จระเข้น้ำเค็ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Crocodylus porosus)

จระเข้น้ำเค็ม
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไพลโอซีนปัจจุบัน, 5.3–0Ma[1]
เพศผู้
เพศเมีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: อันดับจระเข้
วงศ์: Crocodylidae
สกุล: จระเข้
Schneider, 1801
สปีชีส์: Crocodylus porosus
ชื่อทวินาม
Crocodylus porosus
Schneider, 1801
ที่อยู่อาศัยของจระเข้น้ำเค็มในสีดำ
ซากของ "โลลอง" จระเข้น้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติฟิลิปปินส์

จระเข้น้ำเค็ม, จระเข้น้ำกร่อย[4], ไอ้เคี่ยม หรือ จระเข้ทองหลาง[5] (อังกฤษ: saltwater crocodile, estuarine crocodile; ชื่อวิทยาศาสตร์: Crocodylus porosus) เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในวงศ์ Crocodylidae มีที่อยู่อาศัยหลักในพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อยในชายฝั่งตะวันออกของอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจากภูมิภาคซุนดาถึงออสเตรเลียตอนบนและไมโครนีเชีย บัญชีแดงไอยูซีเอ็นจัดให้จระเข้น้ำเค็มอยู่ในกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์มานับตั้งแต่ ค.ศ. 1996[2] มันเคยถูกล่าเพื่อนำหนังไปผลิตในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 และเสี่ยงที่จะถูกล่าอย่างผิดกฎหมายและทำลายถิ่นฐานธรรมชาติ สัตว์ชนิดนี้ถือเป็นอันตรายต่อมนุษย์[6]

จระเข้น้ำเค็มเป็นสัตว์เลี้อยคลานและอันดับจระเข้ที่ใหญ่ที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่[7][8][9] เพศผู้สามารถมีความยาวได้ถึง 6 เมตร (20 ฟุต) แทบไม่ยาวเกิน 6.3 เมตร (21 ฟุต)และมีน้ำหนัก 1,000–1,300 กิโลกรัม (2,200–2,900 ปอนด์)[10][11][12]ส่วนเพศเมียมีขนาดเล็กกว่า และแทบไม่ยาวเกิน 3 เมตร (10 ฟุต)[13][14]

นอกจากนี้ ยังเป็นจระเข้ 1 ใน 3 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย (อีก 2 ชนิด คือ จระเข้น้ำจืดและตะโขง)

ลักษณะ[แก้]

มีลักษณะทั่วไปคล้ายจระเข้น้ำจืด จุดที่แตกต่างกันคือ ขาคู่หลังมีลักษณะแข็งแรงกว่าขาคู่หน้าและมีเพียง 4 นิ้วมีพังผืดระหว่างนิ้วตีนมากกว่าจระเข้น้ำจืด จะงอยปากยาวและส่วนปลายค่อนข้างแหลม มีฟันประมาณ 60 ซี่ ลักษณะแตกต่างจากจระเข้น้ำจืดคือไม่มีเกล็ด 4 เกล็ดที่ท้ายทอย ปากยาวกว่าจระเข้น้ำจืดอย่างเห็นได้ชัด มีสันเล็ก ๆ ยื่นจากลูกตาไปตามความยาวของส่วนหัวจนถึงตำแหน่งของปุ่มจมูก หรือที่เรียกว่าก้อนขี้หมา สีลำตัวออกเหลืองอ่อนหรือสีขาว และมีการเรียงตัวที่ส่วนหาง ดูคล้ายตาหมากรุก ตัวผู้มีความยาวหางยาวกว่าตัวเมีย แต่ลำตัวของตัวผู้ผอมเพรียวกว่าแต่โดยรวมแล้วขนาดลำตัวของตัวเมียจะเล็กกว่าเมื่อเทียบกันตัวต่อตัว และระยะห่างของโหนกหลังตาจะกว้างกว่าหัวของตัวผู้ดูป้อมสั้น ตัวเมียจะดูหัวยาวเรียว

จระเข้น้ำเค็มจัดว่าเป็นสายพันธุ์จระเข้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โตเต็มที่ได้ถึง 4–5 เมตร ตัวผู้จะถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 16 ปี ตัวเมียอายุ 10 ปี แต่จะให้ไข่ที่สมบูรณ์เมื่ออายุ 12 ปี มีขนาดยาว 2.2 เมตร มีการผสมพันธุ์ในฤดูร้อนและวางไข่ในฤดูฝน ครั้งละ 25–90 ฟอง การวางไข่จะใช้เวลาประมาณ 20–25 นาที ใช้ระยะเวลาในการฟักไข่ประมาณ 80 วัน ขนาดของไข่จระเข้น้ำเค็มจะใหญ่กว่าจระเข้น้ำจืดเล็กน้อย มีน้ำหนักประมาณ 110–120 กรัม

จระเข้น้ำเค็มมีอุปนิสัยดุร้ายมาก สามารถโจมตีสัตว์ที่โดยปกติไม่ใช่อาหารได้ เช่น มนุษย์ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบางถิ่นของออสเตรเลียที่ขึ้นชื่ออย่างยิ่งในเรื่องการโจมตีมนุษย์ของจระเข้น้ำเค็ม อีกทั้งมีการกัดของกรามได้อย่างรุนแรงมากที่สุดในโลก โดยมีแรงมากถึง 1,700 ปอนด์[15] และสามารถกระโดดงับเหยื่อได้ ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ในสัตว์เลื้อยคลายขนาดใหญ่เช่นนี้ จนกระทั่งมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า "man eater" (ตัวกินคน) ซึ่งในสวนสัตว์บางแห่งได้ใช้ความสามารถพิเศษนี้หลอกล่อให้จระเข้กระโดดงับเหยื่อที่แขวนล่อไว้เพื่อแสดงแก่ผู้เยี่ยมชม

ตัวที่ใหญ่ที่สุดในโลก[แก้]

คืนวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2011 ทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ชาวบ้านและผู้เชี่ยวชาญหลายคนรวมกันจับจระเข้น้ำเค็มเพศผู้ตัวหนึ่งได้ โดยใช้เวลากว่า 3 สัปดาห์ หลังจากจระเข้ตัวนี้กินควายไปเมื่อเดือนก่อน และเชื่อว่ามันกินคนไปสองศพไปเมื่อสองปีก่อนด้วยการกัดเข้าที่ศีรษะจนขาด ซึ่งจระเข้ตัวนี้มีน้ำหนักกว่า 1,075 กิโลกรัม และยาวถึง 6.4 เมตร อายุกว่า 50 ปี นับเป็นจระเข้ตัวใหญ่ที่สุดเพียงไม่กี่ตัวที่จับได้ในรอบหลายปีที่ฟิลิปปินส์ และเชื่อว่าเป็นจระเข้ตัวที่ใหญ่ที่สุดในโลกเท่าที่พบมา โดยทำลายสถิติจระเข้ตัวที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่บันทึกได้ที่ออสเตรเลีย ซึ่งตัวนั้นยาว 5.48 เมตร[16][17][18]

การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย[แก้]

พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศออสเตรเลียทางตอนเหนือ บริเวณนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี มักอาศัยอยู่ในป่าโกงกางหรือป่าชายเลนในที่ที่เป็นน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม

ในทางอุตสาหกรรม หนังของจระเข้น้ำเค็มมีคุณสมบัติเหมาะสมในการทำเครื่องหนังมากกว่าจระเข้น้ำจืด เพราะมีหนังที่เหนียวทนทานกว่า จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐกิจ แต่ทว่าด้วยความที่ต้องใช้ระยะเวลานานในการจระเข้จะโตและให้ผลผลิตที่ดีได้ จึงนิยมผสมข้ามสายพันธุ์กับจระเข้สายพันธุ์อื่นเพื่อให้ได้จระเข้ลูกผสมที่จะให้ผลผลิตที่เร็วกว่า

หมายเหตุ[แก้]

  1. ยกเว้นประชากรในออสเตรเลีย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และปาปัวนิวกินีที่อยู่ใน Appendix II

อ้างอิง[แก้]

  1. Rio, Jonathan P.; Mannion, Philip D. (6 September 2021). "Phylogenetic analysis of a new morphological dataset elucidates the evolutionary history of Crocodylia and resolves the long-standing gharial problem". PeerJ. 9: e12094. doi:10.7717/peerj.12094. PMC 8428266. PMID 34567843.
  2. 2.0 2.1 Webb, G.J.W.; Manolis, C.; Brien, M.L.; Balaguera-Reina, S.A. & Isberg, S. (2021). "Crocodylus porosus". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T5668A3047556. doi:10.2305/IUCN.UK.2021-2.RLTS.T5668A3047556.en. สืบค้นเมื่อ 20 November 2021.
  3. "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  4. "เรื่องเล่าข้ามโลก : ล่องเรือตามหาจระเข้น้ำกร่อย (13 ธ.ค. 58)". นาว 26. 8 December 2015. สืบค้นเมื่อ 17 January 2016.[ลิงก์เสีย]
  5. จระเข้จากข่าวสด
  6. Webb, G. J. W.; Manolis, C.; Brien, M. L. (2010). "Saltwater Crocodile Crocodylus porosus" (PDF). ใน Manolis, S. C.; Stevenson, C. (บ.ก.). Crocodiles: Status Survey and Conservation Action Plan (3rd ed.). Darwin: IUCN Crocodile Specialist Group. pp. 99–113.
  7. Read, Mark A.; Grigg, Gordon C.; Irwin, Steve R.; Shanahan, Danielle; Franklin, Craig E. (2007). "Satellite Tracking Reveals Long Distance Coastal Travel and Homing by Translocated Estuarine Crocodiles, Crocodylus porosus". PLOS ONE. 2 (9): e949. Bibcode:2007PLoSO...2..949R. doi:10.1371/journal.pone.0000949. PMC 1978533. PMID 17895990.
  8. "Crocodiles surf ocean currents". www.telegraph.co.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2022.
  9. "Fauna of Australia" (PDF). {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  10. "Top 10 Largest Crocodiles Ever Recorded". Our planet. 11 May 2019.
  11. "Relationship between total length and head length for Saltwater Crocodiles Crocodylus". ResearchGate.
  12. "World's Crocodile Heavy Weight Champion Cassius Turns 112". media.queensland.com.
  13. Whitaker, R.; Whitaker, N. (2008). "Who's got the biggest?" (PDF). Crocodile Specialist Group Newsletter. 27 (4): 26–30.
  14. Britton, A. R. C.; Whitaker, R.; Whitaker, N. (2012). "Here be a Dragon: Exceptional Size in Saltwater Crocodile (Crocodylus porosus) from the Philippines". Herpetological Review. 43 (4): 541–546.
  15. รายการ Knowledge Zone คลังปัญญา ตอน Animal Face-Off ออกอากาศวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ทางช่อง 9
  16. "Giant Crocodile Breaks Size Record—Suspected in Fatal Attacks". Animals (ภาษาอังกฤษ). 2012-07-03.
  17. ฟิลิปปินส์หวังพึ่งจระเข้น้ำเค็มยักษ์1 ตันหนุนท่องเที่ยว[ลิงก์เสีย] กรุงเทพธุรกิจ
  18. ตะลึง ฟิลิปปินส์เผยจับจระเข้ใหญ่ที่สุดในโลกหนักกว่า 1,075 กิโล เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน มติชน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]