ไก่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Gallus gallus domesticus)

ไก่
ไก่ตัวผู้ (ซ้าย) และไก่ตัวเมีย (ขวา)
สถานะการอนุรักษ์
สัตว์เลี้ยงหรือปศุสัตว์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์ปีก
อันดับ: อันดับไก่
วงศ์: วงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา
สกุล: Gallus
(Linnaeus, 1758)
สปีชีส์: Gallus domesticus
ชื่อทวินาม
Gallus domesticus
(Linnaeus, 1758)
แผนที่การกระจายพันธุ์
ลูกเจี๊ยบขณะมีอายุได้หนึ่งวัน

ไก่ เป็นสัตว์ปีก มีหลากหลายสายพันธุ์ที่อยู่ในป่าเช่นไก่ป่าอินเดียและไก่ป่าลังกา[1] มีต้นกำเนิดจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บินได้ในระยะสั้น หากินตามพื้นดิน ตกไข่ก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว ตัวผู้หงอนใหญ่และเดือยยาว

เดิมทีไก่เคยเลี้ยงไว้เฉพาะในการแข่งขันหรือในโอกาสพิเศษ ยังไม่เคยมีใครเลี้ยงไก่ไว้เป็นอาหารจนกระทั่งสมัยเฮลเลนิสต์ (ศตวรรษที่ 4–2 ก่อนคริสต์ศักราช)[2][3] โดยหลักมนุษย์เลี้ยงไก่ไว้เป็นแหล่งอาหาร (บริโภคทั้งเนื้อและไข่) และสัตว์เลี้ยง

ไก่ถือเป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงที่กระจายตัวอย่างแพร่หลายและพบได้ทั่วไปมากที่สุด ณ ค.ศ. 2018 มีประชากรไก่รวม 2.37 หมื่นล้านตัว[4] เพิ่มขึ้นจาก 1.9 หมื่นล้านตัวใน ค.ศ. 2011[5] และมีไก่บนโลกนี้มากกว่านกชนิดอื่น ๆ[5]

การศึกษาทางพันธุกรรมแสดงให้เห็นถึงต้นกำเนิดหลายแห่งในเอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก[6] แต่เคลดที่พบในทวีปอเมริกา, ยุโรป, ตะวันออกกลาง และแอฟริกามีต้นกำเนิดจากอนุทวีปอินเดีย ไก่เริ่มแพร่กระจายจากอินเดียโบราณไปที่ลิเดียในเอเชียไมเนอร์ตะวันตก แล้วไปที่กรีซในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล[7] ตามรายงานจากพงศาวดารฟาโรห์ทุตโมสที่ 3 ในประโยค "นกที่ออกลูกทุกวัน" ทำให้รู้ว่าไก่เป็นที่รู้จักในอียิปต์มาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสตกาล โดยมาจากดินแดนระหว่างซีเรียกับชินอาร์ บาบิโลเนีย[8][9][10]

อ้างอิง[แก้]

  1. แม่แบบ:Unbulleted list citebundle
  2. "The Ancient City Where People Decided to Eat Chickens". NPR. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 16, 2018. สืบค้นเมื่อ May 15, 2018.
  3. Perry-Gal, Lee; Erlich, Adi; Gilboa, Ayelet; Bar-Oz, Guy (11 August 2015). "Earliest economic exploitation of chicken outside East Asia: Evidence from the Hellenistic Southern Levant". Proceedings of the National Academy of Sciences. 112 (32): 9849–9854. Bibcode:2015PNAS..112.9849P. doi:10.1073/pnas.1504236112. PMC 4538678. PMID 26195775.
  4. "Number of chickens worldwide from 1990 to 2018". Statista. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 27, 2020. สืบค้นเมื่อ February 23, 2020.
  5. 5.0 5.1 UN's Food and Agriculture Organisation (July 2011). "Global Livestock Counts". The Economist. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 15, 2016. สืบค้นเมื่อ July 13, 2017.
  6. Xiang, Hai; Gao, Jianqiang; Yu, Baoquan; Zhou, Hui; Cai, Dawei; Zhang, Youwen; Chen, Xiaoyong; Wang, Xi; Hofreiter, Michael; Zhao, Xingbo (9 December 2014). "Early Holocene chicken domestication in northern China". Proceedings of the National Academy of Sciences. 111 (49): 17564–17569. Bibcode:2014PNAS..11117564X. doi:10.1073/pnas.1411882111. PMC 4267363. PMID 25422439.
  7. Maguelonne Toussaint-Samat, (Anthea Bell, translator) The History of Food, Ch. 11 "The History of Poultry", revised ed. 2009, p. 306.
  8. Carter, Howard (April 1923). "An Ostracon Depicting a Red Jungle-Fowl (The Earliest Known Drawing of the Domestic Cock)". The Journal of Egyptian Archaeology. 9 (1/2): 1–4. doi:10.2307/3853489. JSTOR 3853489.
  9. Pritchard, Earl H. "The Asiatic Campaigns of Thutmose III". Ancient Near East Texts related to the Old Testament. p. 240.
  10. Roehrig, Catharine H.; Dreyfus, Renée; Keller, Cathleen A. (2005). Hatshepsut: From Queen to Pharaoh. New York: Metropolitan Museum of Art. p. 268. ISBN 978-1-58839-173-5. สืบค้นเมื่อ November 26, 2015.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]