เต่ายูนิฟอรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Geochelone yniphora)
เต่ายูนิฟอรา
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Testudines
อันดับย่อย: Cryptodira
วงศ์: Testudinidae
สกุล: Astrochelys
สปีชีส์: A.  yniphora
ชื่อทวินาม
Astrochelys yniphora
Vaillant, 1885[2]
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง[3]
  • Testudo yniphora Vaillant, 1885
  • Testudo radiata yniphora Siebenrock, 1909
  • Testudo hyniphora Vaillant & Grandidier, 1910 (ผิดพลาดในอดีต)
  • Asterochelys yniphora Loveridge & Williams, 1957
  • Geochelone yniphora Loveridge & Williams, 1957
  • Geochelone ynophora Arnold, 1979 (ผิดพลาดในอดีต)
  • Astrochelys yniphora Bour, 1985
  • Testudo (Geochelone) yinphora Paull, 1999 (ผิดพลาดในอดีต)
  • Angonoka yniphora Le, Raxworthy, McCord & Mertz, 2006

เต่ายูนิฟอรา (อังกฤษ: Ploughshare tortoise, Madagascar tortoise, Angonoka, Madagascar angulated tortoise; ชื่อวิทยาศาสตร์: Astrochelys yniphora) สัตว์เลื้อยคลานประเภทเต่า จำพวกเต่าบกชนิดหนึ่ง

เต่ายูนิฟอรา มีลักษณะเด่น คือ กระดองจะกลมสูงกว่าเต่าชนิดอื่น ๆ ตรงขอบด้านข้างของกระดอง จะยังคงมีลายสามเหลี่ยมสีเข้มชี้ขึ้นข้างบน โดยที่ฐานของสามเหลี่ยมจะชนกันทำให้ส่วนล่างของขอบกระดองด้านข้างเป็นสีดำ แลดูคล้ายแฉกของดาว จัดว่าเป็นเต่าที่มีความสวยงามมากชนิดหนึ่ง ขนาดเมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้มีความยาวประมาณ 17.5 นิ้ว (44.5 เซนติเมตร) และตัวเมียประมาณ 15 นิ้ว (38 เซนติเมตร)

กินพืชจำพวกใบไม้ตระกูลถั่ว โดยเฉพาะที่อยู่ในสกุลชงโค (Bauhinia) เป็นอาหารหลักมากถึงร้อยละ 90 ที่เหลืออีกร้อยละ 10 เป็นหญ้า

เป็นเต่าที่พบได้เฉพาะบนเกาะมาดากัสการ์ ในป่าละเมาะใกล้ชายฝั่งทะเลทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใกล้กับอ่าวบาลีเบย์ที่เดียวเท่านั้น[4] ด้วยความสวยงามจึงมักถูกจับนำมาขายเป็นสัตว์เลี้ยงอยู่เสมอ ๆ[5]กอรปกับพื้นที่อาศัยถูกบุกรุกแผ้วถางด้วยไฟเพื่อทำการเกษตรรวมทั้งถูกจับไปบริโภคเป็นอาหาร จนคาดว่าเหลือปริมาณประชากรในธรรมชาติไม่ถึง 400 ตัว ถือได้ว่าเป็นเต่าบกชนิดที่หายากที่สุดในโลก[4] จึงมักตกเป็นข่าวลักลอบซื้อขายกันอย่างผิดกฎหมายอยู่บ่อย ๆ มีราคาซื้อขายที่สูงมากแม้ว่าปัจจุบันจะสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วก็ตาม โดยเต่าขนาดเล็กอายุประมาณ 3–4 ปี ขนาดประมาณ 6 นิ้ว มีราคาซื้อขายกันอยู่กับที่ประมาณ 200,000 บาท และตัวใหญ่อายุประมาณ 10 ปี ความยาวประมาณ 12 นิ้ว ราคาซื้อขายอยู่ที่ 1–2,000,000 บาท[6] โดยในตัวใหญ่มีราคาซื้อกันที่เซนติเมตรละ 200,000 บาท ราคาจะแตกต่างกันไปที่ความสวยงามของกระดองและอายุรวมถึงขนาด[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Leuteritz, T. & Pedrono, M. (Madagascar Tortoise and Freshwater Turtle Red List Workshop) (2008). "Astrochelys yniphora". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 15 January 2008.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Rhodin et al. 2010, p. 000.116.
  3. Fritz & Havaš 2007, p. 268.
  4. 4.0 4.1 4.2 หน้า 9 ต่อหน้า 1, เส้นทางทารุณ 'เต่า' สัตว์มงคล. มติชนปีที่ 39 ฉบับที่ 13968: วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2559
  5. "'เต่า'เหยื่อความเชื่อลักลอบค้า...ล่าล้างเผ่าพันธุ์". คมชัดลึก. 17 December 2013. สืบค้นเมื่อ 7 June 2016.
  6. หน้า 10 ต่อหน้า 1, กรมอุทยานโฉ่ฯมือมืดฉกเต่ามาดากัสการ์. ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21322: วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Astrochelys yniphora
  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Astrochelys yniphora ที่วิกิสปีชีส์