ยาเม็ดคุมกำเนิด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก COCP)
ยาเม็ดคุมกำเนิด
ความรู้พื้นฐาน
ประเภทการคุมกำเนิดฮอร์โมน
เริ่มใช้ครั้งแรก?
อัตราการล้มเหลว (ในปีแรกของการใช้)
เมื่อใช้อย่างถูกต้อง0.3%
เมื่อใช้แบบทั่วไป9%
การใช้
ระยะเวลาที่มีผล1–4 วัน
การย้อนกลับย้อนกลับได้
สิ่งที่ผู้ใช้ควรรู้รับประทานเป็นประจำทุกวัน
ระยะการพบแพทย์6 เดือน
ข้อดีข้อเสีย
ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่ป้องกัน
ประจำเดือนควบคุม มักเบาลงและเจ็บปวดน้อยลง
น้ำหนักไม่มีผลที่ได้รับการยืนยัน
ข้อดีลดความเสี่ยงการเสียชีวิต[1] ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งทุกชนิต[1] ลดอัตราการเกิดมะเร็งรังไข่และมะเร็งเยื่อบุมดลูก
อาจลดการเกิดสิว PCOS PMDD และเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
ความเสี่ยงเป็นไปได้ที่จะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งบางชนิดเล็กน้อย[2][3] เพิ่มอัตราการเกิด DVT เล็กน้อย; โรคหลอดเลือดสมอง,[4] โรคระบบหัวใจหลอดเลือด[5]
Medical notes
ได้รับผลกระทบจากยาปฏิชีวนะ rifampicin,[6] สมุนไพร Hypericum (St. Johns Wort) และยากันชัก รวมถึงอาเจียรและท้องร่วง ควรระวังหากเคยมีอาการไมเกรน

ยาเม็ดคุมกำเนิด (อังกฤษ: combined oral contraceptive pill, COCP, the pill) คือยาเม็ดที่มีส่วนผสมของ เอสโทรเจน (ฮอร์โมนเพศหญิง) และโพรเกสทิน (โพรเกสโทรเจนสังเคราะห์) ใช้กินเพื่อยับยั้งภาวะเจริญพันธุ์ (fertility) ในเพศหญิง ยาคุมกำเนิดได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เมื่อ ค.ศ. 1960 ด้วยจุดประสงค์เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ปัจจุบันผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดมีจำนวน 12 ล้านคนในอเมริกา และ 100 ล้านคนทั่วโลก[7][8] อัตราการใช้ยาคุมกำเนิดแปรผันไปตามประเทศ[9] อายุ การศึกษา และสถานภาพสมรส อาทิ เกือบหนึ่งในสี่ของผู้หญิงที่อายุ 16-49 ปีในสหราชอาณาจักรใช้ยาคุมกำเนิด (ซึ่งอาจเรียกว่า combined pill หรือ minipill)[10] แต่มีเพียง 1% เท่านั้นที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น[11]

ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดกิน (Oral contraceptive pills) แบ่งตามชนิดของฮอร์โมนที่เป็นส่วนประกอบได้เป็น 2 ชนิดหลัก ได้แก่ Combined pills, Progestin only pills

ชนิดฮอร์โมนรวม[แก้]

ยาเม็ดคุมกำเนิด combined pills ประกอบด้วยทั้งฮอร์โมน estrogen และ progestogenมีแบบ 21 เม็ด และ 28 เม็ด โดยในแบบ 28 เม็ด จะเป็นเม็ดที่มีฮอร์โมน 21เม็ด อีก 7 เม็ดเป็นเม็ดที่ไม่มีฮอร์โมน

ยาเม็ดคุมกำเนิด combined pills แบ่งเป็น 3 ชนิด

  1. Monophasic combined pill ประกอบด้วย estrogen และ progestogen ในขนาดคงที่ทุกเม็ด โดยมีอยู่ 21 เม็ด ส่วนยาคุมชนิด 28 เม็ด อีก 7 เม็ดจะเป็น วิตามิน แป้ง หรือ ferrous fumarate
  2. Biphasic combined pill เป็นยาเม็ดคุมกำเนิดที่ประกอบด้วย estrogen และ progestrogen ในปริมาณที่ต่างกัน 2 ระดับ ในแต่ละช่วงของรอบเดือน เพื่อเลียนแบบการหลั่งของฮอร์โมนตามธรรมชาติของสตรี คือ
    1. estrogen จะมีระดับสูงช่วงต้นเดือนและลดต่ำลงช่วงปลายเดือน
    2. progestogen จะมีระดับต่ำช่วงต้นเดือน และจะสูงขึ้นช่วงปลายเดือน
  3. Triphasic combined pillเป็น combined pill ที่ผลิตขึ้นเพื่อเลียนแบบฮอร์โมน estrogen และ progestogen ในอัตราส่วนซึ่งคล้ายกับธรรมชาติของฮอร์โมนในรอบเดือนปกติของสตรี
    1. estrogen จะมีระดับต่ำในช่วงต้นและปลายรอบเดือน จะสูงช่วงกลางรอบเดือน
    2. progestogen จะมีระดับต่ำในช่วงต้นรอบเดือนและจะสูงสุดในช่วงปลายรอบเดือน

กลไกการออกฤทธิ์

  • Estrogen ยับยั้งการหลั่ง Follicle stimulating hormone ( FSH ) ทำให้กดการเจริญของ follicle
  • Progesterone ยับยั้งการหลั่ง Luteinizing ( LH ) ทำให้ไม่มี LH surge และไม่เกิดการตกไข่ และ Progesterone ยังทำให้ cervical mucus ข้นเหนียวและทำให้ sperm ผ่านได้ยาก
  • ทั้ง Estrogen และ Progesterone มีฤทธิ์ทำให้ Endometrium ไม่เหมาะสมแก่การฝังตัวของตัวอ่อน
  • นอกจากนี้ฮอร์โมนยังอาจมีผลรบกวนต่อการ Contraction ของ cervix, uterus, และ fallopian tubes ด้วย

อาการไม่พึงประสงค์ของยาเม็ดคุมกำเนิดแบบ Combined pills

  • ผลจาก Estrogen สูง ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน, วิงเวียน, ปวดศีรษะไมเกรน, ประจำเดือนมามากกว่าปกติ, ปวดประจำเดือนมาก, เต้านมโตเจ็บคัดเต้านม, มดลูกโตและเส้นเลือดอุดตัน
  • ผลจาก Estrogen ต่ำ ได้แก่ ประจำเดือนมาน้อยกว่าปกติ, เต้านมเล็ก, มดลูกเล็ก, Early/mid cycle breakthrough bleeding หรือ มีเลือดคล้ายประจำเดือน ซึ่งมาผิดปกติ ในช่วงระหว่างต้นเดือนถึงกลางเดือน
  • ผลจาก Progesterone สูง ได้แก่ น้ำหนักเพิ่ม, เป็นสิว, หน้ามัน, ขนดก, เต้านมเล็ก, ประจำเดือนมาน้อย, ตกขาวจากเชื้อ Candida spp.
  • ผลจาก Progesterone ต่ำ ได้แก่ breakthrough bleeding หรือ มีเลือดคล้ายประจำเดือน โดยมาผิดปกติ ในช่วงหลังรอบเดือน

วิธีกินยาเม็ดคุมกำเนิดแบบ Combined pills

เริ่มกินเม็ดแรกในวันแรกที่มีประจำเดือน หรือระหว่างวันที่ 1-5 ของ menstrual cycle กินยาวันละ 1 เม็ดในเวลาเดียวกันของทุกวัน โดยควรกินก่อนนอน

แบบ 21 เม็ด กินวันละ 1 เม็ด เวลาเดียวกันทุกวัน โดยกินยาตามลูกศรไปจนครบ 21 เม็ด ให้กิน 21 วันแล้วหยุดยาเป็นเวลา 7วัน ในวันที่ 8 กินยาในแผงต่อไปเช่นเดิม (ในช่วง 7 วันที่หยุดยา จะมีประจำเดือนมา แต่จะมากี่วันไม่ต้องไปสนใจ และถึงแม้ประจำเดือนยังคงมาอยู่หรือหมดไปแล้วก็ตาม เมื่อครบ 7 วันแล้วให้เริ่มทานยาเม็ดแรกของแผงใหม่ได้เลย )

แบบ 28 เม็ดให้กินทุกวันเช่นกัน ทานให้ตรงเวลากันทุกวันโดยไล่เม็ดไปตามลูกศรและเริ่มแผงใหม่ได้เลยเมื่อหมดแผงเก่า เพื่อให้สตรีกินยาติดต่อกันทุกวันโดยไม่ต้องเว้นช่วงจะได้ไม่ต้องกังวลกับการนับวัน

การกินยาเม็ดคุมกำเนิด triphasic combined pill ชนิด 28 เม็ด ให้เริ่มยาเม็ดแรกในช่วงสีแดงก่อน กินเม็ดยาที่ด้านหลังระบุให้ตรงกับวันแรกที่มีประจำเดือนมา กินตามลูกศร วันละ 1 เม็ดเวลาเดียวกันทุกวัน ห้ามลืมกิน กินยาจนหมดแผงแล้วเริ่มแผงใหม่ทันที ไม่ต้องหยุดยาให้เริ่มยาเม็ดแรกให้เหมือนกินแผงแรก

กรณีที่ลืมกินยา หากลืมกินยา 1 เม็ดให้กินยาทันทีที่นึกได้และกินเม็ดต่อไปเช่นเดิม(ในวันนั้นจึงได้กินยาทั้งหมด 2 เม็ด)

หากลืมกิน 2 เม็ดในสัปดาห์ที่ 1-2 ให้กินยา 2 เม็ดทันทีที่นึกได้ และกินอีก 2 เม็ดในวันถัดไป จากนั้นกินยาตามปกติ และภายใน 7 วันของช่วงที่ลืมกินยาให้ใช้วิธีการคุมกำเนิดรูปแบบอื่นร่วมด้วย

หากลืมกินยา 2 เม็ดใน สัปดาห์ที่ 3 ให้ทิ้งยาแผงเดิม และเริ่มกินยาแผงใหม่ได้เลยในวันนั้น และภายใน 7 วันของช่วงที่ลืมกินยาให้ใช้วิธีการคุมกำเนิดรูปแบบอื่นร่วมด้วย

หากลืมกินยา 3 เม็ด ให้หยุดกินทิ้งยาแผงเดิม และเริ่มกินยาแผงใหม่ได้เลยในวันนั้น และภายใน 7 วันของช่วงที่ลืมกินยาให้ใช้วิธีการคุมกำเนิดรูปแบบอื่นร่วมด้วย และหากประจำเดือนขาดหายติดต่อกัน 2 เดือนอาจมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้

กรณีที่ลืมกินยาเม็ดที่ไม่ใช้ฮอร์โมน ในcombined pills แบบ 28 เม็ด ให้ข้ามวันที่ลืมกินไปได้ และกินเม็ดต่อไปตามปกติ

ข้อห้ามใช้ (Contraindication/cautions)

  • ห้ามใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดในผู้ป่วย Thrombophlebitis, Thromboembolic phenomena, Cerebrovascular disease และผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคนี้มาก่อน
  • ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นมะเร็งหรือคาดว่าจะเป็นมะเร็งที่เต้านม หรือ Estrogen dependent tumor อื่นๆ
  • ห้ามใช้ในวัยรุ่นที่ Epiphyisal closure ยังไม่สมบูรณ์
  • ไม่ควรใช้ในผู้ที่มี vaginal bleeding โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์
  • หลีกเลี่ยงการใช้ หรือระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคตับ, asthma, eczema, migraine, diabetes, hypertension และ convulsive disorder

ชนิดฮอร์โมนเดียว[แก้]

ยาคุมในกลุ่มนี้ไม่มี Estrogen มีแต่ Progesterone ที่มีปริมาณฮอร์โมนเท่ากันทุกเม็ด การพัฒนายาเม็ดคุมกำเนิดชนิดนี้ขึ้นเพื่อกำจัดอาการข้างเคียงต่างๆ ที่เกิดจาก Estrogen แต่ประสิทธิภาพจะลดลง และยังพบอาการข้างเคียงคือ มีเลือดออกกะปริดกะปรอย (Break through bleeding) และรอบเดือนมาไม่ปกติจึงไม่นิยมใช้มากนัก จึงควรเลือกใช้ในกรณีที่มีข้อห้ามใช้ estrogen หรือในหญิงให้นมบุตร เพราะจะไม่กดการหลั่งของน้ำนม และอาจจะมีประโยชน์เมื่อต้องการเลื่อนประจำเดือนออกไปในช่วงสั้นๆ เช่นสำหรับนักกีฬา หรือผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด

กลไกการออกฤทธิ์

Progestin only pills ทำให้ cervical mucus ข้นเหนียวไม่เหมาะแก่การผ่านของ sperm และทำให้ endrometrial ไม่เหมาะแก่การฝังตัวของตัวอ่อน

วิธีการกินยาเม็ดคุมกำเนิดชนิด Minipills

ยาคุมกำเนิดชนิดนี้ไม่มี Estrogen แต่มี Progesterone ในขนาดต่ำเท่ากันทุกเม็ด

การเริ่มทานยาแผงแรก เริ่มทานยาแผงแรกในวันแรกของการมีประจำเดือนทานทุกวัน วันละ 1 เม็ด เวลาเดียวกัน จนหมดแผง

ทานยาแผงต่อไปโดยทานต่อแผงแรกทันที ไม่ต้องเว้นวัน แม้จะมีประจำเดือน

ถ้าลืมทานยา 1 เม็ด ให้กินยาทันทีที่นึกได้ แต่ถ้านึกได้ในคืนถัดไป ก็ควรกินรวมเป็น 2 เม็ด ในคืนนั้น

ถ้าลืมกินยา 2 วัน ติดต่อกัน ให้กินยาครั้งละ 2 เม็ดใน 2 วันถัดไป

ถ้าลืมกินยามากกว่า 2 วันติดต่อกัน ให้หยุดกินยาแล้วคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น

ยาเม็ดคุมกำเนิดหลังร่วมเพศ[แก้]

ยาคุมกำเนิดหลังร่วมเพศ หรือ ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน (Postcoital contraceptives หรือ Morning after pills)[12]

ยาเม็ดคุมกำเนิดหลังร่วมเพศเป็นยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนขนาดสูง ไม่ควรนำมาใช้เป็นยาเม็ดคุมกำเนิดตามปกติ เนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย เพราะมีส่วนประกอบของฮอร์โมนขนาดสูง แต่จะใช้เฉพาะในกรณีของสตรีที่ถูกข่มขืน หรือกรณีการคุมกำเนิดล้มเหลว เนื่องจากการฉีกขาดของถุงยางอนามัยขณะมีการร่วมเพศ Regimen ของฮอร์โมนที่นำมาใช้เป็นยาคุมกำเนิดภายหลังมีเพศสัมพันธ์มีหลายรูปแบบได้แก่

  1. Conjugated estrogens: 10 mg วันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 5 วัน
  2. Ethinyl estradiol: 2.5 mg วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน
  3. Diethylstilbestol: 50 mg ต่อกันเป็นเวลา 5 วัน
  4. Levonorgestrel: 0.75 mg กิน 1 เม็ดภายใน 72 ชั่วโมงและหลังจากนั้น 12 ชั่วโมง กินอีก 1 เม็ด
  5. Norgestrel 0.5 mg with ethinyl estradiol 0.05mg กิน 2 เม็ดภายใน 72 ชั่วโมงภายหลังการมีเพศสัมพันธ์และหลังจากนั้น 12 ชั่วโมงกินอีก 2 เม็ด

ซึ่ง regimen นี้มีชื่อเรียกว่า Yuzpe regimen

การออกฤทธิ์

ยาคุมกำเนิดนี้ออกฤทธิ์โดยการทำให้มดลูกไม่เหมาะสมแกการฝังตัวของตัวอ่อน

อาการไม่พึงประสงค์

คือ คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ พบได้ถึง 40 % ทำให้มักมีการให้ยาต้านการอาเจียน เข้าร่วมด้วย

การใช้ยาคุมชนิดเม็ดในกรณีต่างๆ

การใช้ยาคุมกำเนิดในหญิงตั้งครรภ์

ไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิดในสตรีที่ตั้งครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก เพราะจะทำให้เด็กพิการหรือเป็นมะเร็งที่อวัยวะเพศ และถ้าคุมกำเนิดล้มเหลวจะเพิ่มอัตราการเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic pregnancy) ได้มากกว่าการไม่ใช้ยา

การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดหลังคลอด

การใช้ยาในสตรีให้นมบุตรไม่ควรใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรวม เพราะ ยาจะทำให้ปริมาณของน้ำนมลดลง ยาขับของทางน้ำนมได้บ้าง (แต่ยังไม่ทราบว่ามีผลอย่างไรต่อทารก) ดังนั้นควรใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฮอร์โมนเดี่ยวขนาดน้อย (Minipills) และควรใช้วิธีการคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วยในเดือนแรก (หรืออย่างน้อยใน 7 วันแรก) ที่เริ่มกลับมาใช้ยาใหม่

ถ้าไม่ได้ให้นมบุตร สามารถให้ได้ทันทีตามความต้องการไม่ว่าจะมีประจำเดือนมาหรือไม่

การใช้ยาในกรณีที่ต้องการผ่าตัดใหญ่

ควรหยุดกินยาเม็ดคุมกำเนิดก่อนการผ่าตัดใหญ่อย่างน้อย 4 สัปดาห์ แล้วหลังผ่าตัดใหญ่ ควรรออย่างน้อย 2 สัปดาห์ จึงเริ่มกินยาเม็ดคุมกำเนิด

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Hannaford PC, Iversen L, Macfarlane TV, Elliott AM, Angus V, Lee AJ (March 11, 2010). "Mortality among contraceptive pill users: cohort evidence from Royal College of General Practitioners' Oral Contraception Study". BMJ. 340: c927. doi:10.1136/bmj.c927. PMC 2837145. PMID 20223876.
  2. IARC working group (2007). "Combined Estrogen-Progestogen Contraceptives" (PDF). IARC Monographs on the Evaluation of Carcinogenic Risks to Humans. International Agency for Research on Cancer. 91.
  3. Collaborative Group on Hormonal Factors in Breast Cancer (1996). "Breast cancer and hormonal contraceptives: Collaborative reanalysis of individual data on 53 297 women with breast cancer and 100 239 women without breast cancer from 54 epidemiological studies". The Lancet. 347 (9017): 1713–27. doi:10.1016/S0140-6736(96)90806-5. PMID 8656904.
  4. Kemmeren JM, Tanis BC, van den Bosch MA, Bollen EL, Helmerhorst FM, van der Graaf Y, Rosendaal FR, Algra A (2002). "Risk of Arterial Thrombosis in Relation to Oral Contraceptives (RATIO) Study: Oral Contraceptives and the Risk of Ischemic Stroke". Stroke. 33 (5): 1202–8. doi:10.1161/01.STR.0000015345.61324.3F. PMID 11988591.
  5. Baillargeon JP, McClish DK, Essah PA, Nestler JE (2005). "Association between the Current Use of Low-Dose Oral Contraceptives and Cardiovascular Arterial Disease: A Meta-Analysis". Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism. 90 (7): 3863–70. doi:10.1210/jc.2004-1958. PMID 15814774.
  6. "Birth Control Pills - Birth Control Pill - The Pill".
  7. Hatcher, Robert A.; Nelson, Anita (2004). "Combined Hormonal Contraceptive Methods". ใน in Hatcher, Robert A. (บ.ก.). Contraceptive Technology (18th ed.). New York: Ardent Media. pp. 391–460. ISBN 0-966-49025-8.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. all US women aged 15-44 Mosher WD, Martinez GM, Chandra A, Abma JC, Willson SJ (2004). "Use of contraception and use of family planning services in the United States: 1982-2002" (PDF). Adv Data (350): 1–36. PMID 15633582.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. women aged 15-49 married or in consensual union UN Population Division (2006). World Contraceptive Use 2005 (PDF). New York: United Nations. ISBN 9-211-51418-5.
  10. British women aged 16-49: 24% currently use the Pill (17% use Combined pill, 5% use Minipill, 2% don't know type) Taylor, Tamara; Keyse, Laura; Bryant, Aimee (2006). Contraception and Sexual Health, 2005/06 (PDF). London: Office for National Statistics. ISBN 1-85774-638-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-01-09. สืบค้นเมื่อ 2007-05-08.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. Aiko Hayashi (August 20, 2004). "Japanese Women Shun The Pill". CBS News. สืบค้นเมื่อ 2006-06-12.
  12. International Consortium for Emergency Contraception. Emergency Contraceptive Pills: Medical and Service Delivery Guidelines, 2nd edition. New York: Author, 2004.