ลูกโลกประดับกางเขน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Globus cruciger)
“ลูกโลกประดับกางเขน” ของเดนมาร์กที่เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งเดนมาร์ก
พระเยซูในรูป “Salvator Mundi” (พระมหาไถ่แห่งโลก)

ลูกโลกประดับกางเขน (อังกฤษ: globus cruciger) หมายถึงลูกกลมที่ด้านบนประดับด้วยกางเขน แปลมาจากภาษาละติน globus (ลูกกลม), gerere (สวมใส่), crux (กางเขน) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนาคริสต์ของความมีอำนาจที่ใช้กันโดยทั่วไปในสมัยกลางและแม้ในปัจจุบันบนเหรียญ, เป็นรูปเคารพ หรือเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ การใช้ลูกโลกประดับกางเขนเป็นสัญลักษณ์ความมีอำนาจของพระเยซู (กางเขน) บนโลกมนุษย์ (ลูกกลม) ที่ใช้ถือโดยประมุขของอาณาจักรบนโลก หรือในทางสัญลักษณ์โดยเทวดา เมื่อถือโดยพระเยซูเองในรูปเคารพในศิลปะตะวันตกก็จะเรียกว่า “Salvator Mundi” (พระมหาไถ่แห่งโลก)

ประวัติ[แก้]

ลูกโลกประดับกางเขนใช้ในจักรวรรดิไบแซนไทน์ดังที่เห็นบนเหรียญของจักรพรรดิเลออนเทียส (Leontius) ราว ค.ศ. 705

การใช้ลูกโลกประดับกางเขนที่มีหลักฐานให้เห็นเป็นครั้งแรกใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 5 หรืออาจจะตั้งแต่ระหว่างปี ค.ศ. 395 ถึงปี ค.ศ. 408 บนด้านหลังของเหรียญของจักรพรรดิอาร์เคดิอัส แต่ที่ทราบแน่นอนคือเมื่อมาถึงปี ค.ศ. 423 พบบนด้านหลังของเหรียญของจักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 2 (Theodosius II)

สัญลักษณ์ทางจักษุของการมีโลกอยู่ในอุ้งมือ (ละติน “orbis terrarum” = กลุ่มประเทศล้อมโลก หรือที่มาของคำว่า “orb”) หรือบางครั้งที่แสดงอำนาจมากกว่านั้นโดยการเหยียบไว้ใต้ฝ่าเท้า เป็นการสื่ออย่างชัดแจ้งถึงความมีอำนาจที่ใช้กันมาตั้งแต่ในประวัติศาสตร์โบราณก่อนหน้าที่จะคริสต์ศาสนาจะเป็นที่แพร่หลายแล้ว ประชาชนชาวโรมันมีความคุ้นเคยกับลูกโลกเกลี้ยง ๆ ที่ไม่ประดับด้วยกางเขนที่ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนโลกหรือจักรวาลอยู่แล้ว และเป็นสิ่งที่จักรพรรดิใช้เพื่อแสดงความมีอำนาจเหนือสิ่งทั้งสอง เช่น บนเหรียญจากรัชสมัยของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ที่พบในคริสต์ศตวรรษที่ 4 เป็นพระฉายาลักษณ์ของพระองค์ที่มีลูกโลกอยู่ในอุ้งพระหัตถ์ และจากรัชสมัยของจักรพรรดิเฮเดรียน ที่พบในคริสต์ศตวรรษที่ 2 เป็นรูปเทพเซลัสยืนเหยียบโลกด้วยเท้าข้างหนึ่ง

เมื่อคริสต์ศาสนาเริ่มเป็นที่แพร่หลายอย่างกว้างขวางขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ก็มีการเติมกางเขนขึ้นบนลูกโลกที่กลายมาเป็น “ลูกโลกประดับกางเขน” ที่เป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าของคริสต์ศาสนาที่มีอำนาจเหนือทุกอย่างในโลก ตามการใช้ทางสัญลักษณ์ทางคริสต์ศาสนาพระจักรพรรดิหรือพระมหากษัตริย์จะเป็นผู้ถือโลกในอุ้งพระหัตถ์แทนพระเป็นเจ้า แต่สำหรับผู้ที่มิได้นับถือศาสนาคริสต์ผู้ที่คุ้นเคยกับลูกโลกของผู้นอกศาสนา (pagan orb) การใช้ “ลูกโลกประดับกางเขน” ก็เป็นการประกาศถึงชัยชนะของสถาบันคริสต์ศาสนา

ในการสร้างรูปสัญลักษณ์ในยุคกลางขนาดของสิ่งที่แสดงบ่งถึงความสัมพันธ์ของความสำคัญต่อกันของสิ่งที่ปรากฏในสัญลักษณ์รอบข้าง ลูกโลกจะมีขนาดเล็กและประมุขหรือเทพจะมีขนาดใหญ่กว่าเพื่อที่จะเน้นความสำคัญขององค์ประกอบแต่ละอย่าง แม้ว่าจะเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจเหนืออาณาจักรโลกแต่การใช้ก็จำกัดอยู่ในหมู่ประมุขของเพียงไม่กี่ราชอาณาจักรเท่านั้น

อ้างอิง[แก้]

  • Leslie Brubaker, Dictionary of the Middle Ages, vol 5, pg. 564, ISBN 0684181614

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ลูกโลกประดับกางเขน

ระเบียงภาพ[แก้]