ภาษากืออึซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Geʽez)
ภาษากืออึซ
ግዕዝ
ออกเสียง[ˈɡɨʕ(ɨ)z]
ประเทศที่มีการพูดเอริเทรีย
สูญแล้วก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14[1][2]
ยังคงใช้เป็นภาษาพิธีกรรม[3]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรกืออึซ
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการภาษาพิธีกรรมของคริสตจักรเทอวาฮือโดออร์ทอดอกซ์เอริเทรีย, คริสตจักรเทอวาฮือโดออร์ทอดอกซ์เอธิโอเปีย, คริสตจักรคาทอลิกเอริเทรีย,[3] คริสตจักรคาทอลิกเอธิโอเปีย และชาวเบตาอิสราเอล[4]
รหัสภาษา
ISO 639-2gez
ISO 639-3gez
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษากืออึซ (กืออึซ: ግዕዝ, ออกเสียง: [ˈɡɨʕ(ɨ)z]( ฟังเสียง)) หรือที่งานเขียนวิชาการบางฉบับเรียกว่า ภาษาเอธิโอเปียคลาสสิก (อังกฤษ: Classical Ethiopian) และ ภาษาอีทีโอปิกคลาสสิก (อังกฤษ: Classical Ethiopic) เป็นภาษากลุ่มเซมิติกใต้โบราณภาษาหนึ่ง ภาษานี้มีต้นกำเนิดมาจากเอริเทรีย โดยจารึกอักษรกืออึซที่เก่าแก่ที่สุดได้รับการค้นพบในเมืองเมอเตอราทางตอนใต้ของเอริเทรีย

ทุกวันนี้มีการใช้ภาษากืออึซเป็นภาษาพิธีกรรมหลักของคริสตจักรเทอวาฮือโดออร์ทอดอกซ์เอริเทรีย, คริสตจักรเทอวาฮือโดออร์ทอดอกซ์เอธิโอเปีย, คริสตจักรคาทอลิกเอธิโอเปีย, คริสตจักรคาทอลิกเอริเทรีย และชุมชนชาวยิวเบตาอิสราเอล

ฮาเวิลทีเป็นเสาศิลาอนุสรณ์สมัยก่อนอัฆซุมโบราณซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเมอเตอรา และเป็นตัวอย่างที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบของอักษรกืออึซโบราณ นับตั้งแต่เอริเทรียได้รับเอกราช พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเอริเทรียได้ยื่นคำร้องต่อรัฐบาลเอธิโอเปียให้คืนโบราณวัตถุที่ถูกนำออกไปจากสถานที่แห่งนี้ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่เป็นผล

ภาษาทือเกรและภาษาทือกรึญญาต่างมีคำศัพท์คล้ายคลึงกับภาษากืออึซประมาณร้อยละ 70[5] นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าภาษากืออึซไม่ได้เป็นบรรพบุรุษร่วมของบรรดาภาษากลุ่มเซมิติกเอธิโอเปียสมัยใหม่ แต่เป็นภาษาที่แตกแขนงออกมาในยุคเริ่มแรกจากภาษาบรรพบุรุษในสมมุติฐานภาษาหนึ่งซึ่งยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ยืนยัน[6][7][8]

อ้างอิง[แก้]

  1. Gragg 1997b, p. 242: "Ge‘ez disappeared as a spoken language probably some time before the tenth century CE."
  2. De Lacy O'Leary, 2000 Comparative grammar of the Semitic languages. Routledge. p. 23.
  3. 3.0 3.1 Chain 1909: "No longer in popular use, Geʽez has always remained the language of the Church".
  4. "They read the Bible in Geez" (Leaders and Religion of the Beth Israel); "after each passage, recited in Geez, the translation is read in Kailina" (Festivals). [PER], publication date 1901–1906.
  5. Thompson, E. D. 1976. Languages of Northern Eritrea. In Bender, M. Lionel (ed.), The Non-Semitic Languages of Ethiopia, 597–603. East Lansing, Michigan: African Studies Center, Michigan State University.
  6. Connell, Dan; Killion, Tom (2010). Historical Dictionary of Eritrea (2nd, illustrated ed.). Scarecrow Press. p. 508. ISBN 978-0-8108-7505-0.
  7. Haarmann, Harald (2002). Lexikon der untergegangenen Sprachen [Lexicon of extinct languages] (ภาษาเยอรมัน) (2nd ed.). C.H. Beck. p. 76. ISBN 978-3-406-47596-2.
  8. Amsalu Aklilu, Kuraz Publishing Agency, ጥሩ የአማርኛ ድርሰት እንዴት ያለ ነው! p. 42