จิตภาพแบบปู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Crab mentality)
ปูเป็น ๆ ในถังใบหนึ่ง

จิตภาพแบบปู หรือที่เรียกว่า ทฤษฎีปู[1][2][3][4][5] จิตภาพแบบปูในถัง (ตะกร้า หรือ หม้อ) และ ปรากฏการณ์ปู-ถัง[6] คือวิธีคิดแบบหนึ่งซึ่งอธิบายได้ดีที่สุดด้วยวลี "ถ้าฉันไม่ได้ แกก็ต้องไม่ได้"[7] ภาพพจน์ดังกล่าวได้มาจากการสังเกตรูปแบบพฤติกรรมของปูเมื่อถูกขังในถัง ในขณะที่ปูตัวใดตัวหนึ่งสามารถปีนหนีออกจากถังได้อย่างง่ายดาย[8] ความพยายามของมันจะถูกปูตัวอื่น ๆ ขัดขวาง นำไปสู่จุดจบของปูทั้งถัง[9][10]

มีการกล่าวอ้างว่าภาวะที่คล้ายกันในพฤติกรรมมนุษย์คือการที่สมาชิกของกลุ่มกลุ่มหนึ่งจะพยายามบั่นทอนความมั่นใจในตนเองของสมาชิกคนใดก็ตามที่ประสบความสำเร็จเหนือกว่าคนอื่น ๆ เพื่อฉุดรั้งความก้าวหน้าของสมาชิกคนนั้น ด้วยความริษยา ความขุ่นเคือง ความอาฆาต การคบคิด หรือความรู้สึกแข่งขัน[11][12][13][14]

ผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน[แก้]

จิตภาพแบบปูมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในองค์กรเมื่อมนุษย์แสดงพฤติกรรมคล้ายคลึงกับปูโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในทีมทางสังคม[15] ผลกระทบของจิตภาพแบบปูต่อประสิทธิภาพการทำงานได้รับการพรรณนาเชิงปริมาณในงานวิจัยฉบับหนึ่งจากนิวซีแลนด์ใน พ.ศ. 2558 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผลการสอบเฉลี่ยของนักเรียนดีขึ้นถึงร้อยละ 18 เมื่อมีการเผยแพร่อันดับผลการเรียนในลักษณะที่ป้องกันไม่ให้นักเรียนแต่ละคนรู้อันดับของนักเรียนคนอื่น[16]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Deaf Enterprise - Crab Theory". www.deafenterprise.eu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-30. สืบค้นเมื่อ 2020-11-04.
  2. Mae Lentz, Ella (2006). "The Crab Theory Revisited". สืบค้นเมื่อ November 4, 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. Henry, Elizabeth. "LibGuides: FAQ: Crab Theory: Home". libguides.gallaudet.edu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-04.
  4. "Aversion to the invention of new signs in American Sign Language (ASL)". www.lifeprint.com. สืบค้นเมื่อ 2020-11-04.
  5. Adams, Frank Patrick (December 2019). DOES THE CRAB THEORY HOLD WATER? INVESTIGATING INTRAGROUP DISCRIMINATORY ATTITUDES WITHIN THE DEAF COMMUNITY (PDF) (PhD) (ภาษาอังกฤษ). Gallaudet University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-17. สืบค้นเมื่อ 2020-11-29.
  6. Soubhari, Tushar; Kumar, Yathish (October 2014). "The CRAB-Bucket Effect and Its Impact on Job Stres – An Exploratory Study With Reference To Autonomous Colleges" (PDF). International Journal on Recent and Innovation Trends in Computing and Communication. 2 (10): 3022–3027. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 4, 2016.
  7. L. Douglas Wilder (October 1, 2015). Son of Virginia: A Life in America's Political Arena. Lyons Press. p. 185. ISBN 978-1-4930-1952-6.
  8. Low Robin Boon Peng (2016). Good Intentions Are Not Enough: Why We Fail At Helping Others. World Scientific. p. 104. ISBN 978-981-320-059-3.
  9. Sudipta Sarangi (April 1, 2013). "Capturing Indian 'Crab' Behaviour". The Hindu. สืบค้นเมื่อ December 1, 2015.
  10. Miller, Carliss D. (January 2015). "A Phenomenological Analysis of the Crabs in the Barrel Syndrome". Academy of Management Proceedings. Academy of Management. 2015: 13710. doi:10.5465/AMBPP.2015.13710abstract.
  11. Manuel B. Dy (March 3, 1994). Values in Philippine Culture and Education. Council for Research in Values and Philosophy. p. 40. ISBN 978-1-56518-041-3.
  12. Herbert A. Leibowitz (December 31, 1994). Parnassus: Twenty Years of Poetry in Review. University of Michigan Press. p. 262. ISBN 978-0-472-06577-6.
  13. Albert Shanker (June 19, 1994). "Where We Stand: The Crab Bucket Syndrome". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-20. สืบค้นเมื่อ December 1, 2015.
  14. David, E. J. R. (2013). Brown Skin, White Minds: Filipino / American Postcolonial Psychology. Charlotte, NC: Information Age Publishing. p. 119. ISBN 978-1-62396-209-8.
  15. Dietrich, David M.; Kenworthy, Michael; Cudney, Elizabeth A. (2019). Additive Manufacturing Change Management: Best Practices. Boca Raton, FL: CRC Press. p. 44. ISBN 978-0-367-15207-9.
  16. Spacey, Simon (2015). "Crab Mentality, Cyberbullying and "Name and Shame" Rankings". Waikato University, New Zealand. สืบค้นเมื่อ April 19, 2015. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)[ลิงก์เสีย]