ค่ายกักกันดัคเคา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Dachau concentration camp)

พิกัดภูมิศาสตร์: 48°16′8″N 11°28′7″E / 48.26889°N 11.46861°E / 48.26889; 11.46861

ภาพถ่ายทางอากาศของค่ายในอดีต
ภาพถ่ายทางอากาศของอนุสรณ์สถานดัคเคาในปัจจุบัน

ค่ายกักกันดัคเคา (เยอรมัน: Konzentrationslager (KZ) Dachau) เป็นค่ายกักกันนาซีแห่งแรกที่เปิดในเยอรมนี ตั้งอยู่บนที่ดินของโรงงานผลิตอาวุธร้างใกล้กับเมืองสมัยกลางชื่อว่า ดัคเคา ห่างจากเมืองมิวนิกในรัฐบาวาเรียไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 16 กิโลเมตร ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคใต้ของเยอรมนี ค่ายนี้เปิดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1933 (51 วันหลังฮิตเลอร์ขึ้นสู่อำนาจ)[1] และเป็นค่ายกักกันปกติแห่งแรกที่จัดตั้งโดยรัฐบาลผสมระหว่างพรรคชาติสังคมนิยม (พรรคนาซี) กับพรรคชาตินิยมประชาชนเยอรมัน (ถูกยุบเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1933) ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ หัวหน้าตำรวจเมืองมิวนิก อธิบายค่ายอย่างเป็นทางการว่า "ค่ายกักกันนักโทษการเมืองแห่งแรก"[1]

ดัคเคาเป็นต้นแบบและตัวอย่างของค่ายกักกันนาซีแห่งอื่น ๆ ที่จะมีขึ้นตามมา แทบทุกชุมชนในเยอรมนีมีสมาชิกถูกนำไปยังค่ายเหล่านี้ หนังสือพิมพ์รายงาน "การย้ายศัตรูของไรช์ไปยังค่ายกักกัน" อย่างต่อเนื่อง และเมื่อ ค.ศ. 1935 ได้มีบทร้อยกรองจิงเกิล (jingle) เตือนว่า: "ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า โปรดให้ข้าพระองค์โง่ เพื่อที่ข้าพระองค์จะได้ไม่ต้องไปดัคเคา" (Lieber Gott, mach mich dumm, damit ich nicht nach Dachau kumm)[2]

การจัดการพื้นฐานของค่าย การออกแบบเช่นเดียวกับแผนสิ่งปลูกสร้าง พัฒนาโดย คอมมันดันท์ เทโอดอร์ ไอเคอ (Theodor Eicke) และได้ปรับใช้กับทุกค่ายที่สร้างขึ้นภายหลัง เขามีค่ายที่มั่นคงแยกต่างหากใกล้กับศูนย์บัญชาการ ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่อยู่อาศัย ฝ่ายบริหาร และค่ายทหาร ไอคเคอเองกลายมาเป็นหัวหน้าผู้ตรวจการค่ายกักกันทุกแห่ง ซึ่งรับผิดชอบต่อการก่อสร้างค่ายอื่น ๆ ให้เป็นไปตามแบบของเขา[3]

ค่ายถูกใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1933 ถึง 1960 สิบสองปีแรกใช้เป็นศูนย์กักกันของจักรวรรดิไรช์ที่สาม ระหว่าง ค.ศ. 1933 และ 1938 นักโทษส่วนใหญ่มีเชื้อชาติเยอรมันซึ่งถูกควบคุมตัวด้วยเหตุผลทางการเมือง ภายหลังค่ายถูกใช้สำหรับนักโทษทุกประเภทจากทุกชาติที่ถูกกองทัพไรช์ที่สามยึดครอง[4] นับแต่ ค.ศ. 1945 ถึง 1948 ค่ายดังกล่าวถูกใช้เป็นเรือนจำแก่นายทหารเอสเอสที่รอการพิจารณา หลังจาก ค.ศ. 1948 ได้มีการจัดให้ประชากรเยอรมันที่ถูกขับไล่จากเชโกสโลวาเกียอาศัยอยู่ในค่าย และยังเป็นฐานของสหรัฐอเมริกา ค่ายดังกล่าวถูกปิดใน ค.ศ. 1960 และนับแต่นั้น ได้มีการก่อสร้างอนุสรณ์สถานขึ้นหลายแห่งที่นั่น ด้วยการยืนกรานของอดีตนักโทษ[5]

ประเมินสถิติลักษณะประชากรมีหลากหลายแต่อยู่ในพิสัยทั่วไปเดียวกัน เราอาจไม่มีวันทราบได้ว่ามีผู้ถูกกักขังหรือเสียชีวิตในค่ายจำนวนเท่าใด เนื่องจากยุคสมัยแห่งความยุ่งเหยิง แหล่งข้อมูลหนึ่งในประมาณการทั่วไปนักโทษกว่า 200,000 คน จากมากกว่า 30 ประเทศระหว่างช่วงจักรวรรดิไรช์ที่สาม สองในสามเป็นนักโทษการเมือง และเกือบหนึ่งในสามเป็นชาวยิว นักโทษ 25,613 คนเชื่อกันว่าเสียชีวิตในค่าย และอีกเกือบ 10,000 คนในค่ายย่อย[6] ส่วนใหญ่เป็นเพราะโรคระบาด ทุพโภชนาการและอัตวินิบาตกรรม ต้น ค.ศ. 1945 มีการระบาดของไข้รากสาดใหญ่ในค่ายเพราะมีการไหลบ่าเข้ามาของนักโทษจากค่ายอื่นจนทำให้เกิดการแออัด หลังมีการอพยพ ซึ่งทำให้นักโทษที่อ่อนแอเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ในช่วงปลายสงครามมีการเดินแถวมรณะ (death march) ออกจากและเข้ามายังค่ายทำให้นักโทษเสียชีวิตจำนวนมาก แต่ไม่ทราบจำนวน แม้หลังมีการปลดปล่อยค่ายแล้ว ก็ยังมีนักโทษที่อ่อนแอเกินกว่าจะมีอาการดีขึ้นเสียชีวิตต่อไป

ในช่วงที่เป็นค่ายกักกันกว่าสิบสองปี ฝ่ายบริหารดัคเคาบันทึกการนำเข้านักโทษ 206,206 คน และมีผู้เสียชีวิต 31,951 คน มีการก่อสร้างเมรุเพื่อจัดการกับศพ ไม่มีหลักฐานการสังหารหมู่ภายในค่าย และแม้จะมีการอ้างว่าใน ค.ศ. 1942 นักโทษกว่า 3,166 คนในสภาพอ่อนแอถูกส่งไปยังปราสาทฮาร์ไทม์ใกล้กับลินซ์ และมีการประหารชีวิตด้วยแก๊สพิษด้วยเหตุผลว่า พวกเขามีร่างกายไม่แข็งแรง[4] การวิจัยเดียวกันเตือนว่า แม้จะเป็นข้อมูลจากนักเคลื่อนไหวการล้างชาติโดยนาซีในกรุงเยรูซาเล็ม แต่คำให้การของผู้รอดชีวิตก็มีชื่อเสียว่าเชื่อถือไม่ได้[7]

สิ่งที่เกี่ยวข้อง[แก้]

ฟรินซ์ แกร์ลิก (Fritz Gerlich) เป็นนักข่าวและนักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้มองเห็นความชั่วร้ายของอุดมการณ์ของฮิตเลอร์และพรรคนาซีจึงได้เขียนหนังสือพิมพ์โจมตีฮิตเลอร์และพรรคนาซีตลอดมา หลังจากฮิตเลอร์และพรรคนาซีมีอำนาจในเยอรมนี เขาถูกจับกุมและถูกส่งไปที่ค่ายกักกันดัคเคา เขาถูกเจ้าหน้าที่ค่ายกักกันฆ่าตายซึ่งอยู่ในระหว่างเหตุการณ์คืนแห่งมีดยาว เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ.1934

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Ein Konzentrationslager für politische Gefangene in der Nähe von Dachau". Münchner Neueste Nachrichten ("The Munich Latest News") (ภาษาเยอรมัน). The Holocaust History Project. 21 March 1933. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2017. สืบค้นเมื่อ 8 May 2015.
  2. Janowitz, Morris (September 1946). "German Reactions to Nazi Atrocities". The American Journal of Sociology. The University of Chicago Press. 52 (2): 141–146. JSTOR 2770938.
  3. "Dachau". Holocaust Encyclopedia. Washington, D.C.: United States Holocaust Memorial Museum. 2009.
  4. 4.0 4.1 Edkins 2003, p. 137
  5. Edkins 2003, p. 138
  6. Zámečník, Stanislav; Paton, Derek B. (2004). That Was Dachau 1933-1945. Paris: Fondation internationale de Dachau; Cherche Midi. pp. 377, 379.
  7. Trauma and the memory of politics. Jenny Edison, p.139

บรรณานุกรม[แก้]