เพื่อนของโดโรธี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Friend of Dorothy)
จูดี การ์แลนด์รับบทเป็นโดโรธีใน เดอะวิซาร์ดออฟออซ หนึ่งในสองต้นกำเนิดที่เป็นไปได้ของวลี เพื่อนของโดโรธี หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศหรือ เกย์

เฟรนออฟโดโรธี หรือ เพื่อนของโดโรธี (อังกฤษ: friend of Dorothy) บางครั้งย่อว่า FOD เป็นคำสแลงของชาวเกย์ที่สื่อถึงชายรักร่วมเพศ[1] วลีนี้ใช้ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงที่การเป็นเกย์ผิดกฎหมายในสหรัฐ เมื่อถามใครว่าเป็น "เพื่อนของโดโรธี" หรือเปล่า จะเป็นการถามถึงรสนิยมทางเพศโดยไม่ให้ผู้อื่นรู้ คล้ายกับคำว่า เพื่อนของนางคิง (friend of Mrs. King) ที่ใช้ในอังกฤษในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20[2]

ต้นกำเนิด[แก้]

ต้นกำเนิดของวลีนี้ไม่อาจชี้ชัดได้ บางเชื่อว่านำมาจากหนังสือ The Road to Oz (1909) หนังสือเล่มต่อของ Wonderful Wizard of Oz ในหนังสือ หนึ่งในตัวละครโพลีโครม (Polychrome) กล่าวกับโดโรธีหลังจากเจอเพื่อนร่วมทางของเธอว่า "เธอมีเพื่อนประหลาด, โดโรธี" และโดโรธีตอบกลับว่า "ความประหลาดไม่ใช่สาระสำคัญ ตราบเท่าที่พวกเขาเป็นเพื่อนเรา"[3] คำว่าเควียร์ (queer) นอกจากจะแปลว่าประหลาดแล้วยังเป็นสแลงแปลว่าเกย์หรือคนที่ชอบเพศเดียวกันอีกด้วย[4] อีกทฤษฎีเชื่อว่า เพื่อนของโดโรธีอ้างถึงหนังเดอะวิซาร์ดออฟออซ เพราะจูดี การ์แลนด์ผู้แสดงเป็นตัวละครหลักโดโรธี เกย์ไอคอน ในหนังโดโระยอกรับทุกคนที่แตกต่าง ยกตัวอย่างเช่น สิงโตอ่อนโยน (gentle lion) "ฉันกลัวว่าคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าฉันเป็นสิงโตที่สำรวย"[5][6]

ในหลาย ๆ เล่มของหนังสือออซ มักมีพลอตเรื่องที่เป็นมิตรกับกลุ่มLGBT ในเล่มแรก โดโรธียอมรับว่าเธอแอบชอบไชน่าปริ้นเซส (China Princess) ออซม่า (Ozma) กลายเป็นผู้ชายและความทรงจำยังถูกลบเกือยทั้งหมด กองกำลังทหารหญิงล้วนพยายามจะยึดออซ ออซมาแต่งงานกับโดโรธีในเล่มที่ 6 และทำให่โดโรธีเป็นเจ้าหญิงแห่งออซและเพื่อนเก่า มีหลายสิ่งมีชีวิตที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มหญิงล้วนเช่น พวกเล่นแร่แปลธาตุอากาศและแม่มด กลินดา แม่มดดีอาศัยอยู่ในปราสาทร่วมกับหญิงสาวที่สวยที่สุดในออซ 100 คนและเมื่อต้อนรับโดโรธีและออซมาด้วยจูบและการเต้น

ความเข้าใจผิด[แก้]

ในช่วงต้นยุค 80 หน่วยสืบสวนอาชญากรรมนาวี (Naval Criminal Investigative Service หรือ NIS) ได้ทำการสืบสวนรักร่วมเพศในชิคาโก ผู้สืบสวนทราบมาว่าชายเกย์มักเรียนตัวเองว่าเป็นเพื่อนของโดโรธี โดยไม่รู้ประวัติของวลีนี้ NIS เชื่อว่าผู้หญิงชื่อโดโรธีนั้นมีอยู่จริงและรู้จักเหล่าทหารเกย์จำนวนมาก พงกเขาจึงพยายามตามหาโดโรธีผู้นี้อย่างยิ่งใหญ่และหวังว่าจะสามารถเกลี่ยกล่อมให้เธอเผยรายชื่อทหารที่เป็นเกย์[7]

การใช้ในปัจจุบัน[แก้]

คาเฟ่นี้มีชื่อว่าน้องของโดโรธี (Dorothy's Sister) ตั้งอบู่ในหมู่บ้านเกย์ในออกแลนด์ เป็นการเล่นคำจากวลีนี้

เริ่มตั้งแต่ปลายยุค 80 ผู้โดยสารเกย์และเลสเบี้ยนเรือท่องเที่ยว (cruise) เรือของให้ลูกเรือประกาศการรวมตัวกันของชาว LGBT เป็นหนึ่งในกิจกรรมประจำวันของเรือ ลูกเรือลังเลที่จะประกาศตรง ๆ จึงใช้วลีว่า "การร่วมตัวกันของเพื่อนของโดโรธีแทน"[8]

การรวมตัวแบบนี้เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นจึงมีการจัดอยู่บ่อยครั้ง ปัจจุบันบนเรือมักมี อีเวนท์ FOD หลายครั้ง บางทีอาจมากกว่าหนึ่งครั้งในคืนเดียว[9] อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าร่วมมักมีไม่มาก[10]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • Chauncey, George (1994). Gay New York: Gender, Urban Culture, and the Makings of the Gay Male World, 1890–1940. New York: Basic Books.
  • Duberman, Martin (1993). Stonewall. New York: Dutton. Lesbian and gay life before and after Stonewall, as seen by six contemporaries.
  • Duberman, Martin, Martha Vicinus, and George Chauncey, Jr. (eds) (1989). Hidden From History: Reclaiming the Gay and Lesbian Past. New York: NAL Books. Twenty-nine essays covering aspects of the gay and lesbian world from ancient to contemporary times.
  • Grahn, Judy (1990). Another Mother Tongue: Gay Words, Gay Worlds. Boston: Beacon Press. Explores the use of language to define gay and lesbian culture by examining stereotypes as access points into history.
  • Katz, Jonathan (1992). Gay American History: Lesbians and Gay Men in the U.S.A.: a Documentary History. Rev. Ed. New York: Meridian.
  • Marcus, Eric (1992). Making History: The Struggle for Gay and Lesbian Equal Rights, 1945–1990: An Oral History. New York: HarperCollins.

อ้างอิง[แก้]

  1. Leap, William; Tom Boellstorff (2003). Speaking in Queer Tongues: Globalization and Gay Language. University of Illinois Press. p. 98. ISBN 0-252-07142-5.
  2. Richardson, John (1999). "The Sorcerer's Apprentice". The New York Times.
  3. Baum, Lyman Frank (1909). The Road to Oz. ISBN 0688099971.
  4. "queer". Merriam-Webster.
  5. Brantley, Ben (June 28, 1994). "Why Oz Is a State of Mind In Gay Life and Drag Shows". The New York Times. p. C.1.
  6. Paglia, Camille (June 14, 1998). "Judy Garland As a Force Of Nature". The New York Times.
  7. Shilts, Randy (1993). Conduct Unbecoming: Gays & Lesbians in the U.S. Military. Google Books. New York City, New York: St. Martin's Press. p. 387. ISBN 0-312-34264-0.
  8. "FOD FAQ's, or Who Are the Friends of Dorothy? - Cruise Critic". สืบค้นเมื่อ 18 October 2016.
  9. Guaracino, Jeff (2007). Gay and lesbian tourism : the essential guide for marketing (1st ed.). Amsterdam: Elsevier/Butterworth-Heinemann. ISBN 0-7506-8232-9.
  10. "FOD FAQ's, or Who Are the Friends of Dorothy?". Cruise Critic. สืบค้นเมื่อ 2016-05-06.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]