การออกแบบแฟชั่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Fashion design)
ภาพการจัดแสดงแฟชั่นเสื้อผ้าในปี ค.ศ. 2009

การออกแบบแฟชั่น (อังกฤษ: fashion design) ถือเป็นศิลปะการถักทอชีวิตการเป็นอยู่ของคนลงบนเสื้อผ้า โดยใช้เวลา สถานที่ วัฒนธรรมและประเพณีเป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์[1][2] ในหนึ่งปีคอลเลคชั่นของเสื้อผ้าจะแบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาลคือ คอลเลคชั่นฤดูหนาว คอลเลคชั่นฤดูร้อนและคอลเลคชั่นฤดูใบไม้ผลิ

ประเภทของนักออกแบบแฟชั่น[แก้]

นักออกแบบแฟชั่นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ทำงานเต็มเวลากับบริษัทที่มีชื่อเสียง[3] และประเภทที่ทำเป็นงานเสริมเพื่อแบรนด์ของตัวเองแล้วส่งให้ร้านค้า[4] โดยร้านค้าจะส่งรูปแบบที่ได้รับจากนักออกแบบแฟชั่นให้โรงงานทอผ้า โรงงานทอผ้ามีหน้าที่ผลิตเสื้อผ้าและลงป้ายบอกขนาดของแต่ละตัว บวกกับพิมพ์รับรองคุณภาพ นักออกแบบแฟชั่นบางคนออกแบบป้ายด้วยตัวเองเพื่อให้เข้ากับกลุ่มตลาดที่เขาต้องการ

นอกจากนี้นักออกแบบแฟชั่นบางคนนักออกแบบแฟชั่นประจำตัวของผู้มีชื่อเสียง ในโลกของแฟชั่นชั้นสูง นักออกแบบแฟชั่นจะส่งผลงานให้กับโรงงานที่ทำเกี่ยวกับแฟชั่นชั้นสูงเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะแบรนด์ดังนั้นจะมีทีมออกแบบอยู่แล้วแต่การควบคุมงานอยู่ในกำมือของเจ้าของแบรนด์อยู่ดี

คอลเลคชั่น[แก้]

คอลเลคชั่นเป็นการทำงานที่นักออกแบบแฟชั่นเอาผลงานออกแบบหลาย ๆ ชิ้นมาประกอบกัน เพื่อให้เกิดเทรนด์ใหญ่ในตลาดทั้งแฟชั่นชั้นสูงและตลาดใหญ่ นักออกแบบแฟชั่นเวลาออกแบบต้องเอาหลายสิ่งหลายอย่างเข้ามาคิดด้วย ไม่ว่าจะเป็นมุมมองของลูกค้า รูปแบบเก่า ๆ ในตลาด รูปแบบของคู่แข่ง และเทรนด์ที่มีในท้องตลาดในขณะนั้น รวมไปถึงซีซั่นของคอลเลคชั่นนั้น ๆ [1]

การออกแบบชุด[แก้]

นักออกแบบแฟชั่นสามารถทำงานได้หลายแบบไม่ว่าจะลงบนกระดาษ หรือทาบผ้าบนหุ่นเพื่อให้เกิดทรงของชุด หลังจากที่เสร็จก็จะเอาคนออกแบบลวดลายเข้ามาช่วย แล้วทำลวดลายตามที่นักออกแบบแฟชั่นต้องการ การออกแบบลวดลายถือเป็นงานที่มีความเครียดสูง เพราะต้องใช้ความละเอียดอ่อนในการทำงาน ความสวยของชุดขึ้นอยู่กับการทำลวดลายให้เข้ากัน ในที่สุดตัวอย่างก็จะใช้ลองสวมบนตัวนางแบบจริง[5]

ประวัติศาสตร์[แก้]

อุตสาหกรรมสิ่งถักทอนั้นได้เริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 19 เมื่อผลงานของ Charles Frederick Worth ได้รับการติดป้ายผลงาน เรื่องราวก่อนหน้านี้มีอยู่ว่า นักออกแบบแฟชั่นส่วนมากนั้นออกแบบโดยหวังขายกับราชวงศ์โดยที่ไม่รู้ว่าดีไซเนอร์คือใคร แต่เมื่อเวลาผ่านไป คนเริ่มรู้จักการเป็นนักออกแบบแฟชั่นมากขึ้น นักออกแบบแฟชั่นสามารถบอกได้ว่าบุคคลแต่ละบุคคลควรใส่อะไรให้เหมาะกับตัวเอง แทนที่จะใส่ตามมีตามเกิด และเหมือนกันหมด คำว่า couturier จึงตั้งขึ้นเป็นการเรียกนักออกแบบแฟชั่นประเภทนี้ เดี๋ยวนี้หลากหลายบ้านทอผ้าว่าจ้างศิลปินมาให้แต่งแต้มผ้าดิบให้ภาพเหล่านี้ได้มีการออกป่าวประกาศให้ทุกคนได้เห็น ดังนั้นคนจึงสนใจมากกว่ามานั่งถักทอด้วยตนเองเพราะประหยัดเงินกว่า เมื่อลูกค้าชอบก็จะสั่งให้บ้านถักทอทำ และทำใหเกิดกำไรจากการทำงาน ทุกอย่างทำให้เกิดวัฒนธรรมที่ว่านักออกแบบแฟชั่นออกแบบให้ลูกค้าดูก่อนที่จะทำจริง

การออกแบบมีวิธีการหลายประเภท

  • Haute couture: ออกแบบชุดให้สังคมชั้นสูง โดยชุดจะมีราคาแพงเพราะใช้เวลานานในการตัดเย็บ และมีความละเอียดอ่อนมาก[6][7][8]
  • Ready to wear: ออกแบบชุดเดิมหลายขนาด แต่ออกมาไม่เยอะในแต่ละขนาด[9][10]
  • Mass market: ทำออกมาเพื่อคนหลายกลุ่ม หลายรุ่น หลายวัย.[11][12][13]

รายได้[แก้]

โดยมากนั้นนักออกแบบแฟชั่นที่มีความสามารถมีรายได้สูงถึง 42,150 ถึง 87,120 ดอลลาร์ต่อปี ในเดือนพฤษภาคมปี ค.ศ. 2008 ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เปิดเผยตัวเลขจากการวิจัยของ US Bureau of Labor โดยเฉลี่ยแล้วนักออกแบบแฟชั่นได้รับรายได้ประมาณ 61,160 ดอลลาร์ต่อปี โดยเกินครึ่งได้มากกว่า 34,800 ดอลลาร์ต่อปี มีประมาณร้อยละ 10 ที่ได้ต่ำกว่า 32,150 ดอลลาร์ต่อปี และอีกร้อยละ 10 ที่ได้มากกว่า 124,780 ดอลลาร์ต่อปี[14]

การออกแบบแฟชั่นรอบโลก[แก้]

หลายประเทศมีอุตสาหกรรมสิ่งทอของตัวเอง เช่น เบลเยี่ยม สเปน โปตุเกส อินเดีย บราซิล เนเธอแลนด์ เยอรมัน โปแลนด์ ออสเตรเลีย เป็นต้น แต่มีเพียง 5 ประเทศที่มีชื่อเสียงในระดับสากล ได้แก่ ฝรั่งเศส อังกฤษ อเมริกา อิตาลี และญี่ปุ่น

การออกแบบแฟชั่นในอเมริกา[แก้]

ส่วนมากตลาดของประเทศมีฐานอยู่ที่นิวยอร์ก แต่ก็มีบางส่วนอยู่ที่ลอสแอนเจลิส จุดเด่นของรูปแบบของที่นี่คือ การตัดที่เนี๊ยบ สไตล์เรียบง่าย สบาย ๆ บ่งบอกถึงความเป็นนักกีฬาสูง แบรนด์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดใน ค.ศ. 1940-1950 คือ Claire McCardell แบรนด์ดังอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลเหมือนกัน เช่น Calvin Klein, Ralph Lauren, Anna Sui, Donna Karan, Kenneth Cole, Marc Jacobs, Michael Kors, Vera Wang, Betsey Johnson, Tommy Hilfiger, Villains SF เก็บถาวร 2016-04-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เป็นต้น

การออกแบบแฟชั่นในอังกฤษ[แก้]

ลอนดอนเป็นศูนย์ของอุตสาหกรรมสิ่งถักทอของอังกฤษ และมีอิทธิพลจากหลากหลายประเทศส่งผลต่อแฟชั่นสมัยใหม่ในปัจจุบัน รูปแบบโดยทั่วไปของอังกฤษนั้นดูซับซ้อนและฉลาด ยิ่งเดี๋ยวนี้รูปแบบยิ่งมีเอกลักษณ์มากขึ้น แบรนด์ที่มีชื่อเสียงในอังกฤษมีอยู่มากมาย เช่น Burberry, Jimmy Choo, Paul Smith, Vivienne Westwood, Stella McCartney, John Galliano Alexandar McQueen เป็นต้น

การออกแบบแฟชั่นในฝรั่งเศส[แก้]

ตลาดของฝรั่งเศสส่วนมากอยู่ในปารีส รูปแบบแฟชั่นของที่นี่มีความโดดเด่นมาก ต้องดูเก๋ แต่เรียบหรูจากการตัดเย็บที่เนี๊ยบและละเอียดมาก โดยมีแบรนด์ที่มีชื่อเสียง เช่น Louis Vuitton, Balmain, Chanel, Christian Dior, Givenchy, Yves Saint Laurant เป็นต้น

การออกแบบแฟชั่นในญี่ปุ่น[แก้]

ญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวในเอเชียที่มีรูปแบบแฟชั่นเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลาดส่วนใหญ่อยู่ที่โตเกียว งานของที่นี่มีความปล่อยโล่งและซับซ้อน เป็นเหตุมาจากการตัดเย็บที่ซับซ้อนตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ ส่วนสีนั้นจะเป็นโทนนุ่ม และลวดลายมากมาย มีนักออกแบบที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น Yohji Yamamoto, Kenzo, Issey Miyake, Comme des Garcons’s Rei Kawakubo เป็นต้น

ผู้มีส่วนร่วม[แก้]

  • Fashion designer – ผู้ออกแบบทรงชุด
  • Pattern maker - ผู้ออกแบบลวดลาย
  • Tailor - ผู้ทอ
  • Textile designer - ผู้ออกแบบเนื้อผ้า
  • Stylist - ผู้เลือกชุดให้เข้ากับเครื่องประดับ
  • Buyer - ผู้ซื้อที่มีรสนิยม
  • Seamstress - ผู้ทำชุด ready to wear อาจเป็นแค่คนคุมเครื่อง
  • Teacher of fashion designer - ผู้สอนศิลปะและการทำงานที่อยู่ในอุตสาหกรรมแฟชั่น
  • Custom clothier - ผู้ผลิตผ้าและส่งต่อให้โรงงาน
  • Illustrator - ผู้ทำโฆษณาขายชุด
  • Model - ผู้ใส่ชุดแสดงผลงาน และถ่ายแบบ
  • Fit model - หุ่นสำหรับใช้ในการออกแบบชุด
  • Fashion Journalist - ผู้เขียนเกี่ยวกับการมาของเทรนด์
  • Fashion advisor - ผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับสไตล์สี
  • Photographer - ช่างภาพดูแลภาพลักษณ์ของงาน

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 คอลัมน์‘แฟชั่นนิพนธ์’ภูมิปัญญาไทยจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557 สืบค้นวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2557
  2. Description of Designers from Occupation Outlook Handbook เก็บถาวร 2011-11-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2557
  3. "In Praise of In-House Designers". Graphicpush. Graphicpush. สืบค้นเมื่อ 13 May 2012.
  4. Steven Snell (5 August 2009). "17 Tips for Designers on Starting a Freelance Business" (Article). Design Mag. DesignMag. สืบค้นเมื่อ 13 May 2012.
  5. บทความเรื่อง 4 กูรูแฟชั่นชั้นนำของไทย แนะเทคนิคแก้ไขรูปร่างด้วยเสื้อผ้าจากเว็บไซต์ artbangkok.com เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2557
  6. "What is Haute Couture?". Haute Couture Hot. HauteCoutureNews.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 13 May 2012.
  7. Pauline Weston Thomas. "Haute Couture Fashion History" (Article). Fashion-Era.com. Fashion-Era.com. สืบค้นเมื่อ 13 May 2012.
  8. http://fashion.telegraph.co.uk/news-features/TMG7883236/Haute-couture-Making-a-loss-is-the-height-of-fashion.html
  9. "What is pret-a-porter?". Answers. Answers Corporation. สืบค้นเมื่อ 13 May 2012.
  10. "Bespoke vs. Made To Measure vs. Off The Rack – What's The Difference?". Real Men Real Style. RMRS. สืบค้นเมื่อ 13 May 2012.
  11. Catherine Valenti (1 May 2012). "Designers Flock to Mass-Market Retailers" (Article). ABC News. ABC News. สืบค้นเมื่อ 13 May 2012.
  12. Sameer Reddy (31 October 2008). "Out from Underground" (Article). The Daily Beast. Newsweek Magazine. สืบค้นเมื่อ 13 May 2012.
  13. Stephania Lara (22 June 2010). "Mass market broached by high-end fashion". The Prospector. College Media Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Article)เมื่อ 2013-11-02. สืบค้นเมื่อ 13 May 2012.
  14. "Fashion Designers". Occupational Outlook Handbook. U.S. Bureau of Labor Statistics. สืบค้นเมื่อ 13 May 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]