วงศ์กุหลาบป่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Ericaceae)
วงศ์กุหลาบป่า
คำแดง หรือ กุหลาบพันปี (Rhododendron arboreum)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Ericales
วงศ์: Ericaceae
Juss.[1]
สกุลต้นแบบ
Erica
L.
วงศ์ย่อย

วงศ์กุหลาบป่า (อังกฤษ: Heath, Heather) เป็นวงศ์ของไม้พุ่มหรือไม้ต้น ใช้ชื่อวงศ์ว่า Ericaceae

ลักษณะเด่นประจำวงศ์ คือ ไม่มีหูใบ ใบเป็นแบบใบเดี่ยว ติดแบบเรียงเวียนสลับ มีต่อมด้านล่าง มีเส้นใบออกจาก 2 ข้างของเส้นกลางใบแบบขนนก บางครั้งมีเส้นใบออกจากโคนใบ 3 เส้น หรือมากกว่านั้น ดอกมีลักษณะสมมาตรตามรัศมี ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ กลีบดอกเป็นรูปท่อหรือรูปโถ เกสรเพศผู้มี 10 อัน อับเรณูแตกโดยมีรูเปิดที่ปลาย ก้านเกสรเพศเมียมี 1 อัน รังไข่มี 5 ช่อง เมล็ดมีจำนวนมาก

บางชนิดเป็นพืชกินซาก ใบมีเกล็ดรังแค หรือมีต่อมที่ขอบใบตอนโคน ดอกแบบดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกเป็นรูปท่อหรือรูปโถ เกสรเพศผู้มี 10 อัน

เป็นพืชที่พบกระจายพันธุ์ไปทั่วโลก มีมากกว่า 4,000 ชนิด ประมาณ 126 สกุล[2] ไม้ที่อยู่ในวงศ์นี้ เช่น แครนเบอร์รี, บลูเบอร์รี, ฮักเกิลเบอร์รี, กุหลาบป่า, กุหลาบพันปี เป็นต้น[3]

สำหรับในประเทศไทย พบทั้งหมด 7 สกุล เช่น

  • Agapetes เช่น ประทัดดอย
  • Craibiodendron เช่น ดาวราย
  • Rhododendron คือ กุหลาบพันปี พบตามยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเลนับพัน ๆ เมตร ทั้งภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ขยายพันธุ์ด้วยการโดยช่อละอองเกสรโดยแมลงและนกที่มากินน้ำหวาน
  • Gaultheria พบในป่าดิบเขาทางภาคเหนือ ให้น้ำมันเป็นสมุนไพร
  • Vaccinium พบได้ทั่วไป ส่วนมากพบในป่าดิบเขา ทั้งป่าเดิมและป่ารุ่น สามารถรับประทานผลและใบได้ เช่น บลูเบอร์รี
  • Lyonia พบในป่าดิบเขาทั้งภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Angiosperm Phylogeny Group (2009). "An update of the Angiosperm Phylogeny Group classification for the orders and families of flowering plants: APG III" (PDF). Botanical Journal of the Linnean Society. 161 (2): 105–121. doi:10.1111/j.1095-8339.2009.00996.x. สืบค้นเมื่อ 2013–07–06. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. Stevens, P. F. (2001 onwards). Angiosperm Phylogeny Website. Version 9, June 2008. http://www.mobot.org/MOBOT/research/APweb/
  3. Kathleen A. Kron, E. Ann Powell and J. L. Luteyn (2002). "Phylogenetic relationships within the blueberry tribe (Vaccinieae, Ericaceae) based on sequence data from MATK and nuclear ribosomal ITS regions, with comments on the placement of Satyria". American Journal of Botany. 89 (2): 327–336. doi:10.3732/ajb.89.2.327. PMID 21669741. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-26. สืบค้นเมื่อ 2013-09-17.
  4. หน้า 52, ลักษณะประจำวงศ์พรรณไม้ โดย ดร.ก่องกานดา ชยามฤต. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพรรณพืช (พ.ศ. 2548) ISBN 974-415-175-7

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]