โจฮันเซน นายกรัฐมนตรีกรีนแลนด์ ซึ่งปกครองเกาะระหว่างปี 2534-2540 และพยายามให้กรีนแลนด์มีบทบาทกึ่งปกครองตนเอง เมื่อปี 2542 ให้สัมภาษณ์ว่า หากประชาชนเห็นชอบก็ถือเป็นเรื่องที่ดีต่อประเทศชาติที่ต่อไปประชาชนก็คือชาวกรีนแลนด์ มีภาษาเป็นของตนเอง มีสิทธิ์ตัดสินใจด้วยตนเอง

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. นูนา อาซิลาซุก (Nuna asiilasooq) มีสถานะเท่าเทียมกันในฐานะเพลงประจำภูมิภาคแต่โดยทั่วไปจะใช้เฉพาะในกรีนแลนด์เท่านั้น[1]
  2. ภาษากรีนแลนด์เป็นภาษาราชการเพียงภาษาเดียวในกรีนแลนด์ตั้งแต่ พ.ศ. 2552[2][3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "03EM/01.25.01-50 Spørgsmål til Landsstyret: Hvornår fremsætter Landsstyret beslutning om Grønlands" [03EM/01.25.01-50 Questions to the Home Rule Government: When does the Home Rule Government make a decision on Greenland]. Government of Greenland. 7 October 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2014. สืบค้นเมื่อ 13 December 2014.
  2. (ในภาษาเดนมาร์ก) TV 2 Nyhederne – "Grønland går over til selvstyre" เก็บถาวร 2023-08-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน TV 2 Nyhederne (TV 2 News) – Ved overgangen til selvstyre, er grønlandsk nu det officielle sprog. Retrieved 22 January 2012.
  3. (ในภาษาเดนมาร์ก) Law of Greenlandic Selfrule เก็บถาวร 8 กุมภาพันธ์ 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (see chapter 7)
  4. "Bekendtgørelse af ILO-konvention nr. 169 af 28. juni 1989 vedrørende oprindelige folk og stammefolk i selvstændige stater". Retsinformation.dk (ภาษาเดนมาร์ก). 9 October 1997.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ cia.gov
  6. 6.0 6.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  7. Greenland in Figures 2013 (PDF). Statistics Greenland. ISBN 978-87-986787-7-9. ISSN 1602-5709. สืบค้นเมื่อ 2 September 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]