ข้ามไปเนื้อหา

Electrophorus voltai

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Electrophorus voltai
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
Actinopterygii
อันดับ: อันดับปลาไหลไฟฟ้า
วงศ์: Gymnotidae
สกุล: Electrophorus

de Santana, Wosiacki, Crampton, Sabaj, Dillman, Castro e Castro, Bastos และ Vari, 2019
สปีชีส์: Electrophorus voltai
ชื่อทวินาม
Electrophorus voltai
de Santana, Wosiacki, Crampton, Sabaj, Dillman, Castro e Castro, Bastos และ Vari, 2019

ปลาไหลไฟฟ้าโวลตา หรือในชื่อวิทยาศาสตร์ Electrophorus voltai เป็นชนิดของปลาไหลไฟฟ้าที่พบในอเมริกาใต้ รู้จักในฐานะแหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าชีวภาพที่แข็งแกร่งที่สุดในธรรมชาติ โดยผลิตแรงดันไฟฟ้าได้มากถึง 860 โวลต์[2][3]

อนุกรมวิธาน

[แก้]

ก่อนหน้านี้เคยจัดไว้ในชนิด Electrophorus electricus เมื่อพิจารณาว่าเป็นชนิดเดียวเท่านั้นในสกุล Electrophorus แต่การวิเคราะห์ในปี ค.ศ. 2019 อธิบายว่าชนิดนี้และ E. varii เป็นชนิดที่แยกจากกันโดยพิจารณาจากทั้งความแตกต่างทางพันธุกรรมเชิงลึกและความแตกต่างของแรงดันไฟฟ้าที่เกิดจากชนิดแต่ละชนิด เชื่อกันว่าวิวัฒนาการมาจากชนิดพี่น้องของชนิด E. electricus ในช่วงสมัยไพลโอซีน ชื่อตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่อเลสซานโดร โวลตา นักฟิสิกส์ผู้ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้สร้างแบตเตอรี่ไฟฟ้า[3]

การกระจายพันธุ์

[แก้]
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของปลาไหลไฟฟ้าแต่ละชนิด

ชนิดนี้อาศัยอยู่ในพื้นที่สูง โดยส่วนใหญ่อยู่ในแม่น้ำที่ไหลไปทางเหนือของเขตหินฐานทวีปบราซิล แต่ก็มีแม่น้ำที่ไหลไปทางใต้บางสายของเขตหินฐานทวีปกายอานาด้วยเช่นกัน ในลำธารบางแห่งของหินฐานทวีปกายอานาอยู่ร่วมกับ E. varii[2][4]

คำอธิบาย

[แก้]

มีลักษณะคล้ายคลึงกับ E. electricus มาก แต่แตกต่างกันที่สัณฐานวิทยาของกะโหลกศีรษะคือ กะโหลกศีรษะยุบและกว้าง มีแรงดันไฟสูงสุดที่ 860 โวลต์ ทำให้ไม่เพียงแต่เป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าชีวภาพที่แข็งแกร่งที่สุดในบรรดาปลาไหลไฟฟ้าทั้งสามชนิดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสัตว์ทุกชนิดอีกด้วย[3]

สามารถยาวได้ถึง 2.5 เมตร (8 ฟุต 2 นิ้ว) และหนักได้ถึง 22 กิโลกรัม (49 ปอนด์) ทำให้กลายเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในอันดับ Gymnotiformes ซึ่งเพศผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าเพศเมียประมาณ 35 เซนติเมตร (14 นิ้ว)[5]

พฤติกรรม

[แก้]

การศึกษาวิจัยในปี ค.ศ. 2021 รายงานการปรากฏครั้งแรกที่ทราบของการล่าเป็นฝูงปลาไหลไฟฟ้าในประชากรของ E. voltai ที่ปากแม่น้ำอีรีรี ในประเทศบราซิล[6]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. Lyons, T.J. (2021). "Electrophorus voltai". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T204715926A204826094. doi:10.2305/IUCN.UK.2021-3.RLTS.T204715926A204826094.en.
  2. 2.0 2.1 "Electrophorus voltai". www.fishbase.se. สืบค้นเมื่อ 2021-12-22.
  3. 3.0 3.1 3.2 de Santana, C. David; Crampton, William G. R.; Dillman, Casey B.; Frederico, Renata G.; Sabaj, Mark H.; Covain, Raphaël; Ready, Jonathan; Zuanon, Jansen; de Oliveira, Renildo R.; Mendes-Júnior, Raimundo N.; Bastos, Douglas A. (2019-09-10). "Unexpected species diversity in electric eels with a description of the strongest living bioelectricity generator". Nature Communications (ภาษาอังกฤษ). 10 (1): 4000. Bibcode:2019NatCo..10.4000D. doi:10.1038/s41467-019-11690-z. ISSN 2041-1723. PMC 6736962. PMID 31506444.
  4. "Two New Species of Electric Eels Discovered | Sci-News.com". Breaking Science News | Sci-News.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 13 September 2019. สืบค้นเมื่อ 2021-12-22.
  5. FAPESP. "A new species of electric eel produces the highest voltage discharge of any known animal". phys.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2025-03-13.
  6. Bastos, Douglas A.; Zuanon, Jansen; Py-Daniel, Lúcia Rapp; Santana, Carlos David de (2021). "Social predation in electric eels". Ecology and Evolution (ภาษาอังกฤษ). 11 (3): 1088–1092. doi:10.1002/ece3.7121. ISSN 2045-7758. PMC 7863634. PMID 33598115.