แคนเดิลอินเดอะวินด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Candle In The Wind)
"แคนเดิลอินเดอะวินด์"
ซิงเกิลโดยเอลตัน จอห์น
จากอัลบั้มกูดบายเยลโลว์บริกค์โรด
ด้านบี"เบ็นนีแอนด์เดอะเจ็ตส์"
วางจำหน่าย22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1974 (1974-02-22)
บันทึกเสียงพฤษภาคม 1973
สตูดิโอChâteau d'Hérouville ฝรั่งเศส
แนวเพลงป็อปร็อก, ซอฟต์ร็อก
ความยาว3:50
ค่ายเพลงเอ็มซีเอ, ดีเจเอ็ม
ผู้ประพันธ์เพลง
โปรดิวเซอร์กัส ดัดเจียน
ลำดับซิงเกิลของเอลตัน จอห์น
"เบ็นนีแอนด์เดอะเจ็ตส์"
(1974)
"แคนเดิลอินเดอะวินด์"
(1974)
"ดอนต์เลตเดอะซันโกดาวน์ออนมี"
(1974)

"แคนเดิลอินเดอะวินด์" (อังกฤษ: Candle in the Wind) เป็นเพลงที่เซอร์ เอลตัน จอห์นประพันธ์ดนตรีขึ้น และประพันธ์เนื้อเพลงโดยเบอร์นีย์ ทอพีน เมื่อปี ค.ศ. 1973 เพื่อเป็นการไว้อาลัยให้แก่มาริลิน มอนโร ที่เสียชีวิตเมื่อ 11 ปีก่อน[1] และต่อมาได้ใช้เป็นเพลงในพระราชพิธีพระศพของไดอาน่า เจ้าหญิงแห่งเวลส์ด้วย

เพลงนี้เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1973 โดยเซอร์เอลตัน จอห์น กับอัลบั้มกูดบายเยลโลว์บริกค์โรด เนื้อเพลงเปรียบเทียบถึงชีวิตของมาริลิน มอนโร (ประโยคแรกขึ้นต้นว่า "Goodbye Norma Jean" ซึ่งหมายถึงมาริลิน เพราะชื่อจริงของเธอคือ Norma Jeane Mortenson) โดยกล่าวถึงความอ้างว้างเปลี่ยวเหงาของเธอในปีสุดท้ายแห่งชีวิต ทอพีนผู้ประพันธ์เพลงนี้ได้รับแรงบันดาลใจของเนื้อเพลงจากประโยคว่า "candle in the wind" ซึ่งเป็นการไว้อาลัยถึงนักร้องและนักแต่งเพลงชื่อดัง เจนีส จอพลีน

ในปี ค.ศ. 1997 เซอร์เอลตัน จอห์นได้นำเพลงนี้มาร้อง เป็นการไว้อาลัยให้แก่ผู้หญิงที่มีชื่อเสียงที่สุดอีกคนหนึ่งของโลกคือ ไดอาน่า เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ในงานพระราชพิธีพระศพนั้น เป็นการร้องสดเพียงครั้งเดียวของท่านเซอร์ และเพลงนี้ได้รับการกล่าวขวัญถึง และกลายเป็นเพลงที่ "ฮิต" ติดอันดับในเวลาต่อมา ใน ค.ศ. 2006 เพลงนี้ได้รับการบันทึกว่าเป็นเพลงที่มียอดขายสูงที่สุดในโลก

ในงานพระราชพิธีพระศพนั้นไม่ใช่แต่เพียงจอห์นเท่านั้นที่รู้สึกเศร้าโศกเสียใจ หากแต่คนรอบข้างและทั้งโลกที่เสียดายต่อการจากไปของไดอาน่า จอห์นได้เปลี่ยนเนื้อเพลงท่อนแรกเสียใหม่จาก "Goodbye Norma Jean" เป็น "Goodbye England's Rose" ท่านเซอร์ได้สร้างความเป็นคู่ขนาน ทั้งเหมือนและแตกต่างระหว่างสตรีชื่อก้องโลกทั้งสองด้วยบทเพลงนี้ แม้ว่าทั้งคู่จะมีชีวิตที่แตกต่างกันมาก แต่ก็เหมือนกันในข้อที่ต้องทุกข์ทรมาน "เพราะ" และ "เพื่อ" คนอื่นเช่นกัน ท่อนหนึ่งของเนื้อเพลงที่กินใจผู้ชมมากที่สุดคือท่อนที่ว่า "Your candle's burned out long before...your legend ever will...." (เทียนน้อยของเธอดับสิ้นนานไป แต่ตำนานของเธอจะไม่เสื่อมทรามตามลง)

บุคลากร[แก้]

การรับรอง[แก้]

ประเทศ การรับรอง จำนวนหน่วยที่รับรอง/ยอดขาย
United Kingdom (BPI)[2] Silver 200,000double-dagger

double-daggerตัวเลขสตรีมมิงและยอดขายขึ้นอยู่กับการรับรองเพียงอย่างเดียว

อ้างอิง[แก้]

  1. Ben Brantley (11 October 2004). "Some Like It Hot, Some Like It Painted in Words". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 29 July 2012.
  2. "British single certifications – Elton John – Candle in the Wind". British Phonographic Industry. สืบค้นเมื่อ 12 July 2019.