อาย-อาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Daubentonia madagascariensis)
อาย-อาย
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix I (CITES)[2]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Primates
อันดับย่อย: Strepsirrhini
อันดับฐาน: Lemuroidea
วงศ์: Daubentoniidae
Gray, 1863
สกุล: Daubentonia
É. Geoffroy, 1795[3]
สปีชีส์: D.  madagascariensis
ชื่อทวินาม
Daubentonia madagascariensis
(Gmelin, 1788)
ชนิด
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง

วงศ์:

  • Cheiromyidae I. Geoffroy St. Hilaire, 1851
  • Chiromyidae Bonaparte, 1850

สกุล:

  • Aye-aye Lacépède, 1799
  • Cheiromys G. Cuvier, 1817
  • Cheyromys É. Geoffroy, 1803
  • Chiromys Illiger, 1811
  • Myslemur Anon. [?de Blainville], 1846
  • Myspithecus de Blainville, 1839
  • Psilodactylus Oken, 1816
  • Scolecophagus É. Geoffroy, 1795

ชนิด:

  • daubentonii Shaw, 1800
  • laniger G. Grandidier, 1930
  • psilodactylus Schreber, 1800

อาย-อาย (อังกฤษ: Aye-aye; ชื่อวิทยาศาสตร์: Daubentonia madagascariensis) เป็นไพรเมตชนิดหนึ่ง จำพวกลีเมอร์ โดยที่อาย-อาย เป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Daubentonia และวงศ์ Daubentoniidae [3] (มีอยู่ชนิดหนึ่ง คือ อาย-อายยักษ์ ที่มีความยาวกว่า 2.5 เมตร แต่ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว[4]กว่า 2,000 ปีก่อน และมีน้ำหนักมากกว่า อาย-อาย หลายเท่า[5])

ศัพท์มูลวิทยา[แก้]

ชื่อวิทยาศาสตร์ของ อาย-อาย คือ Daudentonia madagascariensis (/เดอ-เบน-เทอ-เนีย มา-ดา-กัส-กา-เรียน-ซิส/) โดยชื่อสกุลตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ หลุยส์-ฌอง-มารี-เดอเบนทัน นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส ที่ศึกษา อาย-อาย เป็นบุคคลแรก ขณะที่ชื่อชนิดมีความหมายถึง การอาศัยอยู่บนเกาะมาดากัสการ์ ขณะที่ชื่อสามัญคำว่า "อาย-อาย" มาจากเสียงร้องเรียกหากันของชาวตะวันตก ที่ออกเสียงว่า "เฮ้-เฮ้" นั่นเอง อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานใดที่บ่งบอกว่านี่เป็นที่มาอย่างแท้จริง แต่อาจเป็นไปได้ว่าคำว่า "เฮ้-เฮ้" ในภาษามาลากาซี ออกเสียงใกล้เคียงกับคำว่า "เฮห์-เฮห์" ซึ่งมีความหมายว่า "ฉันไม่รู้" มาจากการที่ชาวมาลากาซี ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของเกาะมาดากัสการ์ใช้เรียก อาย-อาย กับชาวตะวันตก แทนที่จะเรียกชื่อโดยตรงก็เป็นได้ เพราะความเชื่อที่ว่า อาย-อาย เป็นสัตว์อัปมงคล[5][6] [7]

ลักษณะ[แก้]

จากการศึกษาทางดีเอ็นเอพบว่า อาย-อาย เป็นลีเมอร์ที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง และเป็นสัตว์ที่น่าสนใจอีกชนิดหนึ่ง เพราะมีระยะเวลาในการดำรงเผ่าพันธุ์มายาวนาน ถือเป็นต้นพันธุกรรมของลีเมอร์ที่หลากหลายในปัจจุบัน อาย-อาย เป็นลีเมอร์ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากลีเมอร์ทั่วไป คือ มีรูปร่างหน้าตาน่าเกลียดน่ากลัวเหมือนปีศาจ มีใบหูที่กางโตเหมือนค้างคาว มีฟันที่แหลมคม โดยเฉพาะฟันหน้าที่จะไม่หยุดการงอกเหมือนกับสัตว์ฟันแทะ และมีนิ้วตีนที่ลีบเล็กเรียวยาวผอมติดกระดูก ทำหน้าที่เหมือนมือ และมีจุดเด่น คือ นิ้วตรงกลาง 2 นิ้ว คือ นิ้วชี้ และนิ้วกลางจะแหลมยาวออกมาจากนิ้วอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัดเจน[8] โดยมีนิ้วชี้เป็นนิ้วที่ยาวที่สุด อาย-อาย มีลำตัวขนาดเท่าแมว มีขนตามลำตัวสีดำปลายขนเป็นสีเงินหรือสีเทา มีหางยาวขนฟูเป็นพวงเหมือนกระรอก น้ำหนักตัวประมาณ 15 กิโลกรัม

จากการที่อาย-อาย มีฟันหน้าเหมือนสัตว์ฟันแทะ ทำให้ในระยะแรกในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1770 เดอเบนทันได้จัดให้อาย-อาย อยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะด้วยซ้ำ[5]

พฤติกรรมและการขยายพันธุ์[แก้]

อาย-อาย จะใช้นิ้วนี้ให้เป็นประโยชน์ในการเคาะตามเปลือกไม้เพื่อหาแมลงหรือหนอนที่ซ่อนตัวอยู่ข้างใน โดยใช้หูขนาดใหญ่ห่อตัวรับฟังเสียงการเคลื่อนไหวของแมลง คล้ายกับระบบโซนาร์ จากนั้นจะใช้ฟันหน้าที่แหลมคมกัดเปลือกไม้และใช้นิ้วที่ยาวนี้ล้วงเอาออกมากินเป็นอาหาร นับได้ว่าเป็นสัตว์ที่ช่วยในการรักษาเยียวยาต้นไม้อีกชนิดหนึ่งเหมือนนกหัวขวาน เพราะช่วยกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูพืช นอกจากนี้แล้วยังใช้ประโยชน์ในการตกแต่งขนตามลำตัวและให้ลูกได้อีกด้วย ซึ่งลูกอาย-อาย จะอาศัยดูดนมแม่เป็นระยะเวลานาน 1 ปี และจะอยู่กับแม่จนกระทั่งโตเต็มที่ จึงจะแยกตัวออกไปใช้ชีวิตอยู่ด้วยตัวเอง ซึ่งหัวนมของอาย-อาย นั้นจะไม่เหมือนกับสัตว์ในอันดับไพรเมตทั่วไป คือ จะอยู่ในตำแหน่งใกล้กับขาหนีบของขาหลัง และมีเพียง 2 หัว แทนที่จะเป็น 4 ทั้งนี้อาย-อาย ได้สูญเสียหัวนม 2 หัวไป และอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับขาหนีบ เนื่องจากเป็นการวิวัฒนาการตัวเองเพื่อให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ลูกอาย-อาย จะปลอดภัยกว่าหากเกาะดูดนมแม่ในตำแหน่งนี้มากกว่าหน้าอก[5]

อาย-อาย มีระยะเวลาการผสมพันธุ์นานมากกว่าไพรเมตจำพวกอื่น ๆ คือ ใช้เวลานานถึง 45-50 นาที การผสมพันธุ์เริ่มขึ้นจากตัวเมียจะเรียกหาตัวผู้หลายตัวมารวมกันบนต้นไม้ ตัวผู้จะต่อสู้กันเพื่อที่จะได้สิทธิเป็นผู้ผสมพันธุ์กับตัวเมีย ตัวผู้ที่แพ้จะถูกไล่ออกไป เมื่อผสมพันธุ์ตัวผู้จะจับตัวเมียล็อกไม่ให้เคลื่อนไหวหนีได้ ซึ่งการผสมพันธุ์อาจจะต่อเนื่องไปเป็นระยะเวลานานถึง 3 วัน อาย-อาย ไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน จึงสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี และมีพฤติกรรมที่ผสมพันธุ์กันไปทั่ว อาย-อายตัวเมียจะเลี้ยงดูลูกจนกระทั่งโต แล้วจึงกลับมาผสมพันธุ์อีกทีซึ่งกินระยะเวลาเป็นวงรอบประมาณ 2-3 ปี อาย-อาย เป็นสัตว์ที่อยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียว ทำรังเป็นต้นไม้ ซึ่งอยู่ด้วยกันหลายรัง โดยจะใช้รังเหล่านี้สลับกันไปเป็นที่หลับนอน[5]

นอกจากนี้แล้ว อาย-อาย ยังกินผลไม้ที่มีเปลือกแข็งได้ เช่น มะพร้าว ด้วยการใช้ฟันกัดและกินน้ำจากมะพร้าว เป็นการหาน้ำที่ไม่ต้องพึ่งพาน้ำจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติเหมือนสัตว์ทั่วไป อันเป็นการวิวัฒนาการที่เป็นการปรับตัวเพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ในสถานที่ ๆ แห้งแล้งอย่างเกาะมาดากัสการ์ ในอดีต อาย-อาย มีรัศมีการหากินไกลถึง 4 กิโลเมตร[8][5]

ความเชื่อ[แก้]

อาย-อาย เป็นลีเมอร์อีกชนิดหนึ่งในจำนวนไม่กี่ชนิดที่หากินในเวลากลางคืน และยังสามารถที่จะเกาะต้นไม้แบบตีลังกาแบบค้างคาวได้เมื่อหากิน ประกอบกับมีหน้าตาน่าเกลียดน่ากลัว ชาวมาลากาซีจึงมีความเชื่อว่า อาย-อาย เป็นสัตว์ที่นำความตายมาสู่ผู้เห็นพบ มีความเชื่อและข้อห้ามเกี่ยวกับอาย-อายเป็นจำนวนมาก ซึ่งเรียกว่า ฟาดี้ เช่น หากใครถูกอาย-อาย ใช้นิ้วที่แหลมยาวนั้นชี้ก็จะถึ่งแก่ความตายในไม่ช้า และหากพบอาย-อาย ใกล้หมู่บ้าน ก็เป็นลางบอกเหตุว่าจะมีผู้ตายในหมู่บ้านนี้ในไม่ช้า หรือถ้าได้สัมผัสเนื้อตัวอาย-อาย ก็จะถึงแก่ความตายในเวลา 1 ปี และหากพบซากอาย-อาย ต้องฝังด้วยตนเอง หรือแม้แต่ว่าหากใครตายไปแล้ว ก็จะกลับมาเกิดใหม่เป็นอาย-อาย เป็นต้น[9] [5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Andriaholinirina, N., Baden, A., Blanco, M., Chikhi, L., Cooke, A., Davies, N., Dolch, R., Donati, G., Ganzhorn, J., Golden, C., Groeneveld, L.F., Hapke, A., Irwin, M., Johnson, S., Kappeler, P., King, T., Lewis, R., Louis, E.E., Markolf, M., Mass, V., Mittermeier, R.A., Nichols, R., Patel, E., Rabarivola, C.J., Raharivololona, B., Rajaobelina, S., Rakotoarisoa, G., Rakotomanga, B., Rakotonanahary, J., Rakotondrainibe, H., Rakotondratsimba, G., Rakotondratsimba, M., Rakotonirina, L., Ralainasolo, F.B., Ralison, J., Ramahaleo, T., Ranaivoarisoa, J.F., Randrianahaleo, S.I., Randrianambinina, B., Randrianarimanana, L., Randrianasolo, H., Randriatahina, G., Rasamimananana, H., Rasolofoharivelo, T., Rasoloharijaona, S., Ratelolahy, F., Ratsimbazafy, J., Ratsimbazafy, N., Razafindraibe, H., Razafindramanana, J., Rowe, N., Salmona, J., Seiler, M., Volampeno, S., Wright, P., Youssouf, J., Zaonarivelo, J. & Zaramody, A. (2012). "Daubentonia madagascariensis". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2014.1. สืบค้นเมื่อ 12 June 2014.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ CITES
  3. 3.0 3.1 จาก itis.gov
  4. 4.0 4.1 Simons, EL (1994). "The giant aye-aye Daubentonia robusta". Folia Pimaol (Basel). 52 (1–3): 14–21. PMID 7721200. {{cite journal}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 The Night Stalker, "Nick Baker's Weird Creatures" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต. ทางทรูวิชั่นส์: ศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556
  6. Mittermeier, R.A.; Konstant, W.R.; Hawkins, F.; Louis, E.E.; Langrand, O.; Ratsimbazafy, J.; Rasoloarison, R.; Ganzhorn, J.U. et al. (2006). Lemurs of Madagascar. Illustrated by S.D. Nash (2nd ed.). Conservation International. ISBN 1-881173-88-7.
  7. "Simons, E. L.; Meyers, D. M. (2001). "Folklore and Beliefs about the Aye aye (Daubentonia madagascariensis)". Lemur News 6: 11–16" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-23. สืบค้นเมื่อ 2013-02-01.
  8. 8.0 8.1 Madagascar, "Mutant Planet" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต. ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 19 มกราคม 2556
  9. Looks to die for? The rare Madagascan aye-aye driven to extinction... because of native belief that it brings death to a village

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Daubentonia madagascariensis ที่วิกิสปีชีส์