ภาษารูปนัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Formal language)
โครงสร้างของประโยคในภาษาอังกฤษที่แม้ไม่มีความหมายแต่จัดดีแล้วทางวากยสัมพันธ์ "Colorless green ideas sleep furiously" (ตัวอย่างจากโนม ชอมสกี ค.ศ. 1957).

ในตรรกศาสตร์, คณิตศาสตร์, ภาษาศาสตร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ภาษารูปนัย (อังกฤษ: Formal language) บ้างก็ว่า ภาษาแบบแผน ประกอบด้วยคำซึ่งสะกดด้วยตัวอักษร (symbol (formal)) จากชุดตัวอักษรชุดหนึ่ง และจัดดีแล้ว (well-formedness) ตามกฎชุดหนึ่ง

ชุดตัวอักษรของภาษารูปนัยภาษาหนึ่งประกอบด้วยสัญลักษณ์, ตัวอักษร หรือโทเค็น ซึ่งต่อกัน (concatenate) เป็นสายอักขระในภาษานั้น[1] สายอักขระแต่ละสายซึ่งต่อกันขึ้นจากสัญลักษณ์ในชุดตัวอักษรนั้นเรียกว่าคำ และบางครั้งคำในภาษารูปนัยภาษาหนึ่งก็เรียกว่าคำที่จัดดีแล้ว หรือ สูตรที่จัดดีแล้ว (well-formed formula) ภาษารูปนัยถูกกำหนดโดยไวยากรณ์รูปนัย (formal grammar) เช่นไวยากรณ์ปรกติ (regular grammar) หรือไวยากรณ์ไม่พึ่งบริบท (context-free grammar) ซึ่งประกอบด้วยกฎการจัดรูป (formation rule) ของตัวเอง

สาขาทฤษฎีภาษารูปนัย (อังกฤษ: Formal language theory) ศึกษาด้านวากยสัมพันธ์ หรือรูปแบบโครงสร้างภายในของภาษารูปนัยเป็นหลัก ทฤษฎีภาษารูปนัยแยกออกมาจากภาษาศาสตร์ เพื่อทำความเข้าใจถึงระเบียบทางวากยสัมพันธ์ของภาษาธรรมชาติ ภาษารูปนัยถูกใช้ในวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นรากฐานของนิยามของไวยากรณ์ของภาษาโปรแกรม และของภาษาธรรมชาติรูปแบบรูปนัยซึ่งคำในภาษานั้นแทนแนวคิดที่สัมพันธ์กับความหมายอันหนึ่ง ตามปกติในทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ ปัญหาการตัดสินใจถูกนิยามเป็นภาษารูปนัย และกลุ่มความซับซ้อนถูกนิยามเป็นเซตของภาษารูปนัยที่เครื่องซึ่งมีพลังในการคำนวณจำกัดสามารถแจงส่วน (parsing) ได้ ในตรรกศาสตร์และรากฐานของคณิตศาสตร์ ภาษารูปนัยถูกนำมาใช้เพื่อแทนวากยสัมพันธ์ของระบบสัจพจน์ (axiomatic system) และรูปนัยนิยม (formalism (philosophy of mathematics) เป็นปรัชญาที่กล่าวว่าคณิตศาสตร์ทั้งหมดล้วนสามารถถูกลดรูปให้กลายเป็นเพียงกระบวนการดัดแปลงทางวากยสัมพันธ์ของภาษารูปนัยได้

ประวัติ[แก้]

คำว่าภาษารูปนัย (formal language) อาจถูกใช้เป็นครั้งแรกใน Begriffsschrift (แปลว่า การเขียนแนวคิด, concept writing) โดย ก็อทโลพ เฟรเกอ (Gottlob Frege) ในปี ค.ศ. 1879 ซึ่งอธิบายถึง "ภาษารูปนัยของภาษาบริสุทธิ์" [หมายเหตุ 1][2]

คำจากชุดตัวอักษร[แก้]

ในบริบทของภาษารูปนัย ชุดตัวอักษรเป็นเซตของสิ่งใดก็ได้ อย่างไรก็ตามการใช้คำว่าชุดตัวอักษรในความหมายทั่วไปทำให้เข้าใจได้ง่ายกว่า เช่นชุดอักขระอาทิ ASCII หรือยูนิโคด สมาชิกในชุดตัวอักษรเรียกว่าตัวอักษร ชุดตัวอักษรชุดหนึ่งสามารถมีตัวอักษรได้เยอะนับไม่ถ้วน[หมายเหตุ 2] อย่างไรก็ตาม นิยามในทฤษฎีภาษารูปนัยส่วนใหญ่ระบุให้ชุดตัวอักษรมีสมาชิกจำนวนจำกัด และผลลัพธ์ส่วนใหญ่จะใช้ได้กับชุดตัวอักษรแบบนี้เท่านั้น

คำ คือลำดับของตัวอักษรจากชุดตัวอักษรหนึ่งซึ่งมีขนาดจำกัด (เช่น สายอักขระ) เซตของคำทุกคำที่ประกอบขึ้นจากตัวอักษรในชุดตัวอักษร Σ มักถูกเขียนเป็น Σ* (ใช้สัญลักษณ์คลีนสตาร์ (Kleene star)) ความยาวของคำคือจำนวนของตัวอักษรในคำนั้น ชุดตัวอักษรทุกชุดมีคำ ๆ เดียวที่มีความยาวเท่ากับ 0 นั่นคือ คำว่าง ซึ่งมักถูกแทนด้วยอักษร e, ε, λ หรือ Λ คำสองคำสามารถจับมาต่อกัน (Concatenation) เพื่อสร้างคำใหม่ขึ้นมาได้ โดยจะมีความยาวเท่ากับความยาวของคำที่นำมาต่อกันรวมกัน และการต่อคำ ๆ หนึ่งกับคำว่างจะได้ผลลัพธ์เป็นคำเดิมคำนั้น

ในการประยุกต์ใช้ในสาขาอื่น โดยเฉพาะตรรกศาสตร์ ชุดตัวอักษรมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า วงศัพท์ และคำมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า สูตร (formula) หรือ ประโยค (sentence) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนการเปรียบเทียบ จากการเทียบกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวอักษรกับคำ เป็นการเทียบกับความสัมพันธ์ระหว่างคำและประโยค

บทนิยาม[แก้]

ภาษารูปนัย L ที่ใช้ชุดตัวอักษร Σ เป็นเซตย่อยของเซตของคำทุกคำ Σ* ในชุดตัวอักษรนั้น บางครั้งคำแต่ละคำก็จะถูกจัดกลุ่มเป็นนิพจน์ และกฎเกณฑ์บางอย่างจะถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อสร้าง 'นิพจน์ที่จัดดีแล้ว'

ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์ คำว่า "เชิงรูปนัย" หรือ "รูปนัย" มักถูกละเว้นไว้เพื่อลดการใช้คำแบบฟุ่มเฟือย เนื่องจากในสาขาวิชาเหล่านี้ภาษาธรรมชาติมักไม่ถูกพูดถึงบ่อยอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องระบุว่ากำลังใช้คำในความหมายเชิงรูปนัย

ในขณะที่ทฤษฎีภาษารูปนัยโดยทั่วไปให้ความสนใจกับภาษารูปนัยที่มีกฎเกณฑ์ด้านวากยสัมพันธ์ แต่บทนิยามจริง ๆ ของแนวคิด "ภาษารูปนัย" นั้นก็เป็นดังที่ระบุไว้ด้านบนเพียงเท่านั้นคือ: เซตของสายอักขระที่มีความยาวจำกัด (ซึ่งอาจมีจำนวนนับไม่ถ้วนก็ได้) ซึ่งประกอบขึ้นจากชุดตัวอักษรชุดหนึ่ง ไม่มีนิยามที่มากไปหรือน้อยไปกว่านี้ ในทางปฏิบัติ มีภาษาหลายแบบที่สามารถอธิบายด้วยกฎเกณฑ์ได้ เช่นภาษาปรกติ (Regular language) หรือ ภาษาไม่พึ่งบริบท (context-free language) ความหมายของไวยากรณ์รูปนัยใกล้เคียงกับแนวคิดเรื่อง "ภาษา" ตามสหัชญาณมากกว่า ซึ่งก็คือภาษาที่ถูกกฎหนดโดยกฎเกณฑ์ด้านวากยสัมพันธ์ และหากใช้นิยามของมันอย่างผิด ๆ อาจถือได้ว่าภาษารูปนัยภาษาหนึ่งจะมาพร้อมกับไวยากรณ์รูปนัยรูปแบบหนึ่งที่เป็นตัวบรรยายภาษานั้น ๆ

ตัวอย่าง[แก้]

ข้อความดังต่อไปนี้เป็นกฎที่บรรยายถึงภาษารูปนัย L ภาษาหนึ่งซึ่งประกอบขึ้นจากชุดตัวอักษร Σ = {0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, +, =}:

  • สายอักขระที่ไม่ว่างทุกสาย ที่ไม่มีตัว "+" หรือ "=" และไม่ได้เริ่มต้นด้วยตัว "0" เป็นสายอักขระที่มีอยู่ในภาษา  L
  • สายอักขระ "0" มีอยู่ในภาษา L
  • สายอักขระที่มีตัว "=" นั้นจะมีอยู่ในภาษา L ก็ต่อเมื่อมีตัว "=" เพียงตัวเดียวเท่านั้น และจะต้องอยู่ระหว่างสายอักขระสองสายที่ถูกต้องตามกฎของภาษา L
  • สายอักขระที่มีตัว "+" แต่ไม่มีตัว "=" นั้นจะมีอยู่ในภาษา L ก็ต่อเมื่อตัว "+" ทุกตัวในสายอักขระนั้นอยู่ระหว่างสายอักขระสองสายที่ถูกต้องตามกฎของภาษา L
  • ไม่มีสายอักขระอื่นใดอยู่ในภาษา L นอกเหนือจากที่กฎที่ระบุไว้ก่อนหน้านี้สื่อถึง

ภายใต้กฎเหล่านี้ สายอักขระ "23+4=555" มีอยู่ในภาษา L แต่ไม่มีสายอักขระ "=234=+" อยู่ในภาษา L ภาษารูปนัยภาษานี้แสดงถึงจำนวนธรรมชาติ, การบวกที่จัดดีแล้ว และสมการของการบวกที่จัดดีแล้ว แต่แสดงเพียงลักษณะว่าเป็นอย่างไร (วากยสัมพันธ์) แต่ไม่ได้แสดงว่ามีความหมายอย่างไร ตัวอย่างเช่น กฎเหล่านี้ไม่ได้ระบุว่า "0" หมายถึงเลขศูนย์, "+" หมายถึงการบวก, "23+4=555" เป็นเท็จ, ฯลฯ

การสร้าง[แก้]

เราสามารถแจกแจงคำที่จัดดีแล้วทุกคำในภาษาจำกัดภาษาหนึ่งได้ เช่น เราสามารถบรรยายภาษา L ได้ว่า L = {a, b, ab, cba} กรณีลดรูปของการสร้างแบบนี้คือภาษาว่างซึ่งไม่มีคำอยู่เลย (L = )

ทว่าแม้แต่ชุดตัวอักษรที่จำกัด (ไม่ว่าง) เช่น Σ = {a, b} ก็มีคำที่มีความยาวจำกัดที่ประกอบขึ้นจากชุดตัวอักษรนั้นอยู่มากเป็นจำนวนไม่จำกัด (อนันต์): "a", "abb", "ababba", "aaababbbbaab", .... ดังนั้นภาษารูปนัยโดยปกติเป็นภาษาอนันต์ และการบรรยายภาษารูปนัยอนันต์นั้นไม่สามารถทำได้ด้วยเพียงการเขียนว่า L = {a, b, ab, cba} ข้อความต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของภาษารูปนัย:

  • L = Σ* เซตของคำทุกคำในชุดตัวอักษร Σ
  • L = {a}* = {an} โดย n คือจำนวนธรรมชาติ และ "an" หมายถึง "a" ซ้ำกัน n ครั้ง (เซตของคำทุกคำที่ประกอบขึ้นจากสัญลักษณ์ "a" เท่านั้น)
  • เซตของโปรแกรมที่ถูกต้องทางวากยสัมพันธ์ทุกโปรแกรมในภาษาโปรแกรมภาษาหนึ่ง (ซึ่งปกติวากยสัมพันธ์ของภาษานั้นถูกให้นิยามด้วยไวยากรณ์ไม่พึ่งบริบท (context-free grammar))
  • เซตของอินพุตที่ทำให้เครื่องทัวริงเครื่องหนึ่งหยุด
  • เซตของสายอักขระใหญ่ (maximal string) สุดของอักขระแอสกีอักษรเลขในบรรทัดต่อไป
    the set of maximal strings of alphanumeric ASCII characters on this line, i.e.,
    คือเซต {the, set, of, maximal, strings, alphanumeric, ASCII, characters, on, this, line, i, e}

รูปแบบการกำหนดคุณสมบัติของภาษา[แก้]

ภาษารูปนัยถูกใช้เป็นเครื่องมือในหลายสาขาวิชา แต่ทฤษฎีภาษารูปนัยไม่สนใจในภาษาใดภาษาหนึ่งโดยเฉพาะ (ยกเว้นในการยกตัวอย่าง) และสนใจศึกษารูปแบบในการกำหนดภาษาต่าง ๆ สำหรับการบรรยายภาษาดังเช่น

คำถามทั่วไปเกี่ยวกับการกำหนดภาษาแต่ละรูปแบบมีดังเช่น

  • มีความสามารถในการแสดงออกเท่าไหร่? (expressive power) (การกำหนดรูปแบบX สามารถบรรยายภาษาทุกภาษาที่รูปแบบ Y สามารถบรรยายได้หรือไม่? มันสามารถบรรยายภาษาอื่น ๆ ได้หรือไม่?)
  • มีความสามารถในการรู้จำเท่าไหร่? (recognizability) (มันยากแค่ไหน ที่จะรู้จำว่าคำ ๆ หนึ่งนั้นอยู่ในภาษาหนึ่งที่ถูกบรรยายโดยรูปแบบ X หรือไม่?)
  • มีความสามารถในการเปรียบเทียบเท่าไหร่? (comparability) (มันยากแค่ไหน ที่จะตัดสินว่าภาษาสองภาษา ซึ่งถูกบรรยายโดยรูปแบบ X และ Y หรือถูกบรรยายโดยรูปแบบ X เหมือนกันทั้งสองนั้น ความจริงแล้วเป็นภาษาเดียวกัน?)

คำตอบของปัญหาการตัดสินใจเหล่านี้มักลงเอยด้วย "ไม่สามารถทำได้เลย" หรือ "สิ้นเปลืองมาก" (ซึ่งจะมีคำอธิบายว่าสิ้นเปลืองในแง่ไหน) ทฤษฎีภาษารูปนัยจึงเป็นสาขาวิชาหลักที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการคำนวณได้และทฤษฎีความซับซ้อน ภาษารูปนัยถูกจัดหมวดหมู่ในลำดับชั้นชอมสกี (Chomsky hierarchy) ตามพลังหรือความสามารถในการแสดงออกของไวยากรณ์เพิ่มพูนของภาษาเหล่านั้น รวมไปถึงตามความซับซ้อนของออโตมาตอนที่รู้จำมัน ไวยากรณ์ปรกติและไวยากรณ์ไม่พึ่งบริบทเป็นตัวเลือกที่ประนีประนอมระหว่างความสามารถในการแสดงออกและความง่ายในการแจงส่วน (parsing) และถูกใช้อย่างแพร่หลายในเชิงปฏิบัติ

การดำเนินการบนภาษา[แก้]

การดำเนินการบนภาษาประกอบด้วยการดำเนินการของเซตชุดมาตรฐาน เช่นยูเนียน อินเตอร์เซกชัน และส่วนเติมเต็ม กับการดำเนินการอีกชุดหนึ่งซึ่งเป็นการดำเนินการบนสายอักขระที่ประยุกต์ใช้แบบสมาชิกต่อสมาชิก (element-wise)

ตัวอย่าง: สมมุติให้ และ เป็นภาษาที่มีชุดตัวอักษร ร่วมกัน

  • การต่อกันของทั้งสอง ประกอบด้วยสายอักขระทั้งหมดในรูป โดย เป็นสายอักขระจาก และ เป็นสายอักขระจาก
  • อินเตอร์เซกชันหรือส่วนร่วมของทั้งสอง ประกอบด้วยสายอักขระทั้งหมดที่มีอยู่ในทั้งสองภาษา
  • ส่วนเติมเต็มของ : เทียบกับ ประกอบด้วยสายอักขระทั้งหมดจาก ที่ไม่มีอยู่ใน
  • คลีนสตาร์: ภาษาที่ประกอบด้วยคำทุกคำที่เกิดจากการต่อกันของคำจากภาษาต้นฉบับจำนวนศูนย์คำขึ้นไป
  • การย้อนกลับ:
    • ให้ ε เป็นคำว่าง แล้ว และ
    • สำหรับคำไม่ว่างแต่ละคำ (โดย เป็นสมาชิกของชุดตัวอักษรชุดหนึ่ง) ให้
    • ฉะนั้นแล้วสำหรับภาษา ,
  • สาทิสสัญฐานของสายอักขระ (String homomorphism)

การดำเนินการบนสายอักขระ (string operations) เหล่านี้ถูกใช้เพื่อสำรวจหาสมบัติการปิดของภาษาหมวดหมู่หนึ่ง ภาษาหมวดหมู่หนึ่งมีสมบัติการปิดหรือ "ปิด" ภายใต้การดำเนินการอย่างหนึ่ง เมื่อกระทำกับภาษาในหมวดหมู่นั้นแล้วได้ผลลัพธ์เป็นภาษาในหมวดหมู่เดิม ตัวอย่างเช่น ภาษาไม่พึ่งบริบทซึ่งปิดภายใต้การดำเนินการยูเนียน ต่อกัน และส่วนร่วมกับภาษาปรกติ แต่ไม่ปิดภายใต้การดำเนินการส่วนร่วมหรือส่วนเติมเต็ม ทฤษฎีของทริโอ (cone (formal languages)) และตระกูลนามธรรมของภาษา (abstract family of languages) ศึกษาเกี่ยวกับสมบัติการปิดของภาษา[3]

สมบัติการปิดของตระกูลภาษาต่าง ๆ ตามฮอปครอฟท์และอูลมันน์
( ดำเนินการ ซึ่งทั้ง และ อยู่ในตระกูลภาษาเดียวกันตามแต่ละสดมภ์)
การดำเนินการ ปรกติ DCFL CFL IND CSL เรียกซ้ำ RE
ยูเนียน ใช่ ไม่ ใช่ ใช่ ใช่ ใช่ ใช่
อินเตอร์เซกชัน ใช่ ไม่ ไม่ ไม่ ใช่ ใช่ ใช่
ส่วนเติมเต็ม ใช่ ใช่ ไม่ ไม่ ใช่ ใช่ ไม่
การต่อกัน ใช่ ไม่ ใช่ ใช่ ใช่ ใช่ ใช่
คลีนสตาร์ ใช่ ไม่ ใช่ ใช่ ใช่ ใช่ ใช่
สาทิสสัญฐาน (ของสายอักขระ), ใช่ ไม่ ใช่ ใช่ ไม่ ไม่ ใช่
สาทิสสัญฐาน (ของสายอักขระ) ไร้ ε, ใช่ ไม่ ใช่ ใช่ ใช่ ใช่ ใช่
การแทนที่, ใช่ ไม่ ใช่ ใช่ ใช่ ไม่ ใช่
สาทิสสัญฐานผกผัน, ใช่ ใช่ ใช่ ใช่ ใช่ ใช่ ใช่
การย้อนกลับ ใช่ ไม่ ใช่ ใช่ ใช่ ใช่ ใช่
อินเตอร์เซกชันกับภาษาปรกติ ใช่ ใช่ ใช่ ใช่ ใช่ ใช่ ใช่

การประยุกต์ใช้[แก้]

ภาษาโปรแกรม[แก้]

คอมไพเลอร์ หรือโปรแกรมแปลโปรแกรมมีส่วนประกอบที่ชัดเจนอยู่สองส่วน คือตัววิเคราะห์ศัพท์ (Lexical analysis) ที่จะระบุโทเค็นของไวยากรณ์ของภาษาโปรแกรมเช่น ตัวระบุ (identifier) หรือคำสงวน ค่าคงตัว (Literal) ตัวเลขและสายอักขระ เครื่องหมายวรรคตอนและสัญลักษณ์ตัวดำเนินการ ซึ่งก็ถูกกำหนดอีกทีโดยภาษารูปนัยที่เรียบง่ายกว่าซึ่งโดยทั่วไปก็ทำขึ้นด้วยนิพจน์ปรกติ ส่วนนี้ถูกสร้างขึ้นด้วยเครื่องมือแบบ lex (Lex (software)) และส่วนที่สองคือตัวแจงส่วนที่จะทดลองตัดสินว่าโปรแกรมต้นฉบับนั้นสมเหตุสมผลทางวากยสัมพันธ์หรือไม่ หมายความว่าโปรแกรมต้นฉบับนั้นจัดดีแล้วตามไวยากรณ์ของภาษาโปรแกรมที่คอมไพเลอร์ถูกสร้างขึ้นมาหรือไม่ ส่วนนี้ถูกสร้างขึ้นด้วยตัวสร้างตัวแจงส่วน (compiler-compiler) เช่นyacc

คอมไพเลอร์ทำหน้าที่มากกว่าการแจงส่วนรหัสต้นฉบับ แต่ยังแปลรหัสให้อยู่ในรูปแบบสั่งทำการรูปแบบหนึ่งด้วย ดังนั้นตัวแจงส่วนจึงให้คำตอบเป็นใช่-ไม่ใช่มากกว่าหนึ่งคำตอบ ซึ่งปกติเป็นต้นไม้วากยสัมพันธ์แบบนามธรรม (abstract syntax tree) ที่คอมไพเลอร์นำมาใช้ในขั้นต่อ ๆ มาเพื่อสุดท้ายผลิตไฟล์สั่งทำการขึ้นจากรหัสเครื่องที่จะทำการบนฮาร์ดแวร์โดยตรง หรือจากรหัสไบต์ที่ต้องใช้เครื่องเสมือน (virtual machine) เพื่อทำการ

ทฤษฎี ระบบ และการพิสูจน์เชิงรูปนัย[แก้]

แผนภาพนี้แสดงถึงการแบ่งหมวดหมู่เชิงวากยสัมพันธ์ภายในระบบรูปนัย สายอักขระ (Strings of symbols) สามารถถูกแบ่งออกได้อย่างกว้าง ๆ เป็นสายอักขระที่ไม่ได้ความกับสูตรที่จัดดีแล้ว (well-formed formula) และเซตของสูตรที่จัดดีแล้วสามารถถูกแบ่งออกเป็นอันที่เป็นทฤษฎีบท (theorem) กับที่ไม่เป็นทฤษฎีบท

ในคณิตตรรกศาสตร์ ทฤษฎีรูปนัย (formal theory) คือชุดของประโยคในภาษารูปนัยภาษาหนึ่ง

ระบบรูปนัย (เรียกอีกอย่างว่า แคลคูลัสเชิงตรรกะ หรือ ระบบเชิงตรรกะ) ประกอบด้วยภาษารูปนัยพร้อมกับระบบนิรนัย (deductive system) ซึ่งอาจประกอบด้วยกฎการปริวรรต (rewriting) ชุดหนึ่งซึ่งสามารถถูกตีความเป็นกฎการอนุมานที่สมเหตุสมผลได้ หรือสัจพจน์ชุดหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง ระบบรูปนัยถูกใช้เพื่อสืบ (proof theory) นิพจน์หนึ่งมาจากนิพจน์อื่น ๆ เราสามารถระบุภาษารูปนัยภาษาหนึ่งได้ผ่านสูตรของมัน แต่เราไม่สามารถทำได้อย่างเดียวกันกับระบบรูปนัยผ่านทฤษฎีบทของมัน ระบบรูปนัยสองระบบ และ สามารถมีทฤษฎีบทที่เหมือนกันทั้งหมดได้ ถึงอย่างนั้นแล้วก็ยังต่างกันในแง่ทฤษฎีการพิสูจน์แง่ใดแง่หนึ่งอย่างมีนัยสำคัญ (เช่นสูตร A อาจเป็นผลพวงทางวากยสัมพันธ์ของสูตร B ในระบบหนึ่ง แต่ไม่ได้เป็นในอีกระบบหนึ่ง)

การพิสูจน์เชิงรูปนัย (อังกฤษ: Formal proof) หรือ การสืบสมุฏฐาน (อังกฤษ: Derivation) เป็นลำดับจำกัดของสูตรที่จัดดีแล้ว (ซึ่งก็อาจตีความได้เป็นประโยค หรือประพจน์) ซึ่งแต่ละสูตรเป็นสัจพจน์ข้อหนึ่ง หรือตามจากสูตรที่มาก่อนในลำดับนั้นตามกฎการอนุมาน (rule of inference) ประโยคสุดท้ายในลำดับนั้นเป็นทฤษฎีบทของระบบรูปนัยระบบหนึ่ง การพิสูจน์เชิงรูปนัยนั้นมีประโยชน์เพราะทฤษฎีบทที่ได้มาสามารถตีความได้เป็นประพจน์จริง

การตีความและตัวแบบ[แก้]

ภาษารูปนัยมีลักษณะเป็นวากยสัมพันธ์โดยสิ้นเชิง แต่ก็สามารถมีอรรถศาสตร์ที่ให้ความหมายกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของภาษาได้ อาทิ ในคณิตตรรกศาสตร์ เซตของสูตรที่เป็นไปได้ของตรรกะชนิดหนึ่งคือภาษารูปนัย และการตีความรูปแบบหนึ่งจะให้ความหมายแก่สูตรแต่ละสูตร โดยทั่วไปเป็นค่าความจริง

อรรถศาสตร์รูปนัย (semantics of logic) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการตีความภาษารูปนัย ซึ่งมักถูกทำในแง่ของทฤษฎีตัวแบบในคณิตตรรกศาสตร์ พจน์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสูตร ๆ หนึ่งนั้นถูกตีความเป็นวัตถุที่อยู่ภายในโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ (Structure (mathematical logic)) และกฎการตีความเชิงประกอบแบบถาวร (fixed compositional interpretation rule) จะตัดสินวิธีการที่จะสืบมาซึ่งค่าความจริงของสูตรหนึ่งจากการตีความพจน์ต่าง ๆ ของมัน ตัวแบบ ของสูตร ๆ หนึ่งหมายถึงรูปแบบของการตีความพจน์ต่าง ๆ ในสูตรที่จะทำให้สูตรนั้นเป็นจริง

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. แปลจาก "formal language of pure language."
  2. ตัวอย่างเช่น ชุดตัวอักษรที่ใช้แสดงตรรกศาสตร์อันดับหนึ่ง (first-order logic) นั้นนอกจากสัญลักษณ์อย่าง ∧, ¬, ∀ และวงเล็บแล้ว ก็ยังมีสมาชิกตัวอักษรอื่น ๆ อีกมากมาย x0x1x2, … จำนวนนับไม่ถ้วนที่ทำหน้าที่เป็นตัวแปร

อ้างอิง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ดูที่ อาทิ Reghizzi, Stefano Crespi (2009), Formal Languages and Compilation, Texts in Computer Science, Springer, p. 8, ISBN 9781848820500, An alphabet is a finite set.
  2. Martin Davis (1995). "Influences of Mathematical Logic on Computer Science". ใน Rolf Herken (บ.ก.). The universal Turing machine: a half-century survey. Springer. p. 290. ISBN 978-3-211-82637-9.
  3. Hopcroft & Ullman (1979), Chapter 11: Closure properties of families of languages.

แหล่งข้อมูล[แก้]

งานที่อ้างอิง
อ้างอิงทั่วไป

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]