แกรนท์กาเซลล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Grant's gazelle)
แกรนท์กาเซลล์
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
วงศ์: Bovidae
วงศ์ย่อย: Antilopinae
สกุล: Nanger
สปีชีส์: N.  granti
ชื่อทวินาม
Nanger granti
(Brooke, 1872)[2]
ชื่อพ้อง[1]
  • Gazella granti Brooke, 1872
  • Nanger notata (Thomas, 1897)
  • Nanger petersii (Günther, 1884)

แกรนท์กาเซลล์ (อังกฤษ: Grant's gazelle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Nanger granti) เป็นแอนทีโลปขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง นับเป็นแอนทีโลปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดากาเซลล์ หรือแอนทีโลปขนาดกลางด้วยกัน (ชื่อในภาษาสวาฮิลีเรียกว่า Swala Granti[3]ในขณะที่ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษและชื่อวิทยาศาสตร์ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นักสำรวจชาวสกอตในยุคศตวรรษที่ 19 พันเอกเจมส์ ออกุสตุส แกรนท์[4])

ตัวผู้มีน้ำหนัก 60–75 กิโลกรัม ในขณะที่ตัวเมีย 40–50 กิโลกรัม ความสูงจากเท้าจรดหัวไหล่ 80–90 เซนติเมตร ความยาวตลอดลำตัว 1–1.4 เมตร ความยาวหาง 25–30 เซนติเมตร อายุขัยโดยเฉลี่ย 10–12 ปี

ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่พอ ๆ กับอิมพาลา ซึ่งเป็นแอนทีโลปอีกชนิดหนึ่ง มีคอยาวแข็งแรงและมีเขาคู่ยาวเรียวแหลมสวยงาม ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่ามีเขาสั้นและเล็กกว่าตัวผู้ มีลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ระยะไกล คือ มีแผานสีดำเป็นทางขวางข้างลำตัวจากขาหน้าจรดขาหลังทั้ง 2 ข้างคล้ายทอมสันส์กาเซลล์ และมีทางสีดำยาวลงตรงสะโพกทั้ง 2 ด้าน หางสีขาวแต่ปลายหางเป็นสีดำ พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนเหนือของแทนซาเนียถึงตอนใต้ของซูดาน และเอธิโอเปีย และด้านชายฝั่งทะเลของเคนยาจนถึงทะเลสาบวิกตอเรีย[5][6]

ใบหน้าแบบโคลสอัพ

ชนิดย่อย[แก้]

แกรนท์กาเซลล์แบ่งออกเป็นชนิดย่อยต่าง ๆ ได้ดังนี้[2]

  • N. g. brighti (Thomas, 1901) – บริงท์กาเซลล์
  • N. g. granti (Brooke, 1872) – แกรนท์กาเซลล์ใต้
  • N. g. lacuum (Neumann, 1906) – แกรนท์กาเซลล์เหนือ
  • N. g. petersi (Günther, 1884) – ปีเตอร์สกาเซลล์
  • N. g. robertsi (Thomas, 1903) – โรเบิร์ตส์กาเซลล์

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 IUCN SSC Antelope Specialist Group 2008.Nanger granti. In: IUCN 2011. IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.1
  2. 2.0 2.1 Nanger granti เก็บถาวร 2011-09-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, MSW3
  3. Grant's Gazelle[ลิงก์เสีย]
  4. Sir Victor Brooke (1872). "On a supposed new Species of Gazelle from Eastern Africa". Proceedings of the Zoological Society: 601–602. สืบค้นเมื่อ 2015-05-20.
  5. Peter Arctander; และคณะ (1996). "Extreme genetic differences among populations of Gazella granti, Grant's gazelle, in Kenya" (PDF). Heredity. 76 (5). สืบค้นเมื่อ 2008-06-19.
  6. ปองพล อดิเรกสาร. สัตว์ป่าแอฟริกา. กรุงเทพฯ : เอเรียสบุ๊คส์, 2553. 272 หน้า. ISBN 978-616-90508-0-3

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Nanger granti ที่วิกิสปีชีส์