Character Strengths and Virtues

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้เขียนหนังสือ Character Strengths and Virtues กล่าวถึง ความสำคัญและอิทธิพลของ หลักการที่มั่นคงและชัดเจน ต่อตัวบุคคล

หนังสือคู่มือ Character Strengths and Virtues หรือ ความแข็งแกร่งของลักษณะนิสัยและคุณธรรม เขียนโดย Christopher Peterson และ Martin Seligman แสดงถือ ความความพยายามแรกๆของสังคมวิชาการที่จะจำแนกและแยกแยะลักษณะทางจิตวิทยาเชิงบวก ของมนุษย์[1]

ในขณะที่ หนังสือ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders ของ American Psychiatric Association ได้ช่วยส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยทางด้านความผิดปกติทางจิต, หนังสือ Character Strengths and Virtues มีจุดประสงค์ในการสร้างขอบข่ายเชิงทฤษฎีเพื่อช่วยการส่งเสริมการการประยุกต์ใช้จิตวิทยาเชิงบวก[1] หนังสือ Character Strengths and Virtues ได้จำแนกคุณธรรมออกเป็น 6 กลุ่มหลักๆ ซึ่งมาจาก ความแข็งแกร่งของลักษณะนิสัย ที่วัดได้ 24 ลักษณะ

ความแข็งแกร่งและคุณธรรม[แก้]

หนังสือ Character Strengths and Virtues ได้ให้คำจำกัดความของ ความแข็งแกร่งของลักษณะนิสัย (character strengths) ว่าเป็นลักษณะที่มีคุณสมบัติ

  1. ช่วยความรู้สึกเติมเต็ม (fulfilling);
  2. ให้คุณค่าที่แท้จริง (intrinsically valuable);
  3. ไม่มีการเปรียบเทียบแข่งขัน (non-rivalrous);
  4. ไม่ใช่สิ่งตรงข้ามกับลักษณะที่ต้องการ (not the opposite of a desirable trait) เช่น ความ มั่นคงและยืดหยุ่นแม้อาจดูเหมือนตรงกันข้ามกันเองแต่ทั้งสองเป็นลักษณะที่ต้องการ;
  5. คงเส้นคงวา (trait-like) เช่น รูปแบบของนิสัยจะค่อนข้างมั่นคงแม้เวลาจะผ่านไป;
  6. ไม่ใช่เป็นผลรวมของ ความแข็งแกร่งของลักษณะนิสัย อื่นๆ ที่นิยามไว้ในหนังสือ Character Strengths and Virtues;
  7. เป็นแบบอย่าง (personified);
  8. สามารถสังเกตได้จากอัจฉริยบุคคลในวัยเยาว์ (observable in child prodigies) ถึงแม้ว่าลักษณะนี้อาจใช้ไม่ได้กับ ความแข็งแกร่งของลักษณะนิสัย ทุกๆอัน;
  9. ไม่มีอยู่ในตัวทุกๆคน (absent in some individuals);
  10. เพาะบ่มได้ โดยค่านิยมของสังคม หรือ โดยการฝึกฝน (nurtured by societal norms and institutions).

หนังสือ Character Strengths and Virtues แนะนำ 6 คุณธรรมที่พิจารณาแล้วดีสำหรับสังคมและวัฒนธรรมส่วนใหญ่ตลอดประวัติศาสตร์ และคุณธรรมเหล่าช่วยเสริมสร้างความสุข เพื่อได้ปฏิบัติ

อย่างไรก็ตาม การแนะนำคุณธรรมสากล (ครอบคลุมทุกอย่างสำหรับทุกวัฒนธรรม) นอกจากจะช่วยขยายขอบเขตการวิจัยทางด้านจิตวิทยาจากการบำบัดการบกพร่องไปสู่การเสริมสร้างสภาวะที่ดี แล้วยังทำให้เกิดผลอีกด้านคือ การที่ นักวิชาการชั้นนำของจิตวิทยาเชิงบวก ได้กำลังท้าทายแนวคิดของ moral relativism และยังแนะนำว่าคุณธรรมนั้นมีผลมาจากพื้นฐานทางชีววิทยา[1]

ลักษณะบุคลิกนิสัยทั้ง 24 อันนั้นได้ถูกจำกัดความในเชิงพฤติกรรม ด้วยดัชนีชี้วัดเชิงจิตวิทยา (psychometric evidence) เพื่อแสดงว่า ลักษณะบุคลิกนิสัย เหล่านี้สามารถวัดได้อย่างเชื่อถือได้[2]

Socrates: An example of all the CSV's virtues (whether one groups them into six or even just three)

การประยุกต์ใช้จิตวิทยาเชิงบวก รวมถึงการช่วยให้บุคคลหรือองค์กรสามารถจำแนกข้อดีของเขาได้อย่างถูกต้องและใช้ข้อดีเหล่านั้น เพื่อเพิ่มหรือรักษาระดับของความเป็นอยู่ที่ดีไว้ได้ นักบำบัดทางจิต รวมถึงบุคลากรด้านจิตวิทยา สามารถใช้วิธีการของจิตวิทยาเชิงบวก ในการเสริมสร้างวิถีการดำเนินชีวิตของบุคคลต่างๆซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นผู้ป่วยทางจิต

นักวิชาการอื่นๆได้สนับสนุนการจัด 24 ลักษณะบุคลิกนิสัย ไว้เป็น 4 กลุ่มของความแข็งแกร่งเชิงบุคลิกภาพ: ความแข็งแกร่งเชิงปัญญา (Intellectual), ความแข็งแกร่งเชิงสังคม (Social), ความแข็งแกร่งเชิงการควบคุมอารมณ์ (Temperance), ความแข็งแกร่งเชิงอุตรวิสัญชาน (Transcendent). หรือ แม้แต่แค่ 3 กลุ่ม โดยปราศจาก ความแข็งแกร่งเชิงอุตรวิสัญชาน. โดยที่ 3 หรือ 4 กลุ่มนี้ง่ายกว่าที่จะจำและยังสามารถครอบคลุม 24 ลักษณะบุคลิกนิสัย ได้อย่างครบถ้วน[3].

รายการจากหนังสือ Character Strengths and Virtues[แก้]

ความแข็งแกร่งของลักษณะนิสัยและคุณธรรม ได้แก่[1]

  • ปัญญา และ ความรู้ (Wisdom and Knowledge): ความแข็งแกร่งที่เกี่ยวข้องกับการหาและใช้ความรู้
    • ความสร้างสรรค์ (creativity) (บุคคลตัวอย่าง Albert Einstein)
    • ความอยากรู้อยากเห็น (curiosity) (บุคคลตัวอย่าง John C. Lilly)
    • ความใจกว้างเปิดใจ (open-mindedness) (บุคคลตัวอย่าง William James)
    • ความรักในการเรียนรู้ (love of learning) (บุคคลตัวอย่าง Benjamin Franklin)
    • ทัศนคติและปัญญา (perspective and wisdom) (บุคคลตัวอย่าง Ann Landers): การประสมประสานระหว่าง ความรู้กับประสบการณ์ และความตั้งใจในการเอาความรู้กับประสบการณ์นั้นไปใช้เพื่อปรับปรุงความเป็นอยู่[4] Many, but not all, studies find that adults' self-ratings of perspective/wisdom do not depend on age.[5] This stands in contrast to the popular notion that wisdom increases with age.[5]
  • ความกล้า (Courage): ความแข็งแกร่งที่ช่วยบุคคลให้บรรลุเป้าหมาย แม้เมื่อมีอุปสรรค
    • ความกล้าหาญ (bravery) (บุคคลตัวอย่าง Ernest Shackleton)
    • ความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค (persistence) (บุคคลตัวอย่าง John D. Rockefeller)
    • ความเที่ยงธรรม (integrity) (บุคคลตัวอย่าง Sojourner Truth)
    • ความมีชีวิตชีวา (vitality) (บุคคลตัวอย่าง Dalai Lama)
  • มนุษยธรรม (Humanity): ความแข็งแกร่งของความเมตตาและการเป็นมิตรกับผู้อื่น
    • ความรัก (love) (บุคคลตัวอย่าง Romeo and Juliet)
    • ความใจดี (kindness) (บุคคลตัวอย่าง Cicely Saunders)
    • ปัญญาเชิงสังคม (social intelligence) (บุคคลตัวอย่าง Robert Kennedy)
  • ความยุติธรรม (Justice): ความแข็งแกร่งที่ช่วยสร้างเสริมความแข็งแรงของสังคมและชุมชน
    • ความรับผิดชอบต่อสังคม (active citizenship / social responsibility / loyalty / teamwork) (บุคคลตัวอย่าง Sam Nzima)
    • ความเสมอภาค (fairness) (บุคคลตัวอย่าง Mohandas Gandhi)
    • ความเป็นผู้นำ (leadership)
  • ความยับยั้งชั่งใจ (Temperance): ความแข็งแกร่งที่ปกป้องเราจากความเกินพอดี
    • การให้อภัย (forgiveness and mercy) (บุคคลตัวอย่าง Pope John Paul II)
    • ความอ่อนน้อมถ่อมตน (humility and modesty) (บุคคลตัวอย่าง Bill W., หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Alcoholics Anonymous)
    • ความรอบคอบ (prudence) (บุคคลตัวอย่าง Fred Soper)
    • การควบคุมตนเอง (self-regulation and self control) (บุคคลตัวอย่าง Jerry Rice)
  • อุตรวิสัญชาน (Transcendence): ความแข็งแกร่งที่ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์กับเอกภพและให้ความหมายของชีวิต
    • การรู้คุณค่า (appreciation of beauty and appreciation of excellence) (บุคคลตัวอย่าง Walt Whitman)
    • ความรู้สึกสำนึกในบุญคุณ กตัญญู (gratitude) (บุคคลตัวอย่าง G. K. Chesterton)
    • ความหวัง (hope) (บุคคลตัวอย่าง Martin Luther King, Jr.)
    • อารมณ์ขันและความขี้เล่น (humor and playfulness) (บุคคลตัวอย่าง Mark Twain)
    • จิตวิญญาณ (spirituality) (บุคคลตัวอย่าง Albert Schweitzer)

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Peterson, Christopher; Seligman, Martin E. P. (2004). Character strengths and virtues: A handbook and classification. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-19-516701-5.
  2. Cloninger, C. Robert (2005). "Character Strengths and Virtues: A Handbook and Classification". American Journal of Psychiatry. American Psychiatric Association. 162 (162): 820–821. doi:10.1176/appi.ajp.162.4.820-a. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-08. สืบค้นเมื่อ 2007-04-05.
  3. Jessica Shryack, Michael F. Steger, Robert F. Krueger, Christopher S. Kallie. 2010. The structure of virtue: An empirical investigation of the dimensionality of the virtues in action inventory of strengths. Elsevier.
  4. Peterson, Christopher; Seligman, Martin E. P. (2004). Character strengths and virtues: A handbook and classification. Oxford: Oxford University Press. p. 106. ISBN 0-19-516701-5.
  5. 5.0 5.1 Peterson, Christopher; Seligman, Martin E. P. (2004). Character strengths and virtues: A handbook and classification. Oxford: Oxford University Press. p. 185. ISBN 0-19-516701-5.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]